DOUBLE BILL FILM WISH LIST
BABYGIRL (2024, Halina Reijn, A+30)
+ PUP สุนัข และเจ้านาย (2024, Sarawut
Intaraprom, A+30)
ตัวละครเอกของหนังทั้งสองเรื่อง มี
“สามีที่แสนดี” เหมือนกัน
แต่ตัวละครเอกของหนังทั้งสองเรื่องต่างก็โหยหาอะไรบางอย่าง หรือใครสักคน
ที่จะช่วยเติมเต็มความต้องการทางเพศของตัวเองได้อย่างเต็มที่ ซึ่งนางเอกของ BABYGIRL
นั้นโชคดีกว่าพระเอกของ PUP มาก ๆ
เพราะเธอสามารถหาผู้ชายที่จะมาเติมเต็มเธอได้ไม่ยากนัก
แม้เธอจะเจออุปสรรคขัดขวางจาก “สังคม”, “ความรู้สึกผิดในใจตัวเอง” และปัจจัยอื่น ๆ
ส่วนพระเอกของ PUP นั้น เราว่าเขาไม่ต้องต่อสู้กับ
“ใจตัวเอง” มากเท่ากับนางเอกของ BABYGIRL แต่การที่เขาจะหาใครสักคนที่จะมาช่วยเติมเต็มเขาได้นั้น
มันช่างยากลำบากจริง ๆ เราก็เลยอินกับพระเอกของ PUP มาก ๆ
ตรงจุดนี้
บทสรุปของหนังทั้งสองเรื่องนี้
เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร ใครที่ดูแล้วคงตอบได้ดี 555555
เราได้ดู PUP ตั้งแต่วันที่
21 มิ.ย. 2024 ซึ่งตอนแรกเราให้เกรดหนังเรื่องนี้แค่ A+25 เพราะหนังเรื่องนี้มีข้อเสียเยอะมาก
แต่พอเวลาผ่านมานาน 7 เดือน เราก็พบว่า เรารู้สึกดีมาก ๆ
ทุกครั้งที่นึกถึงหนังเรื่องนี้ เราก็เลยขยับขึ้นมาเป็น A+30
เดี๋ยวเราจะใส่ BABYGIRL กับ
PUP เข้าไปในลิสท์ “หนังที่มีบางจุดคล้ายกัน
และออกฉายในเวลาไล่เลี่ยกันโดยบังเอิญ” ด้วย
78. BABYGIRL (2024, Halina Reijn, A+30)
+ PUP สุนัข และเจ้านาย (2024, Sarawut
Intaraprom, A+30)
อ่านรายละเอียดได้ที่
BABYGIRL (2024, Halina Reijn, A+30)
1. ดูแล้วก็แอบสงสัยว่า Halina Reijn กับ Sarawut Intaraprom นี่มี “โทรจิต” สื่อถึงกันโดยไม่ได้ตั้งใจหรือเปล่า
เพราะมีบางจุดใน BABYGIRL ที่ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง PUP สุนัข และเจ้านาย (2024, Sarawut Intaraprom, A+30)
อย่างรุนแรง 55555 โดยเราเคยเขียนถึงประเด็นนี้ไว้แล้วที่นี่
2. เราชอบ BABYGIRL อย่างสุด
ๆ เป็นการส่วนตัว
เพราะหนังเรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อเราอย่างรุนแรงในแบบที่ตัวหนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจ
เพราะหนังเรื่องนี้เหมือนช่วยลบ guilt ในใจเราที่มีต่อ
sexual fantasy ของตัวเอง ราวกับว่าหนังเรื่องนี้มัน empower
“คนที่รู้สึกผิดกับ sexual fantasy ของตัวเอง”
น่ะ ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่านั่นคือจุดประสงค์ของหนังเรื่องนี้หรือเปล่านะ แต่ BABYGIRL
มันส่งผลกระทบต่อเราอย่างรุนแรงสุด ๆ ในด้านนี้
คือหน้าหนังของ BABYGIRL อาจจะดูเป็นหนังกึ่ง
ๆ อีโรติกนะ แบบ 9 1/2 WEEKS (1986, Adrian Lyne) และหนังของ
Zalman King แต่พอได้ดูจริง ๆ แล้วเรากลับพบว่ามันไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเราในแบบนั้นเลย
คือหนังที่ “ยั่วยุ” เราได้จริง ๆ ในระยะนี้น่าจะเป็น HIDDEN FACE (2024, Kim Dae-woo, South Korea) มากกว่า เพราะว่า Song
Seung-heon พระเอกของ HIDDEN FACE นี่ ดูแล้วน้ำลายไหลของจริงเวลาที่เขาถอดเสื้อ
55555
คือ BABYGIRL ไม่ใช่หนังที่ตอบสนองแฟนตาซีของเรา
หนังที่ตอบสนองแฟนตาซีของเราคือ THIRTY YEARS OF ADONIS (2017, Scud, Hong
Kong) อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญที่ BABYGIRL ให้กับเรา
คือมันช่วยให้เรารู้สึกว่า การมี sexual fantasy ที่อาจจะไม่สอดคล้องกับ
norm เป็นสิ่งที่โอเคน่ะ ซึ่งก็ไม่รู้ว่านั่นคือจุดประสงค์ของหนังหรือเปล่านะ
คือพอดูหนังเรื่องนี้แล้วเรารู้สึกว่า มันมีความขัดแย้งกันที่น่าสนใจ
ระหว่างบทบาทของเจ้านายหญิงกับลูกน้องชาย ในที่ทำงาน กับในระหว่างประกอบกิจกรรมทางเพศร่วมกันน่ะ
เหมือนในที่ทำงาน เธอเป็นฝ่ายเหนือกว่า แต่ในห้องนอนนั้น พระเอกเป็นฝ่ายที่เหนือกว่า
และเราก็รู้สึกว่า ตัวละครนางเอก เหมือนกับจะไม่อยากยอมรับความจริงในช่วงแรก ๆ ว่า
จริง ๆ แล้วตัวเองต้องการแสดงบทบาทอย่างไรกันแน่เมื่อถึงเวลามีเซ็กส์ ราวกับว่าเธอรู้สึกผิดที่จะแสดงบทบาทแบบนั้น
ทั้ง ๆ ที่นั่นคือสิ่งที่จะทำให้เธอมีความสุขทางเพศได้ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเราเข้าใจถูกหรือเปล่านะ
แต่ในเวลาต่อมา นางเอกก็ลบความรู้สึกผิดนั้นได้ และเธอก็ embrace แฟนตาซีของตัวเองได้ในที่สุด
เพราะฉะนั้นพอดูหนังเรื่องนี้ เราก็เลยนึกถึง “ความรู้สึกผิดของตัวเองที่มีต่อแฟนตาซี”
ของเราเช่นกัน อย่างเช่นแฟนตาซีแบบใน THIRTY YEARS OF ADONIS และแฟนตาซีแบบอื่น ๆ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ก็เช่น ทุกคนรู้ดีว่า เรา “เกลียดชังเผด็จการทหาร”
อย่างรุนแรงที่สุด, เราเกลียดชัง “ปิตาธิปไตย” เราเกลียดชัง TOXIC
MASCULINITY แต่แฟนตาซีทางเพศอย่างหนึ่งของเรา คือการที่เราได้ร่วมรักกับ
“ทหารหนุ่มหล่อกล้ามใหญ่หลาย ๆ คน”, ผู้ชายในแฟนตาซีของเราดูดิบเถื่อน
ดู extremely masculine มาก ๆ
เพราะฉะนั้นในบางครั้ง เราก็เหมือนมีความรู้สึกผิด
หรือรู้สึกแปลก ๆ ที่เราต่อต้านระบอบทหารเป็นใหญ่ แต่ทำไมแฟนตาซีของเรา ถึงมีแต่ทหารหนุ่ม
ๆ จำนวนมาก ตกลงเธอต้องการอะไรกันแน่กับชีวิตคะ 55555 ซึ่งจริง ๆ
แล้วเราก็ไม่ควรจะต้องรู้สึกผิดนะ เพราะเราแยกแยะแฟนตาซีกับชีวิตจริงได้อยู่แล้ว
แต่ในบางครั้งเราก็อดสงสัยไม่ได้จริง ๆ ว่า การที่เรามีแฟนตาซีถึงทหารหนุ่ม ๆ จำนวนมาก
นี่มัน healthy หรือ unhealthy กันแน่นะ
โดยเฉพาะในประเทศไทย
เพราะฉะนั้นพอเราดู BABYGIRL เราก็เลยรู้สึกราวกับว่า หนังเรื่องนี้มัน empower เราโดยไม่ได้ตั้งใจ
เพราะนางเอกของ BABYGIRL ก็เป็น “ผู้บริหารหญิง” ที่ดีได้ และการที่เธอเต็มใจจะรับบทบาทเป็นอะไรก็ตามในระหว่างมีเซ็กส์
มันก็ไม่ใช่เรื่องที่เธอจะต้องรู้สึกผิดแต่อย่างใด
เพราะฉะนั้นพอเราดูหนังเรื่องนี้จบ
หนังเรื่องนี้มันก็เลย empower เรา มันเหมือนกับบอกเราในทางอ้อมว่า
จะมีแฟนตาซีอะไรก็มีไปเถอะ ถ้าหากมันไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน และถ้าหากมันไม่ได้มาสร้างความสับสนอะไรในชีวิตจริง
จง embrace แฟนตาซีของตัวเอง
มันไม่ใช่เรื่องผิดอะไรที่จะต่อต้านระบอบทหารเป็นใหญ่ แต่มีแฟนตาซีถึงทหารหนุ่ม ๆ
จำนวนมากเวลาอยู่บนเตียง 55555
3. แต่แน่นอนว่า ผู้ชมแต่ละคนย่อมมีแฟนตาซีที่แตกต่างกันไป
และมีความรู้สึกผิดที่แตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นหนังเรื่องนี้ก็ย่อมต้องส่งผลกระทบที่แตกต่างกันไปต่อผู้ชมแต่ละคน
คือเรารู้สึกว่า BABYGIRL มันเป็นหนังที่ empower เรามาก ๆ แต่มันไม่ส่งผลกระทบแบบเดียวกันนี้ต่อผู้ชมคนอื่น ๆ แน่ ๆ
เพราะว่า
3.1 ผู้ชมหลาย ๆ คนอาจจะไม่ได้มีแฟนตาซีอะไรที่ผิดเพี้ยนไปจากแบบแผนของสังคม
3.2 ผู้ชมหลาย ๆ คน โดยเฉพาะผู้ชมเพศชาย อาจจะมีแฟนตาซีที่
“คาบเส้นศีลธรรม” และดูหนังโป๊ที่ตอบสนองแฟนตาซีเหล่านี้ แต่พวกเขาไม่ได้รู้สึกผิดแต่อย่างใด
เพราะพวกเขาไม่ได้ทำอะไรให้ใครเดือดร้อนเลยแม้แต่น้อยในชีวิตจริง พวกเขาแยกแยะมันได้อยู่แล้ว
การตอบสนองแฟนตาซีแบบนี้เป็นเรื่องปกติ และไม่ได้ส่งผลร้ายอะไรกับใครในโลกแห่งความเป็นจริง
3.3 เราเดาว่า ผู้หญิงยุคเก่า ๆ บางคน
ก็อาจจะไม่ได้รู้สึกผิด ถ้าหากมีแฟนตาซีคล้าย ๆ นางเอกของ BABYGIRL ดังจะเห็นได้จาก “นิยาย romance” ยุคเก่าๆ
ที่ตัวละครพระเอกบางคนในนิยาย romance เหล่านี้ ดูมีความ dominant
มาก ๆ ซึ่งอาจจะรวมถึงพระเอกที่เป็น “โจรสลัด” และพระเอกที่เป็น “ชี้ค”
คือเราก็ไม่ใช่ผู้หญิงนะ
เราก็เลยไม่รู้ความจริงในเรื่องนี้ แต่เราตั้งข้อสันนิษฐานเอาเองว่า ผู้หญิงยุคเก่าบางคนอาจจะไม่รู้สึกผิดถ้าหากตัวเองมีแฟนตาซีถึงผู้ชายที่ดู
dominant มาก ๆ และมีแฟนตาซีว่า ตัวเองอยากแสดงบทบาทแบบ submissive
มาก ๆ แต่ผู้หญิงบางคนในยุคปัจจุบันอาจจะรู้สึกผิดหรือรู้สึกแปลก ๆ
หรือเปล่า ถ้าหากจะเปิดเผยว่า ตัวเองมีแฟนตาซีแบบเดียวกันนั้น
เพราะฉะนั้นเราก็เลยสรุปว่า หนังเรื่องนี้มัน empower
เรา แต่มันไม่ส่งผลกระทบแบบเดียวกันนี้ต่อผู้ชมอีกหลาย ๆ
คนอย่างแน่นอน 55555
5. ดูหนังเรื่องนี้กับ BODIES BODIES BODIES
(2022, Halina Reijn, A+30) แล้วก็รู้สึกว่า Halina นี่ทำหนังที่เข้าทางเราสุด ๆ
เพราะหนังสองเรื่องนี้มันเหมือนตั้งคำถามกับกระแส woke หรือ feminist
ได้อย่างน่าสนใจน่ะ ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่า Halina ตั้งใจหรือเปล่านะ
อย่างใน BABYGIRL นั้น
เรารู้สึกว่า มันน่าสนใจมาก ที่ตัวละคร “ศัตรูของนางเอก” เป็น “สาวผิวดำที่สนับสนุนสิทธิสตรีอย่างรุนแรง”
และเป็นคนที่ “พยายามบีบให้นางเอกทำตัวเป็น role model” น่ะ
เราก็เลยตั้งข้อสงสัยว่า Halina แอบตั้งคำถามกับกระแส woke
หรือเปล่าคะ 55555
เสียดายที่เรายังไม่ได้ดู INSTINCT
(2019, Halina Reijn, Netherlands) แต่แค่อ่านเรื่องย่อ เราก็รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันน่าสนใจสุด
ๆ เพราะมันพูดถึง “จิตแพทย์หญิงที่หลงใหลในชายหนุ่มที่ชอบกระทำผิดทางเพศ”
6. เสียดายที่เรายังไม่เคยอ่าน HEDDA GABLER
(1891, Henrik Ibsen) เราก็เลยไม่รู้ว่า การที่ BABYGIRL จงใจพาดพิงถึง HEDDA GABLER นั้น มันสามารถตีความว่าอะไรได้บ้าง
7. ดู BABYGIRL แล้วก็นึกถึงหนังบางเรื่องที่นำเสนอตัวละครนางเอกที่ทำตาม
dirty fantasy ของตัวเองนะ อย่างเช่น
7.1 IN THE REALM OF THE SENSES (1976, Nagisa
Oshima)
ในแง่นึง ตัวละครนางเอกของเรื่องนี้ก็ถือว่าโชคดีในระดับนึง
ที่ได้เจอผู้ชายที่เข้าคู่แฟนตาซีของเธอได้อย่างค่อนข้างพอดิบพอดี แต่เนื่องจากหนังเรื่องนี้นำเสนอเหตุการณ์ต่าง
ๆ อย่างเย็นชาและเป็นกลาง เราก็เลยรู้สึกว่า หนังเรื่องนี้มันไม่ได้ empower
เราแบบเดียวกับ BABYGIRL แต่เราก็ชอบหนังเรื่องนี้มากกว่า
BABYGIRL นะ
7.2 BELLE DE JOUR (1967, Luis Bunuel)
เราชอบหนังเรื่องนี้มากกว่า BABYGIRL หลายเท่านะ 555555 แต่หนังแต่ละเรื่องมันก็มีข้อดีแตกต่างกันไปน่ะ และ BELLE
DE JOUR มันก็ไม่ได้ช่วย “ลบความรู้สึกผิดในใจเรา” แบบเดียวกับ BABYGIRL
แต่ BELLE DE JOUR มีข้อดีในด้านอื่น ๆ แทน
อีกจุดหนึ่งที่เรารู้สึกว่า BABYGIRL เด่นกว่า BELLE DE JOUR ก็คือการ treat ผู้ชายเป็น sex object เพราะว่าใน BABYGIRL นั้น เรารู้สึกว่า Harris Dickinson เขาคือ sex
object ทั้งในสายตาของนางเอก และในสายตาของผู้ชมอย่างเรา แต่ใน BELLE
DE JOUR นั้น ถึงแม้ตัวละครนางเอกเลือกเองที่จะทำตามแฟนตาซีของตัวเอง
แต่หนังก็เหมือนนำเสนอความสาวความสวยของ Catherine Deneuve เป็นหลักน่ะ
เพราะฉะนั้น Deneuve ก็เลยเหมือนเป็น sex object หลักในเรื่อง
คือ Jean Sorel ใน BELLE
DE JOUR นั้น เขาหล่อสุดขีดก็จริง แต่เราก็รู้สึกว่า หนังไม่ได้ treat
Jean Sorel เป็น sex object แต่อย่างใด
แต่หนัง treat Jean Sorel เป็น Christ-like figure ที่ resurrect ขึ้นมาได้อย่างปาฏิหาริย์ในตอนจบมากกว่า
7.3 THE PIANO TEACHER (2001, Michael Haneke)
ชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ เช่นกัน แต่มันก็ไม่ได้ empower
เรา
7.4 ELLE (2016,
Paul Verhoeven)
ชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ เช่นกัน แต่มันก็ไม่ได้ empower
เรา
7.5 STRANGE
DARLING (2023, JT Mollner)
หนังเรื่องนี้ก็ไม่ได้ empower เราเช่นกัน ถึงแม้นางเอกจะทำตามแฟนตาซีทางเพศของตัวเองอย่างเต็มที่ 5555
แต่เราก็ชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ ในแง่ของวิธีการเล่าเรื่อง และการกระตุ้นเตือนไม่ให้ด่วนตัดสินอะไรใครง่าย
ๆ
เสียดายที่เรายังไม่ได้ดู CRASH (1996,
David Cronenberg)
8. ช่วงแรก ๆ ที่เราดู BABYGIRL เราก็นึกถึงหนังหลาย ๆ เรื่องเกี่ยวกับ “สาวแก่กับเด็กหนุ่ม” ด้วย
แต่เราว่าจุดเด่นของ BABYGIRL คือการที่เรารู้สึกว่า
หนังให้ความสำคัญกับความใคร่ของนางเอก มากกว่าความรักน่ะ คือเราไม่ค่อยรู้สึกว่า
นางเอกของ BABYGIRL “รัก” พระเอกสักเท่าไหร่ เหมือนเธอเงี่ยนพระเอก
มากกว่ารักพระเอก เพราะฉะนั้น BABYGIRL มันก็เลยแตกต่างจากหนังเรื่องอื่น
ๆ ที่พูดถึง “รักแท้” ที่นางเอกที่อายุแก่กว่า มีให้กับชายหนุ่มที่อายุอ่อนกว่า
อย่างเช่น
8.1 ALL THAT HEAVEN ALLOWS (1955,
Douglas Sirk)
8.2 DRUGSTORE ROMANCE (1979, Paul Vecchiali, France)
8.3 ช่างมันฉันไม่แคร์ (1986,
M.L. Bhandevanop Devakul)
เราเข้าใจว่าตัวละครนางเอกแก่กว่าพระเอกนะ
แต่ไม่รู้ว่าเราเข้าใจถูกหรือเปล่า
8.4 PERFECT LOVE
(1996, Catherine Breillat, France)
8.5 THE SCHOOL OF
FLESH (1998, Benoît Jacquot, France) สร้างจากบทประพันธ์ของ Yukio
Mishima นำแสดงโดย Isabelle Huppert
8.6 VENUS BEAUTY
INSTITUTE (1999, Tonie Marshall)
Nathalie Baye คู่กับ Samuel Le Bihan
8.7 THE LOVE
LETTER (1999, Peter Chan)
Kate Capshaw คู่กับ Tom Everett Scott
8.8 P.S. (2004,
Dylan Kidd)
Laura Linney คู่กับ Topher Grace
8.9 PRIME (2005,
Ben Younger)
Uma Thurman คู่กับ Bryan Greenberg
เพราะฉะนั้นพอ BABYGIRL มันไม่ได้เกี่ยวกับ
“รักแท้” แต่มันเกี่ยวกับประเด็นอื่น ๆ เราก็เลยรู้สึกว่า หนังเรื่องนี้มันสร้างความแตกต่างให้ตัวเองได้ดีเหมือนกัน
No comments:
Post a Comment