CAFFEINE VAMPIRE AND PISS ARSONIST
(2022, Theerapat Wongpaisarnkit, 60min, second viewing, A+30)
ดูมานานมากแล้วแต่ไม่มีเวลาเขียนถึงเลย
ตอนนี้ลืมรายละเอียดในหนังไปหมดแล้ว ไม่รู้ว่าจำอะไรผิดบ้างหรือเปล่า 555
1.ชอบโครงสร้างของหนังที่คล้ายคลึงกับ
JUNK FOOD FABLE (2020, Theerapat Wongpaisarnkit) คือถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด ช่วงต้นของหนังทั้งสองเรื่องนี้เล่าเรื่องของ
1.1 โลกพิสดารหรือตัวละครพิสดาร ก่อนที่หนังจะเฉลยในเวลาต่อมาว่า
เรื่องราวช่วงต้นเรื่องเป็น “หนังซ้อนหนัง”
1.2 และเนื้อหาช่วงต่อมาของ JUNK FOOD FABLE + CAFFEINE VAMPIRE ก็จะพูดถึงชีวิตของผู้คนที่อยู่เบื้องหลัง
“หนังสั้นในช่วงต้นเรื่อง” หรือทีมงานสร้าง “หนังสั้นในช่วงต้นเรื่อง”
1.3 ก่อนที่อะไรบางอย่างจาก “หนังซ้อนหนัง”
จะเหมือนไหลออกจากโลกของมันมาปะปนอยู่ในชีวิตของทีมงานสร้างหนังด้วย
2.โดยในกรณีของ JUNK
FOOD FABLE นั้น “หนังในช่วงต้นเรื่อง” พูดถึงสถานการณ์ที่เวลา
24.00 น.ถูกยืดยาวออกไป ไม่ยอมเข้าสู่วันใหม่ ไม่มี “อนาคตใหม่” 555 ชีวิตผู้คนกิน
junk food ตอนเที่ยงคืนกันอย่างเนือย ๆ แล้วต่อมาผู้ชมก็ได้รู้ว่า
เนื้อหาส่วนนี้เป็นหนังซ้อนหนัง (เรื่อง STICKY NIGHT หรืออะไรทำนองนี้)
และเนื้อหาส่วนต่อมาก็พูดถึงวง ONION RING ที่เคยแสดงใน STICKY
NIGHT และพูดถึงผู้กำกับ MV ให้กับวง ONION
RING ก่อนที่อะไรบางอย่างที่เหมือนอยู่ในซีรีส์ที่สมาชิกวง ONION
RING แสดง จะไหลออกมาอยู่ในชีวิตของผู้กำกับ MV ด้วย ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด
3.ส่วนใน CAFFEINE
VAMPIRE นั้น เนื้อหาส่วนต้นพูดถึงชีวิตของหญิงสาวกับชายหนุ่มที่ประสบกับความแปรเปลี่ยนอย่างแปลกประหลาดทั้งทางกายและทางใจ
เหมือนตัวหญิงสาวจะเริ่มรู้สึกว่าแสงแดดมีกลิ่นเหม็น และเธอก็เลยกลายเป็นแวมไพร์ที่ดูดกินคาเฟอีนในเลือด
และเธอก็มีปัญหาเรื่องการถอดเสื้อผ้าต่อหน้าคนอื่นด้วย ส่วนตัวผู้ชายนั้นก็พบว่าของเหลวที่หลั่งจากร่างกายของเขาสามารถติดไฟได้
ไม่แน่ใจว่าเนื้อหาช่วงต้นของหนังเรื่องนี้เป็นการพาดพิงกลายๆ
ถึงม็อบในปี 2021 แถวดินแดงที่ทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อเทียบกับม็อบในปี 2020 หรือเปล่า
คือเหมือนตัวละครในหนังไตรภาคชุด NEO APOCALYPSE นี้มันทำให้เรานึกถึงภาพความเปลี่ยนแปลงของหนุ่มสาวในยุค 2019-2021 เหมือนกัน
จากหนุ่มสาวที่ต้องใช้ชีวิตอย่างไร้อนาคตใหม่ใน STICKY NIGHT ใน JUNK FOOD FABLE, มาสู่หนุ่มสาวที่กระตือรือร้นและ
“ตื่นตัว” ไปกับม็อบใน DIARY OF A PURSE FUCKER (2020, Theerapat
Wongpaisarnkit) และหนุ่มสาวที่ทำให้กลางคืนมีไฟลุกไหม้ใน CAFFEINE
VAMPIRE AND PISS ARSONIST
4.หลังจากหนังเล่าเรื่องของหนุ่มสาวที่มีอาการประหลาดไปแล้ว
หนังก็เหมือนจะเฉลยว่าสิ่งที่เราได้ดูในช่วงต้นเรื่องเป็นเพียงหนังซ้อนหนังเท่านั้น
และหนังก็หันมาเล่าเรื่องของหญิงที่ทำ sound ให้กับหนังสั้นเรื่องดังกล่าว (แสดงโดย Waywiree Ittianunkul) แต่ขณะที่เธอกำลังทำ sound อยู่ตามลำพังในห้อง
ตัวละครจากหนังสั้นก็เหมือนจะหลุดออกมาจากหนังและเข้ามาปะปนอยู่ในชีวิตของเธอ
นอกจากนี้ เมื่อมีเพื่อนชายชื่อ “เกม”
มาเยี่ยม Waywiree
หลังจากนั้นเกมก็เหมือนจะได้เจอกับทั้งตัวละครหญิงและชายจากในหนังสั้น เข้ามาปะปนอยู่ในชีวิตของเขาเช่นกันเมื่อเขาเดินเข้าไปในอุโมงค์
เราก็เลยรู้สึกว่า โครงสร้างของ JUNK FOOD FABLE กับ CAFFEINE VAMPIRE มันน่าสนใจดี มันเป็นหนังซ้อนหนังทั้งสองเรื่อง และก็มีความแปลกประหลาดทั้งสองเรื่อง
มีการเบลอระหว่างโลกในหนัง กับ โลกในหนังซ้อนหนัง เข้าด้วยกันได้อย่างพิศวงดีมาก
5.ช่วงท้าย ๆ เราดูแล้วก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าหนังหมายความว่ายังไง
แต่การที่ตัวละครหญิงสาวคนหนึ่งเปิดม่านออกรับแสงตะวันได้โดยไม่รู้สึกเหม็นหรืออะไร
มันทำให้เรารู้สึกว่าหนังมันจบอย่างมีความหวัง ถึงแม้เราจะไม่เข้าใจตอนจบก็ตาม
6.เรารู้สึกว่า “ความเนือย” ของทั้ง JUNK FOOD FABLE กับ CAFFEINE VAMPIRE เป็นทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งของหนังในเวลาเดียวกัน 5555 เรามองว่ามันเป็นจุดอ่อนในแง่ที่ว่า
ในระหว่างที่เราดูหนังสองเรื่องนี้ เราก็จะรู้สึกเบื่อ ๆ กับบางฉาก โดยความเนือยในที่นี้เราหมายถึงช่วง
STICKY NIGHT ใน JUNK FOOD FABLE ที่ทุกอย่างดูเนือย
ไร้อนาคตใหม่มาก ๆ ส่วนใน CAFFEINE VAMPIRE นั้น เราว่าฉากที่
Waywiree ทำ sound อยู่ในห้องเป็นเวลานาน
ก็ดูเนือยมาก ๆ และตอนที่ดูรอบแรกเราก็จะรู้สึกเบื่อ ๆ
แต่เราว่าความเนือยนี้ก็เป็นจุดแข็งเหมือนกัน
เพราะว่าพอเวลาผ่านไประยะนึงหลังจากเราดูหนังสองเรื่องนี้ไปแล้ว เราก็จะพบว่าสิ่งที่เราจำได้ดีที่สุดหรือติดอยู่ในใจเรามากที่สุด
ก็คือความเนือยใน STICKY NIGHT และความเนือยในฉากทำ
sound นี่แหละ 555 เหมือนมันกลายเป็นสิ่งที่เราจดจำได้ดีที่สุดจากหนังสองเรื่องนี้ไปซะอย่างงั้น
7.สรุปว่าชอบ CAFFEINE VAMPIRE AND PISS ARSONIST และหนังไตรภาคชุด NEO
APOCALYPSE มากพอสมควรนะ เหมือนหนังมันมีความ weird ในแบบของตนเอง แต่จริง ๆ
แล้วหนังชุดนี้ก็อาจจะไม่ได้เข้าทางเราซะทีเดียวนะ เพราะเราก็อยากให้หนังมันบ้าบอคอแตกมากกว่านี้อีกน่ะ
555 คือถ้าหากเปรียบเทียบหนังชุดนี้เป็นดนตรี มันก็เหมือนเป็นดนตรีที่มีอะไรน่าสนใจ
แต่สไตล์ของมันอึมครึมและจังหวะมันหน่วงเกินไปสำหรับเรา เหมือนเราอยากได้ดนตรีที่มันกะหรี่แตก
(แบบเพลงของ Nina Hagen) อะไรมากกว่านี้หน่อย 555
เคยเขียนถึง JUNK FOOD FABLE ไว้แล้วที่นี่
https://web.facebook.com/photo?fbid=10222861705114526&set=a.10222283837628200
เคยเขียนถึง DIARY OF A PURSE FUCKER ไว้แล้วที่นี่
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10227342823339681&set=a.10225784745948720
หนังเกี่ยวกับลัทธิบูชาตัวบุคคล
1.DIVINE (1998, Arturo Ripstein, Mexico)
เด็กสาวที่ถูกอุปโลกน์ให้กลายเป็นผู้นำลัทธิ
เธอก็เลยสั่งให้คนในลัทธิทำอะไรเหี้ย ๆ ก็ได้ตามที่เธอต้องการ
2.MAN OF MARBLE (1977, Andrzej Wajda, Poland) + MAN
OF IRON (1981, Andrzej Wajda, Poland)
ชายหนุ่มที่ถูกรัฐบาลคอมมิวนิสต์ใช้เป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อให้ประชาชนมองว่าเขาเป็นแบบอย่างที่ดี
3.DANTON (1983, Andrzej Wajda)
อันนี้ไม่รู้เป็นลัทธิบูชาตัวบุคคลหรือเปล่า
5555 แต่หนังเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้โรเบสปิแอร์จะเป็นผู้นำในการโค่นล้มราชวงศ์ฝรั่งเศส
การเชื่อโรเบสปิแอร์มากเกินไปก็ไม่ดีเหมือนกัน
แล้วก็มีหนังกลุ่มที่เรายังไม่เคยดู
ซึ่งก็คือหนังเยอรมันหลายเรื่องที่สร้างขึ้นในยุคนาซี ซึ่งเป็นหนังเกี่ยวกับกษัตริย์เฟรเดอริคที่สอง
มหาราช ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่ถูกเปรียบเทียบกับฮิตเลอร์
ซิกฟรีด
คราเคาเออร์เคยเขียนถึงหนังกลุ่มนี้ว่า หนังกลุ่มนี้เป็นการทำให้ผู้ชมซึ่งเป็นประชาชนชาวเยอรมนีคุ้นเคยกับการมีฮิตเลอร์เป็นผู้นำ
โดยหนังกลุ่มนี้มีตัวละครมาพูดว่า “การมีผู้ปกครองที่ดีเป็นสิ่งที่ดีกว่าการมีกฎหมายที่ดี”
ซึ่งถือเป็นการเข้าข้างระบอบเผด็จการ และกษัตริย์เฟรเดอริคในหนังชุดนี้ก็ทำตัวเป็น
“พ่อของประชาชน” เขาช่วยเหลือเกษตรกรผู้ถูกกดขี่, เขาบริจาคเงินเพื่อประชาชน
และหนังชุดนี้ก็ทำให้เห็นว่า การมีเขาเป็นกษัตริย์เป็นสิ่งที่ดีกว่าการมีระบอบประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก
อันนี้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับหนังกลุ่มนี้ที่เราเคยแปะไว้ใน
blog ของเรา
https://celinejulie.blogspot.com/2008/12/fascinating-fascism-film-wish-list.html
THE FRIDERICUS FILM
SERIES
This German film series were made before and
during the time of Hitler. These films tell the stories of King Frederick II,
the Great. This king resembles Hitler in many ways.
Films in this series include:
10.1 THE FLUTE CONCERT AT SANS SOUCI (1930, Gustav
Ucicky)
http://www.imdb.com/title/tt0020893/
10.2 TRENCK (1932, Ernst Neubach + Heinz Paul)
http://www.imdb.com/title/tt0023619/
10.3 THE KING’S DANCER (1932, Friedrich Zelnik)
10.4 THE ANTHEM OF LEUTHEN (1933, Carl Froelich +
Arzen von Cserepy)
10.5 FRIDERICUS (1937, Johannes Meyer)
http://www.imdb.com/title/tt0136208/
10.6 PRETTY MISS SCHRAGG (1937, Hans Deppe)
10.7 THE GREAT KING (1942, Veit Harlan)
Siegfried Kracauer wrote about the Fridericus Film
Series in his book: FROM CALIGARI TO HITLER: A PSYCHOLOGICAL HISTORY OF THE
GERMAN FILM (1947). Here is an excerpt from the book:
“The whole series was a thorough attempt to
familiarize the masses with the idea of a Fuehrer. None other than Voltaire is
called upon to recommend him. When in TRENCK, Frederick advocates sovereignty
of the law, Voltaire replies that good sovereigns are preferable to good
laws—enlightened reason paying homage to the absolute ruler. The King justifies
this flattering opinion by playing, as before, the part of the people’s father.
His patriarchal regime is a mixture of old-Prussian feudalism and Nazi sham
socialism. He promises oppressed farmers to punish the Governor of their
province for partially favoring the big-estate owner (TRENCK); he cancels all
victory celebrations, urging that the money provided for them be given to the
war victims (KING’S DANCER); he thinks of allotting funds for cultural purposes
on the eve of a decisive battle (ANTHEM OF LEUTHEN). Everybody will have to
admit that the security Frederick’s subjects enjoy is inaccessible to the
citizens of a democracy, for in his protective zeal the King generously helps
lovers (KING’S DANCER) and even goes so far as to prevent the wife of an absent
major from committing adultery (FLUTE CONCERT). This model King is a veritable
genius.”
No comments:
Post a Comment