วันนี้ได้ดูหนัง 4 เรื่องค่ะ ซึ่งก็คือ
1.MADAME X – AN ABSOLUTE RULER (1977, ULRIKE OTTINGER, A++++++++++++++++++)
http://www.wmm.com/catalog/pages/c424.htm
2.A RIDER NAMED DEATH (2004, KAREN SHAKHNAZAROV, A+/A)
http://unrepentant.blogspot.com/2005/02/rider-named-death.html
http://www.kino.com/video/item.php?film_id=739
3.3-IRON (A)
4.CUBAN MUSIC (2004, GERMAN KRAL, A)
http://www.goethe.de/ins/au/pro/festival05/pages/films/musica/
ความรู้สึกที่มีต่อ CUBAN MUSIC
--หนังเรื่องนี้เหมือนเป็นภาคต่อของ BUENA VISTA SOCIAL CLUB แต่ความรู้สึกที่ได้รับจากหนังสองเรื่องนี้ต่างกันเล็กน้อย เพราะ BUENA VISTA SOCIAL CLUB มีช่วงที่ทำให้รู้สึกเหงาๆเศร้าๆ อ้อยอิ่ง เหมือนกับได้ฟังเพลงบัลลาด แต่ความรู้สึกที่ได้รับจาก CUBAN MUSIC เป็นความรู้สึกที่เร็วๆ สนุกๆ เหมือนกับได้ฟังเพลงแดนซ์
--นักร้องหญิงคนนึงในเรื่องนี้ทำให้นึกถึง HEATHER SMALL นักร้องนำวง M PEOPLE
--หนังของ GERMAN KRAL เรื่อง IMAGES OF THE ABSENCE (A+) กับเรื่อง CUBAN MUSIC มีส่วนคล้ายกันตรงที่ทั้งสองเรื่องมีความเป็นทั้งสารคดีและเรื่องแต่งรวมอยู่ในเรื่องเดียวกัน
อารมณ์โดยรวมของหนังสองเรื่องนี้ ค่อนไปในทางสารคดีมากกว่าเรื่องแต่ง แต่การที่หนังสองเรื่องนี้ไม่ได้ทำตัวเป็นสารคดีบริสุทธิ์ ก็ไม่ใช่ข้อด้อยของหนังแต่อย่างใด เพราะรู้สึกว่าหนังทั้งสองเรื่องนี้สนุกมาก และไม่มีส่วนใดของเรื่องที่ให้ความรู้สึกสะดุด
--ทั้ง CUBAN MUSIC และ TOUCH THE SOUND (2004, THOMAS RIEDELSHEIMER, A+) เป็นหนังสารคดีเกี่ยวกับดนตรี และมีฉากที่น่าประทับใจเกิดที่ “ญี่ปุ่น” เหมือนกัน รู้สึกว่าญี่ปุ่นจะเป็น “ตลาดดนตรี” ที่มีความสำคัญสูงมากในตลาดโลก
--รู้สึกว่าคิวบาเป็นประเทศที่มีสารคดีออกมาเยอะมากเมื่อเทียบกับประเทศในอเมริกากลางด้วยกัน ซึ่งรวมถึงสารคดีอย่าง
1.SUITE HABANA (2003, FERNANDO PEREZ, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0384566/
2. BALSEROS (2002, CARLOS BOSCH + JOSE MARIA DOMENECH, A+)
3.IMPROPER CONDUCT (1984, NESTOR ALMENDROS + ORLANDO JIMENEZ LEAL)
4.I AM CUBA, THE SIBERIAN MAMMOTH (2004, VICENTE FERRAZ) เกี่ยวกับเบื้องหลังการสร้างหนังเรื่อง I AM CUBA (1964, MIKHAIL KALATOZOV, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0436784/
ส่วนประเทศอื่นๆในอเมริกากลางอย่างนิคารากัว, กัวเตมาลา, ฮอนดูรัส หรือสาธารณรัฐโดมินิกันยังไม่ค่อยมีสารคดีออกมามากนัก
--เนื้อเพลงเพลงนึงที่ชอบมากในเรื่องนี้ คือเพลงที่ร้องว่า “อยากมีพัดลม อยากมีแอร์คอนดิชั่น” รู้สึกว่าเป็นเนื้อเพลงที่เก๋ดี, ตลกดี และก็เศร้าด้วยในขณะเดียวกัน
--มีผู้กำกับภาพยนตร์สารคดีหลายคนที่เริ่มต้นด้วยการกำกับเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเองหรือครอบครัวของตัวเอง และ GERMAN KRAL ก็อาจเป็นหนึ่งในนั้น เพราะ IMAGES OF THE ABSENCE มีเนื้อหาเกี่ยวกับครอบครัวของเขาเอง
นักวิจารณ์บางคนเคยตั้งข้อสังเกตว่า ผู้กำกับในกลุ่มนี้อาจจะประสบปัญหาในการกำกับภาพยนตร์เรื่องต่อไป เพราะพวกเขาได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเองและครอบครัวตัวเองไปแล้ว และถึงแม้พวกเขาจะเล่าได้ดี แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับคนอื่นๆได้ดี หรือจะหาวัตถุดิบอื่นๆมาเล่าได้โดยง่าย
อย่างไรก็ดี GERMAN KRAL คงก้าวข้ามอุปสรรคข้อนั้นมาได้แล้ว เพราะ CUBAN MUSIC พิสูจน์ให้เห็นว่าเขาถ่ายทอดเรื่องราวของคนอื่นๆได้ดีเช่นกัน
ความรู้สึกที่มีต่อ A RIDER NAMED DEATH
--หนังเรื่องนี้นำเสนอตัวละครชายที่มีความเคร่งเครียดอย่างมาก ดูแล้วทำให้นึกถึงหนังเรื่อง
THE ASSASSINATION OF RICHARD NIXON (2004, NIELS MUELLER, A+) เพราะตัวละครเอกของทั้งสองเรื่องนี้มีลักษณะเป็นผู้ก่อการร้ายเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ THE ASSASSINATION OF RICHARD NIXON ทำให้เรารู้สึกใกล้ชิดกับตัวละครพระเอกอย่างมาก แต่ A RIDER NAMED DEATH ไม่ทำให้เรารู้สึกใกล้ชิดกับตัวละครพระเอกเท่าไหร่ ถึงแม้หนังใช้เสียง VOICEOVER เพื่อเล่าถึงความคิดของพระเอกก็ตาม หนังเหมือนกับถอยห่างออกมาจากตัวพระเอกในระดับนึง
--หนังเรื่องนี้ทำให้ “วางตัวไม่ถูก” ในขณะที่ดู ซึ่งนั่นคือจุดที่ทำให้ชอบมาก เพราะตัวละครส่วนใหญ่ในหนังเรื่องนี้มีทั้งส่วนดีส่วนเลวอยู่ในตัว พวกเขาเป็นผู้ก่อการร้าย พวกเขาฆ่าและทำร้ายผู้บริสุทธิ์ แต่เป้าหมายบางคนของพวกเขาก็อาจจะไม่ใช่คนดี
ขณะที่ผู้ก่อการร้ายในหนังเรื่องนี้จะฆ่าคนแต่ละครั้ง หนังจะสร้างบรรยากาศลุ้นระทึก แต่เป็นการลุ้นระทึกแบบที่ไม่รู้ว่าจะเอาใจเข้าข้างฝ่ายไหนดี เพราะจะเข้าข้างฝ่ายพระเอก ก็เข้าข้างได้อย่างไม่สนิทใจ เพราะรู้สึกว่าพวกเขาไม่ได้ทำถูก แต่จะเข้าข้างฝ่ายเหยื่อ ก็ทำได้ไม่สนิทใจเช่นกัน เพราะไม่รู้ว่าเหยื่อเลวหรือดีแค่ไหน
ในขณะที่เวลาดูหนังสยองขวัญ, หนังอย่าง RED EYE ของเวส คราเวน หรือหนังสงคราม เราจะรู้ตัวดีว่าเราลุ้นระทึกให้ฝ่ายนางเอก/พระเอกรอด และลุ้นให้ฝ่ายผู้ร้ายตาย แต่เวลาดู A RIDER NAMED DEATH ดิฉันรู้สึก “อยากรู้” ว่าฝ่ายพระเอกคนไหนจะตายหรือไม่ แต่เป็นแค่ความรู้สึก “อยากรู้” แต่ตอบไม่ได้ว่า “อยากให้เขารอดตายหรือไม่” ถ้าฝ่ายพระเอกรอด ดิฉันก็จะรู้สึกเสียใจกับผู้บริสุทธิ์ที่พวกเขาฆ่าตาย แต่ถ้าหากฝ่ายพระเอกตาย ดิฉันก็ไม่ได้รู้สึกดีใจ 100 % เต็มอยู่ดี
--KAREN SHAKHNAZAROV เคยกำกับหนังเรื่อง THE ASSASSIN OF THE TSAR ส่วนหนังเรื่อง A RIDER NAMED DEATH นั้น สามารถเปลี่ยนชื่อเรื่องได้ใหม่ว่า THE ASSASSIN OF THE GRAND DUKE
--ชอบฉากเปิดของ A RIDER NAMED DEATH มาก
--ถ้าเข้าใจไม่ผิด A RIDER NAMED DEATH ตั้งชื่อเรื่องตามตำนานเหมือนกับภาพยนตร์เรื่อง COME AND SEE (ELEM KLIMOV, A+)
Title may come from a verse of The Bible from "The Revelation of St. John the Divine", chap 6 verse 1:
And I saw when the Lamb opened one of the seals, and I heard, as it were the noise of thunder, one of the four beasts saying, Come and See.
And I looked, and behold a pale horse: and his name that sat on him was Death, and Hell followed with him. And power was given unto them over the fourth part of the earth, to kill with sword, and with hunger, and with death, and with the beasts of the earth.
--หนังเรื่องนี้มีส่วนคล้าย DAY OF THE FULL MOON (1998, KAREN SHAKHNAZAROV, A+) และ POISONS OR THE WORLD HISTORY OF POISONING (2001, KAREN SHAKHNAZAROV, A) ตรงที่ทั้งสามเรื่องนี้ถ่ายภาพสวยมาก แต่ต่างกันตรงที่ A RIDER NAMED DEATH เล่าเรื่อง 1 เรื่อง แต่หนังอีก 2 เรื่องของ KAREN SHAKHNAZAROV ประกอบด้วยเรื่องราวย่อยๆมากมายหลายเรื่อง
--ดู A RIDER NAMED DEATH แล้วรู้สึกว่ารัสเซียเป็น LAND OF SORROW เพราะหนังที่ประทับใจหลายเรื่องจากรัสเซีย นำเสนอภาพเหตุการณ์น่าเศร้าในประเทศนี้ ภาพพจน์ของรัสเซียในภาพยนตร์ แทบไม่เคยเป็นประเทศที่ “เต็มไปด้วยความสุขสนุกสนาน”
ตัวอย่างหนังที่น่าสนใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์รัสเซีย
1.A RIDER NAMED DEATH เกี่ยวกับการก่อการร้ายในรัสเซียช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20
2.MOTHER (1926, VSEVOLOD PUDOVKIN, A) เกี่ยวกับความทุกข์ยากของชาวบ้านรัสเซียเมื่อราว 100 ปีก่อน สร้างจากนิยายของ MAXIM GORKY
http://www.imdb.com/title/tt0017128/
http://images.amazon.com/images/P/630521123X.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
3.ANASTASIA – THE MYSTERY OF ANNA (1986, MARVIN J. CHOMSKY, A-) นำแสดงโดย AMY IRVING และมีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวกับการฆ่าล้างราชวงศ์โรมานอฟ
http://www.imdb.com/title/tt0090638/
4.COME AND SEE (1985, ELEM KLIMOV, A+)
เกี่ยวกับการที่นาซีสังหารโหดชาวบ้านในสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
5.ASCENT (1976, LARISA SHEPITKO)
http://www.imdb.com/title/tt0075404/
ในชีวิตคนเราหลายๆครั้ง เราไม่ได้มีทางเลือกระหว่าง “ดี” กับ “ชั่ว” หรือ “ถูก” กับ “ผิด” แต่มีทางเลือกระหว่าง “ชั่ว” กับ “ชั่ว” และ “ผิด” กับ “ผิด”
ถ้าหากคุณต้องเลือกระหว่าง “ฮิตเลอร์” กับ “สตาลิน” คุณจะเลือกใคร
6.THE CRANES ARE FLYING (1957, MIKHAIL KALATOZOV, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0050634/
เกี่ยวกับชีวิตชาวบ้านรัสเซียในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และหญิงสาวคนนึงที่เฝ้ารอสามีที่ไปรบในสงคราม เหมาะดูควบกับ A VERY LONG ENGAGEMENT (A+)
7.THE LAST BOLSHEVIK (1992, CHRIS MARKER)
หนังสารคดีเกี่ยวกับ ALEKSANDR MEDVEDKIN ผู้กำกับภาพยนตร์ในรัสเซียและสิ่งที่เขาต้องจำทนในยุคของสตาลิน
http://www.imdb.com/title/tt0105618/
8.THE SWIMMER (1981, IRAKLI KVIRIKADZE, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0083147/
หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องราวของผู้ชาย 3 ชั่วอายุคน แต่ช่วงที่สองที่เกี่ยวกับยุคสตาลินเป็นช่วงที่สะเทือนใจมาก
9.EAST/WEST ชีวิตคนหลังม่านเหล็ก
(1999, REGIS WARGNIER, A)
http://www.imdb.com/title/tt0181530/
10.PRIPYAT (1999, NIKOLAUS GEYRHALTER)
http://bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=2187
หลังจากหมดยุคสตาลินไปแล้ว โซเวียตก็เจอกับเรื่องเศร้าอีกครั้งกับอุบัติเหตุที่เชอร์โนบิล
11.A PLACE ON EARTH (2001, ARTOUR ARISTAKISIAN, A+)
ถึงแม้สหภาพโซเวียตจะล่มสลายไปแล้ว ชีวิตประชาชนบางคนก็ยังคงบัดซบอยู่เหมือนเดิม
12.LILYA 4-EVER (2002, LUKAS MOODYSSON, B+)
ชีวิตบัดซบในรัสเซีย
13.MY STEP BROTHER FRANKENSTEIN (2004, VALERI TODOROVSKY, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0416040/
หลังสิ้นยุคโซเวียต ปัญหาใหญ่ของรัสเซียก็คือเชชเนีย
14.THREE ROOMS OF MELANCHOLIA (2004, PIRJO HONKASALO)
http://www.imdb.com/title/tt0424272/
หนังสารคดีเกี่ยวกับปัญหาเชชเนีย
ความรู้สึกที่มีต่อ MADAME X – AN ABSOLUTE RULER
*****มี SPOILERS*****
เนื่องจากตอนนี้ดึกแล้ว ก็เลยขอเขียนสั้นๆแล้วกันนะคะ
ตอนแรกรู้สึกแย่มากค่ะ เพราะว่า หนังเรื่องนี้ไม่มีซับไตเติล, ภาพไม่ชัด, เสียงไม่ชัด แต่พอดูไปเรื่อยๆ ก็รู้สึกชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆค่ะ มันเป็นหนังในแนวทางที่ดิฉันชอบมาก
เนื้อหาบางส่วนของเรื่องนี้ทำให้นึกถึง SINGING BEHIND SCREENS (2003, ERMANNO OLMI, A) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับโจรสลัดสาวในทะเลจีนเหมือนกัน
http://www.imdb.com/title/tt0327546/
ตัดสินใจไม่ถูกว่าตัวละครตัวไหนแรงที่สุดในเรื่อง ตัวละครแต่ละตัวรู้สึกจะมีอาวุธไม่ซ้ำกัน ตัวละครที่น่าสนใจในเรื่องนี้ก็รวมถึง
1.MADAME X
ฉากของเธอที่ชอบมากคือฉากที่เธอใส่เครื่องแต่งตัวที่ปิดอวัยวะที่ไม่สำคัญ แต่เปิดเผยอวัยวะสำคัญทั้งหมด
2.แม่ย่านางเรือ
ฉากของเธอที่ชอบมากคือฉากที่นางแบบสาวพยายามจะฆ่าแม่ย่านางเรือ แต่กลับถูกแม่ย่านางเรือฆ่าซะเอง ดนตรีประกอบในฉากนี้ฮามาก
3.นางต้นห้อง หรือ สาวรับใช้คนสนิทของ MADAME X
เธอทำตาปะหลับปะเหลือกตลอดทั้งเรื่อง และก็ชอบรำดาบ แต่ในช่วงท้าย เธอทำให้ดิฉันช็อคถึง 3 ครั้งติดต่อกัน
ช็อคครั้งที่ 1—เธอร้องเพลง “อารีดัง” เป็นเวลานาน โดยกล้องไม่เขยื้อน
ช็อคครั้งที่ 2--เธอแทงปากตัวเองจนตาย
ช็อคครั้งที่ 3—เธอตายแล้ว แต่ยังกะพริบตาปริบๆ
4.สาวที่แต่งชุดเหมือนโรบินฮู้ด เธอได้รับสารจาก MADAME X ผ่านทางหนังสือพิมพ์ และเดินเท้า+จูงสุนัขมาขึ้นเรือ
5.สาวสเก็ต ที่ได้รับสารผ่านทางใบปลิว และมาขึ้นเรือโดยใช้สเก็ต พร้อมกับให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวระหว่างทาง คนที่เล่นบทนี้คือ YVONNE RAINER ซึ่งเป็นผู้กำกับหนังชื่อดัง
6.สาวแม่บ้าน ที่ขี่จักรยานพร้อมเสบียงกรังมาขึ้นเรือ เธอชอบทำตาถลนเหมือนจะหลุดจากเบ้า ฉากของเธอที่ชอบมากคือฉากที่เธอด่ากับเกย์ขณะจะแย่งกลาสีหนุ่มกัน โดยเธอด่าอะไรไม่รู้เป็นภาษาเยอรมัน แต่ด่าซ้ำอยู่ประโยคเดียว ดิฉันฟังไม่ออก แต่รู้สึกว่ามันฮามาก เพราะเธอมีการเน้นเสียงหนักเบาในประโยคอย่างรุนแรงมาก
7.สาวนางแบบ ที่รู้สึกว่าจะได้รับสารผ่านทางโทรศัพท์ เธอนั่งรถยนต์หรูหรามาขึ้นเรือ
ฉากของเธอที่ฮาที่สุด คือฉากที่เธอสะบัดผมอย่างรุนแรงมาก และหนังก็เล่าเนื้อเรื่องของตัวละครคนอื่นๆไปประมาณ 15 นาที หลังจากนั้นหนังก็ตัดภาพมาให้เห็นว่าเธอยังคงสะบัดหัวไม่หยุดอยู่เหมือนเดิม
8.สาวจิตแพทย์ ที่ได้รับสารผ่านทางกระดาษของคนไข้ เธอนั่ง “รถที่ใช้คนลาก” มาขึ้นเรือ
เธอชอบทำปากบิดเบี้ยว ฉากของเธอที่ชอบมากคือฉากที่เธอสอบถามเกย์ แล้วเกย์ก็ร้องตัวโน้ตเป็นการตอบคำถาม
9.สาวนักบิน ที่มาขึ้นเรือโดยใช้เครื่องบินเป็นยานพาหนะ เธอมีผมสีแดงกลางหัว และมีหมวกหมุนๆที่เก๋ไก๋มาก ฉากของเธอที่ชอบมากคือฉากที่เธอยืนจ้องหน้า MADAME X ในช่วงท้ายๆเรื่อง
10.สาวชาวเกาะ
11.เจ้าแม่ของเรืออีกลำหนึ่ง ที่แต่งชุดคล้ายๆห่มสไบ
12.เกย์ที่หลงมาขึ้นเรือนี้ ฉากเปิดตัวของเธอเป็นฉากที่ไม่ต้องการคำบรรยายใดๆอีกต่อไป
13.ORLANDO รับบทโดย ULRIKE OTTINGER รู้สึกว่าเธอจะโผล่มาแค่แป๊บนึง โดยรับบทเป็นผู้หญิงที่นั่งอยู่กับ MADAME X แล้วก็จมน้ำหายไป
รู้สึกว่าเกือบทุกฉากใน MADAME X – AN ABSOLUTE RULER เป็นฉากคลาสสิคที่โดนใจดิฉันอย่างสุดๆ สิ่งที่ชอบในหนังเรื่องนี้รวมถึง
1.การนำเสนออินเดีย โดยไม่ต้องไปถ่ายที่อินเดีย แค่เปิดเพลงอินเดียกับหาโยคีมานั่ง 1 คนก็พอแล้ว
2.ดนตรีประกอบ ที่ฮาสุดๆ ไม่รู้คิดขึ้นมาได้ยังไง
3.การที่ตัวละครบนเรือนี้แทบไม่ได้สื่อสารกันด้วยภาษามนุษย์
4.ฉากทุกคนก้าวขึ้นเรือในตอนท้าย แล้วต้องมีเสียงโห่ฮิ้วต้อนรับเวลาแต่ละคนแปะนิ้วบนเรือ
5.ฉาก “กินปลา” ที่ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นอีกแล้ว แถมปลายังกลับสู่สภาพเดิมได้อีกต่างหาก
6.ฉากที่ผู้โดยสารแต่ละคน เดินซุบซิบนินทาแบบหมุนวนกันไปเรื่อยๆในช่วงต้นเรื่อง
7.ฉากที่ผู้โดยสารแต่ละคน เดินโชว์ตัวทีละคนในช่วงกลางเรื่อง
8.ถ้าหากมีคนบอกว่านักแสดงทุกคนในเรื่องนี้เป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลบ้า ดิฉันจะไม่ประหลาดใจเลย
9.มีบางช่วงที่ตัวละครพูดเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้เข้าใจอะไรขึ้นมา โดยเฉพาะฉากบนเรือหรูหรา ที่มีตัวละครพูดซ้ำไปซ้ำมาว่า “How about that?”
10.อยากให้ขบวนตัวละครของ JOHN WATERS มาปะทะกับขบวน MADAME X มากๆ
11.รู้สึกว่าหลายๆฉากในหนังเรื่องนี้ ถ้าหากตัดไปใส่ในหนังเรื่องอื่น มันจะกลายเป็นฉากที่รุนแรงที่สุดในหนังเรื่องนั้น
ตอนช่วงแรกๆที่ดิฉันได้ดูหนังเยอรมันเมื่อ 10 ปีก่อน ดิฉันได้ดูหนังของ FASSBINDER, WIM WENDERS, WERNER HERZOG ดิฉันก็รู้สึกว่าหนังเยอรมันมีความน่าสนใจมาก แต่อาจจะน้อยกว่าหนังฝรั่งเศสหน่อยนึง
แต่ในปี 2001 ดิฉันได้ดูหนังของ OTTINGER, WERNER SCHROETER, HERBERT ACHTERNBUSCH, HANS-JURGEN SYBERBERG ดิฉันก็เลยกรี๊ดสลบ และรู้สึกว่าหนังเยอรมัน “ถูกโฉลก” กับดิฉันมากที่สุดในโลก มากพอๆกับหนังฝรั่งเศสของ MARGUERITE DURAS, ALAIN ROBBE-GRILLET และ JACQUES RIVETTE หนังของผู้กำกับเหล่านี้ทำให้ดิฉันรู้สึกว่าภาพยนตร์ “กว้างใหญ่” และ “ไร้ขีดจำกัด” กว่าที่คาดมากนัก และชีวิตก็ยังมีอะไรให้น่าค้นหาต่อไป
การได้ดู MADAME X – AN ABSOLUTE RULER ในวันที่ 15 ต.ค. ส่งผลให้วันเสาร์ที่ผ่านมาเป็นหนึ่งในวันที่ดิฉันมีความสุขที่สุดในปีนี้ค่ะ
หนังที่อาจเหมาะดูควบกับ MADAME X – AN ABSOLUTE RULER
1.WOMEN IN REVOLT (1971, PAUL MORRISSEY, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0129631/
2.DEATH OF MARIA MALIBRAN (WERNER SCHROETER, A+)
หนังเรื่องนี้จับต้นชนปลายอะไรไม่ถูก และเต็มไปด้วยตัวละครโพสท่า, ทำหน้าทำตา+ร้องเพลงกันตลอดทั้งเรื่อง
3.THE HEART’S ROOT (2000, PAULO ROCHA, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0189960/
หนังโปรตุเกสที่เพิ่งมาฉายในเทศกาลยุโรปปีนี้ หนังมีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มกะเทยปฏิวัติ
FAVORITE ACTOR
ANDREI PANIN—A RIDER NAMED DEATH
FAVORITE SUPPORTING ACTOR
ARTEM SEMAKIN—A RIDER NAMED DEATH
FAVORITE ENSEMBLE ACTING
MADAME X – AN ABSOLUTE RULER
FAVORITE EDITING
MADAME X – AN ABSOLUTE RULER
FAVORITE COSTUME DESIGN
MADAME X – AN ABSOLUTE RULER
FAVORITE MAKEUP
MADAME X – AN ABSOLUTE RULER
ตอบน้อง merveillesxx
จริงๆแล้วทักษะด้านการฟังภาษาอังกฤษของดิฉันแย่มากๆค่ะ ดิฉันถนัดแต่การอ่านภาษาอังกฤษเท่านั้น ตอนที่ดิฉันคุยกับ OTTINGER ดิฉันก็ไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะว่าดิฉันฟังถูกหมดหรือเปล่า ถ้าฟังผิดก็ต้องขออภัยด้วย
รู้สึกว่า ULRIKE OTTINGER กะจะทำหนังใหม่อยู่ 2 เรื่องค่ะ เรื่องนึงเป็น FICTION ที่ใช้ฉากหลังเป็นนิวยอร์ค เป็นเรื่องที่เธอตั้งใจจะสร้างมานานแล้วตั้งแต่ทศวรรษ 1990 แต่หาทุนไม่ได้ในตอนนั้น แต่ตอนนี้คงหาทุนได้แล้ว
ส่วนเรื่องที่สองเป็นหนังสารคดีเกี่ยวกับสถานที่ที่น่าสนใจบางที่ในกรุงเวียนนา รู้สึกว่าหนังเรื่องอื่นๆของ OTTINGER จะนำเสนอ “สถานที่” ได้อย่างน่าสนใจเหมือนกัน
หนังเรื่อง TICKET OF NO RETURN (A+) มีการใช้สีที่น่าสนใจมาก ถ้าใครได้ดูหนังเรื่องนี้ก็ให้สังเกตการใช้สีให้ดี
รู้สึกว่า OTTINGER เคยตั้งใจจะให้ RAINER WERNER FASSBINDER แสดงในภาพยนตร์ของเธอด้วย ไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่อง FREAK ORLANDO หรือเปล่า แต่พอดี FASSBINDER ต้องกำกับหนังของตัวเองพอดี ก็เลยไม่มีเวลามาเล่นหนังให้เธอ แล้วหลังจากนั้น FASSBINDER ก็ตาย
ประเด็นที่อยู่ในหนัง MADAME X – AN ABSOLUTE RULER อาจจะไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับยุคปัจจุบันแล้ว เพราะหนังเรื่องนี้อาจจะเกี่ยวกับปัญหาของ FEMINISM ในยุคทศวรรษ 1970 แต่ถึงแม้ “CONTENT” ของหนังเรื่องนี้อาจจะไม่เกี่ยวกับชีวิตเราในปัจจุบัน “FORM” ของหนังเรื่องนี้ก็ยังคงน่าสนใจมากๆอยู่ดี
ถ้าหากต้องตั้งชื่อเรื่องใหม่ให้กับ MADAME X – AN ABSOLUTE RULER หนังเรื่องนี้อาจตั้งชื่อใหม่ว่า “สติแตกสุดขั้วโลก” หรือ “นี่หรือ...มนุษย์? นี่หรือ...ภาพยนตร์”
ขอแถมท้ายด้วยภาพจากมิวสิควิดีโอ BEDTIME STORY
ภาพ TWO FRIDAS ของ FRIDA KAHLO
http://www.csulb.edu/~karenk/20thcwebsite/438final/ah438fin-ImageF.00059.jpeg
MUSIC VIDEO “BEDTIME STORY” ของ MADONNA
http://www.madonna-online.ch/m-online/videography/b-story/pix/bedtime-story_062.jpg
http://www.madonna-online.ch/m-online/videography/b-story/video-main.htm
อยากดู DOMINO มากๆเหมือนกันค่ะ
อันนี้ไม่เกี่ยวกับหนังเรื่อง DOMINO แต่พอเห็นชื่อหนังเรื่องนี้ ก็เลยนึกถึงมิวสิควิดีโอเพลง DOMINO DANCING ของ PET SHOP BOYS ที่ใช้นายแบบหล่อน่ารักมาเล่น
http://www.petshopboys.net/html/galleries/1h.shtml
Sunday, October 16, 2005
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
2 comments:
Thank for ANASTASIA – THE MYSTERY OF ANNA (1986, MARVIN J. CHOMSKY, A-).
And you know what, I just found out a couple minutes ago that someone uploaded scenes from my all time favorite Chomsky film Good Luck, Miss Wyckoff (1979).
Anne Heywood Good Luck Miss Wyckoff.mp4
http://www.youtube.com/watch?v=T03Wq96iphk
This film is really hard to find. I came across it at a local video rental on Long Island, since then I've never had any chance to watch it after I moved back to New Jersey.
I used to walk around NYC, checked out all video stores in Downtown just to look for this film and none of them had it, not even Kim's video. Finally there a good guy come to save me from this burning desire after so many years ... har har.
The content in that scene is quite evil I know, but I have to admit that I used to fantasize about something similar when I was in my teen, to screw my school teacher and subjugate her into my secret partner. Unfortunately it's never happen.
Give me another chance to be fourteen just once more, I will never again suppress my own natural desire and keep my behavior in control just to satisfy my parent's social status in that stinky town where in live, to be uptight just like them and slowly become a harmless impotent.
This film is very interesting. The scene is really strong and very controversial. Thank you very much for telling me about this film. It is made in 1979. I wonder why there seem to be a few films made during that time that portray graphic violence towards women/gays, such as I SPIT ON YOUR GRAVE (1978, Meir Zarchi), TO BE TWENTY (1978, Fernando Di Leo), and THE PLACE WITHOUT LIMITS (1978, Arturo Ripstein. Maybe it is just a coincidence.
Post a Comment