FLUFF UP, FEEL DOWN ลูกหยีอีหัวหยอย (2022, Anakamont Aungsathammarat, 28min, A+30)
1. ชอบสุดขีด ปัจจัยหนึ่งที่ชอบเพราะหนังมันนำเสนอปัญหาทางกายภาพที่เราไม่เคยรู้หรือไม่เคยตระหนักถึงมาก่อน เพราะตัวเราเองไม่ได้มีลักษณะทางกายภาพแบบนั้น เราไม่เคยรู้มาก่อนว่าคนผมหยิกอาจจะเจอปัญหาต่าง ๆ แบบในหนังเรื่องนี้
จุดนี้ทำให้นึกถึงหนัง 2 เรื่องที่เคยฉายในงานกางจอที่นำเสนอปัญหาทางกายภาพของตัวละครเช่นกัน ซึ่งได้แก่เรื่อง BONNE EN ROUGE (2020, บุญรักษา สาแสง) ที่นำเสนอปัญหาของสาวผมแดง และ 8CM (2008, Sapassorn Santijitrungreung) ที่นำเสนอปัญหาของคู่รักที่ฝ่ายนึงสูงกว่าอีกฝ่ายนึง 8 cm. (ถ้าจำไม่ผิด) ซึ่งทั้ง 3 เรื่องก็มีจุดเด่นแตกต่างกันไป ถ้าเทียบกันแล้ว FLUFF UP, FEEL DOWN ดูสมจริงมากที่สุด ส่วน BONNE EN ROUGE อาจจะดูเป็นหนังการเมืองได้ด้วย ส่วน 8CM ออกไปในทาง comedy
นึกถึง BALA (2019, Amar Kaushik, India) ที่นำเสนอปัญหาของชายหัวล้านด้วยเหมือนกัน แต่ปัญหาของชายหัวล้านดูเหมือนเป็นเรื่องสากลที่คนอาจจะพอรู้ ๆ กันอยู่บ้างแล้ว แต่ FLUFF UP, FEEL DOWN นี่น่าจะเป็นหนังเรื่องแรกที่เราได้ดูที่พูดถึงปัญหาของคนผมหยิก
2.ชอบการนำเสนอสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตนางเอก ทั้งการใส่หมวกว่ายน้ำ, การหาซื้อยางรัดผม, แม่ที่ยืดผม, คำทักทายของเพื่อนแม่, การสมัครทุน, etc.
3.ชอบที่การปิดร้านรวงต่าง ๆ ในช่วงตรุษจีนส่งผลให้นางเอกเผชิญวิกฤติใหญ่
4.ชอบการสร้างตัวละครนางเอกให้ดูเทา ๆ ดีด้วย เพราะเธอก็มีความดื้อรั้น เอาแต่ใจตัวเหมือนกัน ชอบการปะทะกันระหว่างนางเอกกับเพื่อนขณะแสงอาทิตย์กำลังจะลาลับไปในช่วงท้ายเรื่องมาก ๆ
รายงานผลประกอบการ ประจำวันที่ 22-24 ต.ค. 2022
เสาร์ 22 ต.ค.
1.A MONKEY'S TALE (1999, Jean-Francois Laguionie, France, animation, A+30)
ดูที่ Alliance รอบ 14.00 น.
เพิ่งรู้ว่ามันคือภาคแรกของ THE PRINCE'S VOYAGE (2019, Jean-Francois Laguionie, A+30) ที่เคยมาฉายที่ SF มิน่าล่ะ ตอนเราดู THE PRINCE'S VOYAGE เราถึงรู้สึกว่ามัน set จักรวาลของมันได้แปลกและซับซ้อนผิดปกติมาก ที่แท้แล้วมันคือหนังภาคสองนี่เอง
แอบตกใจที่มันเป็นหนัง animation สำหรับเด็ก (หรือเปล่า) ที่ภาคแรกกับภาคสองสร้างห่างจากกัน 20 ปี
2.LOST ILLUSIONS (2021, Xavier Giannoli, France, 149min, A+30)
ดูที่ Alliance รอบ 16.30
เป็นหนังที่สนุกสุดขีดสำหรับเรา นึกว่าสร้างเป็นละครไทยยาว 15 ตอนจบได้สบาย ปะทะกับ FLOWERS OF SHANGHAI (1998, Hou Hsiao-hsien, Taiwan, A+30) ได้สบายเลยด้วย ในแง่หนังที่ตีแผ่ระบบโครงสร้างบางอย่างของโลกเก่า
3. MY TEMPO น้องพี่ ดนตรี+เพื่อน (2022, Natthaphong Aroonnet, C- )
ดูที่ Paragon รอบ 20.00
วันอาทิตย์ ที่ 23 Oct 2022
1.SCHOOLGIRLS (2020, Pilar Palomero, Spain, A+30)
ดูที่ศาลายา รอบ 13.00
กลายเป็นว่า ฉากที่รบกวนจิตใจเรามากที่สุด คือฉากที่นางเอกซึ่งมีอายุ 11 ขวบ ไม่สามารถตอบได้ว่า 3×5 = อะไร
คือเราตาม subtitle ไม่ทันช่วงต้นเรื่องที่นางเอกพูดถึงวิชาเลข หรือบัญญัติไตรยางค์ อะไรทำนองนี้ เราก็เลยไม่แน่ใจว่าที่นางเอกตอบไม่ได้ว่า 3×5 = 15 เป็นเพราะว่านางเอกโง่เลขมาก หรือเป็นเพราะว่า เธอเกลียด Mother Consuelo มาก หรือเธอเครียดกับสถานการณ์ในตอนนั้นมากจนไม่สามารถตอบคำถามได้ หรือเธอเลือกที่จะไม่ตอบคำถาม หรืออะไร ขอเชิญผู้ชมท่านอื่น ๆ อภิปรายเกี่ยวกับประเด็นนี้ค่ะ
2.เงาะป่า (1980, Prince Phanuphan Yukol, Piak Poster, A+30)
ดูที่หอภาพยนตร์ รอบ 15.30
3. CONFIDENTIAL ASSIGNMENT 2: INTERNATIONAL (2022, Lee Seok-hoon, South Korea, A+30)
ดูที่ Major Ratchayothin รอบ 19.00
จันทร์ 24 Oct 2022
1. AMSTERDAM (2022, David O. Russell, A+30)
ดูที่ HOUSE SAMYAN รอบ 12.20
นึกว่าหนังด่าประยุทธ์และสลิ่ม
2.TICKET TO PARADISE (2022, Ol Parker, A+25)
ดูที่ Major Ratchayothin รอบ 16.00
3. TOUKEN RANBU HANAMARU: CHAPTER OF SNOW (2022, Takashi Naoya, Japan, animation, A+10)
ดูที่ Major Ratchayothin รอบ 19.00
---
กลัวว่าอาจจะดูงานใน GHOST ไม่ทัน เลยขอจดไว้ก่อนว่าวิดีโอแต่ละแห่งยาวกี่นาที
1.บ้านตรอกถั่วงอก 116MIN
MANGOSTEEN 40MIN
PHANTOM BANQUET 10MIN
WA’ANAK WITU WATU 25MIN
THE EPOCH OF MAPALUCENE 14MIN
GARDEN AMIDST THE FLAME 27MIN
2.WORLD TRAVEL SERVICE 174MIN
THE ODDS 16MIN
AETHER (POOR OBJECTS) 18MIN
DEATH 20MIN
SNAKE CHARMER 20MIN
IF REVOLUTION IS A SICKNESS 19MIN
NIGHT FOR DAY 47MIN
LIFE ON THE CAPS 34MIN
3.JIM THOMPSON
BRINE LAKE (A NEW BODY) 44MIN ON TWO OPPOSING SCREENS = 88 MIN
เราเดาว่าเราไม่สามารถแยกประสาทดูสองจอพร้อมกันได้ อาจจะต้องดูจอนึงให้จบ แล้วค่อยดูอีกจอนึงให้จบ อันนี้เป็นจุดอ่อนเฉพาะตัวของเราที่ไม่สามารถแยกประสาททำอะไรแบบนี้ได้
QUALITIES OF LIFE 17MIN (อันนี้เราดูแล้ว)
4.NOVA CONTEMPORARY
สู่-ขวัญ 25MIN
5.BANGKOK CITYCITY
THE SHOW IS OVER 29MIN
THE SAND CASTLE (2022, มนอัปสร สฤษดิ์อภิรักษ์ Monapsorn Saritapirak, 23min, A+15)
หนังความสัมพันธ์ระหว่างพี่สาวน้องสาว ซึ่งจริง ๆ แล้วหนังก็ดูจริงดี แต่พอเนื้อเรื่องมันน้อย และเราไม่มีประสบการณ์ร่วมกับตัวละครในเรื่อง เราก็เลยอาจจะไม่ได้อินกับหนังมากนัก
WRATHFUL REMEDY (2022, Jakkrapan Sriwichai, 15min, A+30)
เหมือนหนังมีความเป็นสัญลักษณ์บางอย่างที่เราตีความไม่ออก แต่นั่นถือเป็นข้อดีของหนัง เพราะมันทำให้หนังค้างคาใจเราเป็นเวลานาน ไม่ใช่หนังสยองขวัญที่มีดีเพียงแค่ความสยองขวัญเพียงอย่างเดียว
ฉันรักเขา Shodai Fukuyama จาก ALIVE DRIFT (2022, Ten Shimoyama, Japan, A+25)
ฉันรักเขา Go Kyung-pyo จาก DECISION TO LEAVE (2022, Park Chan-wook, South Korea, A+30)
ฉันรักเขา Shivin Narang จาก GOODBYE (2022, Vikas Bahl, India, A+30)
ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ (2021, Nuttorn Kungwanklai, 12min, second viewing, A+30)
1.เป็นหนังที่ตอนดูรอบแรกก็ชอบพอสมควร แต่พอมาดูรอบสองหลังจากเวลาผ่านไป 1 ปีก็ชอบในระดับสุดขีด เพราะบรรยากาศในโรงมันดีมาก ผู้ชมมีปฏิกิริยาสะท้อนกลับต่อหนังอย่างดีมาก ๆ 555 และสิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือว่า เราพบว่าหนังมันช่วยบันทึกประวัติศาสตร์วาทกรรม, ข้อโต้แย้ง และ "ประวัติศาสตร์ทางอารมณ์" ของคนไทย 2 ฝ่ายในยุควิกฤติโควิดเอาไว้ได้ดีมาก
2.คือตอนดูรอบแรกเมื่อ 1 ปีก่อน เรายังไม่เห็นคุณค่าของหนังเรื่องนี้มากนักในแง่ "การบันทึกประวัติศาสตร์ เพราะบทสนทนาในหนังเป็นสิ่งที่ยังพบเห็นได้อยู่ หรือเป็นสิ่งที่เพิ่งผ่านมาได้ไม่นาน
แต่พอวิกฤติโควิดคลี่คลาย เราก็ค่อย ๆ ลืมเลือนวาทกรรมต่าง ๆ ในช่วงนั้นไป เพราะฉะนั้นพอเราได้มาดูหนังเรื่องนี้อีกครั้ง เราก็เลยพบว่า มันช่วย "บันทึกประวัติศาสตร์" ได้ดีมาก ๆ เหมือนหนังแบบนี้นี่แหละที่จะมีคุณค่าสำหรับเรามากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป
3.และพอมันไม่ได้เป็นเพียงแค่ "ตัวอักษรใน social media" แต่เป็นภาพยนตร์ที่เราได้เห็นการแสดงและน้ำเสียงของนักแสดงด้วย หนังเรื่องนี้เลยเหมือนช่วยบันทึก "ประวัติศาสตร์ทางอารมณ์" ของคนไทยในยุควิกฤติโควิดด้วย เพราะการอ่านแค่ข้อความโต้เถียงกันเหล่านี้ในรูปแบบตัวอักษรเฉย ๆ ในปี 2021 มันอาจได้อารมณ์ที่พลุ่งพล่านมาก แต่ถ้ามาอ่าน "ข้อความ"เหล่านี้ในช่วงปลายปี 2022 เราอาจลืมอารมณ์เก็บกดและเดือดดาลในปี 2021 ไปแล้ว หนังเรื่องนี้เลยเหมือนช่วยบันทึก "ประวัติศาสตร์ทางอารมณ์" ของคนไทยในยุควิกฤติโควิดเอาไว้ด้วยได้อย่างดีมาก ๆ
หนึ่งในสิ่งที่ตัดสินได้ในทันทีว่า หนังเรื่อง SCHOOLGIRLS (2020, Pilar Palomero, Spain, A+30) ถ่ายทอดชีวิตในปี 1992 ได้อย่างถูกต้อง คือการที่ผนังห้องของตัวละครในเรื่อง แปะรูป Rob Lowe สามีเก่าของดิฉันเอาไว้ด้วย
FILM WISH LIST: วังนางโรม (1955, Prince Anusornmongkolkarn) เห็นโปสเตอร์แล้วอยากดูเลย
FILM WISH LIST: อีก้อย (1961, สำเนาว์ หิริโอตัปปะ)
TERRITORY (2022, Verayut Sapprasert, 29min, A+30)
1.เหมือนเป็นหนังที่ไม่ได้มีเหตุการณ์พิสดารพันลึกอะไรเกิดขึ้น แต่เราว่า approach ของหนังมันประหลาดดี เพราะหนังเหมือนไม่ได้ขับเน้นหรือขีดเส้นใต้ตรง ๆ ว่าจะพูดถึงประเด็นอะไร
ประเด็นที่เราสนใจที่สุดในหนังซึ่งเราไม่แน่ใจว่าหนังต้องการจะพูดถึงประเด็นนี้เป็นหลักหรือเปล่า ก็คือเรื่องของการทำแท้ง และเหมือนหนังทำให้เรารู้สึกว่ามันควรจะเป็น territory ของผู้หญิงคนนั้น ร่างกายของเธอคือ territory ของเธอ เป็นสิทธิของผู้หญิงคนนั้นเองในการตัดสินใจว่าควรจะทำแท้งหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องของความเชื่อทางศาสนา หรือสายตาของบุคคลภายนอก ที่ไม่รู้ความเป็นมาเป็นไปของผู้หญิงคนนั้น หรือไม่รู้เงื่อนไขต่าง ๆ ในชีวิตของผู้หญิงคนนั้น
2.เราก็เลยชอบสุด ๆ ที่เหมือนหนังไม่ได้บอกตรง ๆ ว่าหนังต้องการจะบอกอย่างนั้นกับผู้ชมหรือเปล่า คือเราอาจจะคิดเองเออเองก็ได้ แต่เราชอบสุด ๆ ที่หนังเหมือนจะนำเสนอชีวิตนางเอกในแง่มุมอื่น ๆ ที่อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับประเด็นนั้นให้เราได้ดู แล้วผู้ชมแต่ละคนก็คิดเอาเองว่า หนังต้องการจะบอกอะไร
เราชอบมากที่หนังเล่าเรื่องชีวิตของนางเอก, สาเหตุที่ทำให้เธออยากทำแท้ง, อาชีพนางเอกที่เกี่ยวข้องกับการขายส่งเสื้อผ้า หรืออะไรทำนองนี้ ซึ่งเป็นอาขีพที่น่าสนใจมาก, การได้เจอเพื่อนเก่าโดยบังเอิญ, เพื่อนเก่าอาจจะแอบชอบเธอ, การแวะฉี่ข้างทางแล้วเจอศพคนตายปริศนา, การไปวัด, etc.
คือเหมือนพอหนังไม่ได้ขีดเส้นใต้ชัด ๆ ว่าต้องการจะพูดอะไร แต่ทำออกมาแบบนี้ มันทำให้เรารู้สึกว่าหนังมันไม่ยัดเยียดน่ะ และมันไม่ลดทอนความซับซ้อนของชีวิตมนุษย์ลงจนทำให้หนังกลายเป็นเพียงแค่ "บุรุษไปรษณีย์ที่ทำหน้าที่ส่งสาร" ด้วย
3.สิ่งที่หนังไม่ได้ตั้งใจ แต่ทำให้หนังนึกถึงประสบการณ์ส่วนตัวของเรา คือการที่นางเอกเจอศพคนตายปริศนา แล้วเลยตัดสินใจแวะเข้าวัด
เหตุการณ์ช่วงนี้ของหนังทำให้นึกถึงตัวเองมาก ๆ เพราะเราเองก็ไม่ค่อยสนใจศาสนา แต่พอเราเจออุบัติเหตุใหญ่ในชีวิตตอนปี 2016 เราก็รู้สึกได้ถึงความสำคัญของศาสนาในฐานะ "ที่พึ่งทางใจ" โดยเฉพาะสำหรับคนที่เจอ "เคราะห์กรรมที่ไม่มีคำอธิบาย" น่ะ ซึ่งเราก็ตระหนักดีว่า ถึงแม้ศาสนาจะเป็น "ที่พึ่งทางใจ" ที่ดีมาก เราก็ไม่ได้เชื่อในคำสอนทั้งหมด เราเลือกเชื่อเฉพาะเพียงแค่บางคำสอนเท่านั้น
4.เราชอบมาก ๆ ด้วยที่หนังเรื่องนี้ไม่ได้ประณามหรือเชิดชูศาสนาตรง ๆ เหมือนหนังเรื่องนี้เหมือนกับให้ territory ของวัด เป็นพื้นที่ที่ศาสนาสามารถแสดงคำสอนในแบบที่ตัวเองเชื่อได้อย่างเต็มที่ แล้วแต่ว่าใครจะเลือกเชื่อหรือไม่เชื่ออะไร
SECRET MOONSHINE (2022, Kantee Teerawaropas, A+30)
1.นึกถึงหนังเรื่องแรก ๆ ของคุณ Kantee ที่เราได้ดูแล้วชอบมาก ซึ่งก็คือ THE VANILLA AGE สิ้นศตวรรษ (2018) ในแง่ที่ว่า ชอบบรรยากาศหรือ mood ในหนังทั้งสองเรื่องมาก ๆ คือแทนที่เราจะชอบ "เนื้อเรื่อง" แบบในหนังทั่ว ๆ ไป หนังทั้งสองเรื่องนี้เหมือนมีจุดเด่นที่บรรยากาศแทน และมันแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาของคุณ Kantee ด้วย เพราะในขณะที่บรรยากาศใน THE VANILLA AGE ดูค่อนไปในทาง "ไม่ห่างไกลจากความเป็นจริงมากนัก" บรรยากาศใน SECRET MOONSHINE กลับดู "ข้นคลั่ก" มาก ๆ ทั้งการจัดแสง, การออกแบบสี etc. ราวกับว่าช่วง 5 ปีที่ผ่านมา คุณ Kantee พัฒนาความสามารถด้านเทคนิค, งาน production หรืองาน post-production อย่างมาก จนสามารถสร้างบรรยากาศที่มีมนตร์เสน่ห์อย่างรุนแรงขนาดนี้
2.ชอบการโพสท่าของนางเอกในหนังเรื่องนี้มาก ๆ มันดูติดตามาก ๆ
3.ใช่หนังเรื่องนี้หรือเปล่า ที่พระเอกเล่าเรื่องที่แฟนเก่าฆ่าตัวตายด้วยวิธีการพิสดาร
4. ฟังบทสนทนาไม่ออกในหลาย ๆ ช่วง แต่รู้สึกว่าบทสนทนาในหนังไม่ได้เน้นเล่าเรื่อง แต่เจาะเข้าไปในความลึกลับทางจิตวิญญาณของตัวละคร
5.อยากให้พัฒนาเป็นหนังยาวมาก ๆ อาจจะได้หนังที่สามารถปะทะกับ THE PHANTOM HEART (1996, Philippe Garrel) ได้
แต๋วแหววเป็นประจำ (2021, อภิญญา พุกศรีสุข, 16min, second viewing, A+30)
1.ชอบมาก ๆ ที่หนังนำเสนอกลุ่มเพื่อนที่มีทั้งผู้หญิงผู้ชายอยู่ในกลุ่มเดียวกัน
2.ชอบที่หนังพูดถึงเรื่องการมีเมนส์ด้วย เหมือนเป็นประเด็นที่ไม่ค่อยเจอในหนังส่วนใหญ่
3.เหมือนเป็นหนังที่ "เด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูก็สนุกดี" ซึ่งเรารู้สึกว่าหนังกลุ่มนี้ทำได้ยากเหมือนกัน เพราะมันต้องรักษา balance ระหว่างผู้ชมสองกลุ่ม
THE DREAM ABOUT BEING A SERIAL KILLER (พิพิธภัณฑ์หิ่งห้อย) (2022, มรรค ก่อเกียรติมานะ, 7min, A+30)
No comments:
Post a Comment