Monday, December 09, 2019

UNTIL WE MEET AGAIN

HONEY BOY (2019, Alma Har'el, A+30)

--ชอบการแสดงของ Noah Jupe ในบทพระเอกวัยเด็กมากๆ เขาถ่ายทอดความทุกข์ระทม หม่นเศร้า เจ็บปวดรวดร้าวออกมาได้ดีมาก

--ดูแล้วนึกถึง CHILDSTAR (2004, Don McKellar, Canada) กับ MAPS TO THE STARS (2014, David Cronenberg) ที่พูดถึงชีวิตดาราเด็กเหมือนกัน

 UNTIL WE MEET AGAIN (2019, Thanit Yantrakovit, 47min, A+30)
แล้วเจอกันชาติหน้าตอนบ่ายๆ

1.อาจจะเรียกได้ว่า มันเป็นหนังที่ “เข้าใกล้ชีวิตจริง” ของเรามากที่สุดเรื่องนึงในบรรดาหนังไทยที่เคยดูมาก็ได้ เราก็เลยชอบมันมากๆ แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าคนดูทั่วไปจะชอบมันมากเท่าเราหรือเปล่า แต่ยอมรับเลยว่า หนังเรื่องนี้เข้าใกล้ชีวิตเรามากกว่าหนังเรื่องอื่นๆ

คือหนังเรื่องอื่นๆชอบพูดถึงความผูกพันระหว่างสมาชิกครอบครัวน่ะ แต่เรื่องนี้พระเอกรู้สึกแปลกแยกจากครอบครัว และต้องการย้ายออกไปอยู่ข้างนอก ในขณะที่สมาชิกครอบครัวของเขาก็ดูเหมือนเป็นคนปกติธรรมดาทุกคน ไม่ได้มีใครเป็นคนเลว หรือเป็นตัวอิจฉา เพราะฉะนั้นไอ้ความรู้สึกแปลกแยกนี้มันก็เลยเข้าทางเรามากๆ มันไม่ใช่สิ่งที่อธิบายได้ง่ายๆว่า เราเกลียดใคร ใครทำเลวกับเรา เราก็เลยออกมาอยู่ข้างนอก แต่มันเกิดจากความรู้สึกที่อธิบายได้ยากกว่านั้น

คือในชีวิตจริงของเรานั้น เราก็รีบย้ายออกมาอยู่อพาร์ทเมนท์ในทันที หลังจากหางานทำได้ตอนอายุ 22 ปี เพราะเรารู้สึกอึดอัดเวลาอาศัยอยู่กับสมาชิกครอบครัวเหมือนกัน คือถ้าให้อยู่กับสมาชิกครอบครัวก็อยู่ได้นะ แต่มันไม่ “สบายใจ” เท่าอยู่ตัวคนเดียว เราก็เลยย้ายออกจากบ้านมาอยู่อพาร์ทเมนท์ในทันทีที่หางานทำได้

2.พระเอกนี่สุดยอดมากๆ ทั้งหล่อ ทั้งแสดงเก่งมากๆๆๆๆๆ และหนังเรื่องนี้ก็ดูเหมือนดึงทั้งความหล่อและความแสดงเก่งของเขาออกมาอย่างเต็มที่ ฉากที่ชอบที่สุดก็คือฉากที่กล้องจับภาพเขาในงานศพน่ะ คือฉากนั้นจะดูเพื่อดื่มด่ำกับความหล่อของเขาก็ดูได้ หรือจะดูเพื่อดื่มด่ำกับการแสดงที่สุดยอดมากๆก็ดูได้ 55555 ชอบมากๆที่หนังเปิดโอกาสให้เขาแสดงศักยภาพของตัวเองออกมาอย่างเต็มที่

3.ชอบฉากขับรถมากๆๆ เพราะในฉากนั้น พ่อพูดจาไม่เข้าหูลูกชายหลายครั้งมากๆ และเราก็เข้าใจทั้งพ่อทั้งลูกชายในฉากนั้น คือพ่อก็เป็นคนธรรมดาน่ะแหละ รักลูกชาย แต่ไม่รู้ว่าตัวเองควรพูดยังไง ส่วนลูกชายก็คงรำคาญพ่อมากๆ

คืออะไรแบบนี้มันจริงมากๆเลยนะ เราชอบมากที่ฉากนี้ตัวละครไม่ได้โต้เถียงกันอย่างรุนแรงน่ะ แต่เราสามารถสัมผัสได้ถึงความรู้สึกขุ่นมัวอย่างรุนแรงในใจพระเอก หรือความรำคาญของพระเอกที่อยากไปให้พ้นจากบ้านหลังนี้ จะได้ไม่ต้องเจอพ่อมาพูดจ้ำจี้จ้ำไชอะไรอีก คือฉากนี้มัน “สมจริง” มากๆ และมันสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ได้ดีสุดๆเลยด้วย

4.อีกฉากที่สมจริงสุดๆจนแทบกราบจอ คือฉากพนักงานออฟฟิศคุยกันขณะแดกข้าวเย็น ฉากนั้นทุกคนเล่นได้สมจริง เป็นธรรมชาติสุดๆ การพูดคุยกันในฉากนั้นไหลลื่นมากๆ ไม่รู้ฉากนี้เขียนบทยังไง หรือกำกับยังไง ทำไมมันถึงสมจริงสุดๆขนาดนี้

5.ฉากที่เราอินน้อยสุด คือฉากพระเอกอยู่กับแฟนเก่า แต่ไม่ใช่ฉากนี้ไม่ดีนะ ฉากนี้ดีมากๆ มันสะท้อนด้าน “ความสุข” ของพระเอกให้เราเห็น เพียงแต่เราไม่เคยมีประสบการณ์อะไรแบบนี้ เราก็เลยอินกับฉากนี้น้อยสุด แต่ถือเป็นฉากที่ดีมากๆฉากนึงเลย มันช่วยให้ตัวละครพระเอกดูกลมขึ้นมาก

6.ฉากพระเอกเดินออกจากบ้านในช่วงท้าย คิดมุมถ่ายได้ดีมากๆ ที่เหมือนมองจากข้างในออกไป เห็นพระเอกเดินออกจากบ้าน แล้วมันมีประตูกั้นๆสักสองสามชั้นมั้ง เพราะฉะนั้นภาพที่เราเห็นมันจะไม่ชัด มันจะเลือนๆราวกับเป็นภาพสีน้ำหรือภาพ impressionist

7.การตัดสลับระหว่างช่วงเวลาต่างๆก็ดีมาก ทำให้หนังไม่น่าเบื่อดี

8.แต่ยอมรับว่าช่วงครึ่งหลังเราจะรู้สึกเนือยๆกว่าช่วงครึ่งแรกนะ แต่ก็คงไม่ใช่ข้อเสียอะไร

9.เดาว่าหนังน่าจะสร้างจากประสบการณ์จริงของมิค โดยเราเริ่มเดาแบบนี้ตั้งแต่ฉากที่พ่อบอกว่า อยากให้พระเอกตัดผม คือพอพ่อพูดแบบนี้ปุ๊บ เราก็นึกถึงทรงผมของมิคขึ้นมาในทันที

10.สรุปว่าเป็นหนังที่เราชอบสุดๆ อินสุดๆจ้า

-----------

 พูดถึงเรื่อง "ความเป็นส่วนตัว" แล้ว ทำให้นึกถึงภาพยนตร์หลายๆเรื่องที่ได้ดูในเทศกาลหนังสั้นมาราธอนที่ศาลายาในปีนี้ เพราะมีภาพยนตร์หลายๆเรื่องที่ดูเหมือนจะทำขึ้นด้วยทีมงานเพียงคนเดียวหรือ2-3 คนเท่านั้น โดยหนังกลุ่มนี้จะนำแสดงโดยตัวผู้กำกับเอง และผู้กำกับจะรับหน้าที่ทำงานตัดต่อ, ถ่ายภาพ, เขียนบทในหนังด้วย ซึ่งหนังกลุ่มนี้รวมถึงหนังทุกเรื่องของ "วีระ รักบ้านเกิด" , หนังบางเรื่องของวชร กัณหา, หนังเรื่อง "ล้านก้าว" ของ สมชาย วชิระจงกล (76min), "เด็กเหวน" ของปัญญา วงผักเบี้ย และ "ที่นี้ไม่มีใคร" ของกระบี่ แซ่หลิม

No comments: