PORTRAIT OF THE NATION'S HAPPPINESS (2022, Chitpon Paengwiengjan, 8min, A+25)
LA BOUM (1980, Claude Pinoteau, France, A+30)
+ LA BOUM 2 (1982, Claude Pinoteau, France, A+25)
Spoilers alert
--
--
--
-'
-'
1. ตอนแรกนึกว่ามันคงเป็นหนังวัยรุ่นโง่ ๆ ที่เราคงไม่อิน เพราะตัวละครนางเอกมันดูสวยและมีฐานะดีด้วยแหละ ซึ่งเราไม่น่าจะอินกับนางเอกแบบนี้ แต่พอได้ดูจริง ๆ แล้วก็ชอบหนังอย่างสุด ๆ เพราะหนังมันยังรักษาความเป็นมนุษย์ของตัวละครไว้ได้มากเกินคาด ภายใต้ฉากหน้าของหนังที่ดูเหมือนเป็นหนังวัยรุ่นโง่ ๆ
คือถึงแม้หนังมันอาจจะไม่ได้ละเอียดอ่อน ซับซ้อน หรือลงลึกในความรู้สึกตัวละครแบบหนังดี ๆ เรื่องอื่น ๆ ของฝรั่งเศส แต่หลาย ๆ อย่างที่ตัวละครทำมันก็ยังดูเหมือนเป็นการยอมรับอารมณ์ความรู้สึกจริง ๆ ของมนุษย์ มากกว่าหนังโง่ ๆ สำหรับวัยรุ่นโดยทั่วไป
2.ชอบตอนจบของภาคแรกอย่างสุดขีด คลาสสิคมาก ๆ คือหลังจากนางเอกจะเป็นจะตายกับการไขว่คว้าเอาพระเอกมาเป็นแฟนให้ได้ ปรากฏว่าสิ่งที่อาจจะทำลายความรักของคนทั้งสองลงได้ ไม่ใช่การขัดขวางจากครอบครัว, สังคม หรือโชคชะตาอันโหดร้าย แบบหนังอย่าง ROMEO & JULIET หรือ WEST SIDE STORY แต่เป็นการที่นางเอกได้เห็น "หนุ่มหล่อคนใหม่ปรากฏกาย" แค่นั้นเอง
คือเรารู้สึกว่า หนังแบบรักแท้ กูจะตายเพื่อความรัก แบบ WEST SIDE STORY มันก็ดีในแบบของมันเองนะ แต่มันก็มีมนุษย์แบบอื่น ๆ อยู่บนโลกนี้ด้วย โดยเฉพาะตัวละครวัยรุ่นหญิงสาวนี่เราสนับสนุนให้มองโลกแบบตอนจบของ LA BOUM มาก ๆ คือก่อนที่เราะสละชีพเพื่อผู้ชายที่เราอยากได้ เราแน่ใจแล้วเหรอว่า พอเราได้เขามาเป็นผัวเรียบร้อยแล้ว เราจะไม่อยากได้หนุ่มหล่อล่ำหำตึงคนใหม่ที่ก้าวเข้าในชีวิตเรา อย่าได้ประมาทความซับซ้อนในใจเรา หรือกิเลสตัณหาราคะต่าง ๆ ในใจเราเองค่ะ
3.ชอบมาก ๆ ด้วยที่หนังให้น้ำหนักกับความสัมพันธ์ของพ่อแม่นางเอก คือราว 40-50% ของหนังเป็นเรื่องของพ่อแม่นางเอกน่ะ
รู้สึกว่าทั้ง Claude Brasseur และ Brigitte Fossey โดดเด่นมาก ๆ ในหนังชุดนี้ คือเราว่าเราจะจดจำทั้งสองได้จากหนังเรื่องนี้ มากกว่าหนังอย่าง SUCH A GORGEOUS GIRL LIKE ME (1972, Francois Truffaut) น่ะ คือเหมือนถ้าต้องแข่งกับนักแสดงหนังอาร์ตด้วยกัน มันก็มีคนที่น่าจดจำกว่า อย่าง Anouk Aimee, Romy Schneider, Maurice Ronet, Gerard Depardieu, etc. แต่พอมาอยู่ในหนังเมนสตรีมแบบนี้ มันกลับช่วยสร้างออร่าให้กับนักแสดงบางคนได้ดีกว่ามาก
4. บททวด (Denise Grey) กับบทเด็กหญิงที่อยากได้พ่อนางเอกนี่เป็นบทที่น่าจดจำ และสร้างสีสันให้หนังได้ดีมาก ๆ
5. ชอบการปลอมตัวเป็นกะหรี่ในภาคสองมาก ๆ
อีกจุดที่ชอบมากในภาคสอง ก็คือการที่นางเอกไปคบกับเด็กมหาลัย แต่เข้ากับเพื่อน ๆ ของเขาไม่ได้ เพราะเธอเด็กเกินไป
6. แต่เหมือนภาคสองไม่ได้มีอะไรที่แปลกใหม่มากนัก ก็เลยชอบน้อยกว่าภาคแรกหน่อยนึง
7.ขำที่พอโตขึ้น Sophie Marceau ก็มารับบทที่เหมือนเป็นแม่ของตัวเองในวัยเด็กในหนังเรื่อง LOL (2008, Lisa Azuelos) เพราะในเรื่อง LOL นี้เธอรับบทเป็นแม่ของเด็กสาววัยรุ่นที่ประสบปัญหารัก ๆ ใคร่ ๆ
8.จำได้ว่าตอนเด็ก ๆ นี่ Sophie Marceau ดังคู่กับ Brooke Shields และ Phoebe Cates แต่พอมาถึงยุคนี้ Brooke กับ Phoebe หายไปไหนแล้วก็ไม่รู้ แต่ Sophie ยังเป็นดาวค้างฟ้าอยู่
เหมือนมี Jennifer Connelly นี่แหละ ที่มาหลัง Sophie ราว 5 ปี และยังเป็นดาวค้างฟ้าอยู่ได้จนถึงปัจจุบันเหมือนกัน
THE CONTRACTOR (2022, Tarik Saleh, A+15)
อยากรู้ว่า Nina Hoss กับ Amira Casar (ANATOMY OF HELL) ได้ค่าตัวกี่บาทในการแสดงหนังเรื่องนี้คะ 55555 คือดีใจสุดขีดที่เห็นทั้งสองคนนี้นะ และทั้งสองก็แสดงได้น่าพอใจมาก ๆ แต่บทของทั้งสองน้อยมากน่ะ อยากให้ทั้งสองมีบทมากกว่านี้
RIP Ray Liotta
1.CORRINA, CORRINA (1994, Jessie Nelson) ที่เขาแสดงนี่ถือเป็น one of my most favorite films of all time เลย อินกับหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรงที่สุด หนังสร้างจากชีวิตจริงของผู้กำกับ เรื่องของพี่เลี้ยงเด็ก (Whoopi Goldberg) ที่ได้เจ้านาย (พ่อของเด็ก) (Ray Liotta) เป็นผัว
ฉากที่ Whoopi จัดเนคไทให้ Ray Liotta แล้วเขาเผลอจุ๊บเธอโดยไม่ได้ตั้งใจ นี่ถือเป็น one of my most favorite scenes of all time เหมือนกัน
ตอนดูหนังเรื่องนี้ในช่วงกลางทศวรรษ 1990 เรารู้สึกว่ามันเป็นความรักที่เราอินด้วยอย่างรุนแรงที่สุด เพราะมันข้ามทั้งเส้นแบ่งทางสีผิว, ทางชนชั้น (นางเอกจน) และทางรูปร่างหน้าตา เพราะ Whoopi ไม่ใช่สาวสวย sexy แบบ Naomi Campbell น่ะ เพราะฉะนั้นการที่ Whoopi ได้หนุ่มหล่อน่ารักนิสัยดีอบอุ่นแบบตัวละครของ Liotta ในเรื่องนี้เป็นผัว ก็เลยส่งผลให้ CORRINA, CORRINA เป็นหนึ่งในหนังที่ตอบสนอง romantic fantasy ของเราได้มากที่สุดตลอดกาล
2.พอเช็คดูก็พบว่า เราไม่ได้ดูหนังที่เขาแสดงมา 10 ปีแล้ว เพราะหนังเรื่องสุดท้ายของเขาที่เราได้ดู คือ THE PLACE BEYOND THE PINES (2012, Derek Cianfrance)
3.หนังเรื่องอื่น ๆ ของเขาที่เราเคยดู ก็มี KILLING THEM SOFLY (2012, Andrew Dominik) CHARLIE ST. CLOUD (2010) , SMOKIN' ACES (2006, A+30), IDENTITY (2003, James Mangold), JOHN Q (2002), NARC (2001), HANNIBAL (2000), TURBULENCE (1997), UNLAWFUL ENTRY (1992), GOODFELLAS (1990), FIELD OF DREAMS (1989, Phil Alden Robinson)
4. SMOKIN' ACES นี่ถือเป็น one of my most favorite action films of all time ส่วน FIELD OF DREAMS นี่ถือเป็น one of my most favorite films of all time
---
ตอนจบของ "ประสาท" (1975, Piak Poster) มี text ขึ้นว่า พบกันใหม่ ใน "เขาเรียกฉันว่ากะหรี่" เราก็เลยสงสัยว่า มันมีหนังเรื่องนี้จริง ๆ เหรอเปล่า หรือมันถูกเปลี่ยนชื่อหนัง หรือโครงการสร้างหนังเรื่องนี้ถูกพับไป อยากดูหนังเรื่อง "เขาเรียกฉันว่ากะหรี่" มาก ๆ
ANEK (2022, Anubhav Sinha, India, A+30)
1.หนักที่สุด ไม่นึกว่าจะมีหนังอินเดียที่ตั้งคำถามถึงมุมมองของพระนางยโสธรากับพระราหุล ที่มีต่อการออกบวชของพระพุทธเจ้า
2.ชอบหนังอย่างสุดขีด นึกว่าดูหนัง essay film แต่เราว่ามันไม่ใช่หนังที่ "สนุก" แบบหนังแอคชั่นนะ ชอบประเด็นของหนังอย่างรุนแรงมาก ที่ตั้งคำถามต่อความเป็นชาติอินเดีย โดยผ่านทางการนำเสนอปัญหากลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ซึ่งเป็นสิ่งที่เราแทบไม่เคยเห็นในหนังเรื่องอื่น ๆ มาก่อน ยกเว้นในหนังเรื่อง IN THE FOREST...AGAIN (2003, Goutam Ghose)
เหมือนหนังปัญหาภูมิภาคของอินเดียส่วนใหญ่ที่เราเคยดูมา เน้นไปที่แคชเมียร์กับปัญจาบน่ะ ไม่ค่อยเห็นเรื่องปัญหาชายแดนเมียนมามาก่อน
3.เราว่าหัวใจจริง ๆ ของหนังไม่ใข่ความสนุกตื่นเต้นหรือฉากแอคชั่นแบบหนังกระแสหลักทั่วไปของอินเดีย แต่เป็นบทสนทนาของตัวละคร ที่วิพากษ์ความเป็นชาติอินเดีย และการนำเสนอชีวิตชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย
4.เรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้อาจจะเป็น"ปฏิกิริยา" ต่อหนังชาตินิยมของอินเดียด้วยแหละ หรือเหมือนเป็น "ยาถอนพิษ" สำหรับผู้ชมที่ได้ดูหนังชาตินิยมของอินเดียมากเกินไป
คือหนังชาตินิยมของอินเดียที่เราได้ดู มักจะมาใน 2 genres หลัก ซึ่งก็คือหนังแอคชั่น และหนังกีฬา และหนังเรื่อง ANEK นี้ก็เหมือนตบกลับหนังสองกลุ่มนี้ ด้วยการใส่ความเป็นหนังแอคชั่น และหนังกีฬาเข้าไปในเรื่อง แต่ด้วยอารมณ์ที่ตรงกันข้ามกับหนังชาตินิยม
คือในหนังกระแสหลักนั้น เวลาเราได้ดูฉากบู๊และฉากแข่งกีฬา เรามักจะ "ลุ้นระทึก" ไปกับตัวละคร, รู้สึก "ฮึกเหิม", ตื่นเต้นสุด ๆ และเมื่อตัวละครฆ่าผู้ก่อการร้าย หรือเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ เราก็จะรู้สึกฟิน
แต่ในหนังเรื่องนี้ เหมือนหนังจงใจไม่เร้าอารมณ์แบบนั้นในฉากแอคชั่นและฉากกีฬาน่ะ ฉากแอคชั่นในหนังเรื่องนี้ดูแล้วรู้สึกสลดหดหู่ มากกว่าจะดูแล้วรู้สึกฮึกเหิม และฉากกีฬาในหนังก็ถูกใช้ในการตั้งคำถามต่อความเป็นชาติ มากกว่าจะช่วยกระตุ้นความรักชาติ
5. ตัวละครนางเอกเราดูแล้วนึกถึง MARY KOM (2014, Omung Kumar) มากๆ ที่สร้างจากเรื่องจริงของนักมวยหญิงจากแคว้น "มณีปุระ" ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย เราดูแล้วก็เลยสงสัยว่า หนังมันจงใจพาดพิงถึง MARY KOM หรือเปล่า
สิ่งที่ดีมาก ๆ ก็คือว่า หนังมันตั้งคำถามว่า คนจากภูมิภาคเหล่านี้ ต้องกลายเป็นแชมเปี้ยนก่อนหรือ คนอินเดียทั่วไปถึงจะยอมรับว่าคนเหล่านี้ก็เป็นชาวอินเดียเหมือนกัน หรือเป็นประชาชนที่เราควรรับฟังเสียงของพวกเขาเหมือนกัน แล้วคนภูมิภาคห่างไกลที่ไม่ได้เป็นแชมเปี้ยนกีฬาล่ะ จริง ๆแล้วเราก็ควรรับฟังเสียงของพวกเขาตั้งแต่แรกแล้วหรือเปล่า
6. เคยดู THAPPAD (2020, Anubhav Sinha, A+30) ของผู้กำกับคนเดียวกัน ที่เราว่าหัวใจของหนังคล้าย ๆ จะมีความเป็นหนัง essay film เหมือนกัน เพราะ THAPPAD เหมือนตั้งใจจะวิเคราะห์ปัญหาเรื่องสิทธิสตรี และพยายามนำเสนอแง่มุมต่าง ๆ นานาของปัญหาออกมา
คือเหมือนหัวใจของ ANEK และ THAPPAD คือการนำเสนอปัญหา และพยายามวิเคราะห์ปัญหาอย่างละเอียดน่ะ ไม่ใช่การเร้าอารมณ์ผู้ชมหรือความบันเทิงอะไรทำนองนี้ เราก็เลยรู้สึกว่าหนังสองเรื่องนี้มีหัวใจที่คล้าย ๆ กับหนัง essay film
7.ชอบการเคลื่อนกล้องในหลาย ๆ ฉากใน ANEK ด้วย
มุมกล้องของหนังก็ออกแบบมาได้น่าสนใจมาก เพราะใน บางฉากตัวละครคุยกันเอง แต่มุมกล้องของฉากนั้นทำให้รู้สึกว่า ตัวละครกำลังคุยกับผู้ชมโดยตรง ดูแล้วนึกถึงหนังบางเรื่องของ Prap Boonpan
8. แต่ก็ยอมรับว่า หนังดูไม่สนุกสำหรับเรานะ เพราะหนังไม่ทำให้เราผูกพันหรือมีอารมณ์ร่วมกับตัวละครตัวใดเลยน่ะ ทั้งตัวละครพระเอก, นางเอก และเด็ก หนังรักษาระยะห่างจากตัวละครทั้งสามพอสมควร
คิดว่าถ้าหากหนังมันทำได้ดีกว่านี้ หนังมันจะขึ้นไปเทียบชั้นกับหนังของ Prakash Jha, Ken Loach, Costa-Gavras, Denis Villeneuve ได้น่ะ เพราะเราว่าผู้กำกับ 4 คนนี้ทำหนังที่นำเสนอประเด็นการเมืองได้ดีสุด ๆ และหนังก็สร้างอารมณ์สะเทือนใจได้อย่างสุดขีดในเวลาเดียวกัน คือหนังของ 4 คนนี้มันไปสุดได้ทั้งประเด็นการเมืองและอารมณ์ แต่ ANEK นี่ไปสุดได้แค่ประเด็นการเมือง แต่อารมณ์มันยังไปไม่สุด
9.จริง ๆ แล้วคิดว่าประเด็นใน ANEK นี่สามารถนำมาพัฒนาเป็นหนังแบบ CRASH (2004, Paul Haggis) และหนังแบบ Lav Diaz ได้ด้วย เพราะประเด็นเรื่องความเป็นชาติอินเดียนี่เหมาะเอามาทำเป็นหนังแบบ CRASH มาก ๆ ส่วนเรื่องความทุกข์ยากของประชากรในชนบทท่ามกลางความเหี้ยห่าทางการเมืองนี่ก็เหมือนกับหนังของ Lav Diaz มาก ๆ
WRITING WITH FIRE (2021, Sushmit Ghosh, Rintu Thomas, India, Documentary, A+30)
1.หัวใจเธอมันน่ากราบของจริง นับถือ subjects ของหนังมาก ๆ
2. ประทับใจ subject คนนึงของหนังมาก ๆ ที่นอกจากต้องต่อสู้กับความอยุติธรรมมากมายล้านแปดในสังคมแล้วเธอยังต้องหัดเรียนภาษาอังกฤษด้วย เพื่อจะได้ใช้โทรศัพท์มือถือเป็น และใช้มันในการถ่ายคลิปวิดีโอได้
3.รู้สึกว่าหนังนอกกระแสของอินเดีย มักจะนำเสนอประเด็นปัญหาเรื่อง "วรรณะ" และนำเสนอความชาตินิยม, ฮินดูนิยมในทางเลวร้าย (อย่างเช่น A NIGHT OF KNOWING NOTHING และหนังของ Anand Patwardhan) ซึ่งตรงข้ามกับหนังอินเดียกระแสหลักที่แทบไม่พูดถึงเรื่องวรรณะเลย และเน้นปลุกความรักชาติเป็นหลัก (แต่ก็มียกเว้นบ้างนะ อย่างเช่นเรื่อง ANEK)
เราก็เลยนึกถึงหนังไทยยุคก่อนว่ามันมีการแบ่งแยกคล้าย ๆ กันมั้ง เหมือนปัญหาการรัฐประหารในไทยก็จะพบได้ในหนังสั้นและหนังนอกกระแสของไทย แต่จะแทบไม่พบในหนังกระแสหลักของไทยในยุค 10 ปีก่อน
----
THE DEEP ABYSS OF LOVE (1955, Somkuan Krajangsart, A+30)
ห้วงรักเหวลึก (สมควร กระจ่างศาสตร์)
Serious Spoilers alert
--
--
--
--
--
1.หนักมาก นึกว่าต้องปะทะกับเวฬุรีย์ใน "เพลิงพ่าย" ไม่นึกว่าตัวละครนางเอกในหนังไทยยุคโบราณจะสุดตีนขนาดนี้
นางเอกฆ่าผู้ชายไป 3 คนในเรื่อง และก็ดูเหมือนจะแทบไม่ได้รับการลงโทษใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งเหยื่อคนแรกก็ยังพอมีเหตุผลบ้างนะ เพราะเป็นการล้างแค้นให้พ่อที่ติดคุก แต่คนที่สองเป็นชู้รักที่เหมือนแค่เขาหมดรักเธอแล้ว (ซึ่งก็เป็นสิทธิอันชอบธรรมของมนุษย์นี่นะ ที่จะหมดรักกันได้) และคนที่สามเป็นผัวเก่าที่ชอบโทรมาด่าเธอ เธอก็เลยรำคาญ และฆ่าเขา
เพราะฉะนั้นนางเอกของเรื่องนี้ก็เลยข้ามเส้นของตัวละครที่เราจะมองว่าเป็นคนดี และกลายไปเป็นหนึ่งในตัวละครนางเอกที่ disturbing ที่สุดในหนังไทยเท่าที่เราเคยดูมา สามารถเทียบชั้นได้กับนางเอกของ "เพลิงพ่าย" และเมืองในหมอก (เพิ่มพล เชยอรุณ) เลย และไปรอปะทะกับนางเอกของหนังอย่าง VIOLENCE AT NOON (Nagisa Oshima), BREMEN FREEDOM (1972, Rainer Werner Fassbinder), LA CEREMONIE (1995, Claude Chabrol), BAISE-MOI (2000, Virginie Despentes, Coralie Trinh-Thi) อะไรกลุ่มนั้นได้
2.สิ่งที่หนักมาก ๆ ก็คือว่า นางเอก (สุพรรณ บูรณะพิมพ์) ไม่ได้ต้องรบราฆ่าฟันแต่กับผู้ชายเท่านั้น แต่เธอต้องห้ำหั่นเชือดเฉือนกับ "ฆาตกรหญิง" อีกคนนึงด้วย ซึ่งก็คือตัวละครที่รับบทโดยมารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา หนักที่สุด ตายแล้ววววส
3.ความ disturbing อย่างรุนแรงของหนังก็คือว่า ตัวละครหญิงสาวที่ดูเข้ากับ stereotype นางเอกหนังไทยมากที่สุดในเรื่องนี้ เป็นตัวละครหญิงสาวนิสัยดีเรียบร้อย ที่ถูกมารศรีฆ่าตาย แต่พอสุพรรณสืบจนพบความจริงในเรื่องนี้ เธอกลับไม่เอาผิดมารศรี ซึ่งก็แน่ล่ะ มันคงเป็นเรื่องยากที่ฆาตกรสองศพอย่างเธอ จะชี้นิ้วประณามฆาตกรหนึ่งศพว่า "อีชั่ว" ได้ 555 และฆาตกรทั้งสองสาว ก็ตกลงไกล่เกลี่ยประนีประนอมกันได้ และมารศรีก็ดูเหมือนจะไม่ได้รับโทษใด ๆ ทั้ง ๆ ที่เธอฆ่าหญิงสาวผู้บริสุทธิ์ตายไป
4.เราก็เลยรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันหนักมาก ๆ คลาสสิคมาก ๆ disturbing มาก ๆ ไม่นึกไม่ฝันว่าจะมีหนังไทยยุคโบราณแบบนี้อยู่ด้วย
----
MORBIUS (2022 Daniel Espinosa, A-)
1.เราว่ามันคล้ายกับ VENOM: LET THERE BE CARNAGE (2021, Andy Serkis) มากเกินไปจนน่าเบื่อน่ะ เพราะพระเอกต้องต่อสู้กับความอยากกินเลือดกินเนื้อมนุษย์เหมือนกัน และต้องต่อสู้กับผู้ร้ายที่มีพลังคล้าย ๆ กับตัวพระเอกเอง
2.เห็น Matt Smith ในเรื่องนี้แล้วนึกถึง Crispin Glover มาก ๆ โดยเฉพาะในหนังเรื่อง WILLARD (2003, Glen Morgan)
---
FRENCH TECH (2020, Bruno Podalydes, France, A+30)
1.รู้สึกว่า Bruno Podalydes มี sense of humour ที่ตรงกับเราอย่างรุนแรง เพราะปกติแล้วเราไม่ค่อยอินกับหนังตลก แต่หนังเรื่องนี้ถือว่า เข้าทางเรามาก ๆ ก่อนหน้านี้เราเคยดูหนังเรื่อง ONLY GOD SEES ME (1998) ที่เขากำกับ ซึ่งก็เป็นหนังที่เราชอบสุด ๆ เหมือนกัน
2.ปัจจัยนึงที่ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ เป็นเพราะว่าเราเป็นคนแก่ที่ไม่มีความรู้เรื่องเทคโนโลยี, ไม่สนใจเรื่องเทคโนโลยี, ตามเทคโนโลยีไม่ทัน หนังเรื่องนี้ก็เลยเข้าทางเราสุดๆ เพราะมันล้อเลียนเทคโนโลยียุคใหม่ ทั้งโดรน, ZOOM, ระบบการจดจำใบหน้า, robot, etc. คือเหมือนหนังมันจับสังเกตบทบาทของเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน และนำมันมาขยายให้ใหญ่เกินจริงเพื่อความเฮฮาได้ดีมาก ๆ
3. รัก Sandrine Kiberlain ที่สุด
---
RIP Chalerm Wongpim
เคยดูหนังที่เขากำกับ 7 เรื่อง มีที่เราชอบสุด ๆ (A+30) อยู่ 2 เรื่อง ซึ่งก็คือ คนไฟบิน (2006) กับ โจรปล้นโจร (2019) ส่วน "หลวงพี่กะอีปอบ" (2020) จัดอยู่ในระดับชอบมาก ๆ (A+15)
ตะเคียน (2003) นี่เราก็เหมือนได้ดูนะ แต่จำไม่ได้ว่าชอบมากน้อยแค่ไหน
ส่วนที่เหลืออีก 3 เรื่องเราไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ เพราะไม่ใช่หนังสไตล์เรา ซึ่งก็คือ 7 ประจัญบาน (2002), 7 ประจัญบาน 2 (2005) และ "อีเห็ดสด เผด็จศึก" (2010)
รูปมาจาก "ล่าระเบิดเมือง" (1999) ที่เรายังไม่ได้ดู
---
THE NEW KID (LE NOUVEAU) (2015, Rudi Rosenberg, France, A+30)
---
BELFAST (2021, Kenneth Branagh, UK, A+30)
1.ดีใจที่ในหนังเรื่องนี้ Judi Dench ได้ผัวที่อายุน้อยกว่าเธอ 19 ปี เพราะ Ciaran Hinds ที่รับบทสามีของเธอในเรื่องนี้อายุน้อยกว่าเธอราว 19 ปี 55555
คือตอนแรกตกใจมากว่า สองคนนี้เล่นเป็นสามีภรรยากันจริง ๆ เหรอ มันควรจะเล่นเป็นแม่ลูกกันมากกว่าหรือเปล่า 555
2.เหมือนเราเคยดูหนังเกี่ยวกับไอร์แลนด์เหนือมาแล้วหลายเรื่อง แต่ส่วนใหญ่มันพูดถึงความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลอังกฤษ กับชาวคาทอลิก เพราะฉะนั้นหนังเรื่องนี้ก็เลยเหมือนเป็นเรื่องแรกที่เราได้ดู ที่พูดถึงความขัดแย้งระหว่างชาว Protestants ด้วยกันเองในไอร์แลนด์เหนือ ถือเป็นมุมมองที่ใหม่มาก ๆ สำหรับเรา
หนังเกี่ยวกับปัญหาไอร์แลนด์เหนือเรื่องอื่น ๆ ที่เราชอบสุด ๆ ก็มีอย่างเช่น THE CRYING GAME (1992, Neil Jordan), IN THE NAME OF THE FATHER (1993, Jim Sheridan), THE RUN OF THE COUNTRY (1995, Peter Yates), BLOODY SUNDAY (2002, Paul Greengrass), HUNGER (2008, Steve McQueen), BERNADETTE (2009, Duncan Campbell)
3. ดูแล้วนึกถึงหนังเกี่ยวกับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย
---
A HERO (2021, Asghar Farhadi, Iran, A+30)
1.รู้สึกคุ้นหน้านางเอกหนังเรื่องนี้มาก ๆ ถูกโฉลกกับเธอมาก ๆ ตอนดูหนังเรื่องนี้เรารู้สึกมั่นใจมากว่า เราเคยดูหนังที่เธอแสดงมาแล้วหลายเรื่อง แต่พอมาเช็คข้อมูลทีหลัง ก็พบว่า Sahar Goldust เพิ่งแสดงหนังเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก อ้าว แล้วกูไปคุ้นหน้าเธอมาจากไหน
เราก็เลยเดาว่า ที่เราคุ้นหน้าเธอ เพราะ "อารมณ์หน้า" ของเธอ มันคล้ายกับ Anushka Sharma นางเอกหนังอินเดียมั้ง โดยเฉพาะในหนังเรื่อง SUI
DHAAGA: MADE IN INDIA (2018, Sharat Katariya) แต่อันนี้เราไม่ได้บอกว่า "ใบหน้า" ของทั้งสองคล้ายกันนะ แต่เรารู้สึกว่า "อารมณ์ทางใบหน้า" มันทำให้นึกถึง Anushka Sharma
2. ชอบที่ตัวละครแต่ละตัวมีเหตุผลของตัวเองมาก ๆ ทั้งพระเอก, นางเอก, พี่สาวพระเอก, ผู้หญิงที่มาเคลมเงิน, จนท.เรือนจำแต่ละคน, เจ้าหนี้, จนท.รับสมัครงาน, คนของมูลนิธิ, นักข่าว, etc.
พอตัวละครแต่ละคนมันมีเหตุผลของตัวเอง มันก็เลยสร้างสถานการณ์ที่เป็น moral dilemma ได้ดีมาก ๆ
3.จองเป็นผู้หญิงที่ผัวกำลังจะถูกประหารชีวิต หรือได้รับโทษหนักอะไรสักอย่าง (ถ้าจำไม่ผิด) ที่มาติดต่อมูลนิธิ เหมือนตัวละครตัวนี้โผล่มาแค่ 5 นาที แต่เรารู้ได้ในทันทีว่า ชีวิตเธอ spin off ไปเป็นหนังอีกเรื่องได้สบาย เพราะชีวิตเธออาจจะหนักกว่าพระเอกนางเอกของ A HERO เสียอีก
ฉากที่เธอเดินสวนกับนางเอกนี่หนักที่สุด ชอบฉากนี้อย่างรุนแรงมาก
No comments:
Post a Comment