NELSON MANDELA: THE MYTH AND ME (2013, Khalo Matabane, South
Africa, documentary, A+30)
1.กราบตีน มีสิทธิติด top ten ประจำปี
ชอบสุดๆ เหมือนหนังเรื่องนี้สำรวจประเด็นทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึกได้ในแบบที่ถูกใจเรามากๆ
ในเชิงกว้างก็คือว่า เราชอบที่หนังเรื่องนี้พูดถึงปัญหาการเหยียดผิวในแอฟริกาใต้
แต่หนังไปสัมภาษณ์เหยื่อเผด็จการในชิลีและเยอรมันตะวันออกด้วย
เพราะหนังพยายามจะตั้งคำถามว่า การที่ Nelson Mandela ดูเหมือนจะกลายเป็นสัญลักษณ์ของ
“การให้อภัย และการไม่แก้แค้น” นั้น มันดูเป็นสิ่งที่ดีก็จริง แต่เราจะทำยังไงกับ “เหยื่อที่ไม่สามารถทำใจให้อภัยคนที่เคยทำร้ายพวกเขา
คนที่เคยจับพวกเขาไปทรมาน หรือคนที่เคยเข่นฆ่าครอบครัวพวกเขา” ล่ะ
เพราะฉะนั้น ชิลี และเยอรมันตะวันออก
ก็เลยกลายเป็นส่วนหนึ่งของหนังเรื่องนี้ด้วย
เพราะมันมีคนที่เคยเป็นเหยื่อของตำรวจลับ Stasi ในเยอรมันตะวันออก
และมันมีคนจำนวนมากที่เคยเป็นเหยื่อของ Augusto Pinochet คนที่เคยตกเป็นเหยื่อเหล่านี้
รู้สึกยังไงกับคนที่เคยเข่นฆ่าพวกเขา รู้สึกยังไงกับ “ชาวบ้านที่เคยสนับสนุนเผด็จการที่เข่นฆ่าพวกเขา”
พอหนังเรื่องนี้โยงแอฟริกาใต้กับเยอรมันตะวันออกเข้าด้วยกัน
เราก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่า เราเคยดูหนังเรื่อง FORGIVENESS สองเรือง
เรื่องนึงเป็นของแอฟริกาใต้ ส่วนอีกเรื่องนึงเป็นของเยอรมนีที่พูดถึงปัญหาการเมืองในเยอรมันตะวันออก
และทั้งสองเรื่องก็ตั้งคำถามคล้ายๆกับหนังเรื่อง NELSON MANDELA: THE MYTH
AND ME ด้วย นั่นก็คือการตั้งคำถามต่อการให้อภัยศัตรูทางการเมือง
FORGIVENESS ที่พูดถึงเยอรมันตะวันออกเป็นหนังปี 1994
ที่กำกับโดย Andreas Hontsch เราชอบหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรงสุดๆ
ส่วนอันนี้เป็น FORGIVENESS (2004, Ian Gabriel) ของแอฟริกาใต้
2.ส่วนใน “เชิงลึก” นั้น หนังเรื่องนี้ก็สัมภาษณ์คนหลายคนในแอฟริกาใต้
และทำให้เราได้รับรู้ว่า การต่อสู้กับการเหยียดผิวในแอฟริกาใต้นั้น
มันโหดร้ายมากเหมือนกัน
3.หนังเรื่องนี้สัมภาษณ์ Dalai Lama ด้วย แต่เราว่าส่วนของ Dalai Lama นั้น
น่าสนใจน้อยที่สุด เพราะ Dalai Lama ก็พูดสนับสนุน “การให้อภัย”
ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วว่ามันเป็นสิ่งที่ดี 55555 คือความคิดแบบนี้นั้น
มันไม่ dilemma น่ะ มันก็เลยไม่น่าสนใจสำหรับเรา
ทั้งๆที่มันเป็นสิ่งที่เรา “เห็นด้วย”
4.แต่คนที่พูดสนับสนุนการให้อภัย
แล้วเรารู้สึกว่าน่าสนใจสุดๆ ก็คือชายชราผิวขาวที่เคยทำงานเป็นผู้พิพากษา
แล้วถูกคนทำร้ายจนเขาแขนขาด ชายชราคนนี้ (น่าจะอายุราวๆ 60-70 ปี)
พูดถึงช่วงเวลาที่เขาได้เผชิญหน้ากับคนที่ทำร้ายเขาจนเขาแขนขาด และดูเหมือนชายชราคนนี้จะให้อภัยคนร้ายได้
คือเราว่า ถ้าหากคนทั่วไปตามท้องถนน พูดว่า “การให้อภัยเป็นสิ่งที่ดี”
เรารู้สึกว่ามันไม่น่าสนใจน่ะ เพราะมันเป็นสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วว่ามันเป็นสิ่งที่ดี
แต่ถ้าหากเป็นคนแบบชายชราคนนี้ คนที่เคยถูกทำร้ายจนแขนขาด
ต้องพิการไปตลอดทั้งชีวิต ออกมาเล่าเรื่องการให้อภัยคนร้าย เราว่าอะไรแบบนี้นี่แหละที่เราสนใจสุดๆ
เพราะมันเป็นการแสดงภาวะทางจิตวิญญาณที่มันมหัศจรรย์มากๆสำหรับเรา
5.หนังเปิดพื้นที่ให้กับคนที่ไม่สามารถให้อภัยคนร้ายด้วย ทั้งคนชิลี
และคนผิวดำในแอฟริกาใต้ที่ยังไม่สามารถทำใจให้อภัยคนผิวขาวที่เคยเข่นฆ่าครอบครัวของพวกเขาได้
เราชอบมากๆที่หนังเปิดพื้นที่ให้กับคนเหล่านี้ และเราก็เข้าใจพวกเขามากๆ
เพราะในหลายๆครั้ง “สิ่งที่ดี” กับ “สิ่งที่เราทำได้ในชีวิตจริง”
มันก็ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน คือเรารู้ว่า “การให้อภัย” เป็นสิ่งที่ดี
แต่มันก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะ “บรรลุถึงภาวะสมบูรณ์แบบทางจิต” แบบนั้นได้
เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ เพราะมันแสดงให้เห็นว่า
เราไม่ควรพูดถึงแต่ hero พูดถึงแต่วีรบุรุษเพียงอย่างเดียว
แต่เราควรพูดถึงมนุษย์ปุถุชนด้วย มนุษย์ปุถุชนที่รู้อยู่เต็มอกว่า “การให้อภัยเป็นสิ่งที่ดี”
แต่ก็ไม่สามารถทำใจให้ไปถึงจุดนั้นได้
6.สิ่งที่ irony สุดๆคือสิ่งที่เกิดขึ้นในโรงหนัง Alliance
ขณะฉายหนังเรื่องนี้
เพราะขณะที่หนังเรื่องนี้นำเสนอประเด็นเรื่องการให้อภัยนั้น
คนดูในโรงหนังก็ตบตีกันอย่างรุนแรงสุดๆ คิดว่าเป็นการตบกันในโรงหนังที่หนักที่สุดเท่าที่เราเคยเจอมาในชีวิตนี้เลยมั้ง
ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด คือมีคนดูคนไทยคนนึง ที่นั่งแถวเดียวกับเรา
ตะโกนบอกให้ฝรั่ง (ซึ่งเป็นผู้ชายล่ำๆ หุ่นแบบวิน ดีเซล)
ที่นั่งอยู่แถวข้างล่างถัดไป 2 แถว ให้ปิดมือถือ เพราะแสงมันแยงตาเขา
ตอนที่หนังเพิ่มเริ่มฉาย แต่แทนที่ฝรั่งจะปิดมือถือแต่โดยดี ฝรั่งกลับอ้างว่า
เขาไม่ได้ส่งเสียงดังอะไรสักหน่อย คนไทยก็เลยบอกว่า มันเป็นที่แสง (
ไม่ใช่ที่เสียง) แล้วฝรั่งก็ไม่พอใจ มีการด่าๆทอๆกันพักนึง
แล้วพอหนังจบ ฝรั่งคนนั้นก็เข้ามาหาเรื่องคนไทยที่หน้าโรงหนัง มีการด่าทอกันอย่างรุนแรงสุดๆส่วนเราหลบออกไปดูท่าทีอยู่นอกโรงหนัง เหมือนเจ้าหน้าที่ Alliance จะพยายามมาห้ามทัพ
แล้วหลังจากนั้นสองคนนี้ก็แยกย้ายกันไป
เราแอบกะไว้ในใจว่า
ถ้าหากเราเห็นคนไทยถูกทำร้ายร่างกาย เราจะเข้าไปช่วยเขา เพราะในกรณีนี้เราเข้าข้างฝ่ายคนไทยเต็มที่
เพราะเราเองก็เคยทำแบบเขาบ่อยครั้งมากๆ เพราะถ้าหากแสงมือถือจากคนในโรงหนังมาแยงตาเรา
เราก็มักจะไปขอให้เขาปิด แล้วทุกคนก็ปิดแต่โดยดี ไม่มีใครมาเถียงข้างๆคูๆแบบนี้
ล่าสุดเราก็เพิ่งเจอแสงมือถือมาแยงตาเราตอนไปดู THE KINGMAKER ในวันที่
12 ก.ค. เราก็ไปบอกให้เขาปิดมือถือ เขาก็ปิด ปัญหาทุกอย่างก็จบ
ตอนนี้เราก็ได้แต่หวังว่า เราจะไม่เจอเหตุการณ์อะไรแบบนี้อีก
No comments:
Post a Comment