WHAT MAKES US HUMAN (POWER)
(2021-2022, Pitiwat Somthai, Vanida Pornsombatpaiboon, video installation,
A+30)
TWO TWIN IMAGES ON REVOLVING VIDEO MACHINES
2 (2021-2022, Komson Nookiew, video installation, A+25)
ZIONBOX X (2015, Saran Cheurkrung,
animation, A+15)
THAI RED CHICKEN CURRY WITH JASMINE
RICE (2018, Supapong Laodheerasiri, video installation, A+25)
EARTH (2022, Sol, Austria, video
installation, A+25)
3a IMAGO (2022, Sol, Austria, video
installation, A+30)
ABSTRACTION AND TEMPORAL DOMAIN
(2021-2022, Suparirk Kanitwaranun, video installation, A+30) เป็นหนึ่งในศิลปิน/ผู้กำกับภาพยนตร์ไทยที่อยู่ในวงการมานาน
จำได้ว่าเราเคยชื่นชอบเขาอย่างสุด ๆ จากภาพยนตร์เรื่อง LIVING ON SUNDAY
(2002) ตอนนี้เวลาผ่านมานาน 20 ปีแล้ว ดีใจที่ได้เห็นชื่อของเขาและผลงานที่งดงามของเขาอีก
THE TIME IS NOW (2019, Heidrun
Holzfeind, Japan/Sweden/Austria, video installation, 48min, A+30)
งดงามสุดขีด วิดีโอสองจอ ซึ่งตอนแรกเราไม่รู้
เรานึกว่ามีแค่จอเดียว เพราะมันก็ดูจบสมบูรณ์ดี ปรากฏว่ามันมีสองภาค
แล้วภาคสองมันฉายอยู่ที่ด้านหลังของจอแรก 55555 เหมือนภาคแรกมันเน้นไปที่เรื่องของ
animism, การประท้วงตามท้องถนน, สถาปัตยกรรมของ Takamasa
Yosizaka และการแสดงดนตรีอันพิลึกพิลั่นของศิลปินดูโอ IRO (Toshio
+ Shizuko Orimo)
ส่วนภาคสองมันเน้นไปที่การสัมภาษณ์ศิลปินคู่นี้
ซึ่งเหมือนอยู่ในวงการมานานมาก อย่างน้อย ๆ ก็ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 จนถึงปัจจุบัน
เราไม่เคยได้ยินเรื่องของศิลปินคู่นี้มาก่อน แต่พบว่าพวกเขาเปรี้ยวเยี่ยวราดมาก ๆ
เหมือนตอนทศวรรษ 1980 พวกเขาเป็นศิลปินพังค์ที่ทำดนตรีที่พิสดารเกรี้ยวกราดแบบพังค์
มีความทดลอง ความเป็น noise สูงมาก (ไม่รู้ใช้คำนี้หรือเปล่า) แต่ในยุคปัจจุบันเหมือนดนตรีของพวกเขาจะมีความเป็นจิตวิญญาณลี้ลับ
animism + shamanism แทน
ชอบที่ศิลปินชายเล่าว่า ปู่ของเขาเป็นคนทรงเจ้า
หรืออะไรทำนองนี้มั้ง ซึ่งตอนหนุ่ม ๆ เขาก็ไม่สนใจ หรือต่อต้านอะไรพวกนี้
เพราะตอนหนุ่ม ๆ เขาเน้นความโมเดิร์น ต่อต้านอะไรก็ตามที่เป็น traditional แต่ไป ๆ มา ๆ พอเขาโตขึ้น เขากลับโอบรับเอาความ
shamanism เข้ามาใส่ในดนตรีของเขาแทน
ชอบเรื่องที่เขาเล่าเกี่ยวกับการทำดนตรีในทศวรรษ
1980 ด้วย เขาเล่าว่ามีครั้งนึงที่เขาถ่ายภาพเมียของเขาโดยให้เมียทำหน้าดุ ๆ แล้วก็ใช้ภาพนั้นเป็นปกเทป
น่าจะประมาณปี 1986 ปรากฏว่าเทปชุดนั้นขายหมดเกลี้ยงในทันที
https://www.discogs.com/artist/1142835-IRO
OPEN WATER (2022, Georg Eckmayr,
Austria, video installation, A+30)
IMPERMANENCE OF LIFE (2022, Nipatsara
Bureepia, animation, A+15)
HOW TO LEARN TO PLAY DRUMS (2022, Gerald
Zahn, Austria, video installation, A+)
MEDIGITAL (2022, Sakonpat
Chotipatthamanon, video installation, A+30)
BALANCE EAST (2022, Gertrude
Moser-Wagner, Austria, video installation, A+30)
วิดีโอที่บันทึกภาพความสามารถในการทรงตัวของคนต่าง
ๆ ขณะเดินบนคาน คือจริง ๆ แล้วตอนที่ดูวิดีโอนี้เราก็ไม่ได้รู้สึกอะไรกับมันมากนัก
แต่ปรากฏว่าพอเวลาผ่านไประยะนึง เรากลับจำวิดีโอนี้ได้ดีกว่าวิดีโอที่นำเสนออะไรที่เป็นนามธรรมต่างๆ
55555
DARKNESS AND IMAGINATION (2021, Sathaporn
Fuengkhajorn, video installation, A+25)
PIECE OF A PUZZLE (2008, Jan
Machacek, Austria, video installation, A+15)
HIDDEN (2022, Surapat Sukchote,
video installation, A+25)
นึกว่าคู่แข่งคนสำคัญของ Saroot Supasuthivej และ Achitaphon
Piansukprasert ในแง่การสร้างความรู้สึกหลอกหลอนอย่างทรงพลังมาก ๆ
ผ่านทางเทคนิค digital เหมือนกัน
A CONCRETE VISION (2021, Susi Jirkuff,
Austria, video installation, A+25)
ถ้าจำไม่ผิด วิดีโอนี้เป็นการจินตนาการว่า
ตัวปราสาทในนิยายเรื่อง THE CASTLE ของ Franz Kafka นั้น รูปร่างหน้าตาเป็นยังไง เราก็เลยประทับใจที่นิยายเรื่องนี้สามารถนำมาดัดแปลงเป็นได้ทั้งภาพยนตร์ที่ดีงามสุด
ๆ เรื่อง THE CASTLE (1997, Michael Haneke) และยังสามารถนำมาดัดแปลงเป็นงานวิดีโออาร์ทแนว
“สถาปัตยกรรม” ได้ด้วย
EYES (2021, Naphat Kuantrakul,
animation, A+30)
WOMEN (VALIE) (2022, Karin
Fisslthaler, Austria, video installation, 7min, A+30)
วิดีโอที่เป็นการ tribute ให้ Valie Export
COMMUNICATION THROUGH FOOD (2020, Usawadee
Srithong, video installation)
ภาพที่เราถ่ายมา
สีมันเพี้ยนไปจากความเป็นจริงนะ ไม่รู้เหมือนกันว่าต้องทำยังไงสีถึงจะไม่เพี้ยน
POMP (2020, Katrina Daschner,
Austria, video installation, 8min, A+30)
ดูแล้วนึกว่าต้องปะทะกับงานของ Matthew Barney
NONGCHOK ON THE MOVE (2021, Watcharin
Deddoung, video installation, A+30)
ชอบมาก ๆ วิดีโอที่เน้นนำเสนอเขตหนองจอกของกรุงเทพ
BEYOND A RIVER IS AN OCEAN (2022,
Anna Rimmel, England, video installation, A+30)
BREATHE (2021, Evamaria Schaller,
Austria, video installation, A+15)
BALL (2021, Ratchata Yooyim,
animation, A+15)
SHIMMER SHRIMPMER – ตะวันใหม่
(2022, music video)
https://www.youtube.com/watch?v=TlRKx2p0ZUE
เพลงที่อุทิศให้นักโทษการเมือง
โดยเฉพาะคุณตะวัน ตัวตุลานนท์ และคุณนิวส์ ปฏิมา ชอบทั้งตัวเพลงและมิวสิควิดีโอ
เนื้อเพลงเศร้ามาก ๆ มิวสิควิดีโอก็ดูงดงามในแบบ minimal ดี ชอบการใช้เลนส์ที่ทำให้ภาพดูบิดเบี้ยว รู้สึกว่าการใช้เลนส์แบบนี้มันทำให้ภาพดูไม่แข็ง
ดูเหมือนเป็นภาพที่ไม่ได้มองด้วยตาโดยตรง แต่เป็นภาพที่เจือปนด้วยอารมณ์ความรู้สึกบางอย่างมาแล้ว
มันเลยออกมาบิดเบี้ยวแบบนั้น
เราว่าเพลงนี้เอื้อต่อการดัดแปลงใหม่ให้เป็นเพลงแนวอื่น
ๆ ได้ง่ายด้วยนะ คือที่เพลงนี้เป็นอยู่นี้มันก็ไพเราะของมันอยู่แล้วล่ะ แต่เหมือนแนวเพลงของเพลงนี้มันไม่ได้เปิดโอกาสให้มีการเค้นอารมณ์ทางเสียงร้องอย่างรุนแรงออกมา
เราก็เลยคิดว่ามันอาจจะเอาไปร้องใหม่เป็นแนวป็อปร็อคที่ท่อนสร้อยเน้นการเค้นอารมณ์อย่างรุนแรงได้เหมือนกัน
คือเหมือนท่อนสร้อยมันเพราะมาก เราก็เลยจินตนาการว่า เพลงนี้สามารถดัดแปลงไปเป็นแนวเพลงอื่น
ๆ ที่เค้นอารมณ์หนักกว่านี้ได้เลย
ฝนตกข้างใน (2022, Kritsada Boonrit, 7min, A+15)
IT’S RAINING INSIDE
https://www.youtube.com/watch?v=DmaGh-wvO0M
1.รู้สึกเหมือนมันเป็น video diary ที่ใช้ได้ แต่มันยังขาดอะไรบางอย่างที่จะทำให้มันเป็น
“หนังสั้น” ที่น่าสนใจหรือเป็น “หนังสารคดี” ที่น่าสนใจน่ะ คือถ้าหากเจตนาของผู้สร้างเป็นเพียงแค่ต้องการทำ
video diary หรือต้องการบันทึก moments
บางอย่างไว้ก่อน ก็คิดว่าผู้สร้างก็คงประสบผลสำเร็จแล้วนะ และสิ่งที่บันทึกไว้นี้อาจจะเป็นวัตถุดิบสำหรับการทำอะไรต่อไปได้ในอนาคต
แต่ถ้าหากเทียบกับหนังสั้นอะไรต่าง ๆ แล้ว หนังเรื่องนี้ก็อาจจะยังไม่ใช่หนังสั้นที่เราชอบสุด
ๆ ในตอนนี้ เพราะเหมือนมันยังขาด magic หรือขาดอะไรบางอย่างที่ทรงพลังจริง
ๆ ที่จะทำให้เราชอบถึงขั้น A+30 ได้
2.แต่ก็ชอบอะไรหลายอย่างในหนังนะ
ชอบที่มันมีทั้งบทสนทนาระหว่างแม่ลูก, เพื่อน ๆ, คู่รัก
และการอยู่คนเดียวในตอนท้าย คือถ้าหากมันไม่มีทั้ง 4 ส่วนนี้ มันอาจจะกลายเป็นหนังที่เรารู้สึก
“ไม่อิน” ด้วยได้โดยง่าย
คือถ้าหากมันเป็นหนังที่เน้นความรักระหว่างสมาชิกครอบครัวเพียงอย่างเดียว มันก็จะกลายเป็นหนังเชิดชูสถาบันครอบครัว
ซึ่งเราก็จะไม่อิน หรือถ้าหากมันเป็นหนังที่เน้นความผูกพันห่วงใยกันระหว่างคู่รักเพียงอย่างเดียว
มันก็จะกลายเป็นหนังโรแมนติก ซึ่งเราก็จะไม่อินเช่นกัน แต่พอมันมีทั้ง 4
ส่วนนี้อยู่ในหนังเรื่องเดียวกัน มันก็เลยเหมือนสะท้อนความอะไรบางอย่างที่บรรยายไม่ถูกของชีวิตมนุษย์ออกมา
เหมือนมันสะท้อนเศษเสี้ยวเล็ก ๆ เสี้ยวหนึ่งของชีวิตมนุษย์ที่ไม่จำเป็นต้องให้คำนิยามมันออกมา
ซึ่งเราก็จะชอบอะไรแบบนี้
3.รู้สึกได้ถึง “ความเหงา” และ “ความไม่มั่นคงของชีวิต”
นะ เหมือนตัวละครในหนังเพิ่งทำของพังมา และเหมือนเขารู้สึกไม่มั่นคงในหน้าที่การงาน
แต่เขาก็ไม่ต้องการให้แม่เป็นห่วงเขา เพราะเขาก็เป็นห่วงแม่ที่ทำงานหนัก ไม่แน่ใจว่าชื่อหนังที่ว่า
ฝนตกข้างใน นี่คือความอยากจะร้องไห้หรือเปล่า 55555
4. สิ่งที่ชอบมากคือเรารู้สึกเหมือนกับว่า
หนังพยายามคว้าจับพลังหรือความงามของโมงยามขณะที่ฝนตกหนักเอาไว้ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเราเข้าใจผิดหรือเปล่านะ
แต่เรามักจะรู้สึกว่า หนึ่งใน moments ที่ทำให้เรารู้สึกเป็นสุขในชีวิตประจำวันก็คือ moments ที่เราได้อยู่ในอพาร์ทเมนท์ตามลำพังตอนกลางคืนหรือตอนดึก ขณะที่ฝนตกหนักอยู่ข้างนอกน่ะ
มันเย็น ๆ สดชื่น ฟังเสียงฝนไปเรื่อย ๆ พร้อมกับรู้สึกว่า
ตัวกูโชคดีจังเลยที่ไม่ติดฝนและน้ำท่วมอยู่ข้างนอก วันนี้กูโชคดี ฟังเสียงฝนไปเรื่อย
ๆ แล้วมีความสุข แต่มึงอย่ามาเสือกตกหนักตอนเช้าขณะที่กูกำลังจะไปทำงาน
และมึงอย่ามาเสือกตกหนักตอนเย็นขณะที่กูกำลังจะเดินทางกลับบ้านก็แล้วกัน 55555 คือการได้อยู่ในที่พักอาศัยขณะที่ฝนตกหนักอยู่ข้างนอก
มักจะทำให้เรารู้สึกดีมากน่ะ ทั้งในแง่อุณหภูมิความเย็น, เสียงสายฝน
และความรู้สึกว่าตัวเองโชคดี
เราก็เลยชอบที่เหมือนหนังคว้าจับโมงยามอะไรแบบนี้เอาไว้
เราชอบเสียงฝนตกหนักมาก ๆ แต่เราว่าหนังอาจจะยังถ่ายทอด “ความงดงาม”
ของโมงยามแบบนี้ไว้ได้ไม่มากเท่าไหร่นะ เหมือนหนังมันคว้าจับช่วงเวลาแบบนี้ไว้ได้แล้วล่ะ
แต่หนังมันยังถ่ายทอด “ความงดงาม” ของช่วงเวลาแบบนี้ไว้ได้ไม่มากเท่าไหร่ ซึ่งจริง
ๆ อาจจะเป็นเจตนาของหนังก็ได้นะ เพราะหนังอาจจะมองว่า ช่วงเวลาแบบนี้มัน “เหงา ๆ
เศร้า ๆ” มากกว่าจะมองแบบเดียวกับเราว่ามันเป็นช่วงเวลาที่งดงามก็ได้ 55555
ส่วนผลงานศิลปะที่เราว่าคว้าจับความงดงามของสายฝนไว้ได้อย่างรุนแรงสุด
ๆ ก็คือผลงานภาพถ่ายชุด SLOW GLASS ของ Naoya Hatakeyama
https://celinejulie.blogspot.com/2007/10/slow-glass-by-naoya-hatakeyama.html
5.ช่วงท้ายของหนังที่ตัวละครอยู่ตัวคนเดียวก็ดี
เหมือนเป็นการไม่บอกอะไรทั้งสิ้นว่าผู้ชมควรคิดและรู้สึกอะไร ไม่ต้องเล่าเรื่องอะไร
เป็นการบันทึก moment หนึ่งเอาไว้
แต่มันก็เหมือนยังขาดอะไรบางอย่างอยู่นะ
6. สรุปว่าเรารู้สึกว่ามันเป็น video diary ที่โอเค เหมือนเป็นการบันทึกเศษเสี้ยวหนึ่งของชีวิตมนุษย์เอาไว้
แต่มันยังขาด magic ที่ทรงพลังจริง ๆ หรือเหมือนเรารู้สึกว่าเศษเสี้ยวนี้อาจจะยังเล็กเกินไปที่จะอยู่ตามลำพังแบบนี้น่ะ
เหมือนมันเหมาะจะเป็นองค์ประกอบหนึ่งในหนังยาว
มากกว่าจะเป็นหนังสั้นที่สมบูรณ์เรื่องหนึ่งในตัวมันเอง
หนึ่งในเพลงที่เราชอบที่สุดของ Shonentai ก็คือเพลง ABC (1987) นี่แหละ
พอได้มาดูคลิปเพลงนี้แล้วก็ทำให้รู้สึกอิจฉาเด็ก ๆ รุ่นใหม่อย่างรุนแรงมาก
คือตอนที่เราเป็นวัยรุ่นมัธยมในทศวรรษ 1980 เราก็คลั่งไคล้ Shonentai, Toshihiko
Tahara, Masahiko Kondo อย่างรุนแรงนะ แต่ความคลั่งไคล้ของเราที่มีต่อนักร้องญี่ปุ่นหนุ่มหล่อในยุคนั้น
มันก็คงน้อยมาก ๆ หรือเทียบกันไม่ติดกับความคลั่งไคล้ของเด็กไทยในยุคปัจจุบันที่มีต่อวงนักร้องจากเกาหลีใต้หรืออะไรทำนองนี้น่ะ
ซึ่งเราว่าปัจจัยสำคัญมันก็คือ “อินเทอร์เน็ต” นี่แหละ เพราะในยุคของเรา มันไม่มีอินเทอร์เน็ตน่ะ
เราได้เห็นความหล่อของนักร้องเหล่านี้ ก็จาก “ภาพนิ่ง” ในนิตยสาร “ทีวีรีวิว”
หรือไม่ก็ต้องเสียเงินซื้อวิดีโอคอนเสิร์ตจากร้านลูกแมวมาดุ อะไรทำนองนี้ ซึ่งราคาวิดีโอคอนเสิร์ตในยุคนั้นมันก็ไม่ใช่ถูก
ๆ แต่รายการโทรทัศน์เมืองไทยในตอนนั้นแทบไม่เคยแพร่ภาพความหล่อของศิลปินเหล่านี้เลย
แล้วเพลงญี่ปุ่นพวกนี้ก็มีรายการวิทยุเปิดไม่มากนัก ถึงแม้เทปจะหาซื้อได้ง่ายหน่อย
โดยเฉพาะเทปผี 55555 คือความคลั่งไคล้ของประชาชนที่มีต่อความหล่อของนักร้องพวกนี้
มันจะเกิดขึ้นได้ง่ายก็ต่อเมื่อประชาชนสามารถเข้าถึงความหล่อของพวกเขาน่ะ แต่ในยุคของเรานั้น
การจะได้เข้าถึงความหล่อของพวกเขา ได้ดูมิวสิควิดีโอของพวกเขา
ได้ดูท่าเต้นของพวกเขา มันไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย คือถ้าหากเราได้เสยหีใส่คลิป SHONENTAI
ด้วยการคลิกดูยูทูบอย่างง่าย ๆ แบบนี้ในสมัยที่เรายังเป็นวัยรุ่นอยู่
เราก็คงคลั่งไคล้พวกเขาอย่างรุนแรงไม่แพ้ความคลั่งไคล้ของเด็ก ๆ ในยุคปัจจุบันที่มีต่อศิลปินเกาหลีใต้ไปแล้ว
55555
No comments:
Post a Comment