BLACK CHRISTMAS (2019, Sophia Takal, A+15)
Spoilers alert
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
1.จริงๆแล้วหนังไม่ดีเท่าไหร่ 555 เราว่าหนังสอบตกมากๆในแง่ความเป็นหนังสยองขวัญ ลุ้นระทึก ตื่นเต้น เทียบกันไม่ติดกับเวอร์ชั่นปี 1974 ของ Bob Clark ที่หลอนมาก และเทียบไม่ติดกับ KRISTY (2014, Olly Blackburn) ที่ใช้ฉากหลังเป็นมหาลัยช่วงวันหยุดคล้ายๆกัน และเทียบไม่ติดกับ URBAN LEGEND (1998, Jamie Blanks) ที่ใช้ฉากหลังเป็นมหาลัยได้อย่างสนุกมากๆด้วย
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
1.จริงๆแล้วหนังไม่ดีเท่าไหร่ 555 เราว่าหนังสอบตกมากๆในแง่ความเป็นหนังสยองขวัญ ลุ้นระทึก ตื่นเต้น เทียบกันไม่ติดกับเวอร์ชั่นปี 1974 ของ Bob Clark ที่หลอนมาก และเทียบไม่ติดกับ KRISTY (2014, Olly Blackburn) ที่ใช้ฉากหลังเป็นมหาลัยช่วงวันหยุดคล้ายๆกัน และเทียบไม่ติดกับ URBAN LEGEND (1998, Jamie Blanks) ที่ใช้ฉากหลังเป็นมหาลัยได้อย่างสนุกมากๆด้วย
แต่เราชอบเวอร์ชั่นนี้มากกว่า BLACK CHRISTMAS เวอร์ชั่นปี 2006 ของ Glen Morgan นะ เพราะถึงแม้เวอร์ชั่นปี 2019
จะอ่อนด้อยด้านความสนุกตื่นเต้น แต่เราก็ชอบประเด็นในหนังอยู่ดี
คือพอมันเป็น "หนังประเด็น" มันก็เลยมีอะไรให้น่าจดจำสำหรับเรา
แทนที่จะเป็นหนังฆาตกรโรคจิตดาษดื่นทั่วๆไป
2.เหมือนหนังเรื่องนี้เป็นการนำเอาสารคดี
THE HUNTING GROUND (2015, Kirby Dick) และกระแส #Metoo
มาทำเป็นหนังสยองขวัญ และเราก็ชอบตรงจุดนี้
แต่เสียดายที่มันผสม
"ประเด็น" กับ genre หนังสยองขวัญได้ไม่ลงตัวน่ะ
ซึ่งแตกต่างจากหนังอย่าง KNIVES OUT ที่ผสมประเด็นผู้อพยพ
กับหนังแนว whodunit ได้ลงตัวและสนุกมากๆ
3.จุดนึงที่เราชอบสุดๆใน BLACK
CHRISTMAS ก็คือว่า กลุ่มฆาตกรโรคจิตในหนังเรื่องนี้
แตกต่างจากหนังเรื่องอื่นๆ เพราะถึงแมักลุ่มฆาตกรในหนังเรื่องนี้จะทำพิธีไสยาศาสตร์
มนตร์ดำ ซึ่งอาจจะถือเป็นพฤติกรรม “นอกรีต” แต่ในแง่นึง เรากลับรู้สึกว่า กลุ่มฆาตกรในหนังเรื่องนี้
"ไม่ใช่คนนอกของสังคม" แบบในหนังฆาตกรโรคจิตทั่วไปน่ะ อย่างเช่นใน KRISTY,
TEXAS CHAINSAW MASSACRE, FRIDAY THE 13TH, HALLOWEEN อะไรพวกนี้
คือในหนัง slasher โดยทั่วไปนั้น ฆาตกรโรคจิต
เป็นเหมือนคนที่มา disrupt สังคมที่สงบสุขน่ะ
คือมันเหมือนมีสังคมที่ “ดีงาม” อยู่
(ถึงแม้มันจะอยู่ในรูปของกลุ่มหนุ่มสาวเงี่ยนๆ) แล้วฆาตกรโรคจิต ซึ่งเป็น “คนนอก”
ของสังคม เพราะเขาเป็น “ผู้ป่วยทางจิต” ก็มาทำลายสังคมที่ดีงามนั้น
แต่ใน BLACK CHRISTMAS เวอร์ชั่นนี้ มันเหมือนกับว่า กลุ่มฆาตกรโรคจิต
มีลักษณะบางอย่างที่คล้ายกับ norm ของสังคมเสียเองน่ะ
ถึงแม้ว่ามันจะเป็น norm ของสังคมในอดีตเมื่อ 200
ปีก่อนก็ตาม คือเราว่าลักษณะของกลุ่มฆาตกรโรคจิตในหนังเรื่องนี้ ไม่ใช่ “ผู้ป่วยทางจิต”
แบบในหนัง slasher ทั่วไป แต่กลับมีลักษณะเป็นเหมือน norm
ของสังคมปิตาธิปไตย, conservative
เราก็เลยชอบหนังมากๆตรงจุดนี้
เพราะมันแตกต่างจากหนัง slasher ทั่วไป
คือในหนัง slasher ทั่วไปนั้น “ฆาตกรโรคจิต” คือผู้ป่วยทางจิตที่ต้องถูกฆ่าให้ตาย
หรือกำจัดออกไปจากสังคม แต่ในหนังเรื่องนี้ “ผู้ร้าย” ที่แท้จริง คือ “แนวคิดแบบปิตาธิปไตย
+ conservative” และหนังก็แสดงให้เห็นว่า ผู้ร้ายที่แท้จริง
ซึ่งก็คือ “แนวคิด” นี้ มัน “อยู่ในหัว” ของผู้ชายหลายๆคน แนวคิดนี้มันควบคุมผู้ชายที่
conservative ได้อยู่หมัด และมันก็แอบแฝงอยู่ในหัวของ “ผู้ชายที่หัวก้าวหน้า”บางคนด้วย
โดยเฉพาะเมื่อใดก็ตามที่ผู้ชายที่หัวก้าวหน้าทะเลาะกับผู้หญิง แนวคิดแบบปิตาธิปไตยที่แอบแฝงอยู่ในหัวพวกเขาก็จะได้โอกาสสำแดงฤทธิ์ออกมา
(เอ๊ะ มันเหมือนกับการทะเลาะกันในเพจบางเพจหรือเปล่า)
และแนวคิดแบบปิตาธิปไตยนี้
มันก็อยู่ในหัวของผู้หญิงบางคนด้วย
หนังเรื่องนี้ก็เลยแสดงให้เห็นว่า
การตามฆ่า+กำจัดฆาตกรโรคจิตแต่ละคนในหนังเรื่องนี้ จึงไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
เพราะต้นเหตุมันคือ “สิ่งที่อยู่ในหัวของมนุษย์แต่ละคน”
4.ถึงแม้หนังจะแสดงให้เห็นว่า สิ่งที่ควบคุมความคิดตัวละครฝ่ายผู้ร้าย
คือมนตร์ดำ+คาถาจาก “รูปปั้นของบุคคลสำคัญในอดีต” แต่เราเดาว่าจริงๆแล้วหนังอาจจะ hint ให้ผู้ชมรู้ว่า
ผู้ร้ายที่แท้จริงคืออะไร
เราเดาว่า มันคือ “ตำราคลาสสิค” หรือ “สิ่งที่เขียนโดยผู้ชายเมื่อหลายร้อยหลายพันปีก่อน”
ที่ตัวละครถกเถียงกันในช่วงครึ่งแรกของหนังน่ะ
คือเราชอบการถกเถียงกันของตัวละครในช่วงครึ่งแรกของหนังมากๆ
โดยเฉพาะตัวละครที่ตั้งข้อสังเกตว่า ตำราคลาสสิคที่เด็กแต่ละคนต้องเรียนกันนั้น
ส่วนใหญ่มันเขียนโดย “ผู้ชาย” เกือบทั้งนั้น
หนังเรื่องนี้มันก็เลยทำให้เราได้คิดว่า หรือจริงๆแล้ว “แนวคิดแบบปิตาธิปไตย”
ซึ่งเป็น “ผู้ร้ายที่แท้จริง” ของหนังเรื่องนี้ มันมาจากไหน หรือว่ามันมาจาก “หนังสือที่เขียนโดยผู้ชาย
เมื่อหลายร้อยหลายพันปีก่อน” อย่างที่ตัวละครผู้หญิงบางคนในหนังเรื่องนี้ พยายามต่อต้านนั่นแหละ
บางทีหนังเรื่องนี้อาจจะต้องการบอกว่า ตำราคลาสสิค หรือ “สิ่งที่เขียนโดยผู้ชาย
เมื่อหลายร้อยหลายพันปีก่อน” มันคือสิ่งที่มีส่วนสำคัญในการปลูกฝังแนวคิดแบบปิตาธิปไตย
ในบางสังคมมานานมากแล้ว จนก่อเกิดเป็นวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ
สืบทอดกันมาหลายร้อยหลายพันปี และแน่นอนว่า มันก็ยังคง “ฝังอยู่ในหัว”
ของผู้ชายหลายคนในยุคปัจจุบัน ไม่งั้นคงไม่เกิดหนังสารคดีเรื่อง THE HUNTING GROUND ออกมา
บางทีการที่หนังเรื่องนี้ให้ตัวละครมาถกเถียงกันเรื่อง “ตำราคลาสสิค”
(สิ่งที่เขียนโดยผู้ชายเมื่อหลายร้อยหลายพันปีก่อน) กันเป็นเวลานาน ก็อาจจะเป็นเพราะหนังต้องการจะบอกว่า
นี่แหละคือ “ผู้ร้าย” ที่แท้จริงของหนังเรื่องนี้
5.แอบสงสัยว่า การที่เหตุการณ์ในหนังเรื่องนี้เกิดขึ้นในวันคริสต์มาส
เป็นสิ่งที่มีความหมายอะไรหรือเปล่า
6.ชอบการถกเถียงกันของตัวละครในหนังมากๆ
ชอบที่หนังแสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงบางคนก็ radical เกินไป
และบางคนก็เชิดชูปิตาธิปไตยเสียเอง แต่สิ่งที่ชอบมากๆก็คือการเน้น “ความสามัคคี”
แบบมด (ซึ่งสังคมมดมีผู้นำเป็น “นางพญามด”)
ในการต่อสู้กับผู้ร้าย
7.สรุปว่าเสียดายมากๆที่หนังมันออกมาไม่สนุก มันไม่ลงตัวมากๆ ถึงแม้เราจะชอบแนวคิดบางแนวคิดของหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ
ชอบมากๆที่หนังนำเสนอ “ผู้ร้าย” ที่ไม่ใช่ผู้ป่วยทางจิตแบบหนัง slasher ทั่วไป เพราะผู้ร้ายที่แท้จริงของหนังเรื่องนี้ก็คือ
“แนวคิดแบบชายเป็นใหญ่ ในหัวของคนแต่ละคน ที่อาจจะได้รับการปลูกฝังมาจาก
สิ่งที่เขียนโดยผู้ชายในอดีตเมื่อหลายร้อยหลายพันปีก่อน”
No comments:
Post a Comment