http://filmsick.exteen.com/20051021/reiner-werner-fassbinder
งานเยี่ยมสองชิ้นจากยุคนี้คือ BEWARE OF A HOLY WHORE และ THE AMERICAN SOLDIER (ทั้งสองเรื่องออกฉายในปี 1970) โดย BEWARE OF A HOLY WHORE มีเนื้อหาเกี่ยวกับความยากลำบากในการถ่ายทำภาพยนตร์และความสับสนงุ่นง่านใจทางเพศ ส่วน THE AMERICAN SOLDIER อาจจะเรียกได้ว่าเป็นหนังแนวแก๊งมาเฟียที่ยอดเยี่ยมที่สุดของเขา BEWARE OF A HOLY WHORE ดัดแปลงมาจากประสบการณ์ส่วนตัวของฟาสบินเดอร์เหมือนกับหนังอีกหลายๆเรื่องของเขา โดยในกรณีของเรื่องนี้นั้น เขาดัดแปลงมาจากประสบการณ์ขณะถ่ายทำหนังเรื่อง Whitey (1970) และเล่าเรื่องของกองถ่ายภาพยนตร์กองหนึ่งที่เจอกับปัญหามากมายในการถ่ายทำ พวกเขากำลังรอคอยให้ผู้กำกับหนังกับดารานำมาที่กองถ่าย และในเวลาเดียวกัน พวกเขาก็ค่อยๆทำลายสมาชิกในกองถ่ายกันเอง หนังเรื่องนี้นำเสนอประเด็นหลายประเด็นที่มักพบบ่อยในหนังของฟาสบินเดอร์ ซึ่งรวมถึงประเด็นเรื่องการแสดงความเป็นตัวเอง (และการไม่แสดง), ความเป็นมาโซคิสท์, ความโหดร้าย, ควาามรักที่ไม่ได้รับการตอบสนอง และความรักแบบลุ่มหลง และหนังเรื่องนี้ก็จบลงด้วย irony ที่โหดร้ายตามสไตล์ของฟาสบินเดอร์ (ซึ่งชอบนำเสนอสิ่งที่รุนแรงอยู่แล้ว) โดยฉากจบของเรื่องนี้ก็คือฉากที่คนในกองถ่ายภาพยนตร์ (ซึ่งกำลังสร้างหนังเกี่ยวกับความรุนแรงที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล) ร่วมกันยำผู้กำกับ
The American Soldier (1970) เป็นเหมือนกับการนำหนังเรื่อง GODS OF THE PLAGUE (1969) ของฟาสบินเดอร์เองมารีเมคใหม่อีกครั้ง หลังจากที่ GODS OF THE PLAGUE สร้างไม่สำเร็จสมตามความตั้งใจของฟาสบินเดอร์ในบางส่วน โดย THE AMERICAN SOLDIER เป็นหนังที่มีพล็อตเรื่องน้อยมากและไม่เน้นความสมจริงแต่อย่างใด และแทบไม่มีการเล่นสไตล์เก๋ไก๋ในหนัง แต่ปัจจัยเหล่านี้กลับยิ่งช่วยส่งเสริมให้หนังสามารถถ่ายทอดบรรยากาศอันน่าหดหู่ของชีวิตผู้คนในเมืองใหญ่ได้เป็นอย่างดี โดยมือสังหารที่มีสมญานามว่า “The American Soldier” เหมือนชื่อหนังเรื่องนี้ (มือสังหารคนนี้เป็นชาวเยอรมัน และรับบทโดย KARL SCHEYDT) พยายามกวาดล้างอาชญากรครึ่งหนึ่งในนครมิวนิคให้กับตำรวจที่ฉ้อฉล หนังเรื่องนี้เป็นหนังแนวแก๊งสเตอร์ที่เน้นอารมณ์ของตัวละครมากกว่าพล็อตเรื่อง และแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจในตัวเองของผู้กำกับ นอกจากนั้น หนังเรื่องนี้ยังบันทึกอารมณ์ที่เก็บกดของตัวละครได้อย่างดีมาก (จุดนี้ทำให้หนังเรื่องนี้เหมือนกับเป็นต้นแบบให้กับหนังของ AKI KAURISMAKI) หนังเรื่องนี้เต็มไปด้วยตัวละครที่ยอดเยี่ยมและบทสนทนาที่กระเทียมดองเหมือนกับหนังเรื่องอื่นๆของฟาสบินเดอร์ และมีตอนจบที่สุดยอดมากๆอีกด้วย
ในปี 1971 ฟาสบินเดอร์ช่วยจัดงานฉายภาพยนตร์เก่าๆของดักลาส เซิร์ค และได้มีโอกาสพบกับผู้กำกับภาพยนตร์ผู้ยิ่งใหญ่คนนี้ที่เดินทางกลับมาอรมนีอีกครั้ง เหตุการณ์นี้คงจะเป็นการจุดประกายให้กับฟาสบินเดอร์ในการสร้างภาพยนตร์ยุคที่สองของเขา ซึ่งก็คือการสร้างภาพยนตร์ “ฮอลลีวู้ดแบบเยอรมนี”
หลังจากฟาสบินเดอร์สร้าง “The Merchant of Four Seasons” (1971) เขาก็กำกับ “The Bitter Tears of Petra Von Kant” (1972) ซึ่งดัดแปลงมาจากบทละครเวทีของฟาสบินเดอร์เหมือนกับหนังเรื่อง “Katzelmacher” หนังเรื่อง THE BITTER TEARS OF PETRA VON KANT นี้เป็นหนังเมโลดรามาเกี่ยวกับตัวละครที่ปะทะกันในสถานที่แคบๆ โดยใช้ฉากหลังเป็นอพาร์ทเมนท์ของเปตรา ฟอน แคนท์ ซึ่งเป็นนักออกแบบเสื้อผ้า หนังเรื่องนี้เป็นทั้งการแสดงความเห็นเชิงยั่วยุต่อวิธีการนำเสนอ “ความรัก” ในหนังเศร้าเคล้าน้ำตาของฮอลลีวู้ดที่สร้างขึ้นเพื่อเน้นจับตลาดคนดูกลุ่มผู้หญิง (หนังแนวนี้มีออกมามากในทศวรรษ 1940-1950 โดยมีดักลาส เซิร์ค เป็นผู้กำกับคนหนึ่งที่ถนัดสร้างหนังแนวนี้ อย่างเช่นเรื่อง IMITATION OF LIFE และ ALL THAT HEAVEN ALLOWS) และเป็นทั้งการคารวะต่อหนังแนวเศร้าเคล้าน้ำตาที่จงใจบีบคั้นอารมณ์คนดูอย่างซึ่งๆหน้า
ในยุคนั้น THE BITTER TEARS OF PETRA VON KANT คงต้องเป็นหนังที่ประกาศให้โลกได้รับรู้ว่าศิลปินคนสำคัญคนใหม่—ไรเนอร์ แวร์เนอร์ ฟาสบินเดอร์--ได้ถือกำเนิดขึ้นแล้วในโลกภาพยนตร์ ในหนังเรื่องนี้ เปตรา
(Margit Carstensen) จ่อมจมอยู่ในความโศกเศร้าเพราะเธอไม่สมหวังในความรักที่มีต่อหญิงสาวผู้หนึ่งที่แต่งงานแล้ว แต่ในขณะเดียวกัน เปตราก็ปฏิบัติต่อมาร์ลีน (IRM HERMANN) อย่างเลวร้าย ทั้งๆที่มาร์ลีนเป็นผู้ช่วยที่จงรักภักดีและยอมทำตามที่เปตราสั่งราวกับทาส
THE BITTER TEARS OF PETRA VON KANT เป็นหนังที่ดีมากในส่วนของการตีแผ่ “การหลอกลวง”ที่เป็นรากฐานของความสัมพันธ์หลายประเภท ทั้งความสัมพันธ์ระหว่าง “พ่อแม่กับลูก”, “นายกับบ่าว”, “คนรักกับคนรัก” และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการโกหกหลอกลวงที่เป็นรากฐานของความสัมพันธ์ในอุดมคติแบบที่เรามักพบในภาพยนตร์ ซึ่งเป็นแบบที่เรามักหลงนึกไปว่ามันคล้ายกับความจริง นอกจากนี้ หนังเรื่องนี้ยังบอกเราหลายอย่างเกี่ยวกับวิธีการที่เราปล่อยให้ตัวเราเองถูกคนอื่นๆเอารัดเอาเปรียบเพียงเพราะเราหวังว่าจะได้รับความรักเป็นผลตอบแทน หรือเพราะเรากลัวที่จะอยู่ตามลำพัง อย่างไรก็ดี หนังเรื่องนี้มีข้อเสียอยู่เล็กน้อย นั่นก็คือตอนจบของเรื่องที่ “ชัดเจน” เกินไป (มาร์ลีนเดินจากเปตราไปเมื่อเปตราให้สัญญากับมาร์ลีนว่าจะปฏิบัติต่อมาร์ลีนอย่างดีขึ้น) และข้อเสียอีกอย่างคือการเคลื่อนกล้องที่ไม่ค่อยแม่นยำในบางครั้งของ MICHAEL BALLHAUS (ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าฟาสบินเดอร์ต้องการจะถ่ายหนังเรื่องนี้ในเวลา 10 วัน ซึ่งเป็นเวลาการถ่ายหนังตามปกติของฟาสบินเดอร์) (ดิฉันซึ่งเป็นคนแปลไม่ค่อยเห็นด้วยกับผู้เขียนบทความนี้ค่ะ เพราะดิฉันชอบตอนจบของ THE BITTER TEARS OF PETRA VON KANT อย่างมากๆ)
ดีใจมากๆค่ะที่ได้อ่านสิ่งที่ทุกคนเขียน ช่วงนี้แทบไม่ได้เข้าอินเทอร์เน็ตคาเฟ่เลย เพราะเข้าโรงพยาบาลแทน ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบค่ะ ไม่รู้กินอะไรผิดเข้าไปในเย็นวันอังคาร หลังจากนั้นกินอะไรเข้าไปก็อาเจียนออกมาจนหมด ช่วงนี้ก็เลยแก้ปัญหาด้วยการพยายามไม่กินอาหาร+ดื่มน้ำ จะได้ไม่ต้องอาเจียนออกมา
หนังที่ได้ดูในช่วงนี้
1.THE WAYWARD CLOUD (2005, TSAI MING LIANG, A+)
2.PROOF (2005, JOHN MADDEN, A+)
3.THE LEGEND OF ZORRO (2005, MARTIN CAMPBELL, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0386140/
4.WALLACE & GROMIT IN THE CURSE OF THE WERE-RABBIT (2005, STEVE BOX + NICK PARK, A)
http://www.imdb.com/title/tt0312004/
5.GREEN STREET HOOLIGANS (2005, LEXI ALEXANDER, A)
http://www.imdb.com/title/tt0385002/
6.GOAL! (2005, DANNY CANNON, A)
http://www.imdb.com/title/tt0380389/
7.AHIMSA STOP TO RUN (2005, กิตติกร เลียวศิริกุล, A-)
http://www.siamzone.com/movie/m/3298
8.NARUTO THE MOVIE (2004, TENSAI OKAMURA, A-)
9.THE TIGER BLADE (2005, ธีระธร สิริพันธ์วราภรณ์, B+)
http://www.siamzone.com/movie/m/3424
10.SKY HIGH (2005, MIKE MITCHELL, B+)
11.ALL ABOUT LOVE (2005, DANIEL YU, B)
http://www.siamzone.com/movie/m/3366
12.THE KING MAKER (2005, LEK KITAPARAPORN, C+)
ขอตอบแบบสั้นที่สุดก่อนแล้วกันนะคะ
--หนังที่ทำให้ดิฉันชอบ “ตักบาตร เทโว” อย่างรุนแรงก็คือเรื่อง MY SEX LIFE…OR HOW I GOT INTO AN ARGUMENT (1997, ARNAUD DESPLECHIN, A+) ค่ะ หนังเกี่ยวกับชีวิตรักของหนุ่มสาวฝรั่งเศสเรื่องนี้ได้รับการผลิตขายเป็นดีวีดีแล้ว ดูหน้าปกดีวีดี+ใบหน้าอันหยามหยันของตักบาตร เทโวบนหน้าปกดีวีดีนี้ได้ที่
http://images.amazon.com/images/P/B00004TBFR.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
เธอไม่ได้เล่นเป็นนางเอกในหนังเรื่องนี้ เพราะบทนางเอกตกเป็นของ MARIANNE DENICOURT (UP DOWN FRAGILE) แต่บทของตักบาตร เทโวในเรื่องนี้เป็นบทที่ดูเป็นธรรมชาติมากๆ ฉากที่ลืมไม่ลงในหนังเรื่องนี้รวมถึง
1. ฉากที่ตักบาตร เทโวพยายามสี่อสารกับ THIBAULT DE MONTALEMBERT ว่าเธอเจ็บคอ
2. ฉากที่ตักบาตร เทโวอาบน้ำ และใบหน้าของเธอหลังอาบน้ำเสร็จ
ทั้งสองฉากนี้ไม่มีความสำคัญอะไรกับพล็อตเรื่องทั้งสิ้น ถ้าหากตัดทั้งสองฉากนี้ทิ้งไป พล็อตเรื่องก็ไม่ได้รับผลกระทบใดๆเลย แต่สองฉากนี้ทำให้เราได้เห็นการแสดงที่เป็นธรรมชาติอย่างสุดๆของเธอ
ตักบาตร เทโวเคยปะทะกับ VALERIA BRUNI TEDESCHI ในหนังเรื่อง FORGET ME (1994, NOEMIE LVOVSKY, A+) และในหนังเรื่อง IT’S EASIER FOR A CAMEL (2003, VALERIA BRUNI TEDESCHI, A+) ด้วยค่ะ แต่ตักบาตร เทโวรับบทประกอบเล็กน้อยเท่านั้นในหนังสองเรื่องนี้ เธอไม่ได้แสดงฝีมืออย่างเต็มที่มากนักในสองเรื่องนี้
--EMMANUEL CARRERE ผู้กำกับ THE MOUSTACHE เคยเขียนบทหนังเรื่อง CLASS TRIP (1998, CLAUDE MILLER, A+) ที่มีการตัดสลับระหว่างฉากในโลกจินตนาการกับฉากในโลกแห่งความเป็นจริงอยู่หลายครั้งเหมือนกัน แต่ CLASS TRIP เป็นหนังที่สามารถแยกได้ง่ายว่าฉากไหนเป็นความฝันและฉากไหนเป็นความจริง ส่วน THE MOUSTACHE นั้น ดิฉันแยกไม่ออกว่าอะไรคือความจริง ตอบไม่ได้ว่าใครทำอะไรที่ไหนเมื่อไรอย่างไรเพราะอะไร
ตอบคุณ amnesiac
--แหะ แหะ ดิฉันไม่ได้เล่น MSN ค่ะ และก็อาจจะเข้ามาเล่นอินเทอร์เน็ตไม่บ่อยด้วย เพราะดิฉันยังไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นของตัวเองค่ะ อาจจะเข้าร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่บ้างเป็นครั้งคราวในวันหยุดค่ะ พอดีช่วงเทศกาลหนังที่ผ่านมา ดิฉันลาพักร้อนยาว 5 วัน ก็เลยได้เข้ามาเล่นอินเทอร์เน็ตบ่อยกว่าปกติ
--ดิฉันก็ยังไม่ได้อ่าน ORLANDO ที่เป็นตัวนิยายเหมือนกันค่ะ ไม่รู้เหมือนกันว่ามันต่างกับหนังอย่างไรบ้าง แต่รู้สึกว่าคุณสนธยา ทรัพย์เย็นเคยเขียนถึงความแตกต่างระหว่าง ORLANDO เวอร์ชันภาพยนตร์กับนิยายเอาไว้แล้วในหน้าท้ายๆของหนังสือ “บุ๊คไวรัส เล่ม 1 “ ซึ่งมีขายที่ร้านคิโนะคุนิยะ สาขาเซ็นทรัล เวิลด์ พลาซ่า ถ้าหากสนใจประเด็นนี้ ก็ขอแนะนำให้หาซื้อหนังสือ “บุ๊คไวรัส เล่ม 1” มาอ่านค่ะ
--TILDA SWINTON เล่นหนังที่เฮี้ยนสุดๆไว้หลายเรื่องมาก ทั้งที่เล่นกับ DEREK JARMAN และที่เล่นกับผู้กำกับคนอื่นๆ แต่หาหนังเฮี้ยนๆของเธอชมได้ยากเหมือนกัน
หนังเฮี้ยนของ TILDA SWINTON ที่อยากดูแต่ยังไม่ได้ดู รวมถึงเรื่อง
1.FRIENDSHIP’S DEATH (1987, PETER WOLLEN)
http://www.imdb.com/title/tt0093050/
ในหนังไซไฟเรื่องนี้ ทิลดา สวินตันรับบทเป็นมนุษย์ต่างดาวชื่อ FRIENDSHIP ที่เข้ามาพัวพันกับความขัดแย้งเรื่องปาเลสไตน์
2. EGOMANIA – INSEL OHNE HOFFNUNG (1986, CHRISTOPH SCHLINGENSIEF)
http://www.imdb.com/title/tt0090998/
หนังเรื่องนี้ไม่มีพล็อต แต่เต็มไปด้วยฉากและภาพที่สะท้อนให้เห็นจิตใต้สำนึกและการต่อสู้ระหว่างอำนาจในการรักษาและอำนาจในการทำลายล้าง โดยมีอูโด เคียร์ รับบทเป็นตัวละครที่เหมือนเป็นตัวแทนของอำนาจในการทำลายล้าง
3. ZASTROZZI: A ROMANCE (1986, DAVID G. HOPKINS) ยาว 4 ชั่วโมง
http://www.imdb.com/title/tt0416440/
สร้างจากนิยายแนวโกธิคของ PERCY BYSSHE SHELLEY มินิซีรีส์เรื่องนี้ได้รับคำชมว่า DREAMLIKE, DARING, AND RISKY
4. THE PARTY: NATURE MORTE (1991, CYNTHIA BEATT)
http://www.timeout.com/film/70806.html
5. MAN TO MAN (1992, JOHN MAYBURY)
http://www.imdb.com/title/tt0104806/
ตอบน้อง merveillesxx
--(ความเห็นที่ 22786)
รู้สึกว่าน้อง merveillesxx จะไม่ได้ “ใช้ธรรมะเข้าข่มโทสะ” นะคะ แต่น้องเอา “ราคะเข้าข่มโทสะ” แทนค่ะ โฮะๆๆๆๆๆๆ เป็นวิธีที่น่าสนใจมากค่ะ
--เคยได้ยินข่าวลือมาบ้างเหมือนกันว่าหนังบางเรื่องในเทศกาลหนังอาจจะดีเกินไป ประเทศเจ้าของหนังก็เลยพยายามต่อต้านไม่ให้หนังได้รับการฉาย เท่าที่เคยได้ยินข่าวลือมา หนังที่เคยถูกกีดกันไม่ให้ได้ฉายก็รวมถึง
1.SEVEN DAYS SEVEN NIGHTS (2003, JOEL CANO, A+) หนังเสียสติวิกลจริตอิทธิฤทธิ์สูงจากคิวบาเรื่องนี้เป็นหนังที่ดิฉันชอบที่สุดที่ได้ดูในเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพในเดือนต.ค. ปี 2004 แต่ได้ยินข่าวลือว่าทางคิวบาไม่พอใจหนังเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
2.THE BARBECUE PEOPLE (2003, YOSSI MADMONI + DAVID OFEK, A+)
หนังอิสราเอลเรื่องนี้ได้ฉายในเทศกาลภาพยนตร์ของไบรอัน เบนเนทท์ที่เอ็มโพเรียมในเดือนพ.ค.ปี 2004 เป็นหนังที่ดูแล้วซึ้งมากๆ และมีเนื้อหาพาดพิงถึงการเมือง+ประวัติศาสตร์อิสราเอลในแบบที่ดิฉันไม่เข้าใจมากนัก ได้ข่าวลือมาว่าทางอิสราเอลไม่ชอบหนังเรื่องนี้ แต่ไม่รู้ว่าข่าวลือมีมูลความจริงหรือเปล่า
--ถ้าเอา THE WAYWARD CLOUD มาใส่ในอันดับหนังของเทศกาลหนังครั้งนี้ THE WAYWARD CLOUD จะอยู่ประมาณอันดับที่ 12 ของดิฉันรองจาก BATTLE IN HEAVEN
--ไม่พอใจกับระบบการจัดการของเทศกาลหนังปีนี้เหมือนกัน แต่ถ้าหากพูดถึงเฉพาะตัวหนังแล้ว หนังในเทศกาลนี้ถูกโฉลก + สร้างความพึงพอใจ และสร้างความสุขให้ดิฉันมากที่สุดเท่าที่เคยดูเทศกาลหนังนานาชาติในกรุงเทพมาตั้งแต่ปี 1998 ค่ะ
ตอบคุณอ้วน
ต้องกราบขอบพระคุณคุณอ้วนมากค่ะ สำหรับบทความเรื่อง ANGEL’S FALL เป็นบทความที่ชอบสุดๆเลยค่ะ
ดู ANGEL’S FALL แล้วนึกไปถึง THE POLICEWOMAN (A+) เหมือนกัน เพราะลักษณะการตัดต่อและเพราะความมืดของหนังสองเรื่องนี้
Saturday, October 29, 2005
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment