ขอต้อนรับน้องอาร์ทเข้าสู่ SCREENOUT ด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่งค่ะ
ตอบน้อง MATT
ชอบ “บัวแล้งน้ำ” มากๆเหมือนกันค่ะ โดยเฉพาะเพลงประกอบละครเรื่องนี้ที่ “ลูกศร” ร้องด้วยเสียงที่แหลนมากๆ
ชอบละครหลายเรื่องที่สร้างจากนิยายของโบตั๋น ซึ่งรวมถึงเรื่อง
1.บ้านสอยดาว เวอร์ชันมยุรา ธนะบุตร+อุทุมพร ศิลาพันธ์
2.ปลายฝนต้นหนาว
3.สุดแต่ใจจะไขว่คว้า (2532)
http://www.thaitv3.com/drama_old46/history/2532.html
ตอบคุณ CHRIS’S GIRLFRIEND
ฮือ ฮือ ฮือ หนูไม่เคยถูกลวนลามเลยค่ะ จะหนุ่มจะแก่ ก็ไม่เคยมีใครมาลวนลามหนูเลย แบบว่าหน้าหนูใช้เป็นยันตร์กันภัยหรือใช้เป็นอาวุธได้ดีมากๆค่ะ
ไม่ค่อยชอบบุคลิกของหมิวเหมือนกัน แต่ละครของเธอที่เคยดูอยู่พักนึง คือ “ตุ๊กตาเริงระบำ” ที่เธอต้องคอยตบตีกับแม่เลี้ยงตลอดเวลา ส่วนละครเรื่อง “ทรายสีเพลิง” ของเธอนั้น ไม่ได้ดู แต่ชอบเพลงประกอบละครเรื่องนี้มาก
วันนี้ขอเขียนสั้นๆเพราะพรุ่งนี้ต้องรีบออกไปดู BLACK PETER ตอน 11.00 น. ไม่อยากไปสายเหมือนคราว CASE FOR A ROOKIE HANGMAN อีก
--ดีใจมากค่ะที่คุณปุ่นชอบหนังของอุรุพงศ์ รักษาสัตย์ รู้สึกว่าหนังของเขามันมีเอกลักษณ์ดี และเหมือนกับมันมีความเป็นสารคดีแทรกอยู่ในหนังของเขาด้วย เพราะหนังของเขามันดูสมจริงมากๆ อย่างหนังเรื่อง “วันที่ยาวนาน” ดูจบแล้วก็สงสัยว่าหนังเรื่องนี้เกิดจากการเขียนบทล่วงหน้า, หรือว่าให้นักแสดงคิดบทเอง, หรือว่าด้นบทกันสดๆ หรือว่าสิ่งที่เราเห็นในหนังมี “เรื่องจริง” แทรกอยู่ด้วย
--ถ้าเข้าใจไม่ผิด รู้สึกว่าไฉ่มิ่งเหลียงผอมลงกว่าเดิมมาก ไม่รู้เขาลดความอ้วนด้วยวิธีการอะไร
--ถ้าจำไม่ผิด ฉากจบของ “4” คือฉากที่หญิงชราคนนึงร้องเพลงด้วยอารมณ์สดใส
--เมื่อเร็วๆนี้ได้ดูหนังเรื่องนึงที่มีฉากเหมือนคนตีระฆังโบสถ์ แต่กลับไม่มีเสียงระฆังออกมา แต่นึกไม่ออกแล้วว่าฉากที่เห็นนี้มาจากหนังเรื่องอะไร
--อีกฉากนึงที่ชอบมาก แต่นึกไม่ออกว่ามาจากเรื่องอะไร คือฉากที่ตัวละครคนนึงไปพบจิตแพทย์ และมีคนไข้หลายคนรอจิตแพทย์คนนั้นอยู่ โดยหนึ่งในคนไข้ที่รออยู่เป็นผู้หญิงที่ผงกหัวอย่างรุนแรงมาก ไม่แน่ใจว่าฉากนี้มาจากเรื่อง THE IMP หรือเปล่า
ตอบน้อง merveillesxx
--เห็นน้อง merveillesxx พูดถึงชาร์ลี แชปลิน ก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่าหนังเรื่อง INNOCENCE ของ ZEKI DEMIRKUBUZ มีการพาดพิงถึงชาร์ลี แชปลินอย่างชัดเจน เพราะมีฉากที่พระเอกพาลูกสาวนางเอกเดินทางร่อนเร่ไปเรื่อยๆ และเดินผ่านโปสเตอร์รูปของชาร์ลี แชปลินกับเด็กพอดี
ดิฉันเองแทบไม่เคยดูหนังของชาร์ลี แชปลินเลย แต่เหมือนเคยได้ยินมาว่าหนังของเขาเป็นแนว “หัวเราะร่า น้ำตาริน” แต่หนังเรื่อง INNOCENCE ของ ZEKI DEMIRKUBUZ นี้ ไม่มีอะไรให้หัวเราะ มีแต่สิ่งที่น่าเศร้าและไร้ความหวัง แต่หนังก็ไม่เอื้อให้คนดูร้องไห้ด้วย ชีวิตของตัวละครใน INNOCENCE เป็นชีวิตที่อับจนหมดสิ้นหนทางมากๆ ตัวละครในเรื่องไม่พบทางออกใดๆในชีวิต ไปไหนไปไหนก็เจอแต่ทางตันตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง แต่น่าแปลกที่ดูแล้วกลับไม่รู้สึกอยากร้องไห้เลย
--ในหนังเรื่อง FREAK ORLANDO ดาราชายที่รับบทเป็นเทพเจ้าที่ยืนอยู่บนเสาสูง และมีหัวใจไฟกะพริบก่อนจะร่วงหล่นลงมาจากเสา มีชื่อว่า EDDIE CONSTANTINE (1917-1993) เขาเคยเล่นเป็นพระเอกหนังเรื่อง ALPHAVILLE (1965, JEAN-LUC GODARD, A)
http://www.imdb.com/name/nm0176061/
--ฉากที่ชอบมากใน THE IMP คือฉากที่คุณแม่เกิดอาการหลอน ให้บริการลูกค้าอย่างขยันขันแข็งสุดขีดทั้งๆที่ไม่มีลูกค้าในตอนนั้น
ตอบคุณเจ้าชายน้อย
--ขณะที่ดู FREAK ORLANDO ก็คิดถึงคุณเจ้าชายน้อยอยู่ตลอดเวลา เพราะรู้ว่าคุณเจ้าชายน้อยต้องกรี๊ดแตกแน่นอนกับหนังเรื่องนี้ มันบ้าจนฉุดไม่อยู่แล้ว
--ชอบ GEORGES FRANJU มากเหมือนกันค่ะ เคยดูหนังของเขาสองเรื่อง ซึ่งก็คือ EYES WITHOUT A FACE (1959, A-) กับ JUDEX (1963, A+) ชอบ JUDEX มากๆ เพราะหนังเรื่องนี้มีตัวละครนางอิจฉาที่เปรี้ยวเก๋เท่ห์สุดๆ ถ้าจำไม่ผิด มีฉากที่นางอิจฉาปลอมตัวเป็นแม่ชี แต่พอเธอถอดชุดแม่ชีออก แล้วก็พบว่าเธอใส่ชุดหนังรัดรูปราวกับ CATWOMAN ซ่อนไว้ภายใต้ชุดแม่ชีนั้น
ถ้าเป็นไปได้อยากให้มีการรีเมค JUDEX ใหม่เป็นหนังแนวกำลังภายในแบบ “สวยประหาร” ค่ะ เพราะหนังเรื่องนี้สามารถดัดแปลงให้มีฉากบู๊กำลังภายในของตัวละครหญิงได้ง่ายมาก
รู้สึกว่า GEORGES FRANJU จะได้รับการยกย่องว่าเป็นทายาททางภาพยนตร์ของ JEAN COCTEAU
นางเอกของ EYES WITHOUT A FACE คือ EDITH SCOB ซึ่งมีใบหน้าในวัยสาวดูคล้ายๆนางเอกการ์ตูนญี่ปุ่น และเธอก็ยังคงเล่นหนังฝรั่งเศสมากมายหลายเรื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งรวมถึงเรื่อง
http://www.imdb.com/name/nm0778568/
1.THAT DAY (2003, RAOUL RUIZ, A+)
2.BON VOYAGE (2003, JEAN-PAUL RAPPENEAU, A)
3.THE MAN ON THE TRAIN (2002, PATRICE LECONTE, A)
4.TIME REGAINED (1999, RAOUL RUIZ, A+)
5.VENUS BEAUTY INSTITUTE (1999, TONIE MARSHALL, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0174330/
--BELLE DE JOUR (A+) เป็นหนังที่ชอบสุดๆเลยค่ะ มีสิ่งที่ชอบมากๆในเรื่องนี้หลายอย่าง อย่างเช่น
1.ฉากนางเอกถูกมัดติดกับต้นไม้ในช่วงกลางๆค่อนไปทางท้ายเรื่อง แล้วมีเสียงน้ำไหลอย่างรุนแรงในฉากนั้น ถึงแม้ในภาพที่เราเห็น ไม่มี “แหล่งน้ำ” ปรากฏอยู่ในฉากนั้นเลย เพื่อนที่ดูหนังเรื่องนี้ตั้งข้อสังเกตว่านางเอกรู้สึกผิดที่ไปขายตัว และในครั้งแรกๆเธอจะชำระตัวเองให้บริสุทธิ์ด้วยการอาบน้ำ แต่ในช่วงต่อๆมา น้ำหรือการชำระล้างตัวเองกลับปรากฏในรูปแบบอื่นๆแทน
2.ช่วงท้ายๆของเรื่องทำให้นึกถึง CONFESSION และ RESURRECTION
3.สามีนางเอกหล่อมาก และดูบริสุทธิ์มากๆ
4.ส่วนบท MICHEL PICCOLI ในเรื่องนี้ทำให้นึกถึงปีศาจที่ชอบมายั่วยุผู้คนให้หลงผิด และทำให้นึกถึงบทของ AL PACINO ใน THE DEVIL’S ADVOCATE (A+)
--ถ้าคุณเจ้าชายน้อยติดใจ DELPHINE SEYRIG จาก DORIAN GRAY IN THE MIRROR OF THE YELLOW PRESS กับ DAUGHTERS OF DARKNESS ขอแนะนำให้คุณเจ้าชายน้อยหาหนังเรื่อง THE DISCREET CHARM OF THE BOURGEOISIE (LUIS BUNUEL, A+) มาดูค่ะ เพราะ DELPHINE SEYRIG เล่นหนังที่ฮาสุดๆเรื่องนี้ด้วย และเธอต้องปะทะกับดาราหญิงอีกสองคนในเรื่องนี้ ซึ่งก็คือ STEPHANE AUDRAN (ดาราขาประจำของ CLAUDE CHABROL) กับ BULLE OGIER (CELINE AND JULIE GO BOATING)
หนังที่ได้ดูในวันนี้
1.SMILES OF THE FIFTH NIGHT (2005, SONTHAYA SUBYEN, A+)
2.AND THE FIFTH HORSEMAN IS FEAR (1964, ZBYNEK BRYNYCH, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0123368/
3.THE GIRL WITH THE RED SCARF (1977, ATIF YILMAZ, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0263975/
4.TITS & BUMS (2005, SANTI TAEPANICH, A+)
5.FORGET IT (2005, SOMKIT THAMNIAMDI, A+/A)
6.WORLD PRICELESS DAY (2005, LEK MANONT, A+/A)
7.TUNE IN (2005, PIMPAKA TOWIRA, A)
8.LIE BENEATH (2005, MARGARET BONG, A/A-)
9.GRAND VOYAGE (2004, ISMAEL FERROUKHI, A-)
10.FLIGHTPLAN (2005, ROBERT SCHWENTKE, A-)
11.THE HELPING HAND (2005, FOLKE RYDEN, A-)
MOST DESIRABLE ACTOR
KADIR INANIR—THE GIRL WITH THE RED SCARF (แต่รู้สึกว่าปัจจุบันนี้หน้าเขาจะคล้ายๆซัดดัม ฮุสเซน)
http://astrohalil.sitemynet.com/mynet_resimlerim/o3.gif
FAVORITE SUPPORTING ACTOR
1.JIRI ADAMIRA—AND THE FIFTH HORSEMAN IS FEAR
2.พระรองใน THE GIRL WITH THE RED SCARF
FAVORITE CINEMATOGRAPHY
JAN KALIS—AND THE FIFTH HORSEMAN IS FEAR
FAVORITE EDITING
MIROSLAV HAJEK—AND THE FIFTH HORSEMAN IS FEAR
FAVORITE SOUNDTRACK
AND THE FIFTH HORSEMAN IS FEAR
FAVORITE OPENING
AND THE FIFTH HORSEMAN IS FEAR
ความรู้สึกที่มีต่อ AND THE FIFTH HORSEMAN IS FEAR หรือ “อพาร์ทเมนท์นรก”
นี่ก็จัดเป็นหนังเฮี้ยน, หนังบ้า, หนังวิปลาสอีกเรื่องนึงในเทศกาลนี้ และเป็นหนังเซอร์ไพรส์ด้วย เพราะไม่เคยได้ยินชื่อหนังเรื่องนี้มาก่อนเลย
หนังเรื่องนี้อาจจะไม่บ้าดีเดือดหลุดโลกเท่ากับหนังบางเรื่องในกลุ่ม CZECH NEW WAVE อย่าง CASE FOR A ROOKIE HANGMAN หรือ DAISIE แต่ถ้าหากเทียบกับหนังแนวนาซี/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวแล้ว หนังเรื่องนี้ก็จัดว่าเซอร์เรียลกว่าหนังอีกหลายๆเรื่องในกลุ่มเดียวกันมาก
สิ่งที่ชอบในหนังเรื่องนี้
1.ความบ้าคลั่งของดนตรีประกอบ ซึ่งปรากฏตั้งแต่ฉากเปิดเรื่องแล้ว ที่จะตัดสลับการใช้ดนตรีประกอบสองแบบควบคู่กันไป และฉากในงานปาร์ตี้ ที่เสียงดนตรีจะเหง่งหง่างและให้ความรู้สึกว่ามันมีอะไรบางอย่างเพี้ยนๆ
2.การใช้เสียงโทรศัพท์และเสียงออดรบกวนคนดู และทำให้คนดูรู้สึกหวาดผวาเมื่อได้ยินเสียงโทรศัพท์และเสียงกดออด ดิฉันเคยผวากับเสียงโทรศัพท์หลังจากดู SCREAM และละครโทรทัศน์เรื่อง THE RING และก็มาผวาอีกครั้งเมื่อได้ดูหนังเรื่องนี้
3.ชอบการตัดต่อในหนังเรื่องนี้มาก จุดนึงเป็นเพราะว่ามันทำให้เราเข้าใจผิดได้หลายครั้งมาก อย่างเช่นฉากนึงที่กล้องจับภาพไปที่โทรศัพท์ แล้วก็มีเสียงดังคล้ายๆเสียงโทรศัพท์ แต่หลังจากนั้นก็มีผู้หญิงเดินเข้ามาบอกผู้ชายว่ามีคนมาหา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเสียงที่เราได้ยินนั้น ที่จริงแล้วเป็นเสียงกดออด ไม่ใช่เสียงโทรศัพท์
4.การถ่ายภาพ, การจัดองค์ประกอบภาพ หรือการวางบล็อกกิ้งการเคลื่อนไหวของตัวละครในหนังเรื่องนี้ก็สุดๆมาก โดยเฉพาะในฉากแต่ละคนโผล่หน้าออกมาตามขั้นบันได, การเคลื่อนกล้องในฉากงานปาร์ตี้ และการเคลื่อนไหวของตัวละครแต่ละตัวตอนที่ถูกต้อนไปขังในห้องใต้ดิน
5.หนังเรื่องนี้ถ่ายทอดบรรยากาศแห่งความหวาดระแวงเพื่อนมนุษย์ได้ดีมาก และถึงแม้เนื้อหาในหนังจะพูดถึงยุคนาซีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว แต่คิดว่าบรรยากาศหวาดระแวง, ไม่ไว้เนื้อเชื่อใจเพื่อนบ้าน, เพื่อน หรือคนรอบตัว ก็เป็นสิ่งที่ปรากฏชัดในอเมริกายุคล่าคอมมิวนิสต์ในทศวรรษ 1950 และอาจจะมีอยู่ในหลายๆสังคมจนถึงยุคปัจจุบัน
สิ่งหนึ่งที่รู้สึกมากๆในหนังเรื่องนี้ก็คือว่าเมื่อเราเห็นตัวละครตัวใด “ยิ้ม” ให้ตัวละครอีกตัวในหนังเรื่องนี้ เราจะรู้สึกไม่ไว้วางใจคนยิ้มในทันที เพราะไม่รู้ว่าเขาหวังดีหรือหวังร้ายกันแน่
หนังยุคเก่าของเชคโกสโลวาเกียอีกเรื่องหนึ่งที่ดูแล้วทำให้รู้สึกว่า “เราไว้วางใจใครไม่ได้ โดยเฉพาะเพื่อนของเรา” ก็คือเรื่อง THE JOKE (1969, JAROMIL JIRES, A) ที่สร้างจากบทประพันธ์ของ MILAN KUNDERA
http://www.imdb.com/title/tt0065241/
In the 1950's, Ludvik Jahn was expelled from the Communist Party and the University by his fellow students, because of a politically incorrect note he sent to his girlfriend. Fifteen years later, he tries to get his revenge by seducing Helena, the wife of one of his accusers.
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B000060MU5.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
6.ฉากงานปาร์ตีหรือคลับบาร์ในหนังเรื่องนี้เป็นฉากที่บ้ามาก มันเป็นฉากที่เหมือนกับมีโลกแห่งความฝันผสมอยู่ด้วย และขณะที่ดูก็ไม่รู้ว่าแต่ละคนในคลับบาร์แห่งนี้ ใครบ้ากว่าใครกันแน่
7.คำวิจารณ์บอกว่าหนังเรื่องนี้มีความเป็น FRANZ KAFKA + INGMAR BERGMAN ซึ่งก็รู้สึกเห็นด้วยกับคำวิจารณ์นี้
8.ชอบตัวละครภรรยาของ Mr.VESELY มากๆ เธอทำเชิดตลอดเวลา ไม่ว่าจะตกอยู่ภายใต้ภัยคุกคามอันใดก็ตาม
9.ชอบตัวละครหลายๆคนในเรื่องนี้มาก ทั้งคุณป้านักดนตรีบ้า, คุณป้าที่เลี้ยงกระต่ายและชอบโวยวาย, ภรรยาของ MR.WIENER, จิตแพทย์หญิง
10.ชอบฉากที่ตัวละครแต่ละคนแสดงปฏิกิริยาต่อศพในแบบที่แตกต่างกันไป
11.ชอบไฟกะพริบในอพาร์ทเมนท์
12.ฉากโรงพยาบาลบ้าในหนังเรื่องนี้ก็ทำออกมาได้คลั่งมากๆ
13.ทั้งหนังเรื่องนี้และ THE GIRL WITH THE RED SCARF มีจุดที่ตรงกัน นั่นก็คือเมื่อตัวละครในเรื่องทำดี พวกเขาจะได้รับความซวยอย่างสาหัสสากรรจ์เป็นผลตอบแทน
--ไม่ค่อยรู้ประวัติศาสตร์เชคโกสโลวาเกียมากนัก ก็เลยไม่แน่ใจว่าหนังเรื่องนี้ต้องการสื่อถึงอะไรในสังคมเชคในยุคที่มีการสร้างหนังเรื่องนี้ แต่หนังเกี่ยวกับเชคเท่าที่เคยดูมาก็แสดงให้เห็นว่าถึงแม้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองไปแล้ว เชคโกสโลวาเกียก็ประสบกับเหตุการณ์ที่น่าเศร้าใจหลายอย่าง อย่างเช่น
1. การที่นักต่อสู้นาซีหลายคนถูกจับกุมคุมขังทรมานหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะถึงแม้คนเหล่านี้จะเป็นศัตรูต่อนาซี คนเหล่านี้ก็อาจถือเป็นภัยต่อคอมมิวนิสต์ด้วยเช่นกัน หนังที่นำเสนอประเด็นนี้รวมถึงเรื่อง DARK BLUE WORLD (2001, JAN SVERAK, B+)
2.ถึงแม้คุณเป็นชาวเชคที่ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ แต่ไม่นิยมสตาลิน คุณก็ซวยได้อยู่ดี อย่างเช่นคดี SLANSKY และ ARTUR LONDON
ARTUR LONDON รอดชีวิตมาได้จากนาซี เขากลายเป็นผู้นำคอมมิวนิสต์คนหนึ่งในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และได้เป็นถึงรมช.กระทรวงการต่างประเทศ แต่ในปี 1951 เขาก็ถูกจับกุมตัวและถูกตั้งข้อหาว่านิยมลัทธิ ZIONIST และ TROTSKYIST (ประเด็นเรื่อง TROTSKY VS. STALIN สามารถชมได้จากหนังเรื่อง FRIDA (2002, JULIE TAYMOR, A) เช่นกัน)
ประเด็นเรื่อง ARTUR LONDON ได้รับการนำเสนอในหนังเรื่อง THE CONFESSION (1970, COSTA-GAVRAS) ที่นำแสดงโดย YVES MONTAND + SIMONE SIGNORET
http://www.imdb.com/title/tt0065439/
และในหนังเรื่อง ON VU PARLE DE PRAGUE: LE DEUXIEME PROCES D’ARTUR LONDON (1969, CHRIS MARKER)
http://bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=2978
Sunday, October 23, 2005
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment