WHERE WE BELONG (2019, Kongdej Jaturanrasmee, A+30)
ดูมานานเกือบ 1 ปีแล้ว แต่แทบไม่ได้จดบันทึกอะไรเอาไว้เลย ฮือๆ จำรายละเอียดอะไรไม่ได้แล้ว
แต่ตอนนี้ขอจดไว้ก่อนก็แล้วกันว่าชอบ 3 ฉากในหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ มันเป็น 3 ฉากทิ่ติดค้างอยู่ในใจเราตลอด
1 ปีที่ผ่านมา
1.ฉากซูเล่นเครื่องเล่นในสวนสนุกในตอนท้าย
ที่กล้องเป็นลองเทคจับใบหน้าของซู
เรายกให้ฉากนี้เป็นฉากคลาสสิคพอๆกับฉากที่กล้องจับใบหน้าของ Nicole Kidman ใน BIRTH
(2004, Jonathan Glazer) เลย
2.ฉากที่เบลล์ทะเลาะกับซูในร้านขายอาหารของซู ถ้าเราจำไม่ผิด
เหมือนตอนนั้นเบลล์หวังดี พยายามพูดเข้าข้างซูในปัญหาระหว่างซูกับพ่อมั้ง
แต่มันดันทำให้ซูโกรธขึ้นมา
เราชอบอารมณ์ขัดข้องขุ่นเคืองใจในฉากนี้อย่างสุดๆ
นึกถึงทั้งตัวเราเองและเพื่อนบางคนที่มีปัญหาครอบครัว
แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะทำความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ถึงปัญหาครอบครัวของเพื่อนเรา
และมันก็เป็นไปไม่ได้ที่เพื่อนเราจะเข้าใจปัญหาครอบครัวของเรา
แม้ทุกคนจะหวังดีต่อกันก็ตาม มันเหมือนซู, เรา หรือเพื่อนเราบางคน
แบกปมความทุกข์บางอย่างไว้เพราะปัญหาครอบครัว และในบางครั้ง
ความทุกข์เหล่านั้นมันแปรสภาพเป็นเหมือนชนวนระเบิดอยู่ภายในใจ
และพร้อมที่จะระเบิดออกมาได้ ถ้าหากมีใครไปสะกิดมันโดยไม่ได้ตั้งใจ
3. ฉากที่สมาชิกวงดนตรีซ้อมกัน แล้วก็ทะเลาะกันอย่างรุนแรง
ชอบอารมณ์ในฉากนี้มากๆ นึกถึงตัวเราเองในสมัยก่อนมากๆ
เหมือนฉากนี้เข้าใจตัวเรา, อารมณ์ของเรา, สภาพจิตของเราอย่างสุดๆ
ความรู้สึกของเราที่มีต่อฉากนี้จะคล้ายกับข้อสองน่ะ
เหมือนเราชอบหนังที่เข้าใจตัวละครที่ “ซ่อนความขึ้งเคียด เกลียดชัง” ไว้ภายใน
โดยเฉพาะความขึ้งเคียด เกลียดชังที่มีต่อเพื่อนๆและสมาชิกครอบครัว
และตัวละครตัวนั้นก็รักเพื่อนหรือสมาชิกครอบครัวคนนั้นในเวลาเดียวกันด้วย
มันไม่ใช่ความเกลียดชังอย่างรุนแรงที่มีให้กับศัตรู แต่มันเป็นความไม่พอใจ
ความเกลียดชังที่มีต่อคนที่เราไม่อยากแสดงความเกลียดชังออกไปน่ะ
เพราะเขาเป็นสมาชิกครอบครัวของเรา หรือเป็นเพื่อนที่เรารัก
และพอเราไม่สามารถแสดงความเกลียดชังหรือความไม่พอใจออกไปได้โดยตรง เราก็เลยได้แต่เก็บกดมันไว้
และมันก็เลยกลายเป็นความขึ้งเคียดที่ฝังลึกอยู่ในใจไปเรื่อยๆ
และกลายเป็นวัตถุระเบิดภายในใจที่ระเบิดออกมาอย่างรุนแรงในภายหลัง
เราก็เลยรักฉากนี้อย่างสุดๆ ฉากนี้มันเข้าใจจิตวิญญาณของเราจริงๆ
No comments:
Post a Comment