พอดู IN THE WAKE (2021, Takahisa Zeze, A+30) แล้วก็เลยเพิ่งนึกขึ้นมาได้ว่า
ญี่ปุ่นมีหนังดี ๆ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ TSUNAMI ในปี 2011 เยอะมาก แต่เหมือนไม่ค่อยมีหนังไทยเกี่ยวกับเหตุการณ์ TSUNAMI
ปี 2004 มากสักเท่าไหร่ ไม่รู้เพื่อน ๆ คิดว่าเป็นเพราะสาเหตุใดบ้าง
เราเดาว่าสาเหตุนึงอาจจะเป็นเพราะยอดผู้เสียชีวิตด้วยมั้ง เหมือนสึนามิญี่ปุ่นปี
2011 มียอดผู้เสียชีวิตราว 20,000 คน เหตุการณ์นี้ก็เลยเหมือนสร้าง trauma ต่อจิตใจคนในประเทศหนักมาก ส่วนยอดผู้เสียชีวิตจากสึนามิในไทยอยู่ที่ราว
5000-8000 คน ซึ่งน่าจะเป็นชาวต่างชาติซะเป็นส่วนใหญ่ด้วย ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด
คือเราก็ไม่ได้ตามดูหนังญี่ปุ่นมากนักนะ แต่ก็ได้ดูทั้ง HIMIZU (2011, Sion Sono),
STORYTELLERS (2013, Ryusuke Hamaguchi, Ko Sakai, documentary), YOUR NAME (2016,
Makoto Shinkai, animation), DOUBLE LAYERED TOWN/MAKING A SONG TO REPLACE OUR
POSITIONS (2019, Haruka Komori, Natsumi Seo), VOICES IN THE WIND (2020, Nobuhiro
Suwa), THE HOUSE OF THE LOST ON THE CAPE (MISAKI NO MAYOIGA) (2021, Shinya
Kawatsura, animation) แล้วก็ IN THE WAKE แล้วก็พบว่าหนังที่เราชอบสุด
ๆ ทั้ง 7 เรื่องนี้มันเหมือนได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุสึนามิปี 2011 ทั้งนั้นเลย
ซึ่งนั่นก็หมายความว่าญี่ปุ่นน่าจะผลิตหนังดีๆ เกี่ยวกับประเด็นนี้ออกมามากกว่า 7
เรื่องแน่ ๆ เพียงแต่เรายังไม่ได้ดู อาจจะมีผลิตออกมาแล้วราว 70 เรื่องก็ได้
YOUR NAME อาจจะไม่ได้พูดถึงสึนามิตรงๆ นะ
แต่ผู้ชมหลายคนมีความเห็นตรงกันว่า
หนังเรื่องนี้เป็นความพยายามที่จะเยียวยาจิตใจผู้ชมจากเหตุการณ์สึนามิ
แล้วจริง ๆ ก็มีหนังอย่าง YARN (2020, Takahisa Zeze, A+30) ที่ตัวละครประกอบได้รับผลกระทบจากสึนามิจนกลายเป็นบ้าด้วย
ส่วน THE HOUSE OF THE LOST ON THE CAPE กับ IN THE
WAKE นี่มันมีจุดนึงที่พ้องกันมาก ๆ จนเราขำ เพราะหนังทั้งสองเรื่องนี้มันเริ่มต้นเรื่องด้วยตัวละครผ่านพ้นเหตุสึนามิ+แผ่นดินไหว
แล้วตัวละคร 3 คนก็มาเจอกันโดยบังเอิญในสถานที่หลบภัย เป็นหญิงชราคนนึง ,
คนวัยหนุ่มสาว กับเด็กเล็ก เด็กเล็กเหมือนโดนรังแกในสถานที่หลบภัย
ตัวละครที่เป็นหนุ่ม/สาวก็เลยโกรธ แล้วหญิงชรา, คนวัยหนุ่มสาว
กับเด็กเล็กก็เลยออกจากสถานที่หลบภัย ไปตั้งครอบครัวใหม่ด้วยกัน โดยเป็นครอบครัวที่ไม่ผูกพันกันทางสายเลือดเหมือนกันในหนังทั้งสองเรื่องเลย
คือหนังสองเรื่องนี้มันตรงกันมาก ๆ ตรงจุดนี้ 555555
แต่ตัวละครใน THE HOUSE OF THE LOST ON THE CAPE โชคดี เพราะหญิงชราในหนังเรื่องนี้ได้รับการเลี้ยงดูจาก “บ้านลวงตา”
โดยไม่ต้องพึ่งพาเงินสังคมสงเคราะห์แบบในหนังเรื่อง IN THE WAKE โชคชะตาของตัวละครบางตัวในหนังสองเรื่องนี้ก็เลยแตกต่างกันในตอนจบ
แล้วเราก็เลยสงสัยนิดนึงว่า ทำไมไทยถึงไม่ค่อยมีหนังเกี่ยวกับเหตุการณ์สึนามิปี
2004 ออกมามากเท่าญี่ปุ่น เหมือนนอกจาก WONDERFUL TOWN (2007, Aditya Assarat), 2022 สึนามิ วันโลกสังหาร (2009, Toranong Srichua) กับหนังสั้นหลาย
ๆ เรื่อง อย่างเช่น SHORTCUT TO HEAVEN (2008, Phaisit Phanphruksachat), ANDAMAN (2005, SOMPOT
CHIDGASORNPONGSE) ,AFTER SHOCK (2005, THUNSKA PANSITTIVORAKUL), TSU (2005, PRAMOTE
SANGSORN), GHOST OF ASIA (2005, APICHATPONG WEERASETHAKUL + CHRISTELLE LHEREUX),
TRAIL OF LOVE (2005, SUCHADA SIRITHANAWUDDHI), WAVES OF SOUL (2005,
PIPOPE PANITCHPAKDI), SMILES OF THE FIFTH NIGHT (2005, SONTHAYA SUBYEN), WORLD PRICELESS DAY (2005, LEK MANONT), etc. แล้ว
เราก็ไม่ค่อยได้เห็นหนังไทยที่พูดถึงเหตุการณ์นี้เลย (ไม่นับหนังฝรั่งอย่างเช่น THE
IMPOSSIBLE)
เราก็เลยเดาว่า สาเหตุที่หนังไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากเท่าหนังญี่ปุ่น
อาจจะเป็นเพราะ
1.ยอดผู้เสียชีวิตในไทยต่ำกว่าในญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก
2.เหมือนคนญี่ปุ่นอาจจะกังวลกับเรื่องนี้ตลอดเวลามั้ง
เพราะแผ่นดินไหวกับสึนามิมันอาจจะเกิดขึ้นในญี่ปุ่นได้อีก
แต่คนไทยไม่ได้กังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบในปี 2004 ขึ้นอีก
3.เหมือนคนไทยแบบเรามี trauma กับเรื่องอื่น
หรือกังวลกับเรื่องอื่นในใจด้วยมั้ง อย่างในยุคปี 2005 เป็นต้นมา
เราก็กังวลแต่กับเรื่องสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แล้วตั้งแต่ปี 2006 เราก็มี trauma
หนักมากกับเหตุการณ์รัฐประหาร
คนไทยกลุ่มนึงที่เป็นแบบเราก็เลยเหมือนไม่เคยนึกถึงเรื่องสึนามิในหัวอีกเลย
เพราะพวกเราไป trauma กับรัฐประหารแทน
คือถึงแม้ประเด็นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้กับรัฐประหารมันก็ไม่ได้ถูกนำเสนอใน “หนังไทยกระแสหลัก”
มากนัก แต่มันก็เป็นประเด็นที่ครอบงำจิตใจเรา ไม่ใช่ประเด็นสึนามิน่ะ
หรือเพื่อนๆ มีความเห็นอย่างไรบ้างก็บอกมาได้นะ
หรือจะแนะนำหนังญี่ปุ่นสึนามิเรื่องอื่น ๆ ก็บอกมาได้จ้า
No comments:
Post a Comment