GLOMERIDA (2023, Maneerat Thamnarak,
video installation, A+30)
HERE WE ARE (2023, Chanasorn
Chaikitiporn, video installation, 19min, A+30)
เหมือนเป็นภาคต่อจาก DAWN OF A NEW DAY ก่อนฟ้าสาง (2021, Chanasorn
Chaikitiporn, documentary, A+30) และ ALL THE THINGS YOU
LEAVE BEHIND (2022, Chanasorn Chaikitiporn, A+30) โดยที่หนังทั้ง
3 เรื่องเหมือนมีทั้งจุดที่เชื่อมโยงกัน และจุด focus ที่แตกต่างกัน
โดย DAWN OF A NEW DAY โฟกัสไปที่เหตุการณ์ 6 ต.ค. 1976, ALL
THE THINGS YOU LEAVE BEHIND โฟกัสไปที่อิทธิพลจากสหรัฐและสงครามเย็นที่นำไปสู่เหตุการณ์สังหารหมู่
6 ต.ค. ส่วน HERE WE ARE นั้นเราก็ยังคงเห็นอิทธิพลจากสหรัฐต่อการเมืองไทยในยุคสงครามเย็นในหนังด้วยเช่นกัน
โดยผ่านทางการถ่ายให้เห็นเนื้อหาในนิตยสาร “เสรีภาพ” ของรัฐบาลสหรัฐไปเรื่อย ๆ แต่หนังเรื่องนี้ขยับขยายมาพูดถึงเรื่องของ
“ค่ายอาสาพัฒนาชนบท” ที่นิสิตนักศึกษาในอดีตชอบทำกันด้วย
ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจดี
เพราะเหมือนเราแทบไม่เห็นประเด็นนี้ในหนังยุคปัจจุบันแล้ว นอกจากใน “ของขวัญ:
เมฆฝนบนป่าเหนือ” (THE GIFT: RAINCLOUDS ON THE MOUNTAINS) (2017,
Chookiat Sakveerakul) และ AND NOW THE PRESIDENT WILL TALK ABOUT THE
OBJECTIVES OF THE PROJECT เรียนเชิญท่านประธานกล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของโครงการ
(2011, Sitthichai Pleantongdee, 17:49 min, documentary)
เราชอบการนำเสนอนิตยสาร “เสรีภาพ”
เป็นการส่วนตัวมาก ๆ เพราะเราเติบโตมากับนิตยสารนี้ตอนเด็ก ๆ มันเป็นนิตยสารที่ส่งผลให้เรามองอเมริกาในทางบวกอย่างสุด
ๆ ในยุคสงครามเย็น หรือในยุคทศวรรษ 1980 เราจำได้ว่าตอนเด็ก ๆ
เราอ่านเนื้อหาในนิตยสารนี้ไม่เข้าใจเลย เพราะเนื้อหาในนั้นมันเป็นเรื่องที่ยากเกินไป
แต่เราชอบพลิกดูภาพในนิตยสารนี้ แล้วภาพในนิตยสารนี้มันก็ทำให้เรารู้สึกว่า อเมริกาเป็นประเทศที่งดงามและเจริญมาก
ๆ เราจำได้ว่า ตอนเด็ก ๆ เราหลงใหล “ภาพห้างสรรพสินค้าในอเมริกา” ในนิตยสารเสรีภาพมาก
ๆ คือพอเห็นภาพห้างสรรพสินค้าที่งดงามในนิตยสารนี้แล้ว เราก็รู้สึกว่า อเมริกาช่างเป็นดินแดนแห่งอารยะ
แห่งความสุข แห่งความเจริญเสียจริง ๆ และมันดูดีกว่า “ห้างบางลำภูสรรพสินค้า” และ “ร้านสหกรณ์กรุงเทพ”
ที่เราไปเดินเป็นประจำในยุคนั้นมาก ๆ เลย (ยุคนั้นในกรุงเทพมีห้างเซ็นทรัล ชิดลม,
ไทยไดมารู และราชดำริอาเขตด้วยนะ แต่เราไม่ได้ไปเดินบ่อย ๆ)
เราก็เลยดีใจที่หนังเรื่องนี้พูดถึง “นิตยสาร
เสรีภาพ” เพราะมันเป็นนิตยสารที่หล่อหลอมให้เราในวัยเด็กหลงใหลใน “ทุนนิยม” และ “สหรัฐอเมริกา”
เป็นอย่างมาก และเราว่าหนังเรื่องนี้ใช้นิตยสาร “เสรีภาพ” ได้อย่างน่าสนใจดีด้วย
เพราะหนังเองก็ไม่ได้ให้ผู้ชม “อ่าน” เนื้อหาในนิตยสารนี้อย่างละเอียด แต่เหมือนหนังเรื่องนี้จะให้ผู้ชมสังเกต
“รูปถ่าย” ต่าง ๆ ในนิตยสารนี้ แล้วอนุมานข้อมูลบางอย่างด้วยตัวเอง
เรื่องของ “ค่ายอาสาพัฒนาชนบท” ก็น่าสนใจและเศร้ามาก
ๆ และพอดูแล้วเราก็เลยสงสัยว่า “ค่ายอาสาพัฒนาชนบท”
นี่มันลดจำนวนลงหรือเปล่าในยุคปัจจุบัน เมื่อเทียบกับในทศวรรษ 1970-1980 คือถ้าหากเราจำไม่ผิด
ตอนเด็ก ๆ เราเหมือนได้ยินเรื่องของค่ายอาสาพัฒนาชนบทบ่อยกว่านี้น่ะ เหมือนมันมักจะเป็น
setting ของ “เรื่องรักนักศึกษา” แบบศุภักษร หรืออะไรทำนองนี้หรือเปล่า
เป็น setting ให้นิสิตหนุ่มสาวมาพบรักกัน แต่ไม่ได้เป็น setting
ของ “หนังการเมือง” หรือ “งานเขียน fiction ทางการเมือง”
แต่เราก็ไม่มีหลักฐานยืนยันเรื่องนี้นะ เพราะเราเองก็นึกไม่ออกว่า มีหนังเรื่องไหนหรืองานเขียนเรื่องไหนในทศวรรษ
1980 ที่ใช้ “ค่ายอาสาพัฒนาชนบท” เป็น setting บ้าง
แต่เหมือนพอเราโตขึ้น
และนับตั้งแต่ยุคทักษิณทศวรรษ 2000 เป็นต้นมา เราก็เหมือนไม่ค่อยได้เห็นใครพูดถึง “ค่ายอาสาพัฒนาชนบท”
บ่อยเหมือนแต่ก่อนน่ะ
เราก็เลยไม่รู้ว่ามันได้รับความนิยมน้อยลงหรือลดจำนวนลงหรือเปล่า
หรือเป็นเพราะชนบทมันเจริญขึ้นเรื่อย ๆ หรือเปล่า ค่ายเหล่านี้เลยลดจำนวนลง
--------
RIP JANE BIRKIN (1946-2023)
หนังของเธอที่เคยดู เรียงตามลำดับความชอบ
1.KUNG-FU MASTER! (1988, Agnes Varda)
2.LA BELLE NOISEUSE (1991, Jacques Rivette)
3.BLOW-UP (1966, Michelangelo
Antonioni)
4.SERIOUS AS PLEASURE (1975, Robert
Benayoun)
5.SAME OLD SONG (1997, Alain Resnais)
6.LA PISCINE (1969, Jacques Deray)
7.A HELL OF A DAY (2001, Marion
Vernoux)
8.EVIL UNDER THE SUN (1982, Guy
Hamilton)
9.LA TETE DE MAMAN (2007, Carine
Tardieu)
เราชอบการแสดงของ Jane Birkin ใน KUNG-FU MASTER! อย่างรุนแรงมาก
ๆ โดยในเรื่องนี้เธอรับบทเป็นหญิงวัย 40 กว่าปีที่รักกับเด็กหนุ่มอายุ 14 ปี เธอให้การแสดงที่ร้าวราน
แหลกสลายมาก ๆ กราบตีนสุด ๆ
เธอรับบทนำใน SERIOUS AS PLEASURE ด้วย
แต่เราว่าในหนังเรื่องอื่นๆ
ของเธอที่เราเคยดู เธอมักจะต้องประกบกับดาราหญิงอีกคนที่มีบทเด่นพอ ๆ กับเธอ หรือไม่เธอก็เล่นเป็นตัวประกอบน่ะ
เพราะฉะนั้นโดยรวมแล้ว เราก็เลยยังจดจำการแสดงของเธอได้ไม่มากนัก อย่างเช่นใน LA BELLE NOISEUSE เธอก็ต้องประชันกับ Emmanuelle
Beart ส่วนใน LA PISCINE เธอก็ต้องประชันกับ Romy
Schneider
ใน SAME OLD SONG นั้น บทเด่นก็ตกอยู่กับ Sabine Azema,
ใน A HELL OF A DAY บทเด่นก็ตกอยู่กับ Karin
Viard และใน LA TETE DE MAMAN บทเด่นก็ตกอยู่กับ
Karin Viard
ก็เลยเสียดายเหมือนกันที่เราไม่ค่อยได้ดูหนังที่เธอรับบทนำจริงๆ
โดยเฉพาะ CATHERINE & CO. (1975, Michel
Boisrond), JE T’AIME MOI NON PLUS (1976, Serge Gainsbourg), THE PRODIGAL
DAUGHTER (1981, Jacques Doillon), THE PIRATE (1984, Jacques Doillon) และ DUST (1985, Marion Hansel)
-----
ดีใจที่ปีนี้งาน COREหนังคนเยอะสุด ๆ ส่วนดิฉันนั้นตอนแรกตั้งใจจะดูทุกโปรแกรม
แต่พอไปดูโปรแกรมแรกแล้วคนเยอะมาก ๆ ๆ ๆ ๆ ดิฉันเลยตัดสินใจดูแค่โปรแกรมเดียวแล้วก็กลับเลยค่ะ
เพราะโดยส่วนตัวแล้วเกลียดสถานที่ที่คนเยอะ ๆ 555
ในงานนี้เราเลยได้ดูแค่
1.30 DAYS BEFORE I’M DEAD (2023, Sasicha Siriusswakul, A+30)
ดูแล้วงง ๆ
แต่ชอบการผสมเรื่องแต่งกับเรื่องจริงเข้าด้วยกัน ชอบ subject ที่เป็นเกย์ในชนบทด้วย ถ้าเข้าใจไม่ผิด
2.เปื้อนยิ้ม (2023, Kanjanaporn Kanjanapimol, A+30)
ช่วงนี้เวลาที่เราไปดูหนังนักศึกษา
เรามักจะไม่รู้มาก่อนว่าผู้กำกับเป็นใคร เพศอะไร
แต่บางเรื่องเหมือนพอดูไปได้หน่อยนึงแล้วจะเดาได้ทันทีว่า
ผู้กำกับหนังเรื่องนี้น่าจะเป็นผู้หญิง แล้วเรื่องนี้ก็เป็นหนึ่งในนั้น
บอกไม่ถูกเหมือนว่า หนังของผู้กำกับหญิงมันมีลักษณะเด่นยังไง แต่มันเหมือนหนังของผู้กำกับหญิงบางเรื่องมันมี
sense อะไรบางอย่างที่บอกได้ ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า มันคือ
gaze หรือมุมมองเวลาถ่ายทอดตัวละครหญิงหรือเปล่า
มันเหมือนพอได้เห็นการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครหญิงบางตัว และปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวละครหญิงด้วยกัน
รวมทั้งโทนโดยรวมของหนัง แล้วมันทำให้เดาได้ว่าผู้กำกับหนังเรื่องนี้น่าจะเป็นผู้หญิง
จริง ๆ แล้วเราว่า “เนื้อเรื่อง”
ของหนังเรื่องนี้ไม่ค่อยน่าสนใจสำหรับเรานะ 555 แต่ถึงแม้เนื้อเรื่องจะดูธรรมดา
แต่มันเหมือนอารมณ์โดยรวมของหนังมันค่อนข้างโอเคสำหรับเราน่ะ ก็เลยกลายเป็นว่าชอบหนังเรื่องนี้มากพอสมควร
จุดพลิกผันของตัวละครก็ค่อนข้างโอเคสำหรับเราด้วยแหละ
ชอบที่ตัวละครที่พ่อกับแม่หย่ากัน มาเจอกับตัวละครที่ไม่เคยมีพ่อมาก่อนเลยในชีวิต และเหมือนทั้งสองฝ่ายต่างก็ไม่เข้าใจความเจ็บปวดของอีกฝ่ายหนึ่งในตอนแรก
3.ชั่วธูปอธิษฐาน (2023, สิรวิชญ์ ไทยทวีไพศาล, A)
ชอบ “ไอเดียตั้งต้น” กับนักแสดงนำคนที่ใส่แว่นมาก
ๆ แต่ส่วนอื่น ๆ เราไม่ค่อยชอบเพราะมันไม่ใช่สไตล์ของเรา
ชอบไอเดียมาก ๆ ตรงที่ผีมาหลอกพระเอกเพราะพระเอกไปบนบานศาลกล่าวให้สอบติด
(ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด) สิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็เลยส่งผีหนุ่มหล่อมาคอยติววิชาให้พระเอก
คือไอเดียตรงนี้ไม่รู้คิดขึ้นมาได้ยังไง แต่ดีงามสุด ๆ 555
No comments:
Post a Comment