Sunday, October 16, 2022

OCTOBER 2022

 รายงานผลประกอบการประจำวันเสาร์ที่ 15 ต.ค. 2022


1.EVANGELION: 3.0 +1.01 THRICE UPON A TIME (2021, Hideaki Anno, Japan, animation, 154min, A+30)

ดูที่ House รอบ 10.00

2.นิทรรศการ NODUS ที่ Numthong Gallery มีงานวิดีโอของคุณ Jakrawal Nilthamrong

3. นิทรรศการ TIMIRBHU: THE NEW WORLD ORDER by Nakrob Moonmanas ที่  Jim Thompson

4. QUALITIES OF LIFE: LIVING IN THE RADIANT COLD (2022, James Richards, video installation, A+30) ที่ Jim Thompson

5.นิทรรศการ THE MAY 18, THE GREAT HERITAGE OF KOREA'S DEMOCRACY ที่ Jim Thompson

6. GALLANT INDIES (2020, Philippe Beziat, France, documentary, A+30)

ดูที่ ALLIANCE รอบ 16.30

7. DOCTOR G (2022, Anubhuti Kashyap, India, A+30)

ดูที่  Esplanade Ratchada  รอบ 20.00

รายงานผลประกอบการประจำวันอาทิตย์ที่ 16 ต.ค. 2022

1. HALLOWEEN ENDS (2022, David Gordon Green, A+30)

ดูที่ Paragon รอบ 11.30

2. ALIVE DRIFT (2022, Ten Shimoyama, Japan, A+25)

ดูที่  Paragon รอบ 14.40

รายงานผลประกอบการประจำวันศุกร์ที่ 14 ต.ค. 2022

1. HOLY SPIDER (2022, Ali Abbasi, Denmark, A+30)

ดูที่ HOUSE รอบ 10.15

2. THE WITCHES OF THE ORIENT (2021, Julien Faraut, France, documentary, A+30)

ดูที่ doc club รอบ 13.45

3.นิทรรศการ HUMAN ERROR ที่ ART4C GALLERY ได้ดู video installations ด้วย 2 ชิ้น

4.LIKE SOMEONE IN LOVE (2012, Abbas Kiarostami, Japan/France, A+30)

ดูที่  Doc Club รอบ 17.50

5.LOS REYES (2018, Bettina Perut, Ivan Osnovikoff, Chile, documentary, A+30)

ดูที่ Doc Club  รอบ 20.00

QUALITIES OF LFE: LIVING IN THE RADIANT COLD (2022, James Richards, video installation,17min, A+30)

ภาพส่วนหนึ่งในวิดีโอนี้มันคือการส่องกล้องเข้าไปในรูตูดแล้วสำรวจลำไส้ใหญ่หรือเปล่า

From the exhibition THE MAY 18, THE GREAT HERITAGE OF KOREA'S DEMOCRACY @ Jim Thompson

1.ดีงามมาก ๆ เป็นนิทรรศการภาพถ่ายที่เล่าเรื่องปวศ.การเมืองเกาหลีตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1960 จนถึงช่วงปลายทศวรรษ 1980 โดยโฟกัสไปที่  GWANGJU MASSACRE

2.ดูแล้วก็นึกถึงปวศ.ไทยในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการต่อสู้กับเผด็จการมาอย่างต่อเนื่องหลายสิบปี และการนองเลือด แล้วเราก็เพิ่งรู้ว่า "การประท้วงของคนงานโรงงานหญิง" เป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญในเกาหลีใต้ด้วย นึกถึงหนังสารคดีเรื่อง "การต่อสู้ของกรรมกรหญิงโรงงานฮาร่า" (1975, จอน อึ้งภากรณ์) เลย

แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือว่า เกาหลีใต้เขาต่อสู้จนรอดพ้นจากเผด็จการมาได้นานแล้ว ส่วนไทยนั้น...

3.เหมือนเราเคยดูหนังเกาหลีที่พูดถึงปวศ.การเมืองมาบ้าง แต่หนังแต่ละเรื่องมันเจาะเป็นหนึ่งเหตุการณ์น่ะ ในขณะที่นิทรรศการนี้มันร้อยเรียงหลายเหตุการณ์เข้าด้วยกัน

เหมือนนิทรรศการนี้มันร้อยเรียงหนังเหล่านี้เข้าด้วยกันด้วย

3.1 THE PRESIDENT'S BARBER (2004, Lim Chang-san)

3.2 THE PRESIDENT'S LAST BANG (2005, Im Sang-soo)

3.3 A PETAL (1996, Jang Sun-woo)

3.4 HUNT (2022, Lee Jung-jae)

3.5 AN ESCALATOR IN WORLD ORDER (2011, Kim Kyung-man, documentary)

3.6 THE OLD GARDEN (2006, Im Sang-soo)

IN LOVE by Thanapat Ngamngernwan ที่ Art4c Gallery

นึกถึงตัวเองมาก ๆ เราเองก็อยากเขียน fiction ที่เป็นแฟนตาซีทางเพศของเราเหมือนกัน

นึกถึงหนึ่งในชายหนุ่มที่เราแอบหลงรักตอนม.2 ในราว ๆ ปี 1985 ด้วย ตอนนั้นเราไปเรียนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ แล้วก็อยากได้เพื่อนร่วมชั้นคนหนึ่งเป็นผัว นี่แหละค่ะ ข้อดีของโรงเรียนสอนศาสนา

ตอนนี้เวลาผ่านมานาน 37 ปีแล้ว เรายังสงสัยอยู่ว่าเขามีลูกมีเมียหรือยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่านะ

FEMME-FAR-TELL (2022, Pareeya Udorn, video installation) ดูที่ Art4c Gallery

FUNGI-FI (2022, Enrico Dedin, video installation 1min)

DEBRIS (2022, Jakrawal Nilthamrong, video installation, 10min)

เสียดายที่วิดีโอเสียงมันเบา และไม่มี subtitle เราเลยฟังไม่ค่อยออกว่าเสียงบรรยายพูดว่าอะไรบ้าง

ตอนที่เราได้ชมภาพยนตร์ของคุณ Jakrawal ครั้งแรกในปี 2006 เรามีภาพจำว่าหนังของเขาจะมีความพุทธ ๆ พราหมณ์ ๆ ศาสนา อะไรทำนองนี้ แต่พอมาได้ดู DEBRIS เราก็เลยเพิ่งนึกขึ้นมาได้ว่า ผลงานภาพเคลื่อนไหวของคุณจักรวาลหลายเรื่อง มันพูดเรื่องธรรมชาติด้วยเหมือนกัน (จริง ๆ แล้วรากศัพท์ของคำว่า ธรรมชาติ ก็มีคำว่า ธรรมะ อยู่ด้วยหรือเปล่า 55555) อย่างเช่น MAN AND GRAVITY:PLATEAU (2009) ที่เรารู้สึกว่ามันดูมีความศาสนา แต่หนังมันก็นำเสนอธรรมชาติหรือลักษณะทางกายภาพของโลกอยู่ด้วย, ANATOMY OF TIME (2021) ก็ดูมีทั้งความธรรมะและธรรมชาติผสมอยู่รวมกัน ในขณะที่ UNREAL FOREST (2010), INTRANSIT (2013) และ INVALID THRONE (2018) ก็เหมือนนำเสนอแง่มุมบางอย่างทางธรรมชาติอยู่ด้วย

ช่วงคิดเองเออเอง FACES OF ANNE

SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
พอเพื่อนบอกว่า แอนโทนี่ ทำให้นึกถึง "โทนี่" เราก็เลยจะบอกว่า ชุดของตัวละครชายอีกคน ทำให้เรานึกถึง "เชิ้ตผ้าฝ้ายขาว" ของธนาธร ซึ่งผู้กำกับคงไม่ได้ตั้งใจ แต่พอเราเป็นแฟนคลับของธนาธร พอเห็นเสื้ออะไรแบบนี้ ก็เลยนึกถึงไปเอง 55555

https://voicetv.co.th/read/ByjvP_4az

นิทานก่อนตื่น (2022, Boonyaree Tantinarawat, video installation, A+30)

ชอบสุดขีด เราเดาว่าตัววิดีโอนี้ถ้าไปฉายใน setting อื่น ๆ แบบในโรงปกติ มันอาจจะไม่ทรงพลังด้วยตัวมันเองมากนัก แต่พอมันฉายใน setting นี้ แล้วมันมีมนตร์ขลังมาก ๆ

ดูในนิทรรศการ HUMAN ERROR ที่ ART4C

นี่คือใบหน้าทางจิตของดิฉันเมื่อ 30 ปีก่อน 55555 -- Yoko Minamino, Talisa Soto, Isabelle Adjani, ปทุมรัตน์ วรมาลี

หนึ่งในการประกอบสร้างตัวตนของดิฉันก็มาจากกลุ่มเพื่อน ๆ ด้วย คือในช่วงปลายทศวรรษ 1980 ตอนที่ดิฉันเรียนอยู่ม.ปลายนั้น เพื่อน ๆ ในกลุ่ม จะสมมุติตัวเองเป็นนางแบบ Revlon กัน ดิฉันเป็น Talisa Soto ส่วนคนอื่น ๆ ในกลุ่มก็เป็น Cindy Crawford, Jerry Hall, Tatjana Patiz, Iman, etc.

ถ้าจะมีการสร้างหนังประวัติชีวิตดิฉัน ก็ให้ Yoko Minamino, Talisa Soto, Isabelle Adjani, ปทุมรัตน์ มาแสดงเป็นดิฉันได้นะคะ ดิฉันไม่เกี่ยงเรื่องเพศหรือสีผิว หรือหนังหน้าไม่ตรงกับตัวจริง 55555


หนังที่อยากดู แต่ไม่สามารถหาเวลาไปดูได้

3.COME BACK ANYTIME (2021, John Daschbach, Japan, documentary)

4. VIKRAM VEDHA (2022, Gayatri and Pushkar, India)

COME BACK ANYTIME นี่ถือเป็นบทเรียนสำหรับเราว่าอย่าประมาท เพราะเราคิดว่าหนังเรื่องนี้น่าจะฉายหลายสัปดาห์ เราก็เลยไม่ได้รีบดูในสัปดาห์แรก ๆ แล้วก็วางแผนว่าจะไปดูในวันอังคารที่ 4 ต.ค. แต่พอดีช่วงนั้นเรามีอาการเห็น "รอยเปรอะเหมือนน้ำโคลนเป็นจุด ๆ หลายจุด ลอยไปลอยมาในดวงตา" เราก็เลยกลัวว่าจะเป็นจอประสาทตาฉีกขาด เพราะก่อนหน้านี้เราเคยมีอาการจอประสาทตาฉีกขาดมาแล้ว 4 จุด เราก็เลยรีบไปหาหมอในวันที่ 4 ต.ค. ก็เลยไม่ได้ดูหนัง แล้วรอบฉาย COME BACK ANY TIME อีกรอบก็ตรงกับงานกางจอ เราก็เลยไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้ในที่สุด

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า อย่าประมาท เพราะโชคชะตามักจะหาโอกาสเล่นงานเราอย่างโหดร้ายอยู่เสมอ

ช่วงนี้เราไปหาจักษุแพทย์มาแล้ว 3 รอบ แต่ยังไม่เจอจอประสาทตาฉีกขาดเป็นจุดที่ 5 แต่อย่างใด ก็ถือว่ายังโชคดีอยู่

อาการผิดปกติครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อค่ำวันอาทิตย์ที่ 9 ต.ค. วันนั้นเราเห็นอาการคล้าย ๆ ฟ้าผ่าหรือแสงแฟลชในลูกตาเป็นร้อย ๆ รอบ จิตตกหนักมาก แต่ไปหาหมอแล้วก็ยังไม่เจออะไร

วันนี้เราก็ยังเห็นแสงแว้บ ๆ ในลูกตาอยู่นะ แต่เลิกกังวลกับมันแล้ว น่าจะเป็นวุ้นลูกตาเสื่อม แล้วทำให้เราเห็นเป็นแสงขาวแว้บ ๆ มั้ง เราเดาว่าอย่างนั้น


RED'S SCAR บาดแผลสีแดง (นัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์, documentary, 12min, second viewing, A+30)

เหมือนเป็นภาคสองต่อจาก "นครอัศจรรย์: MIGHT" (2011, Wachara Kanha) เพราะนครอัศจรรย์สัมภาษณ์ทนายความในคดีเผาศาลากลาง ส่วนหนังเรื่องนี้สัมภาษณ์ผู้บริสุทธิ์ที่ติดคุกเป็นเวลานานในคดีดังกล่าว เขาต้องสูญเสียหลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตอย่างที่ไม่อาจเรียกคืนมาได้ ดูแล้วก็รู้สึกเศร้าใจมาก ๆ กับความอยุติธรรมของประเทศไทย

RED POETRY: VERSE 1 เราไปไหนได้ (2021, Supamok Silarak, ธะเบลพอ, documentary, 10min,  second viewing, A+30)

ดีมาก ๆ ที่มีคนบันทึกเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ครั้งนี้ไว้ เรามองว่าหนังแบบนี้จะยิ่งมีคุณค่ามากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป ในฐานะบทบันทึกทางประวัติศาสตร์

สำหรับเรา หนังแบบนี้ถือเป็น "หนัง superhero ในชีวิตจริง" นับถือความกล้าหาญของนักสู้เหล่านี้มาก ๆ


WAITING LIST (2021, สวิตต์ นาคสกุล, documentary, 30min, second viewing, A+30)

หนังเหมือนถ่ายลานด้านนอกอาคารร้าง ๆ ไปเรื่อย ๆ แล้วมีฉากคนเล่นหมากรุกเข้ามาในช่วงท้าย ชอบสุด ๆ เหมือนหนังถ่ายอาคารสถานที่ร้าง ๆ แบบนี้ออกมาได้อย่างมีมนตร์เสน่ห์มาก ๆ เหมือนมันกระตุ้นจินตนาการถึงอดีตของพื้นที่นั้น ๆ ได้ดีมาก ๆ ดูแล้วรู้สึกเศร้า ๆ ด้วย

มารู้ทีหลังว่าหนังอาจจะพูดถึง gentrification ของพื้นที่แถบดินแดง ก็เลยรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ยิ่งน่าสนใจมากยิ่งขึ้นไปอีก

เพื่อนคนนึงสงสัยว่า มีการทำสารคดีเกี่ยวกับชีวิตชาวแฟลตดินแดงบ้างหรือเปล่า เพราะเขารู้สึกว่าชีวิตชาวแฟลตดินแดงน่าสนใจมาก เหมาะติดตามถ่ายทำเป็นเวลานาน ๆ เพื่อสังเกตความเปลี่ยนแปลงของชีวิตผู้คนขณะพื้นที่บริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไป

No comments: