Sunday, June 21, 2020

EMMA. (2020, Autumn de Wilde, UK, A+30)


EMMA. (2020, Autumn de Wilde, UK, A+30)

1.ชอบมากกว่า version Gwyneth Paltrow แต่ชอบน้อยกว่า CLUELESS (1995, Amy Heckerling)  แต่ก็ดีที่เหมือนกับผู้สร้างหนังเรื่องนี้รู้ว่า ยังไงเวอร์ชั่นของตัวเองก็ไม่มีทางสู้ CLUELESS ได้อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเวอร์ชั่นนี้ก็เลยต้องสู้ด้วยสิ่งที่ CLUELESS สู้ไม่ได้ นั่นก็คือ costume design และ production design

คือเรา enjoy กับ costume design และการออกแบบฉาก, การถ่ายภาพในหนังเรื่องนี้มากๆน่ะ รู้สึกว่า costume design มันกระตุ้นให้เราอยากใส่ชุดแบบในหนังมากๆ นึกว่าพรศรี เดบูตอง 55555 และหลายๆฉากในหนังมันทำให้นึกถึง paintings มากๆ

2.ชอบมากๆที่หนังเลือกที่จะสร้างนางเอกที่ “นิสัยเลว” แต่คิดว่าตัวเองเป็น “คนดี เต็มเปี่ยมไปด้วยเจตนาที่ดี” เพราะเรารู้สึกว่าการสร้างนางเอกเป็น “คนดี” มันน่าเบื่อมากสำหรับเราน่ะ (เพราะฉะนั้นเราก็เลยมักจะไปอินกับนางอิจฉาและตัวประกอบในหนังหลายๆเรื่องแทน)

คือจริงๆแล้วเราก็ไม่ค่อยอินกับนิยายของ Jane Austen นะ เพราะนางเอกมันไม่ใช่ “คนแรงๆ” สักเท่าไหร่ แต่ก็ยอมรับว่าหนังที่สร้างจากนิยายของ Jane Austen มันสะท้อนธรรมชาติของมนุษย์ได้ดีกว่า “หนังน้ำเน่า” โดยทั่วไปน่ะ ทั้งๆที่มันมีบางจุดที่คล้ายคลึงกัน เพราะหนังน้ำเน่าก็มักจะมีความพาฝัน และจบลงด้วยการที่นางเอกสามารถจับเอาผู้ชายดีๆมาทำผัวเหมือนในนิยายของ Jane Austen เหมือนกัน แต่ในหนังน้ำเน่าหลายๆเรื่องนั้น ตัวละครนางเอกและตัวละครอื่นๆในหนังมันมักจะมีความเป็นสูตรสำเร็จ ไม่สามารถสะท้อนรายละเอียดที่น่าสนใจในธรรมชาติของมนุษย์ได้ นางเอกก็มักจะดีแสนดี นางอิจฉาหรือผู้ร้ายก็เป็น one dimension ไปเลย

แต่ในหนัง EMMA ทั้งสามเวอร์ชั่นที่เราได้ดูนี่ จะเห็นได้ชัดเลยว่า นางเอกไม่ใช่คนดี แต่เป็นตัวละครสีเทา มีหลายมิติ มีความซับซ้อนสูงมาก นึกว่าเป็นการนำเอาตัวละครนางอิจฉาอย่างตัวละคร Regina George ของ Rachel MacAdams ใน MEAN GIRLS (2004, Mark Waters) มาผสมเข้ากับ “อีเสือก” (Audrey Tautou) ใน AMÉLIE (2001, Jean-Pierre Jeunet) และผลที่ได้ก็คือ เราได้ตัวละครที่ซับซ้อนและน่าสนใจกว่า Regina และ Amélie เพราะ Emmaไม่ได้เป็นเพียงนางอิจฉาที่โง่ๆ และไม่ใช่นางเอกที่ “เสือกด้วยความบริสุทธิ์ใจ” เพียงอย่างเดียว

เราก็เลยชอบวิธีการสร้างตัวะครนางเอกแบบนี้ คือเนื้อแท้แล้วตัวละครนางเอกแบบนี้อาจจะเป็นคนดี แต่ตัวละครแบบนี้มักจะมีความเหี้ยบางอย่าง, มีข้อบกพร่องร้ายแรงในนิสัยใจคอ, ทัศนคติ หรือความคิดอะไรบางอย่าง และเรียนรู้ที่จะพัฒนาตัวเอง และแก้ไขข้อบกพร่อง, ความคิด และความเหี้ยของตัวเองได้ในที่สุด ซึ่งการลงลึกในธรรมชาติของมนุษย์แบบนี้ทำให้เราชอบหนังแบบนี้มากกว่าหนังน้ำเน่าโดยทั่วไป

3. ชอบฉากไคลแมกซ์ของหนังอย่างสุดๆ เราคิดว่าฉากไคลแมกซ์ของหนังคือฉากที่นางเอกเผลอหลุดปาก “พูดตรงๆในสิ่งที่ตัวเองคิด” เกี่ยวกับ Miss Bates (Miranda Hart) ออกไป

คือเราคิดว่าโดยปกติแล้ว ถ้าหากเป็นหนังน้ำเน่าโดยทั่วไป ฉากไคลแมกซ์มันมักจะเป็นฉากที่ลุ้นความรักระหว่างพระเอกนางเอกน่ะ อาจจะเป็นฉากแบบที่ว่า พระเอกจะเลือกใครดี, นางเอกจะเลือกใครดี, พระเอกจะวิ่งตามรถม้านางเอกทันหรือไม่, การสารภาพรักจะเกิดขึ้นยังไง, นางเอกจะรู้ใจตัวเองเมื่อไหร่ว่าเธออยากได้ใครเป็นผัวกันแน่, etc.

แต่ในหนังเรื่องนี้ ฉากสำคัญคือฉากที่นางเอกได้เรียนรู้ว่าตัวเองเหี้ยกับคนรอบข้างมากเพียงใดน่ะ มันก็เลยทำให้หนังเรื่องนี้เข้าทางเรามากกว่าหนังน้ำเน่าโดยทั่วไป เพราะหนังน้ำเน่าโดยทั่วไปมักจะให้ความสำคัญกับประเด็นที่ว่า “นางเอกจะจับพระเอกมาทำผัวได้หรือไม่” แต่ EMMA (และ CLUELESS) โฟกัสไปยังประเด็นที่ว่า “นางเอกที่คิดว่าตัวเองเป็นคนดี ทำดี ช่วยเหลือผู้อื่น จะรู้ตัวเมื่อไหร่ว่าตัวเองเป็นคนเหี้ยมากๆ”  

เพราะฉะนั้นถึงแม้ EMMA จะจบลงในแบบที่คล้ายกับหนังน้ำเน่า แต่การที่หนังเลือกฉาก climax แบบนี้ มันก็เลยเป็นอีกจุดที่ทำให้เรามองมันแตกต่างจากหนังน้ำเน่าโดยทั่วไป
4.แต่จริงๆแล้วเราคิดว่าฉาก climax ของ EMMA มัน dilemma ดีด้วยนะ เพราะในฉากนั้น นางเอกไม่ได้พูดโกหกอะไรเลยน่ะ เธอแค่พูดในสิ่งที่ตัวเองคิดจริงๆ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ขัดกับ “ธรรมเนียมปฏิบัติของผู้ดีในยุคนั้น” แต่พอเรามองมันเทียบกับการสื่อสารในโลกยุคปัจจุบัน เราก็จะรู้สึกว่าความผิดของนางเอกในฉากนั้น มันน่าสนใจดี

คือดูฉากนั้นแล้วนึกถึงหนังที่เราชอบมากเป็นอันดับสองของปี 2018 น่ะ ซึ่งก็คือเรื่อง THE MISANTHROPE เกลียดมนุษย์ (2017, Clément Hervieu-Léger, France) ที่สร้างจากบทประพันธ์ของ Molière เพราะเหมือนในหนัง (ที่เป็นการถ่ายละครเวที) เรื่องนี้ มันตั้งคำถามถึงการรักษาสมดุลที่ยากลำบากระหว่าง “การพูดตรงๆ” กับ “การรักษามารยาท” น่ะ คือเราควรทำอย่างไรถ้าหากเราเกลียดนิสัยหรือการกระทำบางอย่างของเพื่อนเรา  ถ้าหากเราพูดตรงๆ เราก็อาจจะเสียเพื่อนไปตลอดกาล แต่เราควร tolerate สิ่งที่เราเกลียดชังในตัวเพื่อนเราจริงๆเหรอ คือเหมือน THE MISANTHROPE แตะประเด็น dilemma อะไรเหล่านี้ได้ละเอียดและเยอะมากๆ และพอเราดู EMMA. เราก็เลยชอบมากที่หนังเหมือนจะแตะประเด็นนี้ด้วยเหมือนกัน เราว่ามันเป็น dilemma ที่น่าสนใจดี

5.จำ Rupert Graves ไม่ได้เลย เขาแก่จนเราจำไม่ได้

6. สรุปว่า ในบรรดาหนังที่สร้างจากนิยายของ Jane Austen เรายังคงชอบ CLUELESS มากที่สุด ชอบมากกว่า SENSE AND SENSIBILITY และ PRIDE AND PREJUDICE (1995, Simon Langton) ด้วย

แต่ตัวละครนางเอกในหนัง Jane Austen ที่เราอินด้วยมากที่สุด คือนางเอกของ MANSFIELD PARK (1999, Patricia Rozema)

แต่เรายังไม่ได้ดู NORTHANGER ABBEY และ PERSUASION นะ และก็ยังไม่ได้ดู RUBY IN PARADISE (1993, Victor Nunez) ที่ดัดแปลงมาจาก NORTHANGER ABBEY ด้วย

A SIMPLE EVENT (1973, Sohrab Shahid Saless, Iran, A+30)

งดงามที่สุด หนังเหมือนเป็นการจับภาพชีวิตประจำวันของเด็กชายคนนึงไปเรื่อยๆ เขาทำกิจวัตรต่างๆซ้ำๆกันในทุกๆวัน แต่ดูแล้วมันงดงามมากๆ

เวลาเราอ่านหนังสือที่พูดถึง New German Cinema เราก็มักจะได้ยินชื่อของ Sohrab Shahid Saless เป็นประจำ (เพราะเขาย้ายออกจากอิหร่านไปทำหนังในเยอรมันตะวันตก) แต่เราก็ไม่เคยได้ดูหนังของเขาเสียที ในที่สุดก็ได้ดูแล้วในวันนี้


THE MAY LADY (1998, Rakhshan Banietemad, Iran, A+30)

งดงาม หนังเล่าเรื่องชีวิตผู้หญิงอิหร่านชนชั้นกลางวัย 40 กว่าปี เธออยากมีผัวใหม่ แต่ลูกชายของเธอขัดขวางเธอจากการมีผัวใหม่ เธอจะเลือกอะไรดีระหว่างความรักผู้ชายกับความรักลูกชาย

หนังเลือกอาชีพนางเอกได้ดีมากๆ เพราะนางเอกมีอาชีพเป็นคนทำหนังสารคดี เธอก็เลยต้องไปสัมภาษณ์ผู้หญิงอิหร่านหลายๆคนที่ต่างก็มีชีวิตบัดซบกันทั้งนั้น โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีลูกชายติดคุก คือการที่หนังเลือกอาชีพนางเอกแบบนี้มันทำให้หนังสามารถสะท้อนปัญหาผู้หญิงในสังคมอิหร่านได้ดีมากๆ ในแง่นึงมันสามารถเทียบได้กับหนังอย่าง RIDDLES OF THE SPHINX (1977, Laura Mulvey, Peter Wollen, UK) และ THE ALL-ROUND REDUCED PERSONALITY—REDUPERS (1978, Helke Sander, West Germany) ที่สะท้อนปัญหาชีวิตผู้หญิงที่เป็น single mom ในแต่ละสังคมได้ดีมากๆเหมือนกัน

แต่คิดว่าอาชีพของนางเอกหนังเรื่องนี้ มันคงสะท้อนอาชีพของตัวผู้กำกับด้วยน่ะแหละ เพราะผู้กำกับหนังเรื่องนี้ก็เป็นผู้หญิงที่ทำหนังสารคดีด้วยเหมือนกัน
อันนี้เป็นหนังเรื่องที่สามของ Rakhshan ที่เราได้ดู ต่อจาก OUR TIMES...(2002, documentary) ที่เป็นการสัมภาษณ์ผู้หญิงอิหร่านหลายๆคนที่อยากเป็นประธานาธิบดี และ GILANE (2005)

A HIDDEN LIFE (2019, Terrence Malick, A+30)
ชอบการ contrast ระหว่างวิวทิวทัศน์ที่งดงามราวสรวงสวรรค์ของหมู่บ้านในหนัง กับความหีหมาของชาวบ้านในหนัง นึกว่าต้องส่งนางเอกจาก DOGVILLE เข้ามาจัดการคนในหมู่บ้านนี้
การ contrast ระหว่างธรรมชาติที่งดงาม กับความโหดร้ายของมนุษย์ ทำให้นึกถึง THE THIN RED LINE ด้วย
ดูแล้วทำให้กลับมาญาติดีกับ Malick อีกครั้ง 555 เพราะเรารักตัวละครในหนังเรื่องนี้ หลังจากเราจูนไม่ค่อยติดกับ THE TREE OF LIFE, TO THE WONDER, KNIGHT OF CUPS และ SONG TO SONG

----------------------
วันนี้ไปดู FRENCH WAVES (2017, Julian Starke, France, documentary) ที่ Alliance รู้สึกว่าเครื่องฉายหนังที่ Alliance น่าจะมีปัญหาใหญ่ ไม่รู้เราคิดไปเองหรือเปล่า เพราะในหลายๆฉากที่เป็นการสัมภาษณ์ subjects แบบ talking heads หนังมันขึ้น subtitles ภาษาอังกฤษมา 1 บรรทัด แต่เราคิดว่าจริงๆแล้วมันน่าจะขึ้นมา 2 บรรทัด เพราะ subjects พูดยาว แล้ว subtitles ที่ขึ้นมามันดูไม่ครบ มันเหมือน subtitles บรรทัดล่างหายไป ขึ้นมาแค่บรรทัดบน
เมื่อสองสัปดาห์ก่อน (6 มิ.ย.) ตอนที่ Alliance ฉายหนัง animation เรื่อง MINGA AND THE BROKEN SPOON เราว่าเราก็เจอปัญหานี้เหมือนกัน เหมือน English subtitles มันขึ้นมาแค่บรรทัดบน ไม่ขึ้นบรรทัดล่างมาให้ แต่ตอนนั้นเรานึกว่าอาจจะเป็นปัญหาที่ตัวไฟล์หนัง MINGA แค่เรื่องเดียว แต่พอคราวนี้เราก็เจอปัญหาแบบเดิมอีก
แต่สัปดาห์ที่แล้ว (13 มิ.ย.) Alliance ฉาย STARS BY THE POUND ก็ไม่มีปัญหาอะไรนะ มี subtitles ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ และดูมันครบดี ประโยคไม่ขาดหาย
เสียดาย English subtitles ที่หายไปมากๆ คือตอนดู MINGA ปัญหามันไม่ร้ายแรง เพราะตัวละครพูดไม่เยอะ แล้วมันเล่าเรื่องด้วยภาพได้ แต่ FRENCH WAVES ที่ฉายวันนี้มันเป็นสารคดีแบบ talking heads น่ะ เพราะฉะนั้น English subtitles ที่ขึ้นมาไม่ครบนี่สร้างความเสียหายมากเหมือนกัน ฮือๆๆๆๆ

FANTASY ISLAND (2020, Jeff Wadlow, A+15)
ชอบปมของลูกชายที่มีพ่อเป็น hero รู้สึกว่าปมนี้สามารถเอามาดัดแปลงเป็นหนังดราม่าดีๆได้


No comments: