BEAUTIFUL THING (1996, Hettie Macdonald, UK, second viewing, A+30)
1.กราบ House Samyan ดีใจมากๆที่เขาเอาหนังเรื่องนี้มาฉาย
เราได้ดูหนังเรื่องนี้ครั้งแรกที่ศาลาเฉลิมกรุงเมื่อ 20 กว่าปีก่อน และหนังเรื่องนี้ก็ขึ้นแท่น
one of my most favorite gay films of all time ไปเลย นี่เป็นการดูครั้งที่สอง
ดูแล้วรู้สึกเหมือนน้ำตาจะไหลตลอดเวลา
แต่เราคงไม่ให้หนังเรื่องนี้เข้าอันดับประจำปีของเราในปีนี้นะ
เพราะเราถือว่ามันเคยติดอันดับสูงมากไปแล้วเมื่อ 20 กว่าปีก่อน
เราไม่ได้ชอบมันมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป แต่ยังคงชอบมันอย่างสุดๆเหมือนเดิม
ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าทำไมอินกับหนังเรื่องนี้มากกว่าหนังเกย์วัยรุ่นเรื่องอื่นๆ
อินมากกว่า “รักแห่งสยาม”, THE WOUNDED MAN (1983, Patrice Chéreau, France),
TWO OF US (1988, Roger Tonge, UK), WILD REEDS (1994, André Téchiné), LIKE
GRAINS OF SAND (1995, Ryosuke Hashiguchi, Japan), GET REAL (1998, Simon Shore),
NICO AND DANI (2000, Cesc Gay, Spain), HANDSOME DEVIL (2016, John Butler,
Ireland), CALL ME BY YOUR NAME (2017, Luca Guadagnino), LOVE, SIMON (2018, Greg
Berlanti), GIRL (2018, Lukas Dhont, Belgium), etc.
ถ้าหากจะมีหนังเกย์วัยรุ่นเรื่องไหนที่เราอินหรือชอบมากพอๆกับเรื่องนี้
หนังเรื่องนั้นก็คงเป็น THE BLUE HOUR (2015, Anucha Boonyawatana) มั้ง
ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าหนังสองเรื่องนี้มันตรงข้ามกันไปเลย เหมือน BEAUTIFUL
THING เป็นฝันดี เป็นคืนพระจันทร์เต็มดวง ส่วน THE BLUE HOUR
เป็นฝันร้าย เป็นคืนแรม 15 ค่ำ
2.ส่วนหนึ่งของความอินคงจะเป็นเพราะมันมาถูกที่ ถูกเวลาในชีวิตเราด้วยมั้ง
เพราะเราก็เติบโตมากับนิตยสาร Gay Times เหมือนกับตัวละครในหนังเรื่องนี้
จำได้ว่าในยุคทศวรรษ 1990 เราซื้อนิตยสารนี้เป็นประจำที่ศูนย์หนังสือจุฬา เหมือนสื่อเกย์ในยุคนั้นเป็นอะไรที่หายากมากๆ
มันเป็นยุคที่ยังไม่มีอินเทอร์เน็ต เราก็เลยต้องเรียนรู้เรื่องพวกนี้ผ่านทางนิตยสาร
Gay Times ด้วยเหมือนกัน
3.ส่วนหนึ่งของความอินคงจะเป็นเพราะ “ฐานะ” ของตัวละคร
และ “ความเจ็บปวด” ของตัวละครด้วย
4.พอมาดูอีกทีในยุคนี้ ก็รู้สึกว่าจุดเด่นของหนังคือคุณแม่
Sandra (Linda Henry), ตัวละครสาวผิวดำ Leah และความคลั่งไคล้ Mama Cass ของ Leah เพราะเรารู้สึกว่าถึงแม้ตัวละคร Jamie กับ Ste
จะดีมากๆ, ดูสมจริง และเราอินกับสองตัวละครเกย์วัยรุ่นคู่นี้มากๆ
แต่ตัวละครแบบ Jamie กับ Ste ได้กลายเป็นตัวละครที่เรามักจะพบบ่อยๆในหนังเกย์ไปแล้วน่ะ
555 เหมือนมันไม่ใช่ตัวละครที่ “โดดเด่น” อีกต่อไปแล้วในยุคนี้ ในขณะที่ตัวละคร
Sandra มันยังคงดูมีเสน่ห์สุดๆ, Leah ก็ชิบหายมาก
และจนถึงบัดนี้เราก็ยังไม่เคยเจอหนังเรื่องไหนที่คลั่งไคล้ Mama Cass เหมือนหนังเรื่องนี้
5.การใช้เพลง SIXTEEN, GOING ON SEVENTEEN ในหนังเรื่องนี้นี่ถือเป็นหนึ่งในการใช้เพลงประกอบหนังที่เราชอบที่สุดในชีวิตเลย
6.ดูแล้วนึกถึง Mike Leigh ในหลายๆจุดด้วย
อย่างตัวละคร Sandra นี่ก็นึกว่าเป็นญาติห่างๆของ Cynthia
(Brenda Blethyn) ใน SECRETS & LIES (1996, Mike Leigh) ส่วนครอบครัวของ Ste และย่านที่อยู่อาศัยของพวกเขาก็นึกว่าหลุดออกมาจาก
MEANTIME (1983, Mike Leigh)
7.ชอบการปะทะกันของ Sandra กับ Leah
ในฉากนึงมากๆ ที่ Sandra บอกว่า “ฉันกำลังจะเปิดผับ”
แล้ว Leah ถามว่า “มีงานให้ทำไหม” แล้ว Sandra ก็ตอบว่า “ไม่มี แต่ถ้าหากฉันเปิดซ่องเมื่อไหร่ ฉันจะเรียกเธอมาทำงานก็แล้วกัน”
LETTER (2020, Nuchanart Junnum นุชนารถ จันทร์นุ่ม, 13min, A+5)
หนังโรแมนติกสูตรสำเร็จ
UNREQUITED LOVE (2020, Worrapol
Kruarsa วรพล เครืออาษา, 11min, A+)
รู้สึกว่านางเอกฮามากๆ
รู้สึกว่านางเอกฮามากๆ
No comments:
Post a Comment