THE MUDGUARD AND A LONELY MONKEY (2020, Wichanon Somumjarn, 78min,
A+30)
1. หนังเรื่องนี้มันคืออะไร 55555 ประหลาดดี ชอบความ organic,
free form, freestyle ของมัน แต่ถ้าถามว่าหนังเรื่องนี้ดีไหม
เราก็คงตอบไม่ได้ เพราะมันตอบได้ยากว่าหนังเรื่องนี้มีคุณค่าอะไรบ้างหากจะวัดจาก “บรรทัดฐานแบบดั้งเดิม”
อย่างเช่น การเล่าเรื่องสนุก, การให้สาระความรู้, ความงดงามเชิงกวี,
การสร้างอารมณ์ซาบซึ้งสะเทือนใจ อะไรแบบนี้ ซึ่งดูเหมือนหนังเรื่องนี้จะไม่มีสิ่งเหล่านี้ให้
555
2.เข้าใจว่าหนังเรื่องนี้เหมือนจะเป็นบันทึกของผู้กำกับขณะ research ข้อมูลเพื่อนำไปทำเป็นหนังยาวอีกเรื่องในภายหลังนะ
เพราะฉะนั้นตอนแรกเราก็เลยนึกว่าหนังเรื่องนี้อาจจะมีความเป็น “สารคดีเบื้องหลังการถ่ายทำ”
เหมือนกับหนังอย่าง IN PUBLIC (2001, Jia Zhangke, China), THE EIGHTIES
(1983, Chantal Akerman, Belgium), MALADY DIARY (2004, Teekhadet Vucharadhanin),
THE COLOUR OF WORDS: INDIA SONG (1984, Jerome Beaujour, Jean Mascolo) อะไรทำนองนี้
แต่ปรากฏว่าแทนที่หนังเรื่องนี้จะนำเสนอ “เบื้องหลังการถ่ายทำ” อย่างตรงไปตรงมา
หนังเรื่องนี้กลับเต็มไปด้วยฉากที่ไม่รู้ที่มาที่ไป
หรือฉากที่เราไม่รู้ว่ามันหมายความว่าอะไร อยู่หลายฉาก มันเหมือนกับว่าความเป็น “สารคดีเบื้องหลังการถ่ายทำ”
หรือ “สารคดีบันทึกชีวิตของผู้กำกับขณะพยายามจะทำหนังใหม่”
เป็นแค่องค์ประกอบหนึ่งในหนังเรื่องนี้เท่านั้น
หนังเรื่องนี้ยังมีองค์ประกอบส่วนอื่นๆผสมเข้ามาด้วย และนั่นก็เลยทำให้หนังเรื่องนี้หลุดพ้นจากความเป็นหนังสารคดีธรรมดา
และดูมีความเป็นหนังทดลองแบบ freestyle มากกว่า
3. ส่วนที่ดูแล้วเข้าใจง่ายที่สุดในหนังเรื่องนี้
คงเป็นส่วนที่หนังนำเสนอการเดินทางเยือนสถานที่สำคัญต่างๆ อย่างเช่น
กู่บ้านนาคำน้อย ที่ดูเหมือนจะเป็นซากปราสาทขอมโบราณ (ชอบส่วนนี้อย่างสุดๆ) ,
พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง และนิทรรศการอะไรสักอย่าง ที่นำเสนอโลกอนาคตของขอนแก่น
มันเหมือนกับว่าหนังเรื่องนี้พาเราซึ่งเป็นคนนอก เข้าไปสำรวจทั้งอดีต, ปัจจุบัน
และอนาคตของขอนแก่น เราได้เห็นทั้งอดีตหลายล้านปีก่อน (ไดโนเสาร์), อดีตเมื่อพันปีก่อน
(ปราสาทขอม), ปัจจุบัน (ภาพวิวทิวทัศน์ต่างๆของขอนแก่นในหนังเรื่องนี้) และอนาคตของขอนแก่นในหนัง
4.ส่วนที่เป็น “ปัจจุบัน” ของหนังเรื่องนี้
ทำให้นึกถึงหนังของกลุ่มสำนักงานใต้ดิน/Teeranit Siangsanoh/Wachara Kanha อะไรทำนองนี้ 555 เพราะหนังของกลุ่มสำนักงานใต้ดินหลายๆเรื่อง อย่างเช่น
สูญ (LOSE) (2011, Wachara Kanha, 70min), ผีโป่ง (2010,
Wachara Kanha, 30min), ผู้บุกรุก (2011, Wachara Kanha, 90min)
มันเหมือนเป็นการบันทึกความประทับใจของผู้กำกับที่มีต่อสถานที่ต่างๆเอาไว้เหมือนกันน่ะ
และมันถ่ายทอดออกมาในสไตล์ของหนังทดลองเหมือนกัน แทนที่จะถ่ายทอดออกมาเป็น video
diary ที่เล่าเรื่องตรงไปตรงมา
หรือถ่ายทอดออกมาเป็นสารคดีท่องเที่ยวอย่างตรงไปตรงมา
คือใน THE MUDGUARD AND A LONELY MONKEY มันอาจจะมีส่วนที่ดูเป็น
video diary ที่น่าประทับใจอยู่ด้วย
อย่างเช่นฉากที่ถ่ายปลาอะไรสักอย่างที่อาศัยอยู่ใต้หนองน้ำที่แห้งขอด,
ฉากที่ถ่ายต้นมะม่วงมหาชนก, ฉากที่ถ่ายมดไต่ต้นไม้, ฝูงควายกินหญ้า อะไรทำนองนี้
แต่มันก็จะมีความเป็นหนังทดลองแทรกเข้ามาในหนังเรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน
อย่างเช่น ฉากที่กล้องลงไปดำผุดดำว่ายอยู่ในลำน้ำชีโดยไม่มีสาเหตุ
หรือการใส่ดนตรีประกอบเฮี้ยนๆเข้ามาในฉากพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ โดยในฉากนั้นลำโพงขวาจะเหมือนเป็นเสียงดนตรีไทยโบราณ
แต่ลำโพงซ้ายจะเป็นดนตรี ambient หลอนๆ
การถ่ายทอดความประทับใจต่อสถานที่ต่างๆออกมาในสไตล์ video diary บวกหนังทดลองแบบนี้
ก็เลยทำให้เรานึกถึงหนังของสำนักงานใต้ดิน
เพราะหนังของสำนักงานใต้ดินบางเรื่องก็จะเป็นการบันทึกความประทับใจขณะไปเที่ยวป่า
หรือเที่ยวทะเล แต่แทนที่จะบันทึกมันอย่างตรงไปตรงมา ผู้กำกับก็มักจะใส่ฉากที่เป็น
fiction เข้าไปด้วย มีการสร้างเรื่องแต่งบางๆ
เข้าไปในหนังด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เราก็ดูแล้วไม่รู้เรื่องแต่อย่างใด 555
5.ฉากที่เฮื้ยนที่สุด และอาจะเป็นฉากที่เราชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้
ก็คือฉากที่เราไม่รู้ว่าเราดูอะไรนานราว 10 นาที มันเหมือนหนังให้เราจ้องกลุ่มก้อนวัตถุขมุกขมัว
กลุ่มก้อนสีอะไรบางอย่างเป็นเวลานานมาก พร้อมกับฟังเสียงดนตรีไปด้วย
ก่อนที่ในช่วงท้ายของฉาก เราถึงจะพอมองออกว่า วัตถุแต่ละชิ้นในฉากนั้น
มันมีอะไรบ้าง และมันจัดวางอย่างไร มันถึงเกิด effect ด้านภาพ, แสง,
สี ที่ประหลาดแบบนั้นออกมา
คิดว่าฉากนี้คงคล้ายๆกับเป็นการทดลองด้านภาพของผู้กำกับมั้ง มันให้อารมณ์ดิบๆ
หลอนๆ ประหลาดดี นึกว่าอยู่ในทศวรรษ 1960 ยุคของ Stan Brakhage,
Andy Warhol อะไรทำนองนี้
ความประหลาดของฉากนี้ ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง “มารเกาะกุมนครหลวง” (THE DEVIL RULES THE CAPITAL CITY)
(2001, Manussak Dokmai, 13min) ด้วย เพราะ”มารเกาะกุมนครหลวง”
ก็เป็นหนังที่ให้เราจ้องก้อนวัตถุอะไรก็ไม่รู้เป็นเวลานานมากเหมือนๆกัน 555
6.สรุปว่าก็ชอบหนังเรื่องนี้มากๆแหละ คิดว่าคนที่ชอบหนังที่ดู “อิสระ”
มากๆ แบบหนังของ Wachara Kanha และ Phaisit Phanphruksachat ก็อาจจะชอบหนังเรื่องนี้ได้ไม่ยากเหมือนกัน
No comments:
Post a Comment