THE ROUNDUP (2022, Lee Sangyong, South Korea, A+30)
1.หนังสนุกดี Son Sukku หล่อน่ากินที่สุด กรี๊ดดดดด
2.ชอบที่ในหนังมีฉากที่ลูกน้องหล่อ ๆ ของพระเอกต้องลุยกับผู้ร้ายเองอยู่บ้าง เพราะตัวพระเอกนี่เราเดาว่าน่าจะไม่ตายง่าย ๆ แต่พอเป็น "ตัวประกอบ" นี่มันมีความเสี่ยงที่อาจจะตายได้ เพราะฉะนั้นพอหนังเรื่องนี้มันเผื่อแผ่พื้นที่ มีฉากให้ลุ้นกับตัวประกอบเหล่านี้ โดยเฉพาะตัวประกอบหล่อ ๆ เราก็เลยชอบตรงจุดนี้ของหนัง เพราะโดยปกติแล้ว เราจะลุ้นกับฉาก "ตัวประกอบสู้กับผู้ร้าย" มากกว่าฉาก "พระเอกสู้กับผู้ร้าย" 55555
BROKER (2022, Hirokazu Koreeda, South Korea, A+30)
รัก Gang Dong-won ในหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรงมาก ตรงสเปคมาก ๆ กรี๊ดดด ลูกหมีบอกว่าอยากถูกเขาอุ้มแบบเด็กทารกในหนัง ลูกหมีบอกว่าอยากได้เขาเป็นพ่อบุญธรรม 5555
คือเราชอบผู้ชายที่มีปมทางจิต ปมชีวิตแบบนี้น่ะ ตกหลุมรักเขาตอนที่เขาเล่าว่า ตอนเด็ก ๆ เขาได้แต่เฝ้ารอให้แม่มารับเขากลับไปสักที แต่ถึงแม้รอมานานหลายปี แม่ก็ไม่เคยกลับมารับเขาเลย (แต่ไม่รู้ว่าเราจำถูกหรือเปล่านะ เพราะเราดูหนังเรื่องนี้มานาน 3 เดือนแล้ว)
รู้สึกว่าผู้ชายที่มีบาดแผลทางจิตใจอะไรแบบนี้ และโตมาเป็นคนแบบนี้ เป็นผู้ชายที่น่าหลงใหลสุด ๆ สำหรับเรา
A RADIANT GIRL (2021, Sandrine Kiberlain, France, A+30)
คิดว่าทั้ง A RADIANT GIRL, TRANSIT (2018, Christian Petzold, Germany) และ WHERE IS ANNE FRANK (2021, Ari Folman) นี่จริง ๆ แล้วน่าจะพูดถึงประเด็นเดียวกัน นั่นก็คือการเล่าเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวและคนบางกลุ่มในช่วง WWII แต่จุดประสงค์จริง ๆ คือการสะท้อนกลับมายังยุคปัจจุบันเพื่อให้คนในยุโรปเห็นอกเห็นใจผู้อพยพ หรือตั้งคำถามต่อแนวคิดของฝ่ายขวาจัด
WHERE IS ANNE FRANK น่าจะเป็นหนังที่พูดถึงประเด็นนี้อย่างตรงไปตรงมามากที่สุด เพราะมันคงเป็นหนังที่ตั้งใจให้เด็กดูรู้เรื่องด้วย ส่วน A RADIANT GIRL นั้น เราสงสัยว่าหนังมันน่าจะสะท้อนถึงยุคปัจจุบัน เพราะเราว่าเครื่องแต่งกายตัวละครมันดูกึ่ง ๆ ยังไงไม่รู้ คือมันดูเหมือนคนที่แต่งตัวเรียบ ๆ ในยุคปัจจุบัน มากกว่าจะเป็นชุดแบบในอดีต แต่เราก็ไม่มีความรู้เรื่องเครื่องแต่งกายในฝรั่งเศสในทศวรรษ 1940 เราก็เลยไม่รู้ว่าเราคิดไปเองหรือเปล่า
คือดูหนังเรื่องนี้แล้วนึกถึงปัญหาแบบ Marine Le Pen ฝ่ายขวาจัดในยุคปัจจุบัน แต่ไม่รู้ว่าหนังตั้งใจ หรือเราคิดไปเอง
THE EMPEROR'S NAKED ARMY MARCHES ON (1987, Kazuo Hara, Japan, documentary, A+30)
1.Controversial ไปทุกภาคส่วนจริง ๆ ทั้งเรื่องที่ทหารญี่ปุ่นกินคน, การที่ทหารชั้นผู้น้อยอาจจะถูกทหารชั้นผู้ใหญ่จับกินเป็นอาหาร, ตัว subject ที่ใช้วิธีการที่ controversial ขึ้นเรื่อย ๆ ในการหาคำตอบ และท่าทีของผู้กำกับภาพยนตร์ที่ปล่อยให้ตัว subject ใช้ความรุนแรง
2.เหมือนก่อนหน้านี้เราได้ดูแต่หนังฮอลลีวู้ดที่พูดถึงทหารผ่านศึกสงครามเวียดนาม กับทหารผ่านศึกสงครามตะวันออกกลาง ที่มี trauma ติดตัวกลับมาอย่างรุนแรง นาน ๆ ทีถึงจะได้ดูหนังที่พูดถึง trauma ทางจิตของทหารผ่านศึกชาติอื่น ๆ บ้าง
THE OX-HEAD VILLAGE (2022, Takashi Shimizu, Japan, A+30)
1.รัก Takashi Shimizu อย่างรุนแรง ชอบหนังไตรภาคชุดนี้ของเขาอย่างมาก ๆ ชอบ sense ในการร้อยเรียงฉากอดีตกับปัจจุบัน หรือการตัดสลับฉากอดีตกับฉากปัจจุบันในหนังของเขาอย่างรุนแรงมาก เหมือนเขาเป็นรองก็แค่ Alain Resnais กับ Alain Robbe-Grillet ในด้านนี้
2.ชอบฉาก mirage ในหนังเรื่องนี้มาก ๆ หลอนสุดขีด แล้วมันเกิดขึ้นกลางวันแสก ๆ กลางแดดสว่างจ้าด้วย เราเลยยิ่งกลัวไปใหญ่
3.ชอบการเห็นผีผ่านการมองเงาสะท้อนในแอ่งน้ำขังตามท้องถนนด้วย รุนแรงมาก
4.ฉากฝนตกหนักที่สถานีรถไฟก็ชอบมาก คือเป็นฉากที่เกิดขึ้นกลางวันแสก ๆ เหมือนกัน และไม่มีผีอะไร แต่ชอบบรรยากาศในฉากนั้นอย่างสุด ๆ
5.การตัดต่อฉากตกเขากับฉากปัจจุบันในหนังเรื่องนี้นี่คือที่สุด ชอบฉากนี้อย่างรุนแรง
FIRE WILL COME (2019, Oliver Laxe, Spain, A+30)
เหมือนในหนังไม่ได้มีเหตุการณ์อะไรที่เหนือจริงเลย แต่ดูแล้วรู้สึกพิศวงมาก ๆ
เสียดายไม่ได้อยู่ฟังการบรรยายหลังหนังจบ เห็นเขาบอกว่าการบรรยายดีมาก
SETAPAK MELANGKAH (2022, Adnan Samae, 15min, A+15)
หนึ่งย่างก้าว
Spoilers alert
--
--
--
--
--
1.ตอนแรกตื่นเต้นมาก นึกว่ามันจะเป็นหนังบู๊ แบบหนังบู๊กังฟู แต่เปลี่ยนจากกังฟูมาเป็น silat แทน แต่ไป ๆ มา ๆ มันเหมือนเป็นหนังนำเสนอวัฒนธรรม และเราก็งง ๆ กับเนื้อเรื่องในช่วงหลัง ๆ เหมือนตัวละครเรียนจบ แล้วก็แยกย้ายไปตามทางของตน แล้วก็จบ ไม่ได้มีฉากบู๊อะไร ผิดคาดมาก 55555
2.ก็เลยสงสัยว่า เจตนาจริง ๆ ในตอนแรกคือการสร้างหนังบู๊หรือเปล่า แต่อาจจะติดข้อจำกัดต่าง ๆ มากมายก็เลยต้องเปลี่ยนเนื้อเรื่องในภายหลัง หรือเจตนาจริง ๆ คือการไม่มีฉากการต่อสู้ในช่วงครึ่งหลังอยู่แล้ว
3.สรุปว่าอารมณ์ของเราในการดูหนังเรื่องนี้คล้าย ๆ กับการดูหนังจีนที่มีตัวละครเป็นหลวงจีนในวัดเส้าหลิน ที่ฝึกฝนกำลังภายใน เราก็นึกว่ามันจะนำไปสู่การบู๊เลือดพล่านในภายหลัง แต่ปรากฏว่า ช่วงหลังของเรื่องมันพลิกจากหนังบู๊ไปเป็นหนัง zen ตัวละครสนทนาปริศนาธรรมกัน แล้วก็จบ ผิดคาดมาก ๆ 555
SON'S SECRET (2022, Naklaw Kaewnit, animation, 8min, A+)
1.ชอบประเด็นของหนังนะ ซึ่งเป็นประเด็นที่เราน่าจะอินอยู่แล้ว ซึ่งก็คือเรื่องของเกย์ เหมือนตอนดูเราจะจับเนื้อเรื่องได้แค่ว่า พระเอกชอบเล่นแต่งตัวตุ๊กตา โดนเพื่อนชาย bully, ได้เพื่อนหญิงช่วยไว้, เขามีปัญหากับแม่, เขากับเพื่อนหญิงชวนกันทำงาน costume design ในงานโรงเรียน แต่พอหนัง flashback ไปฉากรถชนเราก็งงมากว่ามันคืออะไร 55555
2.ถึงแม้จะชอบประเด็นของหนัง แต่เราก็ยอมรับว่าชอบหนังเรื่องนี้น้อยที่สุดในงานนะ เพราะ narrative มันไม่ได้จริง ๆ คือดูไม่รู้เรื่องในช่วงหลังจนมันจะกลายเป็นหนังทดลองอยู่แล้ว 555 แล้วพอมารู้ทีหลังว่า ตัวละครมีการสลับวิญญาณกัน เราก็ช็อคมาก คือพอได้คำอธิบายแบบนั้น ทุกอย่างในหนังก็กระจ่าง แต่ถ้ามันไม่มีคำอธิบาย หนังมันก็จะดูไม่ค่อยรู้เรื่อง ถึงแม้หนังยังคงสื่อสารประเด็นหลักออกมาได้ก็ตาม
3.คิดว่าถ้าหากจะทำให้ดูรู้เรื่อง ก็ไม่ยากนะ คืออาจจะใช้วิธีเล่าเรื่องแบบเรียงตามลำดับเวลา เป็น ต้น-กลาง-ปลาย ไม่ใช่ กลาง-ปลาย-ต้น แบบนี้ หรือไม่ก็ใช้วิธีใส่เสียงคำพูดและ voiceover ความคิดตัวละครเข้าไปในหนัง เพื่อให้ทุกอย่างมันกระจ่างขึ้น
4.คือคิดว่าปัญหามันเกิดจากการเล่นท่ายากเกินไปนั่นแหละ หนังมันเลยมีปัญหาด้าน narrative แต่ก็เข้าใจว่าในแง่นึงหนังเรื่องนี้มันอาจจะมีความเป็นหนังทดลองจริง ๆ เพราะทีมงานน่าจะเป็นเด็ก ๆ ที่เพิ่งลองทำหนัง animation กัน ก็เลยต้องลองผิดลองถูกกันไปเรื่อย ๆ ก่อน เพื่อดูว่า ถ้าทำออกมาแบบนี้แล้วจะใช้ได้ไหม ซึ่งเราว่าอันนี้ถือเป็นบทเรียนแล้วกันว่า หนังมันเล่นท่ายากเกินไปจ้ะ
DREAM BOARD (2022, Sofiana Sama, 17min, A+30)
1.ประทับใจกับหนังในโครงการนี้มาก ๆ เหมือนหนังหลาย ๆ เรื่องในโครงการนี้ทำให้เรารู้สึกว่าคนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้มีทั้ง "ความเหมือน" และ "ความต่าง" จากคนในพื้นที่อื่น ๆ ในแบบที่เราไม่ได้คิดมาก่อน หนังที่ทำให้เรารู้สึกว่า พวกเขาก็มีชีวิตและปัญหาชีวิตที่คล้ายกับคนในพื้นที่อื่น ๆ ก็เช่น THE ROTI (เพื่อนทะเลาะกัน), WAERUNG MECA (การมองเด็กแว้นในแง่ลบมากเกินไป), THE ESSENTIALS (พ่อแม่ไม่เข้าใจลูก), SON'S SECRET (ลูกเป็น gay) และ DREAM BOARD (ความรักในกีฬาสเก็ตบอร์ด) ส่วนหนังที่ทำให้เราได้เรียนรู้ปัญหาในพื้นที่นั้น หรือเรียนรู้วัฒนธรรมเฉพาะของพื้นที่นั้น ก็คือ WOLF, HIJAB, DOWNSTAIRS, THE RED CLOTH, NIKAH และ SETAPAK MELANGKAH
2.จริง ๆ แล้วก็มีหนังไทยเกี่ยวกับสเก็ตบอร์ดออกมาบ้างเหมือนกันนะในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ WEIRDROSOPHER WORLD (2006, Nontawat Numbenchapol Rthit Pannikul, documentary) เหมือนน่าจะมีออกมาแล้วอย่างน้อย 5 เรื่อง ซึ่งรวมถึงหนังเรื่องนึงที่พูดถึงหนุ่มสเก็ตบอร์ดไปงานศพเพื่อน และหนังอีกเรื่องนึงที่หนุ่มสเก็ตบอร์ดมีปัญหากับทางบ้าน
แต่ดูหนังกลุ่มนี้แล้วก็ไม่รู้สึกว่ามันซ้ำซากนะ เพราะสิ่งที่หนังไทยเหล่านี้มีตรงกันมีเพียงแค่ตัวละครเอกเล่น skateboard แต่เนื้อหาของแต่ละเรื่องแตกต่างกันออกไป และเราว่ากีฬานี้มันดู cinematic ดีด้วยมั้ง มันดูสนุก ตื่นเต้น เหมาะต่อการถ่ายทอดเป็นภาพเคลื่อนไหว ใช้เวลาเพียงแค่สั้น ๆ หนังกลุ่มนี้มันก็เลยดูเพลิน และหนังกลุ่มนี้มันเหมือนต้องการคนที่เล่นสเก็ตบอร์ดเป็นจริง ๆ มาแสดงด้วยมั้ง มันก็เลยอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสร้างหนังกลุ่มนี้ออกมา
3.จุดเด่นของหนังเรื่องนี้ในสายตาของเราคือ locations เพราะ
3.1 หนังเรื่องนี้แตกต่างจากหนัง skateboard ของไทยเรื่องอื่น ๆ ตรงที่มันเกิดใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ เราก็เลยได้รับรู้ว่ามีเด็ก ๆ กลุ่มนี้อยู่ในพื้นที่นั้นด้วย
3.2 หนังเรื่องนี้แตกต่างจากหนังเกี่ยวกับ 3 จังหวัดชายแดนใต้เรื่องอื่น ๆ ตรงที่มันนำเสนอพื้นที่เล่น skateboards เราก็เลยเหมือนได้เห็น locations ต่าง ๆ ที่เด็ก ๆ กลุ่มนี้ไป hang out กัน ซึ่งมักจะเป็นพื้นที่ร้าง ๆ หรือโล่ง ๆ หน่อย และดูไม่ค่อยเหมือน locations ในหนังสามจังหวัดเรื่องอื่น ๆ หนังเรื่องนี้ก็เลยเหมือนพาเราไปดูสถานที่ต่าง ๆ ที่น่าสนใจด้วย
4.ส่วนพล็อตเรื่อง romantic นั้น ก็ทำออกมากุ๊กกิ๊กในระดับกำลังพอดี
NIKAH -- MY LOVE, YOUR MARRIAGE (2022, Nurfatin Yapa, 25min, A+15)
นิกะฮ โปรดบอกรักฉันเมื่อเวลานั้นมาถึง
1.ถือเป็นหนังที่นำเสนอความแตกต่างทางวัฒนธรรมได้ดีเลยทีเดียว เพราะเราก็แทบไม่เคยรู้มาก่อนว่าวัฒนธรรมการแต่งงานแบบนี้มันเป็นอย่างไร
2.คนที่เล่นเป็นพระเอกนางเอกเข้ากันได้ดีจริง ๆ อารมณ์มันดูกุ๊กกิ๊กหวานแหววมาก ๆ
3.ชอบฉากเจอกันฉากแรกอย่างสุด ๆ ที่นางเอกเป็นฝ่ายเข้าไปจีบพระเอกกลางตลาดสด คือถ้าหากหนังเปลี่ยนเป็นพระเอกเห็นนางเอกสวย แล้วเข้าไปจีบ เราคงชอบหนังน้อยกว่านี้หลายเท่า เพราะเราไม่สามารถ identify ตัวเองเป็นสาวสวยที่มีชายหนุ่มเข้ามาจีบได้ 55555 แต่พอหนังเรื่องนี้ให้นางเอกเป็นฝ่ายเห็นพระเอกกลางตลาดสด แล้วเธอก็เลยเข้าไปจีบพระเอก เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้ตรงจุดนี้อย่างมาก ๆ
4. ฉากประกาศกลางโรงเรียนเรื่องให้มารับอาหารจากภรรยาก็ฮามาก ๆ น่ารักมาก ๆ
5.แต่พอมันเป็นหนัง romantic ที่วัฒนธรรมแตกต่างจากเรามาก ๆ เราก็เลยไม่ได้อินมากนัก แต่ก็ยอมรับว่ามันทำหน้าที่นำเสนอวัฒนธรรมของตนเองได้ดีทีเดียว
6.จริง ๆ คิดว่าเบื้องหลังหนังเรื่องนี้นำมาสร้างเป็นหนังอีกเรื่องได้สบาย ๆ เลย เพราะตัวละครพระเอกในเรื่องเป็นคนที่เปลี่ยนศาสนา ทางทีมงานก็เลยต้องการหานักแสดงชายที่หน้าตาดูไม่เป็นคนมุสลิม แต่การหานักแสดงหน้าตาแบบนี้อาจจะเป็นเรื่องยากในภูมิภาคนั้น ทางทีมงานที่เป็นผู้หญิงเลยไปดูคนที่มาวิ่งออกกำลังกายที่สนามแห่งนึง (ถ้าเข้าใจไม่ผิด) เพื่อดูว่ามีนักวิ่งคนไหนที่รูปร่างหน้าตาเหมาะจะเป็นพระเอกบ้าง แล้วก็คอยวิ่งตามนักวิ่งคนนั้นไป แต่พอทำแบบนี้บ่อย ๆ เข้า ผู้ชายในสนามแห่งนั้นก็เลยเริ่มกลัว 555
คือชอบเบื้องหลังหนังเรื่องนี้อย่างสุด ๆ เอามาดัดแปลงทำเป็นหนังอีกเรื่องได้สบาย ๆ เลยนะ
WAERUNG MECA (2022, Nawaf Teeh, 19min, A+30)
ชอบมาก ๆ เรื่องของเด็กแว้นในภาคใต้ เหมือนเป็นการนำเสนอชีวิตวัยรุ่นในภาคใต้ในแบบที่เราไม่ค่อยได้พบเห็นในสื่อมาก่อน
เหมือนหนังมันถ่ายทอดอะไรบางอย่างของชีวิตวัยรุ่นออกมาได้ดีมาก ๆ และสะท้อนบรรยากาศบางอย่างของท้องถิ่นนั้นได้ดีมาก ๆ ด้วย
ชอบตอนจบอย่างสุดขีด ที่เป็นการซูมอินเข้าไปที่หน้าของพระเอก รู้สึกว่าพระเอกแทบไม่ได้แสดงออกทางคำพูดมากนักในฉากนั้น แต่การค่อย ๆ ซูมเข้าไปที่หน้าของพระเอกมันเหมือนทำให้เราค่อย ๆ จินตนาการถึงความอัดอั้นตันใจของพระเอก แล้วพอเราจินตนาการเอง เราก็จะรู้สึกว่ามันรุนแรงมาก ๆ
ว่าแต่ชื่อเรื่องแปลว่าอะไร
‐----
พอได้ดู WHERE IS ANNE FRANK (2021, Ari Folman, Belgium/Luxembourg/France/Netherlands, animation, A+30) แล้วก็สงสัยมากว่า Anne โดนจับได้ยังไง ก็เลยเข้าไปอ่านใน wikipedia แล้วก็พบว่า มันยังไม่มีข้อสรุปในเรื่องนี้ มีแต่ทฤษฎีที่แตกต่างกันไปเกี่ยวกับคนแจ้งเบาะแส
No comments:
Post a Comment