WHERE IS THE FRIEND'S HOUSE? (1987, Abbas Kiarostami, Iran, A+30)
1.ในขณะที่หนังสั้นไทยในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาชอบนำเสนอ "โรงเรียน" ในฐานะแบบจำลองของโครงสร้างระบอบเผด็จการ ปรากฏว่าหนังเรื่องนี้ไปไกลกว่านั้น เพราะนอกจากครูในโรงเรียนแล้ว ทั้งแม่และปู่ (หรือตา?) ของพระเอกก็เหมือนสะท้อนระบอบเผด็จการโดยที่หนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจด้วย ทั้งแม่ที่ไม่ยอมฟังคำอธิบายของลูก และปู่ที่จงใจสร้างความเดือดร้อนให้พระเอก ทั้ง ๆ ที่พระเอกไม่ได้ทำอะไรผิด โดยปู่อ้างว่าเป็นสิ่งที่ทำตาม ๆ กันมาในอดีต
ปกติเราไม่อินกับหนังเด็ก แต่พอดูเรื่องนี้แล้วอินสุด ๆ รู้สึกโมโหแทนพระเอกมาก ๆ และมันหนักมากตรงที่ภาพลักษณ์ของแม่และปู่ดูเป็นคนธรรมดา ๆ ไม่ใช่คนที่ทำหน้าตาชั่วร้ายถมึงทึงเป็นยักษ์มารด้วย มันเลยทำให้หนังไม่ได้สะท้อน “เด็กโชคร้ายที่เกิดมาในครอบครัวใจร้าย ซึ่งเป็นกรณีพิเศษที่อาจไม่ได้พบเห็นโดยทั่ว ๆ ไป” แต่เหมือนหนังมันสะท้อนสิ่งที่อาจพบเห็นได้ทั่ว ๆ ไปในสังคม ซึ่งก็คือการที่ผู้ใหญ่เพิกเฉยต่อปัญหาของเด็ก เพราะพวกเขาไม่ใส่ใจที่จะรับฟังปัญหา, คำอธิบาย หรือเหตุผลของผู้อื่น เพราะพวกเขามองว่าคนคนนั้นมีสถานะต่ำกว่าเขา
เหมือนนอกจากหนังเรื่องนี้จะทำให้เราอินกับเด็กแล้ว การที่หนังนำเสนอครู, แม่และปู่ด้วยรูปลักษณ์ของคนปกติธรรมดา มันยังทำให้เราหันมาตั้งคำถามกับตัวเองอีกด้วยว่า เราเคยทำแบบเดียวกับแม่และปู่ในหนังเรื่องนี้โดยไม่รู้ตัวด้วยหรือเปล่า นั่นก็คือการเพิกเฉยต่อคำอธิบายหรือเหตุผลของคนอื่น ๆ, การไม่ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความยุติธรรม เพียงเพราะมันเป็นสิ่งที่ทำตาม ๆ กันมาตั้งแต่ในอดีต และการเคร่งครัดในกฎระเบียบบางอย่างมากเกินไป
2.ชอบมาก ๆ ด้วยที่พระเอกเป็นคนเหมือน “อ่อนนอก แข็งใน” คือพระเอกไม่ได้ด่าทอแม่หรือปู่อย่างรุนแรง แต่เขาก็ไม่ยอมล้มเลิกความพยายามในการแก้ไขปัญหาของตนเองด้วย เหมือนถึงแม้เขาจะเจออุปสรรคมากมาย โดยเฉพาะอุปสรรคจากผู้ใหญ่ แต่เขาก็ไม่ย่อท้อ
3.รู้สึกติดใจกับปัญหาของประตูหรือหน้าต่างในหนังเรื่องนี้มาก ๆ ทั้งประตูที่ปิดได้ไม่สนิทในฉากแรกของหนัง และหน้าต่างที่เปิดออกเมื่อลมพัดแรง ไม่แน่ใจว่ามันสะท้อนอะไร
สะเทือนใจกับคนชราในหนังที่งานฝีมือในการทำประตูของเขาไม่ได้รับความนิยมอีกต่อไปด้วย
4. พอดีเราไม่ได้ดูหนังอิหร่านมากนัก เลยสงสัยว่าหนังเรื่องนี้หรือเปล่าที่เป็นต้นกำเนิดของหนังเด็กอิหร่านเผชิญอุปสรรคในช่วงต่อ ๆ มา หรือมันคือเรื่อง THE RUNNER (1984, Amir Naderi) ที่เรายังไม่ได้ดู หรือหนังเรื่องอื่น ๆ
เราจำได้แต่ว่า ยุคนั้นมีหนังเด็กอิหร่านออกมาเยอะมาก ๆ ทั้ง THE WHITE BALLOON (1995, Jafar Panahi), BAG OF RICE (1996, Mohammad Ali-Talebi), CHILDREN OF HEAVEN (1997, Majid Majidi), THE APPLE (1998, Samirah Makhmalbaf), THE CHILD AND THE SOLDIER (2000, Reza Mirkarimi), etc. ก็เลยสงสัยว่าหนังเรื่องไหนเป็นต้นกำเนิดของกระแสนี้
5.อยากให้หนังชุดนี้ทำเงินได้มาก ๆ ในไทย เผื่อจะได้มีคนจัดงาน retrospective ของ Sohrab Shahid Saless บ้าง 555555
--
งาน video installation ของ Harit Srikao ที่ JWD ART SPACE ตัว installation หนักที่สุดในชีวิตการแสดง ต้องไปดูด้วยตาตัวเองเท่านั้น
---
UNDER THE OPEN SKY (2020, Miwa Nishikawa, Japan, A+30)
สะเทือนใจมาก ๆ กับฉากช่วงท้ายที่พระเอกพยายามทำตัวให้กลมกลืนกับสังคมของ "คนทั่วไป" แต่สังคมของคนทั่วไปนี่แหละที่มีการกดขี่และความโหดร้ายรุนแรงอยู่ภายใน
เป็นหนังเรื่องที่ 3 ของ Miwa ที่ได้ดูต่อจาก THE LONG EXCUSE (2016) และ SWAY (2006) ชอบเรื่องนี้มากสุด และชอบ SWAY น้อยสุด
---
PEE NAK 3 (2022, Phontharis Chotkijsadarsophon, A+15)
พี่นาค 3
1.ชอบที่หนังมันเล่าเรื่องจริงจังมาก เหมือนมันหันมาให้ความสำคัญกับพล็อตเรื่องและปัญหาที่ตัวละครต้องแก้ไข มากกว่าการยิงมุกตลกไปเรื่อย ๆ
2.รู้สึกอยากเข้าไปอยู่ในหนังด้วย อยากร้องกรี๊ด ๆ ๆ ๆ ๆ แล้วก็วิ่งหนีผีไปเรื่อย ๆ แบบตัวละครในหนัง 55555 อารมณ์เหมือนไปเที่ยวสวนสนุกหรือบ้านผีสิงกับแก๊งเพื่อนกะเทย
3.แต่ถึงแม้เราจะชอบที่หนังภาคนี้หันมานำเสนอ “ปัญหาอาถรรพณ์คำสาป” ที่ตัวละครต้องแก้ไขอย่างจริงจัง แต่เราว่ามันให้ความสนุกพอ ๆ กับการเล่นเกมแบบ “งูตกกระได” น่ะ ไม่ใช่เกมแบบ “หมากรุก”
คือความสนุกแบบเกม “งูตกกระได” คือความสนุกแบบที่ผู้เล่นไม่ต้องใช้สมอง, สติปัญญา หรือความสามารถใด ๆ ในการเอาตัวรอดหรือแก้ไขปัญหาน่ะ มันคือการวัดดวงอย่างเดียว ไหลไปตามผลของการทอดลูกเต๋าไปเรื่อย ๆ และไม่ว่าใครเป็นผู้เล่นก็อาจจะให้ผลแบบเดียวกัน เพราะมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่นแต่ละคน มันขึ้นอยู่กับดวงของผู้เล่นแต่ละคน
คือเราว่ากลุ่มตัวละครเอกในภาคนี้ เหมือนมีแค่ “จำนวน” แต่ไม่มี “ความสามารถเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป” ที่ส่งผลดีผลเสียอย่างเห็นได้ชัดต่อการเล่นเกมน่ะ เพราะตัวละครแต่ละตัวแทบไม่ได้ถูกนำเสนอว่ามีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันที่จะส่งผลกระทบต่อการแก้ไขปัญหาสักเท่าไหร่ เหมือนจุดเด่นมีแค่ว่า ตัวละครนำสองตัวร้องกรี๊ด ๆ กับบ้าผู้ชายไปเรื่อย ๆ และตัวละครตัวนึงเหมือนถนัดในการใช้อุปกรณ์ electronics แค่นั้นเอง
คือเราว่าหนังมันจะสนุกขึ้นเยอะสำหรับเรา ถ้าหากหนังมันแสดงให้เห็นว่าตัวละครแต่ละตัวในกลุ่มมันมีข้อดีหรือจุดแข็งบางอย่างซ่อนอยู่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาอาถรรพ์ในแต่ละช่วงต่าง ๆ ของหนังได้ แบบที่พล็อตหนังคลาสสิคแนวผจญภัยทั่วไปนิยมทำกัน ตั้งแต่ WIZARD OF OZ ที่ตัวละครแต่ละตัวมีจุดแข็งจุดอ่อนแตกต่างกันไป เรื่อยมาจนถึง AVENGERS: INFINITY WAR (2018) ที่ตัวละครแต่ละตัวมีความสามารถแตกต่างกันไป และต่างก็ได้ใช้ความสามารถที่แตกต่างกันนี้ให้เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา
---
THE ECONOMY ENTERS THE PEOPLE (2022, Ho Rui An, video installation, A+30)
1.งดงามที่สุด ดูแล้วได้อะไรเยอะมาก ๆ โดยเฉพาะเรื่องที่จีนเคยพยายามเลียนแบบ Singapore ในช่วงปลาย '80-ต้น '90 เพราะจีนมองว่า Singapore เป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการใช้ระบอบ Dictatorial capitalism
2. ชอบเรื่องนโยบายต่อต้านการ corruption ในจีนมาก ๆ คือจีนต้องการเปิดรับ capitalism แต่ใช้อำนาจเผด็จการไปด้วยพร้อม ๆ กัน จีนเลยพยายามให้อำนาจรัฐบาลท้องถิ่นมากขึ้น เพื่อกระตุ้นนวัตกรรมในระดับท้องถิ่น แต่ถ้าให้อำนาจมากเกินไป ประชาชนก็จะฉลาดเกินไป และเกิดเหตุแบบเทียนอันเหมินขึ้นอีก เพราะฉะนั้นช่วงปลายทศวรรษ 1990 จีนเลยสร้างละครทีวีจำนวนมากที่เล่าเรื่องของจนท.ท้องถิ่นที่ corruption จนรัฐบาลกลางต้องส่งคนที่สุจริตมาปราบ
แต่ในเวลาต่อมา ละครทีวีกลุ่มนี้ก็เล่าเรื่องที่ dark มากขึ้นเรื่อย ๆ จนรัฐบาลจีนไม่พอใจ รัฐบาลจีนก็เลยปราบปรามละครกลุ่มนี้ และห้ามใส่คำว่า black ในชื่อละครทีวี
3.ชอบเรื่องของ "บริษัทเปลือก" มาก ๆ ซึ่งเป็นช่องทางที่บริษัทจีนใช้ในการเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐ แต่บริษัทจีนบางแห่งเหมือนไม่ได้ทำธุรกิจที่รุ่งเรืองจริง นักลงทุนในสหรัฐเลยจ้างนักสืบไปตรวจสอบ และต้องดูภาพจากกล้องวงจรปิดที่หน้าประตูบริษัทจีนเหล่านี้ เพื่อดูว่ามีคนงานและรถผ่านเข้าออกประตูมากน้อยเพียงใด มันก็เลยเกิด footage ที่เป็นการล้อกับ WORKERS LEAVING THE LUMIERE FACTORY ซึ่งเป็นหนังเรื่องแรกของโลก
4.ชอบเรื่องวิวัฒนาการของแรงงานในจีนด้วย
---
KING RICHARD (2021, Reinaldo Marcus Green, A+30)
1. อย่างที่หลาย ๆ คนเขียนว่า ดูแล้วนึกถึง PRO MAY (2019, Thanawat Iamjinda) กับ DANGAL (2016, Nitesh Tiwari, India) มาก ๆ เพราะทั้งสามเรื่องสร้างจากเรื่องจริงของพ่อที่เข้มงวดและผลักดันลูกสาวสองคนให้ประสบความสำเร็จในวงการกีฬาเหมือน ๆ กัน ซึ่งเราชอบ DANGAL มากสุด เพราะมันลุ้นตื่นเต้นสุด ๆ และชอบ PRO MAY น้อยสุดในสามเรื่องนี้ แต่ก็ชอบ PRO MAY มากพอสมควรนะ
2.ถ้าเทียบในด้านนิสัยของพ่อแล้ว เราว่าพ่อของ PRO MAY ดูแย่สุด ส่วนพ่อของ KING RICHARD ดูใจดีสุดแล้ว
3.สงสัยว่าตัวละครมันอาศัยอยู่ในย่านเดียวกับตัวละครใน STRAIGHT OUTTA COMPTON (2015, F. Gary Gray) หรือเปล่า
4.จริง ๆ แล้วสาเหตุสำคัญอันนึงที่ทำให้ชอบหนังถึงระดับ A+30 เป็นเพราะเพลิดเพลินกับการมองท่อนขาของ Will Smith อย่างรุนแรง 55555 เป็นหนังที่ sexually objectify ดาราชายได้ตรงใจเรามาก ๆ
----
A MAN AND A WOMAN (2016, Lee Yoon-ki, South Korea, A+30)
1.งดงามสุด ๆ รู้สึกว่าตัวละครมันเป็นมนุษย์มาก ๆ ชอบความเงี่ยนของนางเอกมาก ๆ
2.ดีใจที่ได้เห็น Kati Outinen ในหนังเรื่องนี้
3.แต่ก็ชอบ A MAN AND A WOMAN (1966, Claude Lelouch) มากกว่านะ เพราะเราคลั่งไคล้ Jean-Louis Trintignant มากกว่า Gong Yoo และเพราะว่า soundtrack ของ Francis Lai นี่ถือเป็นone of my most favourite film soundtracks of all time เลย
--
DESCONEXION (2019, Jorge Bandera, Full-dome movie, A+30)
FRACTAL TIME (2019, Julius Horsthuis, Full-dome movie, A+30)
----
LIAR × LIAR (2021, Saiji Yakumo, Japan, B )
1. พล็อตเรื่องต่ำมาก ๆ 55555 นึกว่าสร้างจากนิยายแนวแอบเงี่ยนในนิตยสาร "เธอกับฉัน" สมัยทศวรรษ 1980 ต่ำกว่านี้มีอีกไหม ถามจริงงงง
2.ดีที่หนังกำกับออกมาให้ดูเพลิน ๆ ได้
3.ดีใจสุด ๆ ที่ได้เห็น Shoko Aida จากวง Wink รับบทแม่นางเอกในหนังเรื่องนี้
4. เหมาะฉายควบกับ I SENT A LETTER TO MY LOVE (1980, Moshe Mizrahi, A+30) ที่เป็นเรื่องรักระหว่างน้องสาวกับพี่ชาย แต่ I SENT A LETTER TO MY LOVE แรงกว่ามาก ๆ เพราะเป็นเรื่องของคนสายเลือดเดียวกัน และเราชอบมากกว่า LIAR × LIAR อย่างเทียบกันไม่ติด
---
MY BLOOD & BONES IN A FLOWING GALAXY (2020, Sabu, Japan, A+30)
งดงามที่สุด
--
EIFFEL (2021, Martin Bourboulon, France, A+25)
เฉย ๆ กับเรื่องรัก แต่ชอบรายละเอียดทางวิศวกรรมและทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการสร้างหอไอเฟล
--
CCTV OF THE SECURITY GUARD (2019, Saroot Supasuthivej, video installation)
ทำไมเหมือนมันกลายเป็นแค่ video ที่มี graphic สวย ๆ 555
--
A VIDEO INSTALLATION IN THE EXHIBITION "BETES ETERNELLES" BY HARIT SRIKHAO
หนักที่สุด รู้สึกสยดสยองอย่างบอกไม่ถูกขณะยืนอยู่บนหัวของ "คนหัวเกรียน" หลายร้อยหัวขณะยืนดู video ชิ้นนี้
ANOTHER VIDEO INSTALLATION IN THE EXHIBITION "BETES ETERNELLES" BY HARIT SRIKHAO
ชอบมากที่รูปปั้นเหมือนหายใจเข้าออกได้
--
No comments:
Post a Comment