Thursday, March 31, 2022

SECOND SEMESTER

 

ONCE UPON A TIME IN BANGKOK, THERE USED TO BE CINEPHILIC HEAVEN CALLED “INTERNATIONAL FILM FESTIVAL”.

ถ้าจำไม่ผิด เราได้รู้จักพี่วิคเตอร์ เกรียงศักดิ์ ศิลากอง เป็นครั้งแรก ตอนที่เขาจัดเทศกาลภาพยนตร์ Bangkok International Film Festival ในช่วงต้นปี 2003 ซึ่งมีการจัดงาน retrospective ของ Agnes Varda ในครั้งนั้นด้วย หนึ่งในหนังที่เราชอบสุด ๆ ที่ได้ดูในเทศกาลนั้นก็คือหนังเรื่อง LE BONHEUR (1965, Agnes Varda) ที่เราได้ดูที่มาบุญครอง

หลังจากนั้นพี่วิคเตอร์ก็ได้จัดเทศกาล World Film Festival of Bangkok ในปี 2003-2017 และได้กลับไปจัด Bangkok International Film Festival ด้วยอีกครั้งหนึ่งในปี 2007

มีหนังที่เราชอบสุด ๆ กว่าร้อยเรื่องที่เราได้ดูในเทศกาลที่พี่วิคเตอร์จัด ถ้าให้ลิสท์รายชื่อจริง ๆ ก็คงต้องใช้เวลาทั้งวัน เพราะฉะนั้นเราขอลงรูปให้ดูครั้งละเรื่องก็แล้วกัน

 

ONCE UPON A TIME IN BANGKOK, THERE USED TO BE CINEPHILIC HEAVENS CALLED “INTERNATIONAL FILM FESTIVALS”. (รำลึกถึงหนังที่ชอบสุด ๆ ที่เคยดูในเทศกาลภาพยนตร์ของพี่วิคเตอร์ เกรียงศักดิ์ ศิลากอง)

 

2. HI, TERESKA (2001, Robert Glinski, Poland)

 

เราได้ดูหนังเรื่องนี้ในเทศกาลภาพยนตร์ Bangkok International Film Festival ในปี 2003 ที่พี่วิคเตอร์เป็น programmer ถ้าจำไม่ผิด เราได้ดูหนังเรื่องนี้ที่โรงภาพยนตร์ในห้าง Siam Discovery

 

 ถือเป็นหนึ่งใน one of my most favorite coming-of-age films of all time เลย หนังเล่าเรื่องของหญิงสาววัยรุ่นผู้ยากจนที่ได้เป็นเพื่อนสนิทกับหญิงสาวผู้จัดจ้านกร้านโลก และนางเอกก็ค่อย ๆ ถลำลึกเข้าสู่ด้านมืดมากขึ้นเรื่อย ๆ ดูแล้วสะท้านสะเทือนใจอย่างรุนแรงมาก ๆ  

 

SECOND SEMESTER (2022, ภัทรภร วีระศักดิ์วงศ์, จตุพงศ์ รุ่งเรืองเดชาภัทร์, เอกภณ เศรษฐสุข, A+25)

เทอมสองสยองขวัญ

 

SPOILERS ALERT

 

--

--

--

--

--

1.เชียร์ปีสุดท้าย (ภัทรภร วีระศักดิ์วงศ์, A+30)

 

ชอบตอนนี้มากที่สุด อาจจะเป็นเพราะเราฝังใจกับประเด็นเรื่อง “เพื่อน” มั้ง เราก็เลยอินกับตอนนี้หรือรู้สึกรุนแรงกับตอนนี้มาก ๆ

 

ตอนแรกนึกว่ามันจะเป็นแค่หนังด่าพิธีกรรมรับน้องแบบโหด ๆ แต่ดีที่หนังมันมีอะไรมากกว่านั้นเยอะมาก ดูแล้วรู้สึกเข้าใจหรืออินกับตัวละครที่ต้องเผชิญกับทั้งความน่าอึดอัดของการรับน้อง, ความพยายามที่จะหาเพื่อนดี ๆ ใหม่ ๆ ซึ่งต้องแลกด้วยการพยายามทำตัวให้กลมกลืนกับคนหมู่มาก, การต้องคอยเทคแคร์เพื่อนเก่าที่มีปัญหารุนแรง และต้องรับมือกับผีด้วย

 

ชอบที่หน้าหนังมันเป็นหนังผี แต่จริง ๆ แล้วปัญหาเหมือนมาจาก “คน” มากกว่ามาจากผี (นางเอกเผชิญกับแรงกดดันอย่างรุนแรงทั้งจากทั้งรุ่นพี่, เพื่อนใหม่ และเพื่อนเก่า) หนังมันก็เลยสะเทือนหรือบาดลึกทางอารมณ์ต่อเรามากกว่าหนังผีทั่วไป นึกถึงหนังอย่าง DARK WATER (2005, Walter Salles) ที่หน้าหนังเหมือนเป็นหนังผี แต่จริง ๆ แล้ว “ปัญหาชีวิต” ของตัวละครมันสะเทือนอารมณ์อย่างหนักหน่วงกว่าความเป็นหนังผีมาก ๆ

 

ชอบมาก ๆ ที่หนังทำให้เราเปลี่ยนความคิดที่มีต่อตัวละครต่าย (แคร์  ปาณิสรา ริกุลสุรกาน) ด้วย เพราะตอนแรกเรามองเธอในทางไม่ดีที่เธอทรยศเพื่อน ไม่กล้าพูดความจริง แต่พอตอนหลังเธอระบายความในใจออกมา เราก็เข้าใจเธอมากขึ้น และเห็นใจเธอมาก ๆ ฉากนั้นปาณิสราแสดงได้ดีมาก ๆ สุดยอดมาก ๆ

 

ตัวละครอื่น ๆ ในเรื่องก็ดูเป็นมนุษย์ดี ตัว “เมษา” ก็ทั้งน่าสงสารและน่ารำคาญในเวลาเดียวกัน ตัวละครอื่น ๆ ในเรื่องอาจจะมีบทบาทเหมือน “ตัวร้าย” ทั้งรุ่นพี่และกลุ่มเพื่อนใหม่ แต่หนังสามารถทำให้พวกเขาดูเป็นมนุษย์ปุถุชน มากกว่าจะเป็นตัวร้ายแบน ๆ

 

ดูแล้วแอบนึกถึง THEY LIVE (1988, John Carpenter) โดยที่หนังไม่ได้ตั้งใจด้วย เหมือนการที่สองสาวเห็นผีมันคล้าย ๆ กับเป็นพลังจิตแบบพิเศษในการมองเห็น “ความจริง” ได้มากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะในฉากที่เมษาเห็นปีศาจอยู่ด้านหน้ารุ่นพี่ใจร้าย และฉากที่เห็นกลุ่มผีร้องเพลงเชียร์แบบกลับหัว ซึ่งเป็นฉากที่เราหวาดกลัวที่สุด และเป็นฉากที่มาหลอกหลอนเราตอนก่อนนอน คือพอหลังจากดูหนังเรื่องนี้เสร็จ แล้วถึงเวลาที่กูจะปิดไฟเข้านอน กูก็ชอบนึกถึงฉากกลุ่มผีร้องเพลงเชียร์แบบกลับหัวขึ้นมาค่ะ อีห่า 555555 ขอให้เพื่อน ๆ ทุกคนนึกถึงฉากนี้ตอนก่อนนอนแบบเราด้วยนะคะ

 

2. เดอะซี (จตุพงศ์ รุ่งเรืองเดชาภัทร์, A+25)

 

ถ้าวัดตามคุณภาพแล้ว ตอนนี้อาจจะน่าสนใจน้อยสุด แต่เราก็ชอบตอนนี้มากเป็นอันดับสองค่ะ เพราะดิฉันมีความสุขกับการได้ดูเจมส์ ธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญมาก ๆ ค่ะ ฉันรักเขา และเราอินกับสถานการณ์ของตัวละครมาก ๆ ด้วย เพราะเราอาศัยอยู่อพาร์ทเมนท์ตัวคนเดียวมานาน 27 ปีแล้ว  และเราต้องรับมือกับการป่วยไข้ด้วยโรคเหี้ย ๆ ห่า ๆ อยู่ตามลำพังในอพาร์ทเมนท์ตัวคนเดียวเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นหวัดไข้สูง, อาหารเป็นพิษ, หอบหืด, หมอนรองกระดูกเคลื่อน, etc.  

 

เหตุผลนึงที่ชอบก็อาจจะคล้าย ๆ กับตอนแรก คือหน้าหนังมันเป็นหนังผี แต่เราอินกับจุดอื่นของหนังอย่างมาก ๆ โดยในตอนสองนี้เราอินกับ “ความพยายามจะต่อสู้กับอาการป่วยทางกาย” ของตัวละครมาก ๆ น่ะ คือพอตัวละครมันเครียดสุด ๆ กับอาการป่วยทางกายของตัวเอง และไม่สามารถขอความช่วยเหลืออะไรจากใครได้ เราก็เลยอินกับหนังอย่างมาก ๆ ไปเลย เหมือนนี่แหละคือชีวิตกูเอง

 

อีกอย่างที่ชอบก็คือว่า นอกจากพระเอกจะต้องสู้กับอาการป่วยทางกายอย่างรุนแรงของตนเอง และสู้กับผีแล้ว พระเอกยังต้องต่อสู้กับปมปัญหาในใจของตนเองอย่างรุนแรงด้วย นั่นก็คือการยอมรับว่าสภาพร่างกายของตนเองไม่เหมาะกับการเป็นแพทย์ คือพอพระเอกต้องรับมือกับทั้งร่างกายที่บกพร่องมาก ๆ ของตนเอง, ปมปัญหาสำคัญในใจตนเอง และผีร้ายในเวลาเดียวกัน มันก็เลยทำให้หนังเรื่องนี้เข้าทางเรามากกว่าหนังผีโดยทั่ว ๆ ไป

 

ชอบการตัดสินใจของพระเอกในตอนจบนะ คิดว่าการตัดสินใจของพระเอกในตอนจบคือ “อัตตัญญุตา” แบบนึงมั้ง

 

แต่ก็ยอมรับว่าเนื้อหาของหนังมันไม่ใช่ทางเราแบบเต็มร้อยซะทีเดียวนะ ซึ่งก็คงเป็นเพราะหนังมันพยายามยึดโยงกับตำนานเตียงซีที่มีอยู่จริง ๆ นั่นแหละ เราก็เลยเสียดายมาก ๆ โดยเราคิดว่าจริง ๆ แล้วถ้าหากหนังเรื่องนี้มันจะเป็นหนังแบบที่เราชอบจริง ๆ หนังมันอาจจะต้องตัดตำนานเตียงซีทิ้งไปเลย แล้วมันอาจจะดัดแปลงมาได้แบบนี้

 

2.1 คือพอเราได้เห็นฉากพระเอกกล่าวคำปฏิญาณทางการแพทย์หรืออะไรสักอย่างในช่วงต้นเรื่อง เราก็นึกถึงกรณีของ พล.ต.นพ.เหรียญทอง แน่นหนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ ที่เคยโพสข้อความถึง “ส้มเน่า ควายแดง” ตอนแรกเรานึกว่าหนังจะเล่นประเด็นนี้ 55555

 

2.2 และพอในคำปฏิญาณทางการแพทย์มีพูดถึงการตั้งใจทำงานแม้จะเผชิญกับแรงกดดันหรืออะไรสักอย่าง เราก็นึกถึงกรณีทีมแพทย์อาสาถูกตำรวจควบคุมฝูงชนรุมกระทืบ แต่ปรากฏว่าหนังก็ไม่ได้เล่นประเด็นนี้ 55555

 

2.3 คือถ้าหากตัดตำนานเตียงซีทิ้งไป เราคิดว่าสถานการณ์ในหนังมันสามารถดัดแปลงให้กลายเป็นหนังที่เราชอบสุด ๆ ได้เลย นั่นก็คือหนังฆาตกรโรคจิตไล่ฆ่าหนุ่มหล่อที่ป่วยเป็นอัมพาตครึ่งซีกที่อาศัยอยู่ในหอพักตามลำพัง โดยหนังเน้นความ thriller ลุ้นระทึก ตัวละครหนุ่มหล่อที่เป็นอัมพาตครึ่งซีกจะทำอย่างไรในการหลบหนีจากฆาตกรโรคจิตที่อาจจะมีความแค้นฝังหุ่นแพทย์มากเป็นพิเศษ (ฆาตกรโรคจิตอาจจะแค้นแพทย์บางคนที่ไม่ทำตามคำปฏิญาณทางการแพทย์ เขาก็เลยบุกมาไล่ฆ่านักศึกษาแพทย์ในหอพัก แล้วเจอพระเอกหนุ่มหล่อพอดี) ลองนึกถึงหนังแบบ HALLOWEEN II (1981, Rick Rosenthal) ที่เป็นการไล่ฆ่าในโรงพยาบาล และ KRISTY (2014, Olly Blackburn) ที่เป็นการไล่ฆ่านักศึกษาในหอพักสิ เราว่าจริง ๆ แล้วสถานการณ์แบบใน “เดอะซี” มันง่ายต่อการดัดแปลงเป็นหนังฆาตกรโรคจิตมาก ๆ แล้วถ้าฆาตกรโรคจิตถูกทำร้ายแต่ไม่ตาย แพทย์ก็จะเจอ dilemma เองว่าจะฆ่าให้ตายหรือรักษาเขาให้ฟื้นเพราะตัวเองเป็นแพทย์ 55555

 

3. ตึกวิทย์เก่า (เอกภณ เศรษฐสุข, A+20)

 

กฤตย์ จีรพัฒนานุวงศ์น่ารักสุด ๆ กรี๊ดดดดดดด

 

เราว่าตอนนี้ไอเดียสร้างสรรค์ที่สุดแล้วนะ คือถ้าวัดตามคุณภาพแล้วตอนนี้เราว่าดีมาก ๆ แต่โดยปกติแล้วเรามักจะอินกับหนังสยองขวัญ แต่ไม่อินกับหนังตลกน่ะ เราก็เลยไม่ค่อยอินกับอารมณ์ในตอนนี้

 

แต่เราชอบที่จริง ๆ แล้วอารมณ์มันมีความคล้ายคลึงบางอย่างกับ “หอแต๋วแตก พจน์ อานนท์” มาก ๆ คือมีความเป็นผีบ้า ๆ บอ ๆ แต่ในหนังตอนนี้มันก็อาจจะมี “สาระ” ปะปนไปกับความตลกด้วยในเวลาเดียวกัน

 

 

 

 

 

 

 

No comments: