THAI SHORT FILMS SEEN FOR THE FIRST TIME IN THE “CINEMATIC
KALEIDOSCOPE” PROGRAM
1.HERE, THERE, AND EVERYWHERE (กฤตภาส เลิศวนานนท์, 6min,
A+15)
เหมือนผู้กำกับหนังเรื่องนี้ไปกำกับ MV ได้เลย เพราะเป็นหนังไร้บทสนทนาที่ถ่ายสวย,
stylish, สร้างความประทับใจได้ด้วยการเรียงร้อยหรือตัดต่อฉากหลาย ๆ
ฉากเข้าด้วยกันด้วยจังหวะที่ลงตัว
ถ้าเปรียบเทียบหนังเป็นเพลง เราก็รู้สึกว่าในขณะที่หนังทั่วไปอาจจะให้ความสำคัญกับ
“เนื้อเรื่อง” เหมือนเพลงที่ให้ความสำคัญกับ “เนื้อร้อง”
เราก็รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้เหมือนเพลงที่ให้ความสำคัญกับ “จังหวะ” เป็นหลักน่ะ
เพราะความประทับใจหลักของเราที่มีต่อหนังเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ที่เรื่องราวความรักหนุ่มสาวในหนัง
แต่อยู่ที่จังหวะการตัดต่อจากฉากนึงไปยังอีกฉากนึงมากกว่า คือเหมือนอารมณ์รุนแรงในหนังมาจากการตัดต่อฉากต่าง
ๆ มากกว่าจากเนื้อเรื่อง
ดูแล้วนึกถึง SLEEPING SUN (2018, ผุสชาติ
สัจจะไทย) ด้วย
2.MERCILESSLY SLAUGHTERING (ธนสร แก้ววานิช, 11min,
A+15)
เรื่องของคนที่ถูกเลี้ยงดูเหมือนสัตว์ที่ถูกฆ่าเพื่อเอาเนื้อมากิน เหมาะฉายควบกับ
FLY แมลงวัน (2019,
Pimtida Anothaisintawee) มาก ๆ
เพราะเหมือนหนังสองเรื่องนี้พูดถึงประเด็นเดียวกัน แต่ MERCILESSLY
SLAUGHTERING ดูเล่าเรื่องมากกว่า ส่วน FLY ดู
stylish กว่า
เหมาะฉายควบกับ GUNDA (2020, Viktor Kosakovskiy, Norway) และ “หมูในเล้า” (2017, Kongphob Chairattanangkul) ด้วย
5555
3.IN PLAIN SIGHT ลับแล (จตุพล เขียวแสง, 23min,
A+30)
สุดฤทธิ์ ชอบสุดขีด งดงามที่สุด ติดอันดับประจำปีแน่นอน
และแน่นอนว่าเป็นหนังที่เราดูไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่มันทรงพลังมาก ๆ สำหรับเรา 5555
เหมือนหนังเริ่มด้วยการเล่าเรื่องของสาวอีสานชื่อ “หล้า” ที่มาดูแลย่าที่นอนป่วยในกรุงเทพ
มีเพื่อนสาวมาเยี่ยมเธอขณะที่เธอตากผ้า และเพื่อนก็ให้ชุดสวยกับเธอ เธอก็เลยจะแต่งชุดสวยไปเดินห้าง
แต่เธอตัดสินใจถอดสายสิญจน์ออก แล้วใส่กำไลสวย ๆ แทน ถึงแม้ย่าจะเตือนเธอแล้วว่าอย่าถอดสายสิญจน์
เธอได้คุยกับพนักงานชายในห้างคนนึง แล้วอยู่ดี ๆ เสียง voiceover ก็กลายไปเป็นเสียงของ
“แม่ซื้อ” หรืออะไรทำนองนี้ แล้วก็มีอะไรงง ๆ พิศวงในหนังเกิดขึ้นตามมาอีก
คุณ Jatupol Kiawsaeng นี่ถือเป็นผู้กำกับหน้าใหม่ที่มาแรงสุดขีดคนนึงสำหรับเรา
เพราะเราได้ดูหนังเรื่องนี้ของเขาเป็นเรื่องที่ 3 แล้ว และชอบสุด ๆ ทั้ง 3
เรื่องเลย โดยอีกสองเรื่องก็คือ UNE PLUS UNE ÉGALE UN (2019, Jatupol
Kiawsaeng) ที่เคยติดอันดับ 57 ของเราในปี 2019 และหนังเรื่อง INT.
MY HOUSE – A PARTICULAR PERIOD (2021, Jatupol Kiawsaeng, A+30) ที่เป็นหนังการเมืองที่ฉายในงานมาราธอนปีที่แล้ว
4.MEMENTO MORI มรณา (ปารมี ขำเพ็ง, animation, A+10)
5. BLANK (นันทิชา เมฆสุวรรณ, animation, A+)
6. CLOSE (ทิว เลิศชัยประเสริฐ,
12min, A+30)
เหมือนถ้าหนังมันพลิกไปอีกทางนึง เราจะเชื่อว่ามันเป็น “เรื่องจริง”
เลยนะ 55555 เพราะบางช่วงของหนังมันดูเป็น mockumentary ที่สมจริง และเหมือนเราก็เคยได้ยินข่าวนิสิตจุฬาฆ่าตัวตาย
หรือคนฆ่าตัวตายแถว ๆ สามย่าน/จุฬามาก่อน เพราะฉะนั้นพอหนังมันไปพาดพิงอะไรแบบนี้ตอนช่วงกลางเรื่อง
เราก็เลยเผลอนึกขึ้นมาแว้บนึงว่า มันคือเรื่องจริงหรือเปล่านะ
มันคือการไปตามสัมภาษณ์เพื่อน ๆ ของคนที่ฆ่าตัวตายหรือเปล่า แต่ เอ๊ะ
ฉากเปิดเรื่องมันบอกว่าเขายังมีชีวิตอยู่นี่นา
เพราะฉะนั้นนี่ก็ไม่ใช่เรื่องจริงน่ะสิ 5555
แต่พอครึ่งหลังหนังก็เหมือนเลิกทำตัวเป็น mockumentary แล้ว
และแสดงตัวว่าเป็น fiction อย่างเต็มตัว แต่เราก็ยังคงชอบหนังอย่างมาก
ๆ อยู่ดี
7.FRONT MAN AT THE SEA (กลุ่มนิสิตภาคฟิล์มชั้นปีที่ 3,
documentary, A+30)
8.SOUND OF THE SEA (กลุ่มนิสิตภาคฟิล์มชั้นปีที่ 3,
documentary, A+30)
หนักมาก เราไม่เคยรู้ปัญหานี้มาก่อนเลย ทั้ง ๆ
ที่มันเป็นเรื่องใกล้ตัวเรา (เพราะเราชอบกินปลามาก ๆ) เรื่องของปลาที่กำลังจะหมดไปจากน่านน้ำไทย
เพราะเรือประมงพาณิชย์บางลำทำผิดกฎหมาย แอบจับปลาเล็ก ๆ น้อย ๆ ก่อนที่ปลาจะโตไปจนหมด
(เพื่อเอาไปทำเป็นอาหารสัตว์มั้ง) เพราะฉะนั้นก็เลยแทบไม่มีปลาเหลือมากพอที่จะโตขึ้นมาและสืบพันธุ์ต่อไป
ชาวประมงที่ทำถูกกฎหมายก็เลยแทบจับปลาไม่ได้เลย
FRONT MAN AT THE SEA เน้นสัมภาษณ์ผู้นำในการเรียกร้องเพื่อชาวประมงนี้
และสัมภาษณ์ลูกชายของผู้นำคนนี้ ส่วน SOUND OF THE SEA เน้นสัมภาษณ์ชาวประมงที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างรุนแรงจากปัญหานี้
คือพอดูหนังสองเรื่องนี้เสร็จ ในวันต่อมาเราก็ได้รับอีเมลจาก change.org ให้ร่วมลงชื่อเรียกร้องเรื่องนี้พอดี
เราก็เลยรีบลงชื่อไปเลย เพราะฉะนั้นก็เลยต้องยอมรับว่า หนังสองเรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อตัวเราเป็นอย่างมาก
เพราะถ้าหากเราไม่ได้ดูหนังสองเรื่องนี้มาก่อน
เราก็อาจจะไม่รู้ว่าปัญหามันร้ายแรงขนาดนี้ และเราก็คงไม่ได้เห็นความทุกข์ยากของชาวประมงด้วยตาตัวเอง
และเราก็อาจจะไม่ได้ใส่ใจกับอีเมลฉบับนั้นก็ได้
คือถ้าหากเราไม่ได้ดูหนังสองเรื่องนี้
แล้วเราได้เห็นอีเมลฉบับนั้น เราก็อาจจะรู้สึกเพียงแค่ว่า อีเมลฉบับนั้นมันเป็นแค่
text ที่แจ้งให้เรารับรู้ว่ามันมีปัญหานี้อยู่ในประเทศไทยนะ
แล้วเราก็คงไม่ใส่ใจกับอีเมลฉบับนั้นอีก
แต่พอเราได้เห็นใบหน้าของชาวประมง, ได้รับฟังเรื่องราวของพวกเขา และเหมือนได้สัมผัสถึงความทุกข์ยากของพวกเขาผ่านทางหนังสองเรื่องนี้
อีเมลฉบับนั้นก็เลยเหมือนไม่ได้เป็นแค่ text
ตัวอักษรที่แจ้งให้เรารู้ว่ามีปัญหานี้อยู่ในประเทศไทยน่ะ แต่มันกระตุ้นเตือนให้นึกถึงความทุกข์ยากของชาวประมงในหนังสองเรื่องนี้ด้วย
No comments:
Post a Comment