Monday, October 17, 2005

DORIAN GRAY IN THE MIRROR OF THE YELLOW PRESS (A+)

เพลงของ NATACHA ATLAS เคยถูกใช้ประกอบภาพยนตร์ปาเลสไตน์เรื่อง DIVINE INTERVENTION (ELIA SULEIMAN, A+) ด้วยค่ะ เป็นเพลง I PUT A SPELL ON YOU ถ้าจำไม่ผิด เพลงนี้ถูกใช้ประกอบในฉากที่ทรงพลังมากๆ เป็นฉากที่พระเอก (ELIA SULEIMAN) ซึ่งใส่แว่นตาดำและนั่งอยู่ในรถที่ติดไฟแดง หันหน้ามามองผู้ชายที่ขับรถคันข้างๆ และผู้ชายคนนั้นมี “แววตา” ที่แสดงถึงความเข้าอกเข้าใจอะไรบางอย่าง มันเป็น “แววตา” ที่บาดใจมากๆ

รู้สึกเหมือนคุณเก้าอี้มีพนักเหมือนกันค่ะว่า ทั้ง MADAME X กับ SINGING BEHIND SCREENS น่าจะมีอะไรบางอย่างเกี่ยวข้องกัน อย่างเช่นอาจจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากตำนานเดียวกัน

จุดนึงที่น่าสนใจใน MADAME X – AN ABSOLUTE RULER ก็คือเรื่องของเลสเบี้ยนและ “อำนาจ” เพราะพอคิดไปคิดมา ก็พบว่ามีหนังเลสเบี้ยนเรื่องอื่นๆที่นำเสนอประเด็นเรื่อง”อำนาจเหนือผู้อื่น” เช่นกัน ซึ่งรวมถึงเรื่อง

1.PEPI, LUCI, BOM (1980, PEDRO ALMODOVAR, A+) นี่คือหนังของ ALMODOVAR ที่ดิฉันชอบมากที่สุดค่ะ
http://www.imdb.com/title/tt0081323/

2.THE BITTER TEARS OF PETRA VON KANT (1972, RAINER WERNER FASSBINDER, A)
http://www.imdb.com/title/tt0068278/

3.LES BICHES (1968, CLAUDE CHABROL, A)
http://www.imdb.com/title/tt0062728/


หนังที่ได้ดูในวันนี้

1.DORIAN GRAY IN THE MIRROR OF THE YELLOW PRESS (1981, ULRIKE OTTINGER, A+) ถึงแม้ความรู้สึกที่มีต่อหนังจะอยู่ในระดับ A+ แต่ความรู้สึกที่มีต่อเทศกาลภาพยนตร์นี้อยู่ในระดับแย่มาก
http://www.wmm.com/catalog/pages/c422.htm


2.CASE FOR THE NEW HANGMAN (1969, PAVEL JURACEK, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0064843/usercomments
http://www.cinematheque.bc.ca/JulyAugust04/Juracek.html

3.CUL-DE-SAC (1966, ROMAN POLANSKI, A+/A)
http://www.sensesofcinema.com/contents/cteq/05/34/cul_de_sac.html

4.IT’S ALL GONE PETE TONG (2004, MICHAEL DOWSE, A+A)


วันนี้รู้สึกโกรธทางเทศกาลภาพยนตร์อย่างรุนแรงค่ะที่ไม่ยอมบอกล่วงหน้าว่า “DORIAN GRAY IN THE MIRROR OF THE YELLOW PRESS” (ULRIKE OTTINGER) ไม่มีซับไตเติล เพราะรู้สึกว่าทางเทศกาลน่าจะเช็คตั้งแต่เมื่อวานนี้แล้ว แต่ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร ถึงไม่ยอมเช็ค รู้สึกแย่กับทางเทศกาลมากๆ

อย่างไรก็ดี ชอบ DORIAN GRAY IN THE MIRROR OF THE YELLOW PRESS ในระดับ A+ ค่ะ ถึงแม้จะฟังภาษาเยอรมันไม่ออกเลยก็ตาม เพราะมันเพ้อเจ้อในแบบที่ถูกใจดิฉันมากๆ

ขณะที่ดูหนังเรื่องนี้ ต้องพยายามกดข่มความโกรธของตัวเองเอาไว้ในช่วงแรกๆของเรื่อง ช่วงแรกๆรู้สึกโมโหทางเทศกาลมาก จนทำให้รู้สึกไม่ค่อยมีความสุขกับการดูหนังเท่าไหร่

ความรู้สึกโกรธหายไปก็ต่อเมื่อหนังดำเนินมาถึงช่วง “งานเลี้ยงหนังสือพิมพ์” ที่มีผู้หญิง 3 คนมาร้องโอเปร่าที่สุดแสนจะบรรยาย หลังจากได้ฟังการร้องเพลงของผู้หญิง 3 คนนี้แล้ว ก็เลยลืมความโกรธไปเลย

อยากดูฉากร้องเพลงฉากนี้อีกรอบอย่างมากๆ อยากให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการผลิตขายในรูปแบบดีวีดี วันไหนรู้สึกหดหู่ จะได้ดูดีวีดีฉากร้องเพลงฉากนี้ จะได้ลืมความหดหู่ไปได้ชั่วขณะ

ถ้าเข้าใจไม่ผิด สามสาวที่มาร้องเพลงในฉากนี้คือ Else Nabu +Yasuko Nagata +Marianne Langfeldt

ตอนนี้ฉากร้องเพลงฉากนี้ติดหนึ่งในฉากที่ชอบที่สุดในปีนี้อย่างแน่นอน

ได้แต่หวังว่าหนังอีก 4 เรื่องที่เหลือของ ULRIKET OTTINGER จะมีซับไตเติล หรือถ้าไม่มีซับไตเติล ทางเทศกาลก็ควรจะประกาศล่วงหน้า

สิ่งที่ชอบใน DORIAN GRAY IN THE MIRROR OF THE YELLOW PRESS

1.เครื่องแต่งกาย, การแต่งหน้า, ดนตรีประกอบ และการแสดงในหนังของ OTTINGER เรื่องนี้ยังคงเริ่ดสุดๆเหมือนเดิม

2.ชอบสามสาวลูกสมุนเจ้าแม่ในเรื่องนี้มาก สามสาวนี้ประกอบด้วย

2.1 SUSY รับบทโดย BARBARA VALENTIN

2.2 GOLEM รับบทโดย MAGDALENA MONTEZUMA ซึ่งเคยนำแสดงในภาพยนตร์เรื่อง THE DEATH OF MARIA MALIBRAN (WERNER SCHROETER, A+)

ส่วนชื่อ “GOLEM” นั้นเข้าใจว่ามาจากตำนานโบราณเกี่ยวกับรูปปั้นดินเหนียวที่คอยปกป้องชาวยิว ตำนานนี้เคยได้รับการดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์ยุคโบราณของเยอรมนี และเคยถูกนำไปใช้ในละครทีวีชุด THE X-FILES ตอนนึงด้วย

อ่านตำนาน GOLEM ได้ที่
http://www.ced.appstate.edu/projects/fifthd/legend.html

ข้อมูลเกี่ยวกับดีวีดีภาพยนตร์เรื่อง THE GOLEM (1921, PAUL WEGENER, B+)
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B00006L90Y/qid=1129477558/sr=1-1/ref=sr_1_1/002-8966376-1218446?v=glance&s=dvd

http://images.amazon.com/images/P/B00006L90Y.01._SCLZZZZZZZ_.jpg


2.3 PASSAT รับบทโดย IRM HERMANN ดาราหญิงคู่บุญของฟาสบินเดอร์ ชอบคิ้วที่หงิกงอของเธอในหนังเรื่องนี้มาก ฉากเด่นของเธอในเรื่องนี้คือฉากที่เธอเสิร์ฟอาหารให้เจ้าแม่และคอยถามว่า “AMERICAN BREAKFAST OR CONTINENTAL BREAKFAST”

ถ้าจำไม่ผิด ในภาพยนตร์เรื่อง TICKET OF NO RETURN ก็จะมีตัวละครประกอบ “สามสาว” เช่นกัน โดยเป็นสามสาวที่มีระดับความฮาอยู่ในขั้นสูงกว่า “สามสาวลูกสมุนเจ้าแม่ใน DORIAN GRAY” แต่มีระดับความฮาต่ำกว่า “สามสาวโอเปร่างานเลี้ยงหนังสือพิมพ์ใน DORIAN GRAY”

สามสาวใน TICKET OF NO RETURN จะเป็นสามสาวที่คอยแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นต่างๆ โดยแต่ละคนจะแสดงความคิดเห็นในแบบที่แตกต่างกันไปตาม “ชื่อ” ของแต่ละคน

สามสาวตัวประกอบใน TICKET OF NO RETURN ประกอบด้วย

2.4 “SOCIAL QUESTION” รับบทโดย MAGDALENA MONTEZUMA เธอจะแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นต่างๆโดยยึดแง่มุมทางสังคมเป็นหลัก

2.5 “EXACT STATISTICS” รับบทโดย ORPHA TERMIN เมื่อเธอได้ยิน “หัวข้อ” อะไรก็ตาม เธอก็จะพร่ำพรรณนาถึง “ตัวเลขสถิติ” เกี่ยวกับประเด็นนั้น

2.6 “COMMON SENSE” รับบทโดย MONIKA VON CUBE ชื่อของตัวละครคงบอกอยู่แล้วว่าตัวละครตัวนี้จะพร่ำพูดอะไรออกมา


3.หนังเรื่องนี้มีส่วนที่พูดถึงการไต่สวนในศาลศาสนาด้วย (ช่วงที่เป็นโอเปร่าริมโขดหินผา) ซึ่งไปพ้องกับหนังเรื่อง THE BRIDGE OF SAN LUIS REY (2004, B-) ที่เพิ่งเข้ามาฉายในไทยเหมือนกัน

ส่วนหนังเกี่ยวกับศาลศาสนาที่ดูแล้วประทับใจ ก็รวมถึงเรื่อง THE PIT AND THE PENDULUM (1990, STUART GORDON, B) ที่นำแสดงโดย JONATHAN FULLER และดัดแปลงจากบทประพันธ์ของ EDGAR ALLAN POE

ข้อมูลเกี่ยวกับ THE PIT AND THE PENDULUM
http://www.imdb.com/title/tt0100369/

ข้อมูลเกี่ยวกับ STUART GORDON ผู้กำกับ RE-ANIMATOR + THE PIT AND THE PENDULUM
http://www.imdb.com/name/nm0002340/


4.ฉาก DORIAN GRAY ฆ่าคนในงานประชุม ดูแล้วนึกถึงฉากลูซี่ หลิวฆ่าคนในงานประชุมใน KILL BILL

5.จุดนึงที่ชอบมากๆในหนังเรื่องนี้ ก็คือตัดสินใจไม่ได้ว่า ตัวประกอบตัวไหน “แรงที่สุด” ในเรื่อง เพราะพอเจอตัวประกอบที่คิดว่าแรงสุดๆแล้ว ฉากถัดมาก็จะมีตัวประกอบที่แรงยิ่งขึ้นไปอีก

ตัวประกอบที่ประทับใจในเรื่องนี้ รวมถึง

5.1 สาวอ้วนที่พยายามใช้เสียงร้องของเธอเปิดประตูโรงรถ, แต่งหน้าในตู้โทรศัพท์ และเล่นจักรยานน้ำ

5.2 สองสาวฝาแฝดตัวติดกันที่ชอบร่ายรำ

5.3 ผู้ชายที่พูด “ขอบคุณ” เวลามีคนมาปัสสาวะรดใส่

5.4 หญิงที่มีอาการเหมือนถูกผีเข้าและใช้มีดแทงตุ๊กตาวูดู

5.5 เจ้าแม่อะไรสักอย่างที่กรีดร้องสุดเสียงเวลาผู้หญิงถูกผีเข้า

5.6 คนที่มาวิ่งจ๊อกกิ้งในงานศพ

5.7 “ไก่” ที่มาร่วมประชุม

5.8 “แพะ” หรือตัวอะไรสักอย่างที่ทำเสียงน่ากลัวมากที่อยู่กับผู้ชายที่ชอบถูกฉี่ใส่

5.9 ผู้ชายแก่สามคนที่มายืนเปลือยกาย เพื่อนที่ดูหนังเรื่องนี้ตั้งข้อสังเกตว่าผู้ชาย 3 คนนี้อาจจะเป็นคนกลุ่มเดียวกับที่นอนเปลือยกายอยู่บน “เตาบาร์บีคิว” หรือเตาอะไรสักอย่างในฉากก่อนๆหน้านั้น

5.10 พนักงานโรงระบำเปลือย ที่ดูไม่จืดทั้งผู้หญิงที่เปลือย และยามรักษาความปลอดภัยชายที่ใส่กางเกงในตัวเดียว+หน้ากาก

5.11 ขันทีจีนที่มีชื่อว่า “ฮอลลีวู้ด”


6.ฉากกินอาหารจีนก็ฮามาก

7.เพื่อนตั้งข้อสังเกตว่ายุคนั้นโทรศัพท์มือถือคงไม่ค่อยแพร่หลาย เจ้าแม่ในเรื่องเลยต้องมีอุปกรณ์สื่อสารที่เก๋ไก๋คล้ายๆเสาอากาศเวลาสื่อสารกับลูกสมุนของตัวเอง

8.รู้สึกว่าทั้ง MADAME X – AN ABSOLUTE RULER และ DORIAN GRAY IN THE MIRROR OF THE YELLOW PRESS มีอะไรบางอย่างที่ทำให้นึกถึงยุคปัจจุบัน ถึงแม้เป็นหนังที่สร้างเมื่อ 25-30 ปีมาแล้ว

8.1 MADAME X – AN ABSOLUTE RULER ทำให้นึกถึงยุคปัจจุบัน เพราะตอนนี้แองเจลา เมอร์เคล กำลังจะขึ้นมาเป็น “นายกรัฐมนตรีหญิง” คนแรกของเยอรมนี แต่ที่แน่ๆก็คือว่า นายกหญิงคนนี้ไม่ได้นำมาซึ่ง “เสรีภาพ” แถมเธอยังเป็นผู้นำฝ่ายอนุรักษ์นิยมของเยอรมนีอีกด้วย

8.2 DORIAN GRAY IN THE MIRROR OF THE YELLOW PRESS ทำให้นึกถึงยุคปัจจุบันด้วยความบังเอิญ เพราะว่าก่อนหน้าฉายหนังเรื่องนี้ มีการฉายโฆษณานิตยสาร GURU ซึ่งในโฆษณานี้ มีฉากพนักงานร้านอาหารใช้ “ไม้ตบยุง”

ในหนังเรื่อง DORIAN GRAY IN THE MIRROR OF THE YELLOW PRESS ก็มีฉากพนักงานชายสามคน หน้าตาคล้ายๆคนต่างชาติ นั่งหงอยเหงาอยู่หน้าร้านอะไรสักร้านนึง และทำอาการคล้ายๆใช้ไม้ตบยุงเหมือนกัน

ส่วนเรื่องประเด็นในหนังสองเรื่องนี้นั้น คิดไปคิดมาแล้ว ก็รู้สึกว่าอาจจะไม่ล้าสมัยเสียทีเดียว เพราะ MADAME X – AN ABSOLUTE RULER พูดถึงการเป็นอิสระจากกรอบจำกัดบางอย่าง แต่พอตัวละครในเรื่องเป็นอิสระจากกรอบอันนึง พวกเธอก็เข้าไปถูกกักขังอยู่ในกรอบอันใหม่อยู่ดี

ประเด็นนี้ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง PLEASANTVILLE เพราะตัวละครของรีส วิทเธอร์สปูน ทำตัวเหมือนช่วยปลดปล่อยเด็กๆวัยรุ่นในทศวรรษ 1950 ให้เป็นอิสระ แต่ตัวเธอเองกลับติดอยู่ในกรอบของทศวรรษ 1990 ไม่ได้เป็นตัวของตัวเองจริงๆเช่นเดียวกัน

ส่วน DORIAN GRAY IN THE MIRROR OF THE YELLOW PRESS นั้นทำให้นึกถึงเรื่องของ PAPARAZZI ในปัจจุบันนี้

นอกจาก DORIAN GRAY IN THE MIRROR OF THE YELLOW PRESS แล้ว หนังอีกเรื่องที่โจมตีสื่อมวลชนได้อย่างเจ็บแสบสุดๆ ก็คือ THE LOST HONOR OF KATHARINA BLUM (1975, VOLKER SCHLONDORFF + MARGARETHE VON TROTTA, A+) ที่สร้างจากนิยายของ HEINRICH BOLL ที่มีประโยคที่ดิฉันชอบมาก ซึ่งก็คือประโยคที่ว่า “ถ้าหากเหตุการณ์ในหนังเรื่องนี้ ไปพ้องกับพฤติกรรมของสื่อมวลชนท่านใด ก็ขอให้รู้ด้วยว่า มันไม่ได้เกิดจากความจงใจ แต่มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้”
http://www.imdb.com/title/tt0073858/

9.ฉากคนถูกรถชนในจังหวะสโลว์โมชั่น แต่หนังไม่ได้ใช้ “เทคนิคด้านภาพ” ในการทำให้เกิดจังหวะสโลว์โมชั่น แต่ใช้ “การแสดง” ในการสร้างความสโลว์โมชั่น

ในขณะที่ DORIAN GRAY IN THE MIRROR OF THE YELLOW PRESS มีการใช้ “นักแสดง” ในการสร้างภาพแบบสโลว์โมชั่น หนังเรื่อง CASE FOR A ROOKIE HANGMAN ก็มีการใช้ “นักแสดง” ในการสร้างภาพแบบหยุดนิ่ง แทนที่จะใช้เทคนิคด้านภาพในการทำให้ภาพหยุดนิ่งไปเลย ผลที่ได้ก็คือความรู้สึกฮา ที่คนจำนวนมากในฉาก พยายามทำตัวนิ่งๆ แต่สัตว์ที่เข้ามาอยู่ในฉากกลับขยับเขยื้อนร่างกายตามใจชอบ


ความรู้สึกที่มีต่อ CASE FOR A ROOKIE HANGMAN

นี่คือหนังที่เซอร์ไพรส์ที่สุดในงานนี้ เพราะไม่ได้คาดหวังอะไรกับหนังเรื่องนี้เลย แต่พอดูแล้วกลับรู้สึกชอบมาก

หนังเรื่องนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็นประมาณ 12 ตอน และตอนที่รุนแรงที่สุดคือตอนที่ 2 ที่มีชื่อว่า THE BALNIBARI’S TRAP เพราะการตัดต่อในช่วงนี้เป็นการตัดต่อที่ “สุดขีด”

จำรายละเอียดในตอนที่ 2 ไม่ได้ แต่พอจะกล่าวเปรียบเทียบได้ว่า ในตอนที่สองนั้น “ฉาก” ในเรื่องจะเปลี่ยนทุกๆ 5 วินาที ในทำนองที่ว่า “พระเอกเดินเข้าไปในตึกร้าง แต่อยู่ดีๆก็หล่นผลัวะลงไปในอาคารที่มีคนอยู่ แต่พอหันมาอีกทีก็พบว่าตัวเองอยู่ในโรงงานร้าง แต่พอเดินเลี้ยวไปอีกมุมนึงก็พบว่าตัวเองเหมือนอยู่ในโรงเรียนเก่า”

หนังเรื่องนี้ดัดแปลงมาจาก GULLIVER’S TRAVELS แต่องค์ประกอบในหนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึงอะไรอีกหลายๆอย่าง ซึ่งรวมถึง

1.ALICE IN WONDERLAND

2.FRANZ KAFKA

3.หนังของ ALAIN ROBBE-GRILLET

4.หนังเรื่อง FANDO & LIS (1967, ALEJANDRO JODOROWSKY, A+)
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B00005Y7WW/qid=1129481910/sr=1-1/ref=sr_1_1/002-8966376-1218446?v=glance&s=video


สิ่งที่ชอบมากๆใน CASE FOR A ROOKIE HANGMAN

1.พระเอกมักจะปิ๊งกับสาวผมทอง แต่มักจะตื่นนอนขึ้นมาแล้วพบว่าสาวผมดำนอนอยู่ข้างๆ

2.การส่งส่วยให้กับเมือง LAPUTA ที่ลอยอยู่ในอากาศ

3.การที่เมือง LAPUTA ทำให้แสงอาทิตย์ส่องลงมาบนพื้นโลกไม่ได้ในบางจุด

4.ประโยคบางประโยคเช่น

4.1 “เจ้าหญิงทรงรู้จักโรคโกโนเรียมั้ย”

4.2 “บางครั้งการตายคือสิ่งเดียวที่สามารถยืนยันได้ว่า เราเคยมีชีวิตอยู่จริงๆ”

4.3 พระเอกพยายามจะทำให้ตัวเองตื่นจากความฝัน แต่เจอคนที่เขียนป้ายบอกพระเอกว่า “นี่ไม่ใช่ความฝัน”

5.เด็กหญิงชื่อ MARKETA ที่ชอบเดินออกมาจากโบสถ์หรืออาคารอะไรสักอย่าง

6.ฉากเม็ดกลมๆอะไรสักอย่าง ที่ไม่ยอมอยู่นิ่ง ต้องกลิ้งหล่นอยู่เรื่อยๆ

7.ฉากพระเอกพยายามแงะเปลือกเมล็ดอะไรสักอย่าง แต่ทำให้โต๊ะแตกร้าวไปทั้งโต๊ะ

8.ฉากห้องของ THE GOVERNOR ที่คนเดินบนพื้นห้องไม่ได้ แต่ต้องเดินบน “หนังสือพิมพ์” ที่ปูไว้ที่พื้นห้อง

9.ฉาก “the door in the floor”


จำชื่อตอนใน CASE FOR A ROOKIE HANGMAN ไม่ค่อยได้ และก็เข้าไปดูไม่ทันตอนแรกด้วย เท่าที่พอจำชื่อได้ก็มี

--THE BALNIBARI TRAP

--THE ACADEMY OF INVENTION รู้สึกว่าในช่วงนี้ พระเอกของเรื่องกลายเป็น CASE STUDY ให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัย โดยมีการตั้งคำถามเช่น “นาฬิกาของพระเอกถือเป็นสิ่งที่ AGAINST GENERAL” หรือไม่

--THE HAND-OPERATED THINKING MACHINE

--THE PROTECTORS OF THE WELL
ช่วงนี้ฮามาก ที่มีคนจำนวนมากมาปิกนิกหรือชุมนุมกันใกล้แหล่งน้ำ และตอนหลังคนเหล่านี้ก็แย่งน้ำกันจนน้ำเหือดแห้งไปจนหมด

--THE MUNODI CIRCUS

--THE GOVERNOR

--THE DARKNESS OF BALNIBARI

--THE ISLAND IN THE SKY

--THE SILENCE OF BALNIBARI

--THE JOURNEY TO SOMEWHERE ELSE



ความรู้สึกที่มีต่อ IT’S ALL GONE PETE TONG

สิ่งที่ชอบในหนังเรื่องนี้รวมถึง

1.รู้สึกว่าอารมณ์บางช่วงทำให้นึกถึง CINDERELLA MAN (A-) แถมยังมีตัวละครที่ทำให้นึกถึง PAUL GIAMATTI อีกต่างหาก อย่างไรก็ดี รู้สึกชอบ IT’S ALL GONE PETE TONG มากกว่า

2.ดนตรีประกอบในเรื่องนี้ที่ถูกใจสุดๆ

3.ตัวละครตัวนึงมีความฝันที่ฮามากๆ

4.รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ไม่ได้มีอะไรที่สร้างสรรค์มากนัก แต่ก็ดูเพลินดี อย่างเช่นฉากปีศาจหมีติดยา ซึ่งก็ไม่ได้เป็นไอเดียที่น่าทึ่งมากนัก แต่ก็ดูฮาๆดี


FAVORITE ACTOR

1.PAUL KAYE—IT’S ALL GONE PETE TONG

2.LIONEL STANDER—CUL-DE-SAC

3.DONALD PLEASANCE—CUL-DE-SAC



FAVORITE ENDING THEME
NEED TO FEEL LOVED—REFLEKT FEATURING DELINE BASS—IT’S ALL GONE PETE TONG
http://www.imdb.com/title/tt0388139/soundtrack

อัลบัมซาวด์แทรค IT’S ALL GONE PETE TONG
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B00097HDOU/qid=1129483392/sr=8-2/ref=pd_bbs_2/002-8966376-1218446?v=glance&s=music&n=507846


อีกสองฉากที่ติดตาใน DORIAN GRAY IN THE MIRROR OF THE YELLOW PRESS ก็คือฉาก “ความฝันขณะสูบฝิ่นในท่อ” และฉาก “ระบำมีดโฮโมเซ็กชวล” (ฉากนี้ทำให้นึกถึง QUERELLE ของฟาสบินเดอร์)

คนทำดนตรีประกอบให้หนังเรื่องนี้คือ PEER RABEN ที่ทำดนตรีประกอบให้ “2046”

ประวัติการทำงานของ PEER RABEN
http://www.imdb.com/name/nm0006244/


อีกจุดนึงที่น่าสนใจในหนังเรื่องนี้ก็คือตัวละครจะพูดภาษาฝรั่งเศสสลับกับเยอรมัน โดยมีภาษาอังกฤษแทรกมาบ้าง และรู้สึกว่าจะมีประโยคภาษาสเปน (ตอนที่ชาวประมงนับปลา), ภาษาเกาหลีกับภาษาจีนหลุดมาด้วย

ชอบการเอา “เสาละครเวที” ไปตั้งตามสถานที่แปลกๆในหนังเรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน

ฉากความฝันขณะสูบฝิ่นทำให้นึกถึงหนังเรื่อง EDEN AND AFTER (A+) ของ ALAIN ROBBE-GRILLET

ทิวทัศน์เนินทรายในหนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึง THE CELL (A-) ของ TARSEM

การที่ DORIAN GRAY ถูกนำตัวไปทิ้งไว้กลางทะเลทราย ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง BEAU TRAVAIL (CLAIRE DENIS, A+)

No comments: