YESTERDAY IS ANOTHER DAY (2023,
Koraphat Cheeradit, short film, A+30)
1.เนื้อเรื่องคร่าว ๆ
เล่าถึงเด็กหนุ่มชั้นมัธยมคนหนึ่ง ที่เหมือนโดดเรียนออกมาเจอสาวคนรักที่น่าจะเป็นนักศึกษามหาลัย
ทั้งสองไปปิกนิกกันในป่าละเมาะ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ในอดีตอาจจะไม่ได้เป็นป่า
เพราะเหมือนจะมีร่องรอยของถนน, ซากอาคาร และแท่นสำหรับผู้ชนะการแข่งขันกีฬาอยู่ในป่าแห่งนี้ด้วย
และนางเอกก็เจอปืนของใครก็ไม่รู้ตกอยู่ในป่าแห่งนี้ด้วย
ทั้งสองคุยกันด้วยเรื่องสัพเพเหระ
เรื่องครูในโรงเรียนที่ยังไม่ได้เกษียณ, เรื่องความอยากแต่งงานและอยากมีลูก
หลังจากกินข้าวเสร็จ พระเอกก็อ้วก แต่นางเอกไม่ได้อ้วก
เราก็เลยเดาว่าที่พระเอกอ้วกอาจจะไม่ใช่เพราะอาหารเป็นพิษ แต่เป็นเพราะเขาอาจจะ “เครียด”
กับอะไรบางอย่าง
นอกจากหนังจะเล่าเรื่องของพระเอกกับนางเอกแล้ว
หนังก็มีการตัดสลับซีนขาวดำของรถแม็คโครคันหนึ่งที่เหมือนพยายามจะถางป่าแทรกเข้ามาเป็นระยะ
ๆ ด้วย
พระเอกกับนางเอกคุยกันถึงแผนการในวันรุ่งขึ้น
พระเอกกับแม่จะต้องไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง นางเอกจะขอตามไปยังสถานที่แห่งนั้นด้วย
พระเอกบอกว่างั้นหลังจากนั้นก็ฝากนางเอกให้ช่วยพาแม่ของเขาไปเอานาฬิกาที่ซ่อมไว้ด้วยแล้วกัน
ซึ่งบทสนทนานี้แสดงให้เห็นว่า พระเอกอาจจะไม่ได้ “กลับ”
ออกมาจากสถานที่แห่งนั้นด้วย
ช่วงครึ่งหลังของเรื่อง
หนังก็เปิดเผยว่า พระเอกเหมือนจะต้องไปศาลในวันรุ่งขึ้น เขาติดคดีเพราะการแชร์โพสท์อะไรสัก
2-3 โพสท์ (ถ้าหากเราจำไม่ผิด) อาจจะมีความผิด 2 กระทง 6 ปี แต่ถ้าหากรับสารภาพผิด
ก็จะเหลือโทษแค่ 3 ปี พระเอกถามนางเอกว่าจะรอเขาไหม แต่นางเอกก็ไม่ได้ให้คำมั่นสัญญาอะไรอย่างจริงจัง
พระเอกพูดในทำนองที่ว่าไม่อยากออกจากป่าแห่งนี้ ไม่อยากโตขึ้น เขาอยากเป็นเด็กต่อไป
2.หนึ่งในสิ่งที่ชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้
ก็คือเรารู้สึกเหมือนกับว่ามันช่วยเติมเต็ม “หนังสารคดีเกี่ยวกับ superheroes ทางการเมืองของไทย” น่ะ คือพอเราดูหนังเรื่องนี้
เราก็จะนึกถึงหนังสารคดีของไทยอีกหลาย ๆ เรื่อง ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับดา ตอร์ปิโด,
ตะวัน, ไผ่ ดาวดิน, ภรณ์ทิพย์ มั่นคง, ผู้ถูกอุ้มหาย, etc.
ซึ่งเราก็ชอบหนังสารคดีกลุ่มนี้อย่างสุด ๆ
แต่สิ่งหนึ่งที่หนังสารคดีกลุ่มนี้ หรือหนังเกี่ยวกับ
superheroes ทางการเมือง อย่างเช่น SOPHIE
SCHOLL: THE FINAL DAYS (2005, Marc Rothemund, Germany) อาจจะขาดไปอยู่บ้าง
(ซึ่งก็ไม่ใช่ความผิดของหนังกลุ่มนี้นะ
เพราะหนังแต่ละเรื่องมันไม่สามารถทำหน้าที่ทุกอย่างได้อยู่แล้ว หนังแต่ละเรื่องมันก็มี
function ของมันที่แตกต่างกันไป) ก็คือการทำให้เรารู้สึกว่าเรามีความคล้ายคลึงหรือมีความใกล้เคียงกับตัว
subjects ในหนังมากในระดับนึงน่ะ คือหนังสารคดีกลุ่มนี้พูดถึงคนที่เรามองว่าเป็น
superheroes ทางการเมืองน่ะ พูดถึงคนที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับนึงเพราะความกล้าหาญทางการแสดงออกของพวกเขา
เพราะฉะนั้นเวลาที่เราดูหนังสารคดีกลุ่มนี้ เราก็จะรู้สึกห่างจากตัว subjects
ในระดับนึงตั้งแต่ต้นเรื่อง เพราะเรามองว่าพวกเขาอยู่สูงกว่าเรา
พวกเขาคือ superheroes ของเรา พวกเขามีความพิเศษกว่าเรา พวกเขามีความแตกต่างจากเรามากในระดับนึง
เราก็เลยรู้สึกว่า YESTERDAY IS ANOTHER DAY มันช่วยเติมเต็มบางอย่างที่หนังสารคดีกลุ่มข้างต้นอาจจะขาดไปอยู่บ้าง
เพราะถึงแม้ว่าตัวพระเอกของหนังเรื่องนี้อาจจะมีความใกล้เคียงกับไผ่ ดาวดิน
หรือวัยรุ่นบางคนที่ต้องคดีทางการเมืองในยุคปัจจุบัน แต่หนังก็ใช้กลวิธีสำคัญ 2
อย่างที่ช่วยให้เรารู้สึกใกล้ชิดกับตัวละครในหนังเรื่องนี้มากกว่าปกติ ซึ่งกลวิธี
2 อย่างนั้นก็คือ
2.1 การมาเปิดเผยในช่วงครึ่งหลังของเรื่องว่าพระเอกเป็นผู้ต้องหาคดีทางการเมือง
คือเหมือนช่วงครึ่งแรกของเรื่องพระเอกนางเอกดูเป็นคู่รักวัยรุ่นปกติ เราก็เลยเหมือนได้ใช้เวลาในช่วงครึ่งแรกของเรื่องไปกับการมองว่าพวกเขาเป็นคนปกติธรรมดา
ชาวบ้านทั่ว ๆ ไป คือเราว่าถ้าหากหนังเปิดเผยตั้งแต่ช่วงต้นเรื่องเลยว่าพระเอกเป็นผู้ต้องหาคดีทางการเมือง
เราก็อาจจะรู้สึก “ห่าง” จากพระเอกตั้งแต่ช่วงต้นเรื่อง
แต่พอหนังมาเปิดเผยเรื่องนี้ในช่วงครึ่งหลัง เราก็เลยไม่ได้รู้สึก “ห่าง” จากตัวพระเอกมากนัก
เพราะเราได้ใช้เวลาในช่วงครึ่งแรกของหนังไปกับการรู้สึกว่าเขาเป็นคนธรรมดาไปแล้ว
2.2 การที่หนังนำเสนอ moments ธรรมดาของการไปปิกนิกในป่าละเมาะ แทนที่จะนำเสนอว่าพระเอกเคยประกอบวีรกรรมอะไรมาบ้าง
พระเอกมีความสำคัญทางการเมืองอย่างไรบ้าง พระเอกเคยเคลื่อนไหวอะไรมาบ้าง
ซึ่งเราว่าสิ่งนี้มันช่วยให้หนัง fiction เรื่องนี้มี function บางอย่างที่แตกต่างไปจากหนังสารคดีเกี่ยวกับ
superheroes ทางการเมืองของไทยน่ะ เพราะพอหนังเรื่องนี้นำเสนอตัวละครที่มีความคล้ายคลึงกับ
political activists ผู้กล้าหาญของไทย
แต่ไม่ได้นำเสนอวีรกรรมของเขา ไม่ได้นำเสนอความกล้าหาญของเขา
ไม่ได้นำเสนอความพิเศษของเขา แต่นำเสนอความธรรมดาของเขา และนำเสนอ moments ธรรมดาในชีวิตของเขา มันก็เลยทำให้เรารู้สึกใกล้ชิดหรือคล้ายคลึงกับตัวละครในหนังเรื่องนี้
มากกว่าที่เรารู้สึกกับ subjects ในหนังสารคดี
แต่เราไม่ได้คิดว่าหนังแนวไหนดีกว่ากันนะ
เพราะเราก็ชอบทั้งหนังสารคดีเกี่ยวกับ political
activists และชอบหนัง fiction แบบนี้ เราว่าหนังแต่ละเรื่องหรือแต่ละแบบมันก็มี
function หรือมีคุณประโยชน์ที่แตกต่างกันไปจ้ะ
3.และพอเรารู้สึกว่า
หนังเรื่องนี้เน้นถ่ายทอด moments ธรรมดา และความเป็นมนุษย์ธรรมดาของ political activist เราก็เลยรู้สึกเชื่อมโยงชีวิตของตัวเองเข้ากับตัวละครในหนังได้มากกว่าเวลาที่เราดูหนังสารคดีกลุ่มข้างต้น
แต่จริง ๆ แล้ว moments ในหนังเรื่องนี้ก็ไม่ได้ธรรมดาเสียทีเดียวนะ
เพราะมันเหมือนเป็นช่วงเวลาบ่ายและเย็นสุดท้ายก่อนที่พระเอกอาจจะสูญเสียอิสรภาพ เหมือนเป็นการคว้าจับ
the last moment of happiness เอาไว้ แต่ที่เราบอกว่ามันมีความธรรมดาอยู่ด้วย
เพราะถ้าหากเป็นหนังเรื่องอื่นๆ
หนังมันจะไปเน้นที่ช่วงเวลาที่พระเอกเคลื่อนไหวทางการเมืองน่ะ แต่หนังเรื่องนี้ไม่ได้นำเสนอช่วงเวลาที่พระเอกทำงานทางการเมืองแต่อย่างใด
และหนังเรื่องนี้ก็ไม่ได้พยายามสร้างความ dramatic ใด ๆ
ให้กับช่วงเย็นสุดท้ายก่อนขึ้นศาลด้วย แต่เหมือนลดทอนความ dramatic ลงและปล่อยให้ตัวละครคุยกันอย่างเป็นธรรมชาติมากในระดับนึง
เราก็เลยรู้สึกว่า moments ในหนังเรื่องนี้มันมีความ “ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา”
อยู่ด้วย 555
4.คือพอดูหนังเรื่องนี้จบแล้ว
เราก็รู้สึกเชื่อมโยงตัวเองกับตัวละครในหนังบ้างในระดับนึงน่ะ มันคือความรู้สึกเหมือนตัวเองถูกกักขังหรือขาดอิสรภาพน่ะ
เพราะถึงแม้เราจะไม่ได้ต้องขึ้นศาล แต่มันก็ต้องแลกมาด้วยการปฏิบัติตามกฎหมายที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนน่ะ
คือเหมือนอิสรภาพของเรามันแลกมาด้วยการที่เราปิดปากของตัวเองน่ะ
คือเราว่า place and time and situation ของหนังเรื่องนี้มันน่าสนใจดี
time ของหนังเรื่องนี้คือช่วงเวลาหลังจากที่พระเอกแสดงออกตามที่ใจตัวเองต้องการ
(ด้วยการแชร์โพสท์อะไรบางอย่าง) แต่การแสดงออกตามที่ใจตัวเองต้องการ
อาจจะส่งผลให้เขาต้องติดคุก 6 ปี ช่วงเวลาในหนังเรื่องนี้ก็เลยเหมือนเป็นช่วงเวลาที่ก้ำกึ่งระหว่าง
“เสรีภาพกับการไร้เสรีภาพ” และ situation ของพระเอกก็เหมือนอยู่ในสถานะก้ำกึ่งระหว่าง
“เสรีภาพกับการไร้เสรีภาพ” เช่นกัน
ส่วน place ของหนังเรื่องนี้ก็มีความก้ำกึ่งแปลก ๆ
เพราะป่าในหนังเรื่องนี้ไม่ใช่ป่ารกชัฏสำหรับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
แต่เป็นป่าละเมาะที่อาจจะเคยเป็นที่ตั้งของถนนและอาคารบ้านเรือนมาก่อน เหมือน place
ในหนังเรื่องนี้มันมีความก้ำกึ่ง ความไม่ชัดเจนอะไรบางอย่าง
มันมีทั้งความสวยแบบป่าละเมาะ มีทั้งความเป็นธรรมชาติ แต่มันก็มีเศษขยะ
เศษซากสิ่งต่าง ๆ จากการดำรงอยู่ของมนุษย์ในป่าแห่งนี้ด้วย เหมือนมันมีทั้งความเป็น
paradise และความเป็น wasteland อยู่ในเวลาเดียวกัน
และพอ “สถานที่” ในหนังมันเป็นแบบนี้
เราก็เลยรู้สึกเหมือนว่าในแง่นึงมันก็เลยทำให้เรานึกถึงประเทศไทย
ที่ก็อาจจะมีทั้งความงามตามธรรมชาติ และความเป็น wasteland เพราะการกระทำของมนุษย์ในเวลาเดียวกัน และ time
ของหนังกับ situation ของตัวละครก็ทำให้เรานึกถึงตัวเองด้วย
เพราะถึงแม้เราจะดูเหมือนมีเสรีภาพ ใช้ชีวิตอยู่ภายนอกคุก แต่มันก็เป็นเสรีภาพที่แลกมาด้วยการปิดปากของตัวเอง
และการควบคุมการแสดงออกของตัวเองอย่างระมัดระวังตลอดเวลา มันเป็นเสรีภาพภายใต้กรงขังบางอย่าง
เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้ในจุดนี้มาก
ๆ ด้วย เพราะเราว่า place + time +
situation ในหนังเรื่องนี้มันมีความก้ำกึ่งบางอย่าง
และความก้ำกึ่งเหล่านั้นมันทำให้เราเชื่อมโยงหนังเรื่องนี้เข้ากับสถานที่ที่ตัวเองใช้ชีวิตอยู่
(ประเทศไทยโดยรวม), ช่วงเวลาที่ตัวเองใช้ชีวิตอยู่ และสถานการณ์ที่ตัวเองใช้ชีวิตอยู่
โดยที่ผู้สร้างหนังเรื่องนี้อาจจะไม่ได้ตั้งใจ
5.ชอบการเคลื่อนคล้อยของเวลาในหนังเรื่องนี้มาก
ๆ ด้วย เหมือนช่วงเวลาในหนังมันเป็นช่วงบ่ายไปจนถึงเย็น จนถึงช่วง magic hour แต่สิ่งที่รออยู่ในวันรุ่งขึ้นคือความเป็นไปได้ที่พระเอกอาจจะต้องติดคุก
6 ปี
และพระเอกก็พูดในทำนองที่ว่าเขาไม่อยากโต
อยากเป็นเด็กต่อไป อยากจะอยู่ในป่าต่อไป ไม่ต้องออกมาอีก
เราว่าจุดนี้ของหนังมันเศร้าสะเทือนใจสำหรับเราอย่างมาก
ๆ เพราะไม่มีใครหยุดเวลาได้ คือถึงแม้ช่วงเย็นนั้นมันจะมีแสงอาทิตย์ที่งดงามมากเพียงใด
ถึงแม้ช่วงเย็นนั้นพระเอกจะมีความสุขมากเพียงใดที่ได้นอนในป่ากับนางเอก
พระเอกก็ไม่สามารถหยุดเวลาได้ ยังไง ๆ เสียวันรุ่งขึ้นก็จะต้องมาถึง ยังไง ๆ เสียคนเราก็จะต้อง
“แก่” ลงเรื่อย ๆ อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
เราก็เลยชอบจุดนี้ของหนังอย่างมาก ๆ
เพราะมันสะท้อนถึงความเศร้าบางอย่างของชีวิตมนุษย์น่ะ ความเศร้าที่ว่าเราไม่สามารถหยุดเวลาใด
ๆ ได้ ไม่ว่าเราจะมีความสุขกับช่วงเวลานั้น ๆ มากแค่ไหนก็ตาม
6.การที่พระเอกพูดว่าตัวเองไม่อยากโตขึ้น
ก็ทำให้เรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มีความเป็นหนัง coming of age ด้วยนะ และมันก็เลยทำให้เรารู้สึกเศร้ามาก
ๆ ที่ “การเรียนรู้ที่จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่” ของวัยรุ่นไทยในทศวรรษ 2010 และ
2020 มันดูหนักหนาสาหัสกว่าในยุคทศวรรษ 1980-2000 มาก ๆ เพราะสิ่งที่วัยรุ่นไทยหลายคนในยุคนี้ต้องเผชิญคือการประท้วง,
แก๊สน้ำตา และการขึ้นโรงขึ้นศาล ในขณะที่หนัง coming of age ในทศวรรษ
1980-2000 นั้น ส่วนใหญ่แล้วมันเป็น “การเรียนรู้เรื่องเพศ” หรือการเรียนรู้เรื่องแง่มุมที่เจ็บปวดของชีวิตมนุษย์ในแบบสากลอะไรทำนองนั้นมากกว่า
7.การที่พระเอกถามว่านางเอกจะยังคงรอคอยเขาตอนออกจากคุกไหม
ทำให้เรานึกถึงพวกหนุ่ม ๆ ในขบวนการ IRA ของไอร์แลนด์เหนือ และหนุ่ม ๆ ปาเลสไตน์ที่ลุกขึ้นต่อสู้กับอิสราเอลด้วย
8.ชอบสีสันของป่าในหนังด้วย
ไม่รู้ว่ามันเกิดจากการเกรดสีหรือเปล่า คือเราว่าป่าในหนังดูสวยดี
แต่ไม่ได้ดูสวยจนเว่อร์เกินจริง
จริง ๆ ตอนดูก็นึกถึงที่คนบางคนเคยพูดถึงหนังเรื่อง
SCHINDLER’S LIST ด้วย แต่เราจำไม่ได้ว่าใครพูด
คือเขาบอกว่าเขาไม่ชอบที่ SCHINDLER’S LIST ทำเป็นหนังขาวดำ
เพราะว่า “ตอนที่นาซีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว 6 ล้านคน ตอนที่นาซีจับชาวยิวจำนวนมากไปสังหารด้วยการรมแก๊ส
ท้องฟ้ามันก็เป็นสีฟ้าสวยกระจ่างใสเหมือนในยุคปัจจุบันนี้นี่แหละ”
เราก็เลยชอบ “ความสวยในระดับพอดี ๆ”
ของป่าและยามเย็นในหนังเรื่องนี้ เพราะมันทำให้เราตระหนักว่า ในวันธรรมดา ๆ
ในแต่ละวัน ในวันธรรมดา ๆ ที่เราเห็นท้องฟ้าสีทองผ่องอำไพในตอนเย็น ๆ นี่แหละ
ที่ยังคงมีคนหลายคนติดคุกเพราะคดีทางการเมืองอยู่, ยังคงมีคนหลายคนที่รอขึ้นศาลอยู่,
ยังคงมีคนอีกหลายคนที่เลือกจะปิดปากตัวเองเพื่อจะได้ไม่ต้องติดคุกอยู่ และในวันที่ท้องฟ้าสีสวย
ๆ แบบนี้นี่แหละ ที่เป็นวันที่คนหลาย ๆ คนได้ถูกอุ้มหายหรือถูกฆ่าตายไปแล้วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
No comments:
Post a Comment