Thursday, July 16, 2020

BLOOD QUANTUM (2019, Jeff Barnaby, Canada, A+30)


BLOOD QUANTUM (2019, Jeff Barnaby, Canada, A+30)

SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
1.ประเด็นเรื่องอินเดียนแดงน่าสนใจมากๆ อย่างที่หลายคนเขียนถึงไปแล้ว

2.หนังเรื่องนี้เป็นหนังซอมบี้เรื่องแรกที่เราได้ดูหลังจากเกิดวิกฤติไวรัสโคโรนา เราได้ดูหนังเรื่องนี้ในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา พอดูหนังเรื่องนี้เสร็จแล้วก็ดันเกิดสถานการณ์ความเป็นไปได้ที่จะเกิดการระบาดระลอกสองของไวรัสโคโรนาขึ้นอีก

พอดูหนังเรื่องนี้แล้วก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่า จริงๆแล้วหนังซอมบี้หลายเรื่องเหมือนช่วยให้เราเตรียมตัวเตรียมใจรับมือกับการระบาดรอบสอง 55555 เพราะใน BLOOD QUANTUM และหนังซอมบี้หลายๆเรื่องนั้น ตัวละครจะไปอยู่ใน “สถานที่ที่ดูเหมือนปลอดภัย “ เป็นเวลาระยะนึงในช่วงกลางเรื่อง ก่อนจะพบว่า “สถานที่ที่ดูเหมือนปลอดภัย” นั้นไม่ได้ปลอดภัยจริง และสถานที่นั้นต้องรับมือกับการบุกของซอมบี้ในเวลาต่อมา ตัวอย่างเช่น

2.1 ใน BLOOD QUANTUM ตัวละครก็สร้างเขตปลอดภัยขึ้นมา ก่อนจะพบว่ามันไม่ปลอดภัย

2.2 ใน I AM A HERO (2015, Shinsuke Kato) ตัวละครก็ไปหลบกันอยู่บนดาดฟ้าของห้างสรรพสินค้าแห่งนึง อยู่กันอย่างปลอดภัยระยะนึง ก่อนที่จะโดนซอมบี้กระโดดสูงขึ้นมา

2.3 ใน ZOMBIELAND: DOUBLE TAP (2019, Ruben Fleischer) ตัวละครก็เจอกับ BABYLON ซึ่งเป็นแหล่งปลอดภัยจากซอมบี้ ก่อนที่จะโดนฝูงซอมบี้บุก

2.4 ใน LAND OF THE DEAD (2005, George A. Romero) ตัวละครกลุ่มนึงก็อาศัยอยู่ใน “เมืองปลอดภัย” ก่อนจะโดนซอมบี้บุก

2.5 ใน WORLD WAR Z (2013, Marc Forster) ตัวละครในเมืองนึงในอิสราเอลก็อยู่กันอย่างปลอดภัย ก่อนที่จะโดนซอมบี้บุกในเวลาต่อมา

สรุปว่าเหตุการณ์ SECOND WAVE ในโลกแห่งความเป็นจริงช่วงนี้ ทำให้นึกถึง “ช่วงกลางเรื่อง” ของหนังซอมบี้เหล่านี้มากๆ

3.แต่ดู BLOOD QUANTUM แล้วมีข้อสงสัยบางอย่าง ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเราดูไม่ทันในบางจุด เราก็เลยขอถามเพื่อนๆที่ดูแล้วว่า

3.1 แม่ของ Lysol เป็นอะไรตาย คือเหมือนตัวละครหลายๆตัวชอบพูดถึงแม่ของ Lysol ในทำนองที่ว่า การตายของแม่เขามัน tragic มากๆ และนั่นก็เลยอาจจะเป็นสาเหตุส่วนนึงที่ทำให้เขากลายเป็น “เด็กขบถ” แบบนี้ เราก็เลยสงสัยว่าแม่ของเขาเป็นอะไรตาย

3.2 ตัวละคร Shooker (อินเดียนแดงที่มีเมียผิวขาว) หายไปไหนในช่วงท้ายเรื่อง คือถ้าหากเราดูไม่ผิด Shooker เป็นคนที่เอาเรือมารับตัวละครต่างๆในช่วงท้ายเรื่องน่ะ แล้วตัวละครสำคัญ 3 ตัวก็ขึ้นเรือไป ส่วนคุณปู่ตัดสินใจอยู่เฝ้าแผ่นดินเกิด เราก็นึกว่า Shooker ขึ้นเรือไปกับตัวละครตัวอื่นๆด้วย แต่ไปๆมาๆทำไมบนเรือเหลือตัวละครแค่ 3 คน ไม่มี Shooker อยู่ด้วย

SUPERMARKET (1974, Roland Klick, West Germany, A+30)

ชอบที่หนังทำให้เราไม่รู้ว่าจะรู้สึกยังไงกับตัวละครพระเอกดี คือมันไม่ใช่ตัวละครที่ likeable หรือน่าเอาใจช่วยแน่ๆ แต่มันก็ไม่ใช่ตัวละครที่เหี้ยมากๆ หรือเป็นสัตว์นรกโดยกมลสันดานแบบในหนัง feel bad เราก็เลยรู้สึกว่า Roland Klick เก่งมากในการสร้างตัวละครที่เป็นมนุษย์ที่เต็มไปด้วยข้อบกพร่องสูงมากๆ มากยิ่งกว่าตัวละครพระเอกแบบใน BAD LIEUTENANT: PORT OF CALL – NEW ORLEANS (2009, Werner Herzog) อีก

ตอนที่ดูหนังเรื่องนี้ เราก็เลยรู้สึกก้ำกึ่งกับตัวละครพระเอกตลอดเวลา เพราะพระเอกเป็นคนที่ “ไม่เอาถ่าน” หรือ “ไม่รักดี” อย่างรุนแรง เหมือนคนต่างๆพยายามจะหยิบยื่นโอกาสที่ดีให้พระเอก แต่พระเอกก็ไม่เอา และถลำลึกเข้าสู่เส้นทางชีวิตที่ผิดพลาดมากขึ้นเรื่อยๆ แต่หนังก็ไม่ได้มองพระเอกด้วยสายตาเยาะหยันหรือกล่าวโทษ แต่เหมือนหนังพยายามจะโอบรับความบกพร่องของมนุษย์เอาไว้อย่างเต็มที่ ซึ่งน่าจะคล้ายๆสายตาแบบใน BAD LIEUTENANT: PORT OF CALL – NEW ORLEANS

หนังมีตัวละครเกย์ด้วยนะ เพราะพระเอกพยายามจะหาเลี้ยงตัวเองด้วยการขายตัวอยู่พักนึง

No comments: