Wednesday, June 17, 2020

THE SILVER SCREEN: COLOR ME LAVENDER (1997, Mark Rappaport, documentary, A+30)


THE SILVER SCREEN: COLOR ME LAVENDER (1997, Mark Rappaport, documentary, A+30)

1.ดูเสร็จแล้วก็ก้มกราบจอ Mark Rappaport นี่น่าจะถือเป็น one of the greatest cinephiles on earth เลย ตอนนี้เราได้ดูหนังสารคดีที่เขากำกับมาแล้ว 8 เรื่อง และแต่ละเรื่องมันทำให้เราตระหนักว่า เรามีความรู้เรื่องหนังฮอลลีวู้ดแค่หางอึ่งเท่านั้นเอง เพราะหนังสารคดีแต่ละเรื่องของเขามันอัดแน่นไปด้วยข้อมูลความรู้และเกร็ดสาระอะไรต่างๆมากมายเกี่ยวกับหนังฮอลลีวู้ดยุคเก่าที่เราไม่เคยดูมาก่อน โดยเฉพาะ COLOR ME LAVENDER นี่น่าจะพูดถึงหนังฮอลลีวู้ดราว 100 เรื่องที่เราไม่เคยดูมาก่อน และมันไม่ได้พูดถึงแต่หนังฮอลลีวู้ดดังๆด้วย แต่มันพูดถึงหนังฮอลลีวู้ดมากมายที่อาจจะไม่ได้โด่งดังแบบหนังของ Hitchcock หรืออาจจะไม่ได้มีคุณค่าทางศิลปะในสายตาของนักวิจารณ์ แต่หนังฮอลลีวู้ดเหล่านั้นมันก็มีอะไรน่าสนใจในตัวมันเอง

2.ชอบสุดๆที่ COLOR ME LAVENDER มันทำให้เราเพิ่ง “รับรู้การมีอยู่” ของดาราประกอบบางคนที่เราน่าจะเคยเห็นเขามาแล้วในหนังฮอลลีวู้ดบางเรื่อง แต่เราไม่เคยสนใจดาราประกอบเหล่านี้ เราอาจจะเคยเห็นชื่อพวกเขาบนจอ แต่เราไม่เคยรู้ว่าชื่อที่เราเห็นบนจอนั้น มันคือตัวประกอบตัวไหนในหนังกันแน่

COLOR ME LAVENDER เน้นพูดถึง Clifton Webb, Walter Brennan และ Wendell Corey และมันช่วยให้เราจดจำพวกเขาได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากๆ

3.COLOR ME LAVENDER พูดถึง “ดาราดัง” หลายคนในยุคเมื่อ 70 ปีก่อนด้วย ซึ่งก็เป็น “ดาราดัง” ที่เราแทบไม่เคยดูหนังของพวกเขามาก่อนเช่นกัน อย่างเช่น Randolph Scott, Danny Kaye, Bob Hope และ Bing Crosby

4.นอกจากหนังสารคดีของ Mark Rappaport จะกระตุ้นให้เราอยากดูหนังฮอลลีวู้ดยุคเก่าอีกมากมายหลายร้อยเรื่องแล้ว ม้นยังกระตุ้นให้เราจินตนาการว่า อยากให้มีคนสร้างหนัง essay film แบบนี้กับหนังไทย+ละครทีวีไทยด้วย 55555 อย่างเช่น อยากให้มีคนสร้างหนัง essay film เกี่ยวกับ “อัญชลี ไชยศิริ” , เกี่ยวกับ “ชนะ ศรีอุบล”, เกี่ยวกับ “อรสา พรหมประทาน”,  เกี่ยวกับ “งู” ในหนังไทยและละครไทย, เกี่ยวกับ “กะหรี่” ในหนังไทย, เกี่ยวกับ “ฉากสมบัติ เมทะนี ถอดเสื้อ” ในหนังไทย, เกี่ยวกับเสียงพากย์ของจุรี โอศิริในหนังไทย, etc.

คือเหมือนการดูหนังของ Mark Rappaport มันช่วยกระตุ้นให้เราดูหนังได้สนุกขึ้นอีกมากน่ะ คือแทนที่เราจะมองแค่ว่า หนังแต่ละเรื่องกำกับโดยใคร, ใครคือพระเอก, ใครคือนางเอก, พล็อตหลักคืออะไร หนัง essay film ของ Mark Rappaport มันแสดงให้เห็นเราเห็นถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างบทบาทของนักแสดงประกอบในหนังแต่ละเรื่อง, การปรากฏซ้ำๆกันของ “อุปกรณ์ประกอบฉาก” ในหนังหลายๆเรื่อง, ความคล้ายคลึงกันของฉากบางฉากในหนังหลายๆเรื่อง, การที่ฉากบางฉากในหนังบางเรื่องสามารถถูกผู้ชม “ตัด” ออกจากหนัง แล้วนำฉากนั้นไปใส่บริบทใหม่และจินตนาการต่อเติมใหม่ได้ และการที่หนังหลายๆเรื่องไม่ได้มีเนื้อหาเชื่อมโยงกัน แต่มีความเชื่อมโยงกันบางอย่างในจินตนาการของผู้ชม ซึ่งอะไรแบบนี้นี่มันคือสิ่งที่ตรงใจเราอย่างสุดๆเลย

5.หนัง essay film ของ Mark Rappaport 8 เรื่องที่เราดูมาแล้ว คือ

5.1 ROCK HUDSON’S HOME MOVIES (1992)
5.2 FROM THE JOURNALS OF JEAN SEBERG (1995)
5.3 THE SILVER SCREEN: COLOR ME LAVENDER (1997)
5.4 BECOMING ANITA EKBERG (2014)
5.5 THE VANITY TABLES OF DOUGLAS SIRK (2014)
5.6 MAX & JAMES & DANIELLE... (2015)
5.7 OUR STARS (2015)
5.8 THE EMPTY SCREEN (2017)

6. THE SILVER SCREEN: COLOR ME LAVENDER มีให้ดูใน vimeo แบบเสียเงินนะ (ราวๆ93 บาท)

XENOGENESE (1981, Akihiko Morishita, Japan, 7min, A+30)

MUR 19 (1966, Mark Rappaport, short film, A+30)
ชอบที่หนังทำเหมือนกับว่า ความรักระหว่างพระเอกกับแฟนสาวครองสัดส่วนเพียง 20% ของชีวิตพระเอกเท่านั้น ในขณะที่พระเอกใช้เวลาว่างอีก 80% ที่เหลือไปกับการเดินตามพิพิธภัณฑ์ และการครุ่นคิดถึงปรัชญาชีวิต

THE CIRCLE CLOSES (2015, Mark Rappaport, documentary, A+30)

ชอบการพูดถึง “เชือกกระโดด” ใน VIRIDIANA (1961, Luis Buñuel) เพราะมันก็เป็นสิ่งที่ติดตาเรามากๆใน VIRIDIANA เหมือนกัน แต่ไม่รู้ว่ามันมีความสำคัญยังไงกันแน่

ชอบการพูดถึง “กระเบื้องถ้วยกะลาแตก” ใน THE BIRDS (1963, Alfred Hitchcock) และ ALL THAT HEAVEN ALLOWS (1955, Douglas Sirk) ด้วย เพราะเราเคยดูหนังสองเรื่องนี้แล้ว แต่เราไม่เคยสนใจ “กระเบื้องถ้วยกะลาแตก” ในหนังสองเรื่องนี้มาก่อนเลย

No comments: