Friday, November 04, 2005

OLIVER TWIST (ROMAN POLANSKI, A+)

ตอบพี่ kit

--พูดถึงความรู้สึกอยากเป็นโสเภณี แล้วก็นึกถึงหนังเรื่อง BELLE DE JOUR (LUIS BUNUEL, A+) ขึ้นมาเลยค่ะ ชอบหนังเรื่องนี้มากๆ ในเรื่องนี้ CATHERINE DENEUVE รับบทเป็นแม่บ้านที่มีสามีหล่อฐานะดี แต่เธอแอบใช้เวลาว่างด้วยการทำงานเป็นโสเภณี

--ใน BATTLE IN HEAVEN ก็มีตัวละครหญิงที่ทำงานเป็นโสเภณีเพราะอยากทำเช่นกัน ไม่ใช่เพราะต้องการเงินแต่อย่างใด

--ตัวละครโสเภณีที่ชอบมากๆก็คือ ELISABETH SHUE ใน LEAVING LAS VEGAS

--เคยดูชาร์ลีหั่นแหนมใน QUEER AS FOLK เหมือนกันค่ะ แต่ตอนนั้นเขาดูเด็กเกินไป ก็เลยไม่ชอบเขาเท่าไหร่ ชอบ Vince (CRAIG KELLY) มากที่สุดเหมือนกันเลยค่ะ

แต่ใน GREEN STREET HOOLIGANS ชาร์ลีหั่นแหนมดูโตขึ้นมาก ดูแมนและมีเซ็กส์แอพพีลเพิ่มขึ้นเยอะมาก ก็เลยเพิ่งชอบเขาจากเรื่องนี้ค่ะ




ตอบคุณ CHRIS’S GIRLFRIEND

--ชอบ SUSPIRIA มากๆเหมือนกันค่ะ

--ดิฉันกับเพื่อนผู้ชาย straight คนนึงมีความเห็นตรงกันเกี่ยวกับหนังเรื่อง WOMAN IN THE DUNES (A+) ว่า ถ้าหากตัวเองตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกับพระเอกหนังเรื่องนี้ ก็จะฆ่าผู้หญิงคนนั้นแล้วฆ่าตัวตายไปเลย จะไม่ยอมทนมีชีวิตอยู่ต่อไปแบบพระเอกหนังเรื่องนี้อย่างแน่นอน

--พูดถึงชื่อหนังภาษาไทย แล้วก็มีหลายชื่อที่ชอบมากๆเช่นกัน อย่างเช่น

1.รักเอย ไม่เคยเลยลับ SOMEWHERE IN TIME (A)

2.เพ็กกี้ ซู รักนั้น หากเลือกได้ PEGGY SUE GOT MARRIED (A+)

3.รักที่ริมขอบฟ้า OUT OF AFRICA (A+)

หรือชื่อที่ฮามากๆ อย่างเช่น

1.น่ะ จะแว่ก HAIR SPRAY (A) (ไม่รู้ชื่อภาษาไทยแปลว่าอะไร)

2.เพราะฉะนั้น นั่นน่ะซี (ชื่อหนังไทยเรื่องนี้ ไม่รู้จะแปลเป็นภาษาอังกฤษว่ายังไงดี)

3.ลงขันฆ่า ปรานีอยู่ที่ศูนย์




ตอบคุณ THUNSKA

--รูปจากหนังเรื่อง OIO ดูสวยมากๆเลยค่ะ

--ภาพของวูลฟ์กัง ทิลมันภาพแรก ตอนแรกไม่ได้สังเกตเลยว่ามันคือหัวบันได นึกว่าเป็นนักบวชคนหนึ่งกำลังค้อมคำนับอยู่


ตอบคุณอ้วน

อ่านบทความของคุณอ้วนเกี่ยวกับ ANGEL’S FALL ในเว็บบอร์ด BIOSCOPE แล้วก็นึกถึงเรื่องเหล่านี้ขึ้นมา

--ชอบชื่อหนัง “THE POLICEWOMAN” (A+) เพราะในหนังเรื่องนี้ “ตำรวจหญิง” เป็นเพียงแค่ตัวประกอบที่เล็กมากๆเท่านั้น บทของเธอน้อยมากๆ แต่หนังกลับเลือกเอาเธอมาเป็นชื่อเรื่อง

--ตอนที่ดู ANGEL’S FALL รู้สึกว่าตัวเองได้สัมผัสกับอารมณ์บางอย่างที่เลิศล้ำมากๆ แต่ก็ไม่เข้าใจหนังและไม่เข้าใจอารมณ์นั้นเท่าใดนัก จนกระทั่งได้มาอ่านบทความของคุณอ้วน ถึงเพิ่งทำให้เข้าใจอะไรต่างๆได้กระจ่างขึ้นมาก

--เมียของ SELCUK ก็มีบทที่น้อยมากๆใน ANGEL’S FALL เหมือนกัน ไม่แน่ใจว่าเธอโผล่มาถึง 5 นาทีหรือเปล่า แต่บทของเธอมีพลังลึกลับบางอย่างต่อตัวหนังจริงๆ

--ดีใจมากค่ะที่ได้รู้จากบทความของคุณอ้วนว่าภรรยาของ SELCUK ตายเพราะอะไร เพราะขณะที่ดูหนังเรื่องนี้ ดิฉันก็ดูไม่ทันในบางฉากเหมือนกัน ไม่ทันได้เห็นภาพรถที่บุบบู้บี้ ก็เลยงงๆว่าตกลงเธอตายเพราะอะไรกันแน่ ตอนแรกนึกว่าเธอฆ่าตัวตาย เพื่อนบางคนก็นึกว่าโจรขึ้นบ้านแล้วเธอเลยถูกฆ่าตาย

--ชอบที่หนังเรื่องนี้ให้เวลากับการกระทำบางอย่างที่ดูเหมือนไม่สำคัญ (ในสายตาของบางคน) อย่างเช่น “การปอกเปลือกผลไม้ของนางเอก” แต่แทบไม่ให้เวลากับการกระทำบางอย่างที่ดูเหมือนสำคัญ อย่างเช่น “การตาย”

มีหนังอีกเรื่องนึงที่ดูเหมือนจะให้เวลากับการกระทำบางอย่างที่ดูเหมือนไม่สำคัญเช่นกัน นั่นก็คือเรื่อง NATHALIE GRANGER (1972, MARGUERITE DURAS, A+) ที่มีฉากตัวละครหญิง (LUCIA BOSE +JEANNE MOREAU) เก็บกวาดโต๊ะเป็นเวลานานมาก ในขณะที่เสียงจากวิทยุก็คอยรายงานข่าวอาชญากรที่น่ากลัวที่เพ่นพ่านอยู่ในละแวกนั้น

นักวิจารณ์บางคนตั้งข้อสังเกตอีกด้วยว่า ฉากบางฉากใน NATHALIE GRANGER สะท้อนถึง “การที่เพศหญิงทำลายภาษาของเพศชาย” ด้วย

การที่หนังบางเรื่องให้ความสำคัญกับ “การปอกเปลือกผลไม้” และ “การเก็บกวาดโต๊ะ” แทนที่จะให้ความสำคัญกับประเด็นที่ว่า “ใครตายเพราะอะไร” , “ใครฆ่าใครด้วยวิธีการยังไง” , “อาชญากรพวกนั้นหนีไปไหน” ก็เลยทำให้นึกถึงประเด็นที่ว่า “อะไรคือ “STORY” ในสายตาของใคร” ด้วย

ในความรู้สึกส่วนตัวของดิฉัน ไม่ว่าการที่ ZEYNEP ทำงานบ้าน หรือการที่ LUCIA BOSE ทำงานบ้านจะเป็น STORY หรือไม่ก็ตาม การได้ดูกิจวัตรประจำวันของตัวละครเหล่านี้ก็ให้ความรู้สึกที่งดงามมากๆ และให้ความสุขยิ่งกว่าการได้ดูสิ่งที่เรียกว่า “ STORY “ ในหนังหลายๆเรื่องเสียอีก

พูดถึงประเด็นที่ว่า “อะไรคือ STORY” และการที่ตัวละครทำงานบ้านเป็นเวลานานๆเป็น STORY หรือไม่แล้ว ก็เลยนึกถึงบทวิจารณ์หนังที่เคยอ่านเมื่อนานมาแล้วเช่นกัน จำรายละเอียดในบทวิจารณ์นั้นไม่ค่อยได้แล้ว แต่จำได้เลาๆว่า มีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ HISTORY—HIS STORY vs. HER STORY รู้สึกว่าบทวิจารณ์นั้นจะพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า “เนื้อเรื่อง” ในมุมมองของบางคน อย่างเช่น บางคนอาจจะมองว่าช่วงเวลาที่ตัวละครชายทำงานนอกบ้าน ติดต่อพบปะผู้คน ดูมี “เนื้อเรื่อง” ในขณะที่ช่วงเวลาที่ตัวละครหญิงซักผ้า ถูบ้าน ทำงานบ้านอยู่คนเดียว ดูไม่ค่อยมี “เนื้อเรื่อง”, บางคนอาจจะมองว่าช่วงเวลาที่ตัวละครคลอดบุตร ก่อให้เกิด “เนื้อเรื่อง” ในขณะที่ช่วงเวลาที่ตัวละครตั้งครรภ์ ท้องโย้ นั่ง+นอน+เดินไปเดินมาขณะท้องโย้ ไม่ทำให้เกิด “เนื้อเรื่อง”

แต่ก็มีหนังบางเรื่องเช่นกันที่เลือกจะเน้น HERSTORY มากกว่า HISTORY ถ้าจำไม่ผิด ในหนังเรื่องนึงของ WERNER SCHROETER รู้สึกว่าอาจจะเป็น THE KINGDOM OF NAPLES (1978) ตัวละครหญิงที่ตั้งครรภ์แก่ ออกมาประกาศก้องต่อหน้าทุกๆคนว่า “เด็กยังไม่เกิด” (ซึ่งตรงข้ามกับหนังหลายๆเรื่องที่พอตัวละครคลอดบุตร ก็มักจะมีคนออกมาประกาศว่า “เด็กเกิดแล้ว”)


คำตอบที่ประทับใจจากหลายๆคน

CHRIS’S GIRLFRIEND
7. ท่านอน : คุคคู้แสวงหาความอบอุ่น, พะเน้าพะนอหมอน , คว่ำหน้าท้าบุรุษ , ตะแคงข้างอ้างว่ารัก

boss
9.ตอนเด็กๆ เป็นคนยังไง : หวานซ่อนเปรี้ยว

Lovejuice
12.นิสัยตอนนี้ : มีคนบอกว่าเราร้ายลึกเหมือนพระเอกนิยายที่เราเขียน

Thunska
15.สิ่งที่ต้องทำก่อนนอน : อ่านอะไรก็ได้ เป็นนิสัยที่ติดมาแต่ไหนไม่รู้ แต่จำได้ว่าคืนหนึ่งไปต่างจังหวัด ไม่มีอะไรอ่าน คว้าฉลากยามาอ่านแล้วหลับไป

Vespertine
22.ถ้าเปรียบตัวเองเป็นสัตว์ : ตัวเฮี่ย

Porky
23. เชื่อเรื่องดวงไหม : เชื่อบ้างครับ แต่ไม่ค่อยชอบดู กลัวหมอดูรู้ว่าเป็นเกย์

zm
36.งานพิเศษที่อยากลองทำ : โสเภณีระดับสูง

อ้วน
43.ถ้าเป็นการ์ตูนได้อยากเป็นตัวไหน : เป็นนางเอกในการ์ตูนของคุณแมลงปิศาจ

Matt
43.ถ้าเป็นการ์ตูนได้อยากเป็นตัวไหน : เดคิซุงิ

Paaae
45. .เวลามีนัด จะรอกี่นาที : ขึ้นอยู่กับระดับความหล่อของคนที่นัด

FRANKENSTEIN
48.เป็นพวกคลั่งใคล้อะไร : เมอรีล สตรีฟ และจินตหรา สุขพัฒน์ ห้ามแตะ ห้ามวิจารณ์เสียๆ หายๆ ผมรักของผมมาก ประมาณนั้น

Kit
51.สิ่งที่อยากทำตอนนี้ : กินขนมอร่อยๆ..กับหนุ่มหล่อๆ เข้มๆ ขนๆ..


แนะนำเว็บไซท์ CRITICINE สำหรับหนังเอเชียอาคเนย์ค่ะ

มีเว็บไซท์ใหม่น่าสนใจมากๆค่ะ อยู่ที่ http://www.criticine.com เป็นเว็บไซท์สำหรับภาพยนตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีบทความเกี่ยวกับภาพยนตร์มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย, ไทย

แต่เราจะหาหนังจากประเทศเพื่อนบ้านของเรามาดูกันได้อย่างไร อันนี้ดิฉันก็ยังไม่รู้เหมือนกันนะคะ

บทความน่าสนใจในเว็บไซท์นี้รวมถึง

1.บทสัมภาษณ์เป็นเอก
http://www.criticine.com/interview_article.php?id=19&PHPSESSID=3800ee78e0739203f1910e3b4c871002


2.ความเห็นที่มีต่อหนังโฮโมอีโรติกอินโดนีเซียเรื่อง GIE (2005, RIZI RIZA) (อยากดูจังเยย)
http://www.criticine.com/review_article.php?id=9&PHPSESSID=3800ee78e0739203f1910e3b4c871002

เว็บไซท์ของหนังเรื่อง GIE
http://www.milesfilms.com/gie/

NICHOLAS SAPUTRA ดาราหนุ่มหล่อจากหนังเรื่อง GIE
http://www.infoartis.com/Nicholas_Saputra/Nicholas_Saputra_02.jpg
http://www.sankei.co.jp/enak/2005/feb/jpeg/21nico01.jpg
http://65.75.170.225/i/art/adved_1104914448.jpg


3.บทวิจารณ์หนังมาเลเซียเรื่อง SANCTUARY (2004, HO YUHANG)
http://www.criticine.com/review_article.php?id=7&PHPSESSID=3800ee78e0739203f1910e3b4c871002


4.บันทึกของ RAYA MARTIN ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฟิลิปปินส์วัย 21 ปี ที่เพิ่งมีหนังเรื่อง BAKASYON (2004, A-) เข้ามาฉายในกรุงเทพในเดือนส.ค.
http://www.criticine.com/feature_article.php?id=19&PHPSESSID=3800ee78e0739203f1910e3b4c871002


หนังที่ได้ดูในช่วงนี้

1.OLIVER TWIST (2005, ROMAN POLANSKI, A+)

2.LORD OF WAR (2005, ANDREW NICCOL, A+/A)

3.PRINCE OF DARKNESS (1987, JOHN CARPENTER, A+)
ดูวิดีโอลิขสิทธิ์

4.SAW II (2005, DARREN LYNN BOUSMAN, A+/A)

รู้สึกว่า SAW ภาคแรกคลาสสิคกว่ามาก และก็รู้สึกว่าภาคสองนี้มีจุดเห่ยๆที่เห็นได้ชัดอยู่บ้างเหมือนกัน อย่างไรก็ดี ชอบช่วงท้ายของหนังเรื่องนี้มากๆ และเนื่องจากหนังเรื่องนี้ทำให้ดิฉันรู้สึกดีมากๆในตอนจบ ความรู้สึกชอบหนังเรื่องนี้เลยดีดกลับขึ้นมาอยู่ที่ A+

ถ้าหากพูดถึงความสุขที่ได้รับจากหนังสยองขวัญภาคแรกและภาคสองแล้ว ดิฉันก็รู้สึกว่า SAW ภาคสองไม่ผิดหวังมากนักสำหรับดิฉัน (แต่อาจจะน่าผิดหวังมากสำหรับหลายๆคน) โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับหนังภาคสองเรื่องอื่นๆ

ความรู้สึกชอบที่มีต่อหนังสยองขวัญชุดบางเรื่อง

--SCREAM (A+), SCREAM II (A/A-), SCREAM III (A/A-)

--HALLOWEEN (A+/A), HALLOWEEN II (A+) รู้สึกว่าหนังภาคสองดูโง่ๆ แต่ดูตอนเด็กๆแล้วลุ้นมากๆ

--THE BLAIR WITCH PROJECT (A), ภาคสอง (B+)

--CUBE (A+), ภาคสอง (B)

--THE TEXAS CHAINSAW MASSACRE (1974, TOBE HOOPER, A+), ภาคสอง (1986, TOBE HOOPER, A-)

--JEEPERS CREEPERS (A+++++), ภาคสอง (B)

--JU-ON (A+), ภาคสอง (A-)

--URBAN LEGENDS (A), ภาคสอง (B)


ใน SAW II มีการล้อหนังเรื่อง LAST HOUSE ON THE LEFT (WES CRAVEN, A) ด้วย


5.ANNIE GET YOUR GUN (1950, GEORGE SIDNEY, A)
http://www.imdb.com/title/tt0042200/

6.CORPSE BRIDE (2005, TIM BURTON + MIKE JOHNSON, A)

--JANE HORROCKS จาก LITTLE VOICE (1998, MARK HERMAN, A) มาให้เสียงพากย์เป็นแมงมุมแม่ม่ายดำในเรื่องนี้ด้วย

--มีบางฉากในเรื่องนี้ที่ทำให้นึกถึงหนังเอ็กซ์เพรสชันนิสท์ของเยอรมนีในทศวรรษ 1920 โดยเฉพาะฉากที่พระเอกไปแอบในโลงศพที่ตั้งอยู่ ดูแล้วนึกถึง CESARE ใน THE CABINET OF DR. CALIGARI (1920, ROBERT WIENE, A+)
http://www.dvdbeaver.com/comparisons/comparisons/c_d/caligari/Default.htm

http://www.dvdbeaver.com/comparisons/comparisons/c_d/caligari/caligari_eureka_uk5.jpg

http://www.20six.fr/pub/Nekoneko/caligari-6.jpg


7.KIRIKOU AND THE SORCERESS (1998, MICHEL OCELOT, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0181627/

หนังฉายที่สมาคมฝรั่งเศส ถ.สาทรใต้ แต่ฉายด้วยดีวีดี และปรากฏว่าดีวีดีดันเจ๊งช่วงท้ายๆเรื่อง

เห็น THE SORCERESS ในเรื่องนี้แล้วนึกถึง ANGELA BASSETT เป็นอย่างมาก


MOST DESIRABLE ACTOR

1.FRANKY G—SAW II

2.JARED LETO—LORD OF WAR

3.JAMESON PARKER—PRINCE OF DARKNESS


FAVORITE ACTRESS

1.MOLLY PARKER—DEADWOOD (ฉายทาง HBO แต่รู้สึกจะจบซีซันแรกแล้ว)

2.BETTY HUTTON—ANNIE GET YOUR GUN


FAVORITE ACTOR

1.BARNEY CLARK—OLIVER TWIST

2.HOWARD KEEL—ANNIE GET YOUR GUN


FAVORITE SUPPORTING ACTRESS

1.LEANNE ROWE—OLIVER TWIST

2.KIM DICKENS—DEADWOOD


FAVORITE SUPPORTING ACTOR

1.IAN HOLM—LORD OF WAR

2.JAMIE FOREMAN (BILL SYKES)—OLIVER TWIST

3.HARRY EDEN (ARTFUL DODGER)—OLIVER TWIST



FAVORITE SONG

ANYTHING YOU CAN DO—WRITTEN BY IRVING BERLIN FOR “ANNIE GET YOUR GUN”

ในหนังเรื่อง ANNIE GET YOUR GUN มีเพลง DOIN’ WHAT COMES NATUR’LLY ด้วย ฟังชื่อเพลงนี้แล้วก็เลยทำให้นึกถึงเพลง WHAT COMES NATURALLY (A) ของ SHEENA EASTON
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B000002OFC/104-4941605-0258310?v=glance



FAVORITE SOUNDTRACK
PRINCE OF DARKNESS
รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ใช้ดนตรีประกอบมากเกินไป แต่ก็ยังคงชอบมากอยู่ดี

FAVORITE ENDING CREDIT
OLIVER TWIST


FAVORITE ENDING
SAW II




FAVORITE ARTICLE

1.บทความเกี่ยวกับคนที่ติดตามอ่านคอลัมน์หนังใน VILLAGE VOICE จนกลายมาเป็นนักวิจารณ์เสียเอง
http://www.villagevoice.com/specials/0543,50thehobe,69324,31.html

ในบทความนี้มีบอกไว้ด้วยว่า ตอนหนังเรื่อง ERASERHEAD (1977, DAVID LYNCH, A+) ออกฉาย มีคนมาดูหนังเรื่องนี้แค่ 4-5 คนต่อรอบเท่านั้น

"It is not my business to tell you what it's about. My business is to get excited about it, to bring it to your attention. I am a raving maniac of the cinema."—JONAS MEKAS



2.TOWARD A CULTURAL HISTORY OF THE VANISHING LADY

บทความเกี่ยวกับตำนาน THE LADY VANISHES ที่เริ่มต้นในปี 1889 จนกระทั่งสืบทอดต่อเนื่องกันมานานกว่าร้อยปีจนมาถึง FLIGHTPLAN (A-)
http://www.villagevoice.com/film/0544,mckinney,69512,20.html

สิ่งที่อยู่ในบทความนี้รวมถึง

2.1--เรื่องของลูกสาวที่พบว่าแม่เธอหายสาบสูญไปอย่างมีเลศนัยในกรุงปารีสในปี 1889

2.2--THE END OF HER HONEYMOON (1913) ประพันธ์โดย MARIE BELLOC LOWNDES
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/0405078846/qid=1131048082/sr=8-1/ref=sr_8_xs_ap_i1_xgl14/104-4941605-0258310?v=glance&s=books&n=507846

2.3--SHE WHO WAS HELENA CASS (1920) ประพันธ์โดย LAWRENCE RISING

2.4--THE VANISHING OF MRS.FRASER (1925) ประพันธ์โดย SIR BASIL THOMSON

2.5--THE TORRENTS OF SPRING (1926) ประพันธ์โดย ERNEST HEMINGWAY
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/0684839075/qid=1131048280/sr=8-1/ref=pd_bbs_1/104-4941605-0258310?v=glance&s=books&n=507846

2.6--THE LADY VANISHES (1938, ALFRED HITCHCOCK, A+++++)

2.7--SO LONG AT THE FAIR (1950, ANTHONY DARNBOROUGH + TERENCE FISHER)
http://www.imdb.com/title/tt0042980/

Vicky Barton and her brother, Johnny, take a trip to the 1896 Paris Exhibition. They both sleep in seperate rooms in a hotel. When the sister gets up the next morning, she finds her brother and his room had disappeared and no one will even acknowledge that he was ever there. Now Vicky must find out what exactly happened to her brother.


2.8--BUNNY LAKE IS MISSING (1965, OTTO PREMINGER) DVD หนังเรื่องนี้มีขายแล้วในสหรัฐ
http://images.amazon.com/images/P/B0006J27XS.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

Ann Lake has recently settled in England with her daughter, Bunny. When she goes to retrieve her daughter after the girl's first day at school, no one has any record of Bunny having been registered. When even the police can find no trace that the girl ever existed, they wonder if the child was only a fantasy of Ann's. When Ann's brother backs up the police's suspicions, she appears to be a mentally-disturbed individual. Are they right?

2.9--FRANTIC (1988, ROMAN POLANSKI, B+/B)


ในบทความชิ้นนี้ตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยว่า ตัวละครหญิงใน THE TORRENTS OF SPRING (1926) พบว่าอยู่ดีๆแม่ของเธอก็หายสาบสูญไปอย่างน่าประหลาดในกรุงปารีส และหลังจากนั้นเธอก็ไม่สามารถหาแม่ของเธอเจอได้อีกเลย และไม่สามารถหาคำอธิบายใดๆได้เลยด้วย

"Sometimes, you know, I feel there is," the waitress said. "I feel there must be more than that. Somewhere, somehow, there must be an explanation. I don't know what brought the subject into my mind this morning."

DEVIN MCKINNEY ผู้เขียนบทความนี้ตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยว่า ชีวิตจริงมักจะเป็นเช่นนี้ ชีวิตจริงมักจะ “หาคำอธิบายไม่ได้” ไม่เหมือนกับในนิยายหรือภาพยนตร์หลายๆเรื่องที่มักจะหาคำตอบพบในตอนจบว่า “ผู้หญิงคนนั้นหายไปไหน”

"There must be more than that . . . there must be an explanation." In popular fiction, always; in life, almost never.

แต่ก็ยังดีที่มีหนังอย่าง L’AVVENTURA (1960, MICHELANGELO ANTONIONI, A+) และ HOTEL (JESSICA HAUSNER, A+) ที่ปล่อยให้ตัวละครหายสาบสูญไปโดยไม่ต้องกลับคืนมา



ดีใจมากค่ะที่น้อง merveillesxx เริ่มฟื้นไข้แล้ว ขอให้หายเร็วๆไวๆนะคะ

ดิฉันก็ป่วยเป็นไข้เมื่อวันพุธสัปดาห์ที่แล้วเหมือนกันค่ะ สาเหตุเนื่องจากกระเพาะและลำไส้อักเสบนี่แหละค่ะ และมันก็เลยทำให้เป็นไข้ด้วย เดี๋ยวก็หนาว เดี๋ยวก็เหงื่อออกท่วมตัว แถมออกไปหาหมอที่โรงพยาบาล ยังมีเรื่องตบตีกับเจ้าหน้าที่แผนกการเงินของโรงพยาบาลอีก แต่ดิฉันรู้สึกเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเป็นอย่างมาก ก็เลยไม่มีเรี่ยวแรงจะเอาเรื่องเอาราวกับพวกเธอ ตอนนี้ก็ได้แต่ภาวนาขอให้กฏแห่งกรรมช่วยจัดการกับเจ้าหน้าที่พวกนั้นให้สาสม

โชคยังดีที่พอทานยาฆ่าเชื้อเข้าไปแล้ว อาการก็ดีขึ้น ตื่นเช้าขึ้นมาในวันพฤหัสบดี ก็พบว่าไข้หายไปเลย เหลือแต่อาการอาหารไม่ค่อยย่อยเท่านั้น วันพฤหัสบดีกับวันศุกร์ที่แล้วก็เลยออกไปดูหนังวันละ 5 เรื่อง (เพราะลางานไว้ก่อนแล้ว) ส่วนอาการอาหารไม่ย่อยนั้นไม่เป็นปัญหากับการดูหนังแต่อย่างใด เพราะอาหารไม่ย่อย ก็แก้ไขได้ด้วยการไม่กินอาหาร และการไม่กินอาหารก็ยิ่งทำให้ดูหนังได้สะดวกยิ่งขึ้น

แต่มาวันนี้รู้สึกว่าตัวเองมีอาการตามัวๆอีกแล้ว ก็เลยอาจจะพยายามเพลาๆการใช้สายตา+เล่นอินเทอร์เน็ตให้น้อยลงหน่อย รู้สึกงงอยู่เหมือนกัน เพราะช่วงวันจันทร์-วันพุธที่ผ่านมา ไม่ได้เข้าร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่เลย รู้สึกว่าตัวเองใช้สายตาน้อยแล้ว แล้วอยู่ดีๆวันพฤหัสบดีก็เกิดอาการตามัวๆขึ้นมาอีก

ดิฉันก็มักไม่สบายเมื่อเจอแดดร้อนๆเหมือนกันค่ะ เคยเดินตากแดดตอนเที่ยงจากสวนลุมไปสีลมคอมเพลกซ์ เดินสั้นๆแค่นั้นแหละ แค่ไม่กี่ร้อยเมตร ปรากฏว่าไม่สบายไปเลย

นั่งรถเมล์ตอนเที่ยงๆก็ทำให้ไม่สบายเหมือนกัน สมัยประมาณปี 1996 เคยนั่งรถเมล์จากจตุจักรไปดูหนังที่ดวงกมล ซีคอนสแควร์ รู้สึกว่าใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง และต่อมาก็พบว่ามันทำให้ไม่สบาย และนั่นก็เลยเป็นสาเหตุที่ทำให้แทบไม่ได้ไปดูหนังที่ดวงกมลซีคอนสแควร์อีก

No comments: