Thursday, August 21, 2008

I FILM MY VILLAGE (2006, Shao Yuzhen, A+++++)

One thing that I like very much in the Marathon Thai Short Film Festival is the films made by rural people. Most of these films are strange to me. They don’t observe the aesthetic rules like most film university students do. I think the number of Thai provincial filmmakers is increasing because the filmmaking technology gets cheaper and cheaper. I’m curious if there will be a new kind of film language emerging after many rural people start making their own films.

This kind of thing reminds me of the stories about Jean Rouch and Aleksandr Medvedkin. I have heard that they used to teach some native or rural people to make their own films.

It also reminds me of a Chinese omnibus film I saw in June. It is VILLAGERS’ DOCUMENTARY PROJECT (2006, Wu Wenguang, A). I think you can still watch this film at Conference of Birds Gallery.

You can read the details of this omnibus film here:
http://conferenceofbirds.hi5.com/friend/profile/displayJournal.do?viewother=true&ownerId=47945001

The omnibus film opens with an introductory short film called SEEN AND HEARD (2006, Jian Yi, A), and then it is followed by 10 short films.

In my roughly preferential order

1.I FILM MY VILLAGE (2006, Shao Yuzhen, Beijing, A++++++++++)
http://farm4.static.flickr.com/3051/2784464872_4a8849c782_o.jpg


2.DID YOU GO BACK TO VOTE? (2006, Yi Chujian, Zhejiang, A+)
http://farm4.static.flickr.com/3106/2784464892_b2c7a30e5a_o.jpg
http://farm4.static.flickr.com/3053/2784464890_ea8f4407d6_o.jpg

3.THE QUARRY (2006, Jia Zhitan, Hu’nan Province, A+)

4.THE SPIRIT MOUNTAIN (2006, Tshe Ring Sqrolma, Yunnan Province, A+)

5.LAND DISTRIBUTION (2006, Wang Wei, Shandong Province, A+)
http://farm3.static.flickr.com/2007/2784464884_92f8715cf4_o.jpg

6.RETURNING HOME FOR THE ELECTION (2006, Ni Nianghui, Hubei Province, A+/A)
http://farm4.static.flickr.com/3047/2784464878_8538ccc5c2_o.jpg

7.A WELFARE COUNCIL (2006, Nong Ke, Guangxi Province, A)

8.A FUTILE ELECTION (2006, Zhang Huancai, Shaanxi Province, A-)

9.VILLAGE HEAD WU AIGUO (2006, Zhou Cengjia, Hu’nan Province, A-)

10.OUR VILLAGE COMMITTEE (2006, Fu Jiachong, He’nan Province, A-)

The images are from Conference of Birds Gallery’s Hi5.








4 comments:

Frank Partisan said...

That sounds really interesting.

I talked to a photographer about how young people take pictures on MySpace, differently than what a portrait artist does.

celinejulie said...

Yes, I think it's very interesting.

I think that these Thai rural filmmakers make films which are different from urban Thai filmmakers, though I can't describe exactly the differences between them. I wish some great critics would do that job—analyzing these provincially made films.

There are many things which come to my mind when I think about these topics, including:

1.Since each human being is different from one another, each rural filmmaker is also different from one another. So it may be very difficult to find many common characteristics between them.

2.I think most of the rural filmmakers are influenced or are exposed to the urban lifestyle or the globalization to some degrees. Some rural filmmakers may be internet addicts. Some may be addicted to Thai TV series about urban lives. So many rural filmmakers do not make films which are purely rural. Many rural filmmakers make films which contain both rural feelings and urban feelings. And I love these mixing of things, because that's what humans are—being influenced by many things in life.

About twenty years ago, I saw a Thai TV program which interviewed a Thai man who looked like an ordinary farmer. He lived in a rural area, but loved listening to Natalie Cole.

I imagine that if that Thai guy wants to make a film about his rural life, he should put his favorite song from Natalie Cole into his film. Some critics may not like this kind of thing. Some critics may say Natalie Cole's songs are not fit with films about Thai rural life. But I don't care about these critics. I want to see a film which shows the true essence of the filmmaker, the true essence which is very complicated and may be full of things which should not be together.

Some filmmakers may make films which can be considered great works of art, because their films conform to aesthetic rules and everything in their films seems to be in its right places. But I also like to see another kind of films—films made by some directors who don't care for critics, general audience, or aesthetic rules. These directors make films because they want to make films which really reflect their lives, their imagination, and their minds. I think some Thai rural filmmakers may make films like that. Their rural films may not have any aesthetic values, but I still love their films very much, because their films feel very organic, feel like a real human being, feel like a "living person", not an "art object".

Anonymous said...

เห็นด้วยกับคุณ MdS เป็นอย่างยิ่งเลยครับ

ปีนี้ ผมได้ไปดูหนังสั้นมาราธอนอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก (แต่ก็ดูไปได้ไม่น่าเกิน 100 เรื่อง) โดยเหตุผลสำคัญที่ทำให้ตัวเองตัดสินใจไปดูงานมาราธอนอย่างจริงจังก็คือ ผมหวังจะได้เห็นหนังสั้นที่เล่าเรื่องราวโดยคนต่างจังหวัด หรือ หนังสั้นที่ได้รับอิทธิพลจากละครทีวีช่อง 7 หรือ ละครจักร ๆ วงศ์ ๆ (ซึ่งถือเป็นสื่อทางด้านภาพเคลื่อนไหวที่น่าจะ popular มากที่สุดในประเทศ)ที่อาจมีโอกาสหลุดรอบเข้าไปในรอบสุดท้ายของเทศกาลหนังสั้นค่อนข้างน้อย
และเมื่อได้ไปดู ผมก็พบหนังสั้นในทำนองนั้นอยู่หลายเรื่องพอสมควร ที่ผมประทับใจมากก็คือ "สาวน้อย คาถา แอ๊บแบ๊ว" ซึ่งหนังก็มีอารมณ์การเล่าเรื่องแบบละครช่อง 7 หรือแบบคนต่างจังหวัดอยู่พอสมควร ขณะเดียวกัน หนังก็มีความใฝ่ฝันแบบคนเมืองผสานอยู่ เช่น เรื่องเทคนิคพิเศษ หรือ เรื่องราวที่ว่าด้วยแม่มด (ที่ออกไปทางแฮรี่ พ็อตเตอร์) นอกจากนี้ ฉากหลังของหนังเองก็เป็นเขตเมืองในต่างจังหวัด มากกว่า จะเป็นภาพชนบทที่เงียบสงบหรือเขียวขจีอะไรทำนองนั้น
ผมคิดว่า หนังอย่าง "สาวน้อย คาถา แอ๊บแบ๊ว" อาจบอกเราได้อย่างหนึ่งว่า สุดท้ายแล้ว องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำหนังสั้น, กล้องวีดีโอ, และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตัดต่อหนัง ก็ยังไม่ใช่สิ่งสามัญที่ใคร ๆ ในสังคมจะสามารถเข้าถึงได้ (แม้มันจะแพร่ขยายไปอย่างกว้างขวางขึ้นเรื่อย ๆ ก็ตามที)และแม้แต่คนต่างจังหวัดที่ทำหนังสั้นเอง โดยมากก็ยังจะเป็นคนในเขตเมืองที่ค่อนข้างมีฐานะและสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้อยู่ดี ดังนั้น มันจึงไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่ออกจะเป็นเรื่องน่าสนใจ ที่หนังสั้นซึ่งทำโดยคนกลุ่มนี้ จะมีความเป็นคนต่างจังหวัดและความเป็นเมือง/ความเป็นชนชั้นกลางคละเคล้ากันไปอย่างที่ คนทำหนังสั้นในกทม. ก็ไม่สามารถจะทำ/สร้างส่วนผสมแบบนี้ออกมาได้
ส่วนคนยากจนในชนบทที่อาจไม่สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ในการทำหนังสั้นได้ด้วยตัวเอง ผมคิดว่าบางที กรณีการสร้างหนังสั้นในประเทศจีนที่คุณ MdS ยกขึ้นมา ก็เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจดีครับ ว่าถ้าเราเอากล้องไปให้คนเหล่านี้ถ่ายหนัง ผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร
และบางที ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ก็อาจไม่แตกต่างกับงานหนังสั้นของคนในต่างจังหวัดในเขตเมืองเสียทีเดียว คือ ผมคิดว่า หนังสั้นหลาย ๆ เรื่องที่ทำโดยคนยากจนในชนบท ก็น่าจะมีความใฝ่ฝันในแบบคนเมือง และ ความใฝ่ฝันถึงความเจริญ/ความเป็นเมือง/ความเป็นชนชั้นกลาง แฝงอยู่เช่นกัน เพราะหมู่บ้านแต่ละแห่งในชนบทก็ไม่ใช่ชุมชนที่ปิดตายและแยกตัวเองอย่างเด็ดขาดจากโลกภายนอก หากแต่หมู่บ้านเหล่านี้ล้วนมีความสัมพันธ์ที่ไม่สามารถตัดขาดจากกันได้กับหมู่บ้านอื่น ๆ, ตำบล, อำเภอ, จังหวัด, เมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ, ตลอดจนต่างประเทศ, และอาจรวมถึงความเปลี่ยนแปลงของโลกด้วย

celinejulie said...

--พูดถึงการผสมผสานระหว่างความเป็นเมืองใหญ่และชนบทแล้ว ก็เลยทำให้นึกถึงหนังเรื่อง “อาข่า ผู้น่ารัก” (2008, สุกัญญา วงศ์สถาปัตย์, A+) ที่เพิ่งได้ดูมา เพราะพบว่าหนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึงมิวสิควิดีโอของชนกลุ่มน้อย ที่ดิฉันเดาว่าน่าจะเป็นชาวเขา ที่ได้ดูในงาน VIDEOTOP ของกลุ่ม THIRD CLASS CITIZEN ของเต๋อ นวพล+ merveillesxx + ชาครในเดือนพ.ค.ปีนี้ เพราะพบว่าหนังและมิวสิควิดีโอสองอันนี้มีลักษณะที่น่านำมาเปรียบเทียบกัน และสองสิ่งนี้อาจจะทำให้นึกถึงความแตกต่างกันระหว่าง “ภาพของชาวเขาที่คนภายนอกต้องการนำเสนอ” กับ “ภาพของชาวเขาที่ชาวเขาต้องการนำเสนอ”

1.ในหนังเรื่อง “อาข่า ผู้น่ารัก” มีฉากที่อาสาสมัครของกลุ่มกระจกเงา ทำรายการโทรทัศน์ด้วยการบันทึกภาพชาวบ้านขณะทำการเกษตร (หรือทำพิธีกรรมทางการเกษตรอะไรสักอย่าง) พร้อมกับร้องเพลงพื้นบ้านในภาษาชาวเขาไปด้วย

2.ในมิวสิควิดีโอ (ที่ดิฉันไม่รู้ชื่อเพลงแน่นอน) ในงาน VIDEOTOP นั้น มีฉากที่คล้ายๆกัน นั่นก็คือเป็นฉากชาวบ้านทำการเกษตรหรือพิธีกรรมทางการเกษตร พร้อมกับที่เราจะได้ยินเสียงเพลงภาษาชาวเขาไปด้วย แต่เพลงที่เราได้ยินนั้นกลับเป็นเพลงจังหวะแร็พ ฮิปฮอป โย่ โย่ ในภาษาชาวเขา และก็มีชาวเขาที่แต่งตัวเป็นเด็กแร็พมาร้องเพลงนี้ โดยมีการตัดสลับภาพประเพณีต่างๆของชาวเขาเข้ามาเป็นระยะๆ

ถ้าจำไม่ผิด ชื่อเพลงนี้จะสะกดคล้ายๆ O tsui yeh o ส่วนศิลปินใช้ชื่อว่า Moses



--รู้สึกประทับใจองค์ประกอบบางส่วนในหนังสั้นหลายๆเรื่องตรงความเป็น “บ้านๆ” ของมัน ดิฉันเองก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าคำจำกัดความที่แท้จริงของคำว่า “บ้านๆ” คืออะไร แต่ในที่นี้ดิฉันไม่ได้หมายความถึงความเป็นบ้านนอก เพราะหนังที่ดิฉันรู้สึกว่ามันมีเสน่ห์แบบ “บ้านๆ” บางเรื่องในที่นี้อาจจะหมายรวมไปถึงหนังที่มีเนื้อหาเกิดขึ้นในกรุงเทพ หรือกำกับโดยผู้กำกับชาวกรุงเทพด้วย

หนังสั้นที่มีเสน่ห์แบบบ้านๆที่ชอบมาก

1.เก็บไว้กับเธอ (2007, มัลลิกา มิตรธงไชย)
ไม่แน่ใจว่าเนื้อหาของหนังเรื่องนี้เกิดขึ้นในกรุงเทพ หรือย่านชานเมือง หรือในจังหวัดอะไร แต่องค์ประกอบหลายอย่างในหนังมันดูบ้านๆได้อย่างน่ารักมากๆ

2.คืนเปลี่ยวในซอยตรวจ (2008, วีระศักดิ์ สุยะลา)

3.เพื่อน-รัก-ความทรงจำ (2008, ขจรศักดิ์ จันทร์คำ)

4.ลิง ไก่ ขาบ แพะ แบะ แบะ (2008, เอกวิทย์ ทมราตรี)

5.เออ...เองเก่ง (2008, ภูมิพัฒน์ อารยะธนิตกุล)
อันนี้เป็นสารคดีเกี่ยวกับจังหวัดสมุทร...อะไรสักอย่าง หนังเป็นสารคดีที่ค่อนข้างตรงไปตรงมา แต่ดูน่ารักและไม่น่าเบื่อเลย

6.วังยื่นหาบ (2008, สมพงษ์ โสดา)
ผู้กำกับคนนี้เคยกำกับหนังสั้นเรื่อง “THE MISSION” และในสูจิบัตรเทศกาลหนังสั้นปีที่แล้วบอกว่าผู้กำกับคนนี้อาศัยอยู่ในกรุงเทพ แต่หนังเรื่อง “วังยื่นหาบ” ถ่ายทอดการไปเที่ยวป่าในชนบทได้ออกมาดู “บ้านๆ” มาก

7.เพื่อนรัก...(แอบ)รักเพื่อน (2007, ระชานนท์ ทวีผล)

8.สาวน้อย คาถา แอ๊บแบ๊ว (2008, ยุทธนา เสนีวงศ์)

9.ไม้วิเศษ (2007, วรวุฒิ หลักชัย)

10.จตุคาม-จตุคำ (2007, รมย์รวินท์ ชุ่มจีน)

แต่ก็ไม่ใช่ว่าดิฉันจะชอบหนังสั้นแบบบ้านๆไปซะทุกเรื่อง เพราะบางเรื่องก็ดูไม่ค่อยสนุก และบางเรื่องก็เชิดชูการทำความดีหรือคุณธรรมในแบบที่ดิฉันไม่รู้สึกอินด้วยเท่าไหร่นัก แต่ 10 เรื่องที่ยกมาข้างต้นเป็นหนังที่ชอบมากตรงเสน่ห์ความเป็นบ้านๆของมัน หนังบางเรื่องในกลุ่มนี้อาจจะมีความไม่ลงตัวในบางจุด แต่ดิฉันก็มองว่ามันก็เหมือนกับมนุษย์นั่นแหละ ที่ทุกคนต่างก็มีทั้ง “ข้อบกพร่อง” และมี “เสน่ห์” หรือ “ข้อดี” ในแบบของตัวเอง เพราะฉะนั้นความไม่ลงตัวของหนังบางเรื่องในกลุ่มนี้จึงเป็นสิ่งที่ดิฉันสามารถมองข้ามมันไปได้อย่างง่ายดาย

--ที่ประเทศอื่นๆก็คงจะมีผู้กำกับหนังแบบบ้านๆอยู่เหมือนกัน หนึ่งในผู้กำกับกลุ่มนี้ก็คือ Moncef Kahloucha ใน Tunisia ที่เป็นชาวบ้านที่ชอบกำกับหนังเองและเล่นเอง และชีวิตของเขาก็เพิ่งได้รับการถ่ายทอดลงในสารคดีเรื่อง VHS – KAHLOUCHA (2006, Nejib Belkhadi) โดยหนังสารคดีเรื่องนี้ติดตามถ่ายทำ Moncef ขณะเขากำลังสร้างหนังเรื่อง TARZAN OF THE ARABS

เว็บไซท์ของหนังเรื่องนี้
http://www.kahloucha.com/

--ได้ยินชื่อ TARZAN OF THE ARABS แล้ว ก็เลยทำให้นึกถึงหนังที่อยากดูมากๆเรื่องหนึ่ง ซึ่งก็คือเรื่อง TURKISH SUPERMAN (1979, Kunt Tulgar)

ดูคลิปตัวอย่างของหนังเรื่องนี้ได้ที่
http://www.youtube.com/watch?v=p9oI7Fd3Uec
ชอบคลิปนี้มากในระดับ A+++++