มนต์รักดอกผักบุ้ง เลิกคุยทั้งอำเภอ (2020, Aekachai Srivichai, A+30)
ยกให้เป็น one of my most favorite Thai mainstream comedies of all time ไปเลย เพราะปกติแล้วเราไม่ชอบหนังตลก โดยเฉพาะหนังตลกของไทยส่วนใหญ่ที่เรา "ดูได้ แต่ก็ไม่ได้ชอบอย่างรุนแรง (ซึ่งรวมถึงหนังของพจน์ อานนท์ และหม่ำ)
แต่เรื่องนี้ดูแล้วรื่นรมย์สุดๆ แทบไม่รู้สึกติดขัดอะไรเลย (อาจจะติดขัดแค่มุกตด 555)
แต่สาเหตุที่ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ ไม่ใช่เพราะมัน "ตลก" นะ เราว่าหนังมันตอบสนอง "ความพาฝัน" ของเราได้อย่างเต็มที่น่ะ มันก็เลยดูแล้วรื่นรมย์สุดๆ หนังสร้างตัวละครหนุ่มหล่อนิสัยดี 3 คนมาให้นางเอกเลือก การได้ดูทั้งสามคนนี้บนจอนี่มันดีต่อใจมากๆ
บุคลิกของนางเอกกับน้องสาวก็ดีสุดๆ เพราะมันไม่ใช่สาวเรียบร้อยที่ดูแล้วน่าหมั่นไส้ นางเอกดูเป็นคนที่ชัดเจน แน่วแน่ดี ส่วนน้องสาวนางเอกก็เหมือนเป็นตัวละครที่กะเทยสามารถ identify ด้วยได้ หนังเรื่องนี้ก็เลยเหมือนมีพื้นที่สำหรับเรา
STUMPED (2017, Robin Berghaus, documentary, A+30)
1.สิ่งที่เกิดกับ subject ในหนังน่ากลัวสุดขีด เขาเป็นชายหนุ่ม อาจารย์มหาลัย สอนภาพยนตร์ อายุประมาณ 30 กว่าปีวันนึงเขารู้สึกชาๆที่ขา พอเข้าโรงพยาบาล ก็พบว่าเขาติดเชื้ออย่างรุนแรง เหมือนเป็น streptococcus type อะไรสักอย่าง ต้องตัดแขนทั้งสองข้าง และขาทั้งสองข้างทิ้ง โดยที่หมอก็ไม่รู้ว่า การติดเชื้อนี้เกิดขึ้นได้ยังไง มาจากไหน
มันเป็นอะไรที่น่ากลัวสุดๆ เหมือนเราใช้ชีวิตตามปกติ ทำตัวเรียบร้อย ไม่ได้ทำอะไรเสี่ยงเลย แต่อยู่ดีๆเราก็เสียแขนเสียขาไปหมดเลย
2.กราบ subject มากๆ ที่เขามีกำลังใจสู้ชีวิตต่อไป และกลายเป็นดาวตลกได้
3. Subject เป็นเกย์ที่มีสามีที่น่ารักมากๆ ดีใจที่เขาได้สามีดีๆที่คอยดูแลเขาแบบนี้
4.หนังเรื่องนี้มีความสำคัญสุดๆต่อชีวิตเราในตอนนี้ เพราะตอนนี้เราเครียดหนักมากเรื่องอาการป่วยต้อกระจก, การผ่าตัดต้อกระจก และการเตรียมตัวมากมายก่อนผ่าตัด เพราะเราใช้ชีวิตใน apartment เล็กๆ คนเดียว ก็เลยรู้สึกว่าต้องเตรียมทุกอย่างให้พร้อม บางช่วงเราเครียดหนักมากจนแทบอ้วกออกมา
ช่วงนี้ก็เลยพยายามนึกถึงหนังเรื่องนี้ และคิดว่าชีวิตเรายังไม่ได้ยากลำบากมากเกินไป
MR. JONES (2019, Agnieszka Holland, A+30)
ชอบหนังเรื่องนี้มากๆ เหมือนเราไม่เคยดูหนังที่พูดถึงเหตุการณ์นี้มาก่อนเลย เหมือนความเลวร้ายของนาซีในช่วง WWII มันมากลบเหตุการณ์นี้ไปจนหมด หนังส่วนใหญ่ที่เราเคยได้ดูก็เลยไปพูดเรื่อง WWII แทน แบบ COME AND SEE (Elem Klimov) ในขณะที่หนังที่มีคุณค่าทางศิลปะ ก็มักจะเป็นหนังเชิดชูโซเวียต แบบหนังของ Akexander Dovzhenko (EARTH) และ Vsevolod Pudovkin (STORM OVER ASIA) หนังเรื่องนี้ก็เลยช่วยฉายไฟให้เราได้เห็นสิ่งที่เราแทบไม่เคยรู้มาก่อน
เข้าใจว่าในโซเวียตยุค 1930 มีการผลิตหนังแนว Stalinist musicals ออกมาเยอะมาก จุดประสงค์นึงก็คงเพื่อกลบความเลวร้ายแบบในหนังเรื่องนี้
Monday, July 06, 2020
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment