รักข้ามคาน (2020, Thammarak Gamutmanote, Saichol Panpa, A-)
1.รู้สึกว่าสิ่งที่น่าสนใจในหนังเรื่องนี้ คือการที่หนัง treat รถสกูตเตอร์ของ Vespa ว่าเป็นเหมือนกับตัวละครที่สำคัญที่สุดในเรื่อง รู้สึกว่าเราไม่ค่อยเจอหนังไทยที่ปฏิบัติกับรถหรือวัตถุว่าเป็นตัวละครสำคัญสุดๆแบบนี้
2.โครงสร้างของหนังก็ประหลาดดี เพราะหนังเล่าเรื่องราวรุ่นพ่อแม่ราว 40% แล้วเล่าเรื่องราวรุ่นลูกราว 60% นึกว่าโครงสร้างแบบ "ดาบมังกรหยก" ที่ปูพื้นตัวละครรุ่นพ่อแม่ไปเกือบครึ่งเรื่อง 555
3.ช่วงครึ่งแรกของหนัง เป็นดราม่าที่อารมณ์โอเวอร์เกินไป แต่เราว่ามันดูสมจริงกว่าครึ่งหลังของหนัง ตัวละครที่หมกมุ่นหลงใหลในรถ scooter อย่างรุนแรง ก็ถือเป็นตัวละครที่เราแทบไม่เคยเจอมาก่อนในหนังไทย คือถ้าผลักตัวละครตัวนี้ให้ไปสุดทางของความหลงใหลใน "รถ" เราอาจจะได้หนังแบบ David Cronenberg 55555 น่าเสียดายที่หนังเรื่องนี้มันไปไม่ถึงจุดนั้น
4.ช่วงครึ่งหลังเป็นหนังแนว romantic comedy ที่เรารู้สึกว่ามันโง่มาก สูตรสำเร็จมากๆ ทุกอย่างดูเป็น function ไปหมด แต่ยังดีที่พระเอกกับพระรองหล่อน่ารักดี ก็เลยถือว่าดูผู้ชายเพลินๆไปแล้วกัน
THE LOST PRINCE (2020, Michel Hazanavicius, France, A+25)
1.เป็นหนังเรื่องที่ 3 ของ Hazanavicius ที่เราได้ดู ต่อจาก THE ARTIST (2011, A+30) และ OSS 117: LOST IN RIO (2009, A+15) แล้วเราก็รู้สึกว่า สิ่งที่เราชอบในหนังของเขาคือไอเดียเก๋ๆ หรือความคิดสร้างสรรค์อะไรบางอย่างน่ะ คือเหมือนหนังทั้ง 3 เรื่องของเขามีไอเดียที่น่าสนใจ
แต่สิ่งที่หนังของเขาขาดแคลนก็คือการดัดแปลงไอเดียที่น่าสนใจให้กลายเป็นหนังที่สามารถสร้างความประทับใจทางอารมณ์ได้อย่างรุนแรงน่ะ ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากหนังเรื่องนี้ เพราะพล็อตของหนังมันสามารถทำเป็นหนัง “ครอบครัวซึ้งๆ” แบบหนังญี่ปุ่นได้สบายเลย แต่หนังเรื่องนี้กลับไม่สามารถสร้างอารมณ์ซาบซึ้งได้ แต่สามารถชดเชยในส่วนนี้ได้ด้วยไอเดียเก๋ไก๋
2.ชอบไอเดียของการสร้าง “โลกเทพนิยายที่ถูกทอดทิ้ง” นะ เพื่อสะท้อนเทพนิยายหรือนิทานที่เด็กๆทอดทิ้งไปเมื่อเริ่มโตเป็นผู้ใหญ่ โดยนำเอา “โลกของเทพนิยายที่ถูกทอดทิ้ง” นี้มาสะท้อนอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของเด็กๆด้วย เพราะเด็กหลายๆคนจะรักพ่อแม่มากตอนเป็นเด็กเล็ก แต่เด็กๆมักจะเริ่มรู้สึกแปลกแยกจากพ่อแม่เมื่อพวกเขาเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เราชอบไอเดียนี้ในหนังเรื่องนี้มากๆ
3.แต่ก็น่าเสียดายที่ไปๆมาๆแล้วหนังเรื่องนี้มันไม่ซึ้งเท่าไหร่ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับหนังญี่ปุ่นที่เชี่ยวชาญกับการบีบอารมณ์ซึ้งๆทำนองนี้ได้
4.แต่ก็ชอบ “ทัศนคติ” ของหนังเรื่องนี้อย่างมากๆนะ เมื่อเทียบกับหนังเรื่องอื่นๆ เพราะว่า
4.1 ตอนแรกเรานึกว่ามันเป็นหนัง “สั่งสอนเด็ก” หรือหนังสำหรับเด็ก แต่พอดูไปดูมาแล้วเราพบว่ามันเหมือนเป็นหนัง “สั่งสอนผู้ใหญ่” มากกว่า
4.2 เราชอบหนังเรื่องนี้เพิ่มขึ้นมากเมื่อนำมันไปเทียบกับหนังแบบ LATE SPRING (1949, Yasujiro Ozu) เพราะตัวละครในหนังสองเรื่องนี้มันเหมือนล้อกันโดยไม่ได้ตั้งใจน่ะ เพราะ LATE SPRING นำเสนอหญิงสาววัย 27 ปีที่เหมือนอยากอยู่กับพ่อ แทนที่จะออกไปแต่งงานมีผัว ส่วน THE LOST PRINCE นำเสนอเด็กสาวที่เพิ่งจบจากโรงเรียนประถม เธอเพิ่งขึ้นชั้น ม.1 และเธอเริ่มต้องการผู้ชาย เธอต้องการหนุ่มๆ และหนังก็พยายามสั่งสอน “พ่อ” ว่า พ่อต้องทำใจยอมรับให้ได้นะว่า พอลูกสาวขึ้นม.1 ลูกสาวก็จะต้องการผู้ชายแล้ว และพ่อต้องให้อิสระทางเพศกับลูกสาวในเรื่องนี้
เราชอบทัศนคติแบบนี้ใน THE LOST PRINCE มากๆ และเราพบว่ามันตลกดีถ้าหากเอามันมาเทียบกับหนังของ Ozu
THE LONGEST WAY ROUND IS THE SHORTEST WAY HOME (2020, Nontawat Numbenchapol, video installation, A+30)
1.หนังสารคดีเกี่ยวกับชีวิตหนุ่มชาวไทใหญ่ ทำไม subject ถึงหล่อ น่ารักขนาดนี้คะ กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด ช่วยหนูด้วย ฉันรักเขา กรี๊ดดดดดดดดดด ฉันรักเขา
2.ได้ดูไปแค่ 50 นาที ไม่รู้ความยาวเต็มๆเท่าไหร่ วันหลังอาจจะพยายามไปดูต่อ
MY HERO ACADEMIA: HEROES RISING (2019, Kenji Nagasaki, Japan, animation, A+30)
ไม่เคยดูการ์ตูนเรื่องนี้มาก่อน รู้สึกเหมือนดู X-MEN แบบที่ตัดประเด็นสังคม-การเมืองทิ้งไปให้หมด แล้วเน้นความบู๊เอามันส์อย่างเดียว ซึ่งเราพบว่ามันสนุกสุดๆสำหรับเรา คงเพราะเราชอบหนังที่มีตัวละครอิทธิฤทธิ์สูงๆหลายตัวตบตีกันไปมาอยู่แล้ว
Tuesday, July 21, 2020
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment