Sunday, July 24, 2022

HELLO WORLD!

 เพิ่งนึกขึ้นได้ว่า โรงหนังที่ Japan Foundation นี่น่าจะเป็นโรงหนังที่เรามาดูนานเป็นอันดับ 3 ของชีวิตมั้ง โดยโรงหนังของ Lido ที่สยามสแควร์ครองอันดับหนึ่ง เพราะเราน่าจะดูหนังที่ Lido ตั้งแต่ปี 1987  ไม่แน่ใจว่าเริ่มต้นด้วยเรื่อง โอม สู้แล้วอย่าห้าม GOLDEN SWALLOW (1987, O Sing-Pui) ที่นำแสดงโดยจงฉู่หง หรือเปล่า แล้วเรื่องล่าสุดที่ดูที่ลิโด้เมื่อไม่กี่เดือนก่อน ก็คือ LONG DAY'S JOURNEY INTO NIGHT สรุปว่าดูหนังที่ LIDO ติดต่อกันมานาน 35 ปีแล้ว


ส่วนอันดับสอง คือสถาบันเกอเธ่ ซอยสาทร 1 ที่เราเริ่มดูด้วยเรื่อง CLASS ENEMY (1983, Peter Stein) ในปี 1995 และเมื่อต้นปีนี้ก็ยังได้ไปดูหนังเรื่อง THE AUDITION (2019, Ina Weisse) ที่จัดฉายแบบกลางแปลงที่เกอเธ่ สรุปว่าเราดูหนังที่เกอเธ่มานานเกือบ 27 ปีแล้ว

ส่วนอันดับ 3 ก็ที่ Japan Foundation ถนนอโศกนี่แหละ หนึ่งในเรื่องแรก ๆ ที่ได้ดูที่นี่น่าจะเป็น THE NAKED ISLAND (1960, Kaneto Shindo) ในช่วงปลายปี 1995 มั้ง แล้วเรื่องล่าสุดที่ได้ดูที่นี่คือ THE PALE HAND (1990, Seijiro Koyama, A+30)  ที่ได้ดูในวันนี้ สรุปว่าเราได้ดูหนังที่นี่มานานเกือบ 27 ปีเหมือนกัน

แต่การมาดูหนังที่ JAPAN FOUNDATION ทำให้รู้สึก nostalgia มากที่สุด เพราะถึงแม้ห้องฉายหนังในปัจจุบันจะไม่ใข่ห้องเดิมเมื่อ 27 ปีก่อน แต่สภาพมันใกล้เคียงกันมาก และหนังก็ยังฉายด้วยฟิล์ม 16 มม. ซับตอกเก่า ๆ เหมือนเดิม

ส่วนที่ Lido นั้น โรงหนังในปัจจุบันแตกต่างจากเมื่อ 35 ปีก่อนมาก (แต่ก็อยู่ในสภาพดีนะ) ส่วนที่เกอเธ่นั้น การจัดฉายแบบกลางแปลงที่ร้อนอบอ้าว ก็ไม่ทำให้เราหวนนึกถึงอดีตเมื่อ 27 ปีก่อนเท่าไหร่

พอเราได้มาดูหนังที่ Japan Foundation ก็เลยมักจะนึกถึงอดีต อยากหลับตา แล้วลืมตาขึ้นมาอีกทีแล้วพบว่าตัวเองได้ย้อนกลับไปปี 1995 มาก ๆ
--

THE HEAD (2007, Deimantas Narkevicius, video installation, 12min, A+30)
--

THE EXHAUSTING DANCE (2021, Wantanee Siripattananuntakul, video installation)

ตอนดูจะงง ๆ ว่านี่คือกิจกรรมอะไรในการทำนาเกลือ เพราะเราไม่รู้ขั้นตอนการทำนาเกลือมาก่อน หลังจากนั้นเราก็เลยไปดูสารคดีของ Thai PBS ในยูทูบเกี่ยวกับขั้นตอนการทำนาเกลือ เพื่อหาว่ามันคือกิจกรรมอะไร 555
--

TERRAFORMING (2019-2022, Henry Tan and Partners, video installation)
--
VON KARMAN (2019-2020, Henry Tan and Partners, video installation)
--
RIP

ตกใจกับข่าวมาก ๆ

หนังเรื่อง อรไทไอศูรย์ PUSSY'S THRONE (2016, 36min) ของคุณ Sukrit Wongsrikaew ถือเป็นหนึ่งในหนังไทยที่ชอบที่สุดของทศวรรษ 2010 เลย

__

A BLOODY BUSINESS (2022  Sasapin Siriwanij, video performance, 6min, A+30)  รุนแรงมาก
--
A PERFECT PLACE 020122022 (LOG) (2022, Nipan Oranniwesna, video nstallation, 13min, A+30)

ตอนแรกนึกว่าเป็นหนังแนว James Benning ก็เลยดูไปแบบไม่ได้เพ่งอะไรมาก พออยู่ดี ๆ มันพลิกกลายเป็นหนังผี (หรือเปล่า) ก็เลยตกใจ 555555
--
THE BLUE GUY (2020, Samak Kosem, video installation, 10min, A+30)

ดีใจที่ใส่หน้ากากอนามัยขณะดูวิดีโอนี้กับวิดีโออีกอันของ Samak ในนิทรรศการเดียวกัน เพราะหน้ากากอนามัยมันช่วยปิดบังครึ่งหนึ่งของใบหน้าของดิฉันไว้ ผู้ชมคนอื่น ๆ อีกหลายคนที่เดินไปเดินมาใน gallery จะได้ไม่เห็นว่าดิฉันทำ "หน้าหีปริ่มอารมณ์" ขนาดไหนขณะดูวิดืโอ 2 ชิ้นนี้ 55555
--
EVERYTHING EVERYWHERE ALL AT ONCE (2022, Dan Kwan, Daniel Scheinert, A+30)

อันนี้ก็เน้นเขียนถึงชีวิตตัวดิฉันเองเป็นหลักนะคะ ไม่ได้เน้นเขียนถึงหนัง

1.ดูหนังเรื่องนี้ในวันที่ 6 พ.ค. แต่เพิ่งมีเวลาเขียน ชอบความไปสุดทางของหนังมาก ๆ เหมือนคนบ้าพลังที่ใช้พลังของตัวเองอย่างเต็มที่ ชอบที่พอมันจินตนาการถึง multiverse แล้วมันก็มีทั้ง multiverse ที่เป็นเลสเบียน, เป็นก้อนหิน, เป็นตุ๊กตาไล่ฝน, etc. ด้วย เหมือนมันเป็นจินตนาการที่ "ไร้ขีดจำกัด" ดี

2.ชอบมาก ๆ ด้วยที่จุดที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ทั้งหมดคือการไปจ่ายภาษีแล้วตบกับเจ้าหน้าที่ภาษี

3.ชอบไอเดียที่ว่า บางจักรวาลมันเกิดจาก "เส้นทางชีวิตที่เราไม่ได้เลือกเดิน" THE ROAD NOT TAKEN  ด้วยแหละ เพราะเราก็หมกมุ่นกับประเด็นนี้อย่างรุนแรงในชีวิตจริงเหมือนกัน และเราก็ชอบหนังแนว "อีกเส้นทางชีวิต" แบบนี้มาก ๆ หนังพวก IT'S A WONDERFUL LIFE (1946, Frank Capra), LA MODIFICATION (1970, Michel Worms), PEGGY SUE GOT MARRIED (1986, Francis Ford Coppola),  SMOKING/NO SMOKING (1993, Alain Resnais, 5 hours), SLIDING DOORS (1998, Peter Howitt), RUN LOLA RUN (1998,  Tom Tykwer), THE BUTTERFLY EFFECT (2004, Eric Brest, J. Mackye Gruber), THE LONG WALK (2019, Mattie Do, Laos), etc.

เพราะพอเราโตขึ้น และเจอปัญหาชีวิตมากมาย โดยเฉพาะปัญหาการเงิน และปัญหาสุขภาพ เราก็มักจะจินตนาการอยู่เสมอว่า ถ้าหากในอดีตเราเลือกเส้นทางชีวิตอีกแบบนึง ป่านนี้เราอาจจะมีความสุขไปแล้วก็ได้

แล้วเราก็ฝังใจอย่างรุนแรงกับนิยายที่พูดถึงอะไรแบบนี้ด้วยแหละ โดยเฉพาะนิยายเรื่อง "เพลงชีวิต" ของทมยันตี ที่นางเอกมีชายหนุ่มนิสัยดีมาแอบชอบ แต่เขาดันไม่แสดงออกให้เธอรู้ เธอเลยไปแต่งงานกับชายหนุ่มอีกคนนึง แล้วต่อมาก็ปรากฏว่า ผัวเธอเป็นคนเลวมาก เธอก็เลยได้แต่สำนึกเสียใจ ที่เธอเลือกผัวผิด คิดจนตัวตาย นี่ถ้าในอดีต เธอปึ้บชายหนุ่มอีกคนมาเป็นผัว ตอนนี้ชีวิตเธอจะมีความสุขสักเพียงไหน ตามเนื้อเพลงที่ร้องว่า

"หากฉันรู้สักนิดว่า เธอรักฉัน
บอกกันวันนั้นให้รู้สักหน่อย
ว่าดวงใจที่ฉันเฝ้าคอย
คงไม่เลื่อนลอย เป็นของใคร
เพียงแต่กระซิบ ว่าสุดที่รัก
ฉันก็จะมิอาจจากไป
ใจเราสองชอกช้ำระกำใน
คงไม่สลายมลายลงพลัน"

4.ถ้าหากมี multiverse แบบในหนังเรื่องนี้จริง เราก็จินตนาการว่า มันจะมีจักรวาลที่

4.1  เรามีผัวหนุ่มหล่อ แล้วมีลูกเป็นตุ๊กตาหมี

4.2 เราเกิดเร็วกว่านี้สัก 3 เดือน คือไปเกิดในเดือนพ.ย.-ธ.ค. 1972 แทนที่จะเกิดในเดือนก.พ. 1973 เพราะถ้าหากเราเกิดเร็วกว่านี้ 3 เดือน เราก็จะได้เข้าเรียนเร็วขึ้นอีก 1 ปี แล้วเราก็คงได้เป็น "เพื่อนร่วมชั้นเรียน" ของผู้ชายคนนึงที่เราตกหลุมรักอย่างหัวปักหัวปำตอนมัธยม แทนที่จะได้เป็นเพียงแค่รุ่นน้องของเขาในชีวิตจริง

4.3 ตอนม.ปลาย เราเลือกเรียนสายวิทย์ แทนที่จะเลือกเรียนศิลป์คำนวณแบบในชีวิตจริง ป่านนี้เราอาจจะกลายเป็นเภสัชกรหรือนักวิทยาศาสตร์ไปแล้วก็ได้ 555

4.4 เราตัดสินใจเรียนในคณะบัญชีต่อจนจบ แทนที่จะลาออกแล้วมาเอ็นท์ใหม่เข้าคณะอักษรแบบในชีวิตจริง ป่านนี้เราอาจจะรวยและมีผัวไปแล้วก็ได้

4.5 เราเลือกเอ็นท์เข้านิเทศ แทนที่จะเอ็นท์เข้าบัญชีหรืออักษรศาสตร์แบบในชีวิตจริง ป่านนี้เราอาจจะทำงานในวงการภาพยนตร์ไปแล้วก็ได้ 555

4.6  เรากลายเป็น cinephile ตั้งแต่ปี 1990 หรือตั้งแต่เข้ามหาลัย ทันได้ดูงาน retrospective ของ Werner Schroeter ที่สถาบันเกอเธ่ในกรุงเทพ และทันได้ดูงาน double retrospectives ของ Wim Wenders + Yasujiro Ozu ในกรุงเทพ

4.7 เราเลือกที่จะทำงานเป็นอาจารย์หลังเรียนจบ แทนที่จะทำงานแปลแบบในชีวิตจริง

4.8 เราตัดสินใจผ่อนซื้อคอนโดตั้งแต่เริ่มทำงานในปี 1995 คือถ้าหากเราเลือกซื้อคอนโดตั้งแต่ปี 1995 แทนที่จะเช่าอพาร์ทเมนท์อยู่แบบในชีวิตจริง ป่านนี้เราคงผ่อนหมดไปนานแล้ว 555

4.9 เราตัดสินใจทำงานเป็นเด็กเสิร์ฟที่ร้าน TELEPHONE  สีลมซอย 4 ไปเรื่อย ๆ แทนที่จะลาออกภายใน 3 เดือน (ในปี 1997) คือถ้าหากเราทำงานเป็นเด็กเสิร์ฟต่อไปเรื่อย ๆ บางทีเราอาจจะได้ผัวฝรั่ง ย้ายไปอยู่ยุโรปตั้งนานแล้วก็ได้ (แบบเพื่อน ๆ เด็กเสิร์ฟคนอื่น ๆ ใน TELEPHONE) ไม่ต้องนอนรอวันตายอยู่ในไทยแบบในปัจจุบัน

4.10 ถ้าช่วงที่เราเป็นเด็กเล็ก เราไม่ได้กลั่นแกล้งสัตว์ต่าง ๆ อย่างเช่น แมว, หอยทาก, จิ้งจก ป่านนี้เราอาจจะมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไปแล้วก็ได้ บางทีที่เราป่วยเป็นโรคอะไรต่าง ๆ นานาทุกวันนี้ สาเหตุส่วนนึงอาจจะเป็นเพราะกฎแห่งกรรมที่เราเคยกลั่นแกล้งสัตว์ต่าง ๆ ในวัยเด็กก็ได้

และก็มีอีกหลายทางเลือกในชีวิต ที่เราเลือกเดินผิดพลาดในอดีต เราก็เลยฝังใจกับหนังที่พูดถึงประเด็นพวกนี้มาก ๆ โดยเฉพาะ PEGGY SUE GOT MARRIED รักนั้น...หากเลือกได้, SMOKING/NO SMOKING แล้วก็เรื่องนี้
--
OUT OF THE DARKNESS (1971, Chatrichaloem Yukol, A+30)
มันมากับความมืด

สิ่งที่ทำให้ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุด ๆ ในแบบที่เราไม่ได้คาดไว้มาก่อน ก็คือการที่หนังเรื่องนี้มีหนุ่มหล่อถอดเสื้อ โชว์มัดกล้ามเดินไปเดินมาในหนังราว ๆ 6 คน ถ้าจำไม่ผิด 5555 คือมีทั้งกลุ่ม ๆ หนุ่ม ๆ ชนชั้นกลางที่เป็นเพื่อนนางเอก และกลุ่มหนุ่ม ๆ ชาวประมงราว 3 คนที่ดิฉัน want สุด ๆ 5555 คือเราได้ยินชื่อเสียงมานานแล้วว่า หนังเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหนัง thriller sci-fi เรื่องแรก ๆ ของไทย ซึ่งก็ทำออกมาได้ดี "ตามคาด" ตามมาตรฐานท่านมุ้ยอยู่แล้ว แต่เรื่องหนุ่ม ๆ ในหนังนี่เป็นสิ่งที่ดิฉันไม่ได้คาดหมายมาก่อนจริง ๆ นึกว่า เธอมากับความเงี่ยน
--
DOCTOR STRANGE IN THE MULTIVERSE OF MADNESS (2022, Sam Raimi, A+30)

Spoilers alert
--
--
--
--
--

1.ดูมาตั้งแต่วันที่ 6 พ.ค. แต่เพิ่งมีเวลาเขียนถึง 5555 ดีใจที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ก่อน EVERYTHING EVERYWHERE เพราะเราว่าถ้าหากเราดูหนังเรื่องนี้ทีหลัง EEAAO  หนังเรื่องนี้ก็คงจะจืดไปเลย

2.ชอบไอเดีย multiverse มาก ๆ เราเองก็อยากให้เรื่องแบบนี้มันเป็นความจริง เพราะเวลาเราหลับฝัน เราก็เหมือนได้เข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในโลกที่มันมีอะไรบางอย่างผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงแบบที่ไอเดียหนังเรื่องนี้นำเสนอ มันเหมือนกับเราเชื่อมจิตไป multiverse ได้ผ่านทางความฝันจริง ๆ

เราว่าหนังเรื่องนี้เอาไอเดียmultiverse มาใช้ในแบบที่สนุกเถิดเทิงมาก ๆ สำหรับเราด้วยแหละ เหมือนมันไปไกลกว่า PASSION OF MIND (2000, Alain Berliner) และ THE ONE (2001, James Wong) และมันทวีคูณความ multiverse ต่อจาก SPIDER-MAN: INTO THE SPIDER-VERSE (2018, Bob Persichetti, Peter Ramsey, Rodney Rothman) และ SPIDER-MAN: NO WAY HOME (2021, Jon Watts) แต่มันก็ยังสู้ EEAAO ไม่ได้อยู่ดี

3.หนึ่งในสิ่งที่ชอบที่สุดก็คือการสร้าง multiverse ที่ให้ Scarlet Witch มาเผชิญกับกลุ่ม Avengers ที่ประกอบด้วย Captain Carter, Black Bolt, Captaim Marvel สาวผิวดำ, Reed Richards จาก FANTASTIC FOUR และที่กรี๊ดที่สุดคือ Charles Xavier ชอบไอเดียนี้อย่างสุด ๆ แต่เสียดายที่หนังมันเหมือนวางพล็อตให้ตัวละครกลุ่มนี้ถูกฆ่าตายอย่างรวดเร็ว มันก็เลยไม่สะใจเท่าที่ควร อยากให้ตัวละครกลุ่มนี้สู้กันอย่างรุนแรงสักครึ่งชั่วโมง

ชอบช่วงที่ Xavier ล้วงเข้าไปในโลกทางจิตของ Scarlet Witch มาก ๆ เราชอบการต่อสู้กันในโลกทางจิตแบบนี้มาก ๆ นึกถึงทั้ง THE CELL (2000, Tarsem Singh), DREAMCATCHER (2003, Lawrence Kasdan), INCEPTION (2010, Christopher Nolan) และ DOCTOR SLEEP (2019, Mike Flanagan) ช่วงที่ Rose the Hat พยายามเข้าไปล้วงข้อมูลในหัวของ Abra Stone

4. ชอบไอเดียการใช้โน้ตดนตรีเป็นอาวุธด้วย

5. พอตอนจบเราเห็นการฝึกซ้อมของกองทัพของพวก Doctor Strange ก็เลยสงสัยว่าในอนาคตมันจะมีกองทัพของ superheroes แต่ละตัวมาปะทะกันเป็นสงครามโลกหรือเปล่า 555 เพราะเหมือน Black Panther ก็มีกองทัพของตนเอง, น้องสาวของ Shang-Chi ก็มีกองทัพของตนเอง, น้องสาวของ Black Widow ก็มีกองกำลังของตนเอง 555

6.ชอบที่เพื่อนคนนึงตีความในทำนองว่า multiverse เหมือนกับประเทศต่าง ๆ ตัวละคร America เหมือนคนถือพาสปอร์ตอเมริกาที่เข้าได้หลายประเทศ

เพราะเราเองก็รู้สึกว่า มันมี other versions ของตัวเราในแต่ละประเทศเหมือนกัน นึกถึงประสบการณ์ครั้งนึงเมื่อราวสิบปีก่อน ในเทศกาลหนังงานนึงในกรุงเทพที่ผู้จัดงานแนะนำเราให้รู้จักกับผู้กำกับภาพยนตร์ต่างชาติคนนึง หรือ film curator ต่างชาติคนนึง (เราจำไม่ได้แล้วว่าใคร) โดยแนะนำเราในทำนองที่ว่า เราเป็นคนที่ไปร่วมงานเทศกาลหนังบ่อยมาก ๆ พบเราได้ในทุกเทศกาลหนังในกรุงเทพ

แล้วผู้กำกับภาพยนตร์คนนั้นก็ตอบว่า "ในทุก ๆเมืองใหญ่ จะมีคนแบบเราอย่างน้อย 1 คน"

เราชอบคำตอบนั้นมาก ๆ มันเหมือนกับว่าในแต่ละประเทศ จะมี cinephiles แบบเราที่คลั่งไคล้การดูหนังทดลอง การดูหนังเทศกาลแบบนี้อยู่ เหมือนกับว่าในทุก ๆ ประเทศมี another version of jit phokaew อยู่ cinephile คนนั้นในแต่ละประเทศจะไปทำหน้าแป้นแล้นดูหนังอย่างมีความสุขตามเทศกาลหนังทดลองในเมืองของตนเอง พวกเขาแต่ละคนจะเหมือนกับเราตรงจุดนี้ แต่ชีวิตของพวกเขาแต่ละคนก็จะแตกต่างจากเราไปในด้านอื่น ๆ ของชีวิต

เพราะฉะนั้นพอเราเห็นเพื่อนเราตีความ multiverse ออกมาในทำนองนี้ เราก็เลยนึกถึงเรื่องนี้ขึ้นมา เรื่องที่ว่ามี cinephile แบบเราอยู่ในเกือบทุก ๆ ประเทศบนโลก 555
--
BEER! A LOVE STORY (2019, Friedrich Moser, Austria/Belgium, documentary, A+15)

ชอบความเนิร์ดของหนัง เหมือนผู้สร้างหนังคงรักความรู้หรือข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเบียร์ของผู้ประกอบการรายย่อยเหล่านี้ ก็เลยเดินหน้านำเสนอข้อมูลอย่างจริงจัง
--
THE FREEDOM OF TONGPOON KOKPO (1984, Chatrichaloem Yukol, A+30)
อิสรภาพของทองพูน โคกโพ

--
THE ELEPHANT KEEPER (1990, Chatrichaloem Yukol, A+30)
คนเลี้ยงช้าง
--
HELLO WORLD! (2019, Anne-Lise Koehler, Eric Serre, France, animation, A+30)

เราดูที่ Alliance มีสิทธิติด top ten ประจำปีไปเลย กราบตีน

animation สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 4 ขวบขึ้นไป ชอบทั้งภาพและเนื้อหาของหนัง ตัวภาพดูสวยงามและละเอียดอ่อนมาก ๆ ในความเห็นของเรา

เนื้อหาของหนังเล่าถึงชีวิตสัตว์น้อยใหญ่ในละแวกหนองน้ำ ทั้งบีเวอร์, นกฮูก, เต่า, ปลาประเภทต่าง ๆ, salamander, แมลงต่าง ๆ และสัตว์น้อยใหญ่มากมายราว ๆ ไม่ต่ำกว่า 10 ประเภท

สิ่งที่ดูแล้วทำให้เราต้องก้มลงกราบภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็คือเรามองว่า เนื้อหาของหนังมันโหดร้ายรุนแรงเกินคาดน่ะ คือตอนแรกเรานึกว่า หนังมันจะมาแนวอนุรักษ์ธรรมชาติ ธรรมชาติเป็นสิ่งสวยงาม แต่มนุษย์นั้นชั่วร้าย มาทำลายรุกรานธรรมชาติ อะไรทำนองนี้ แต่ปรากฏว่าไม่ใช่เลยค่ะ คือมีหมู่บ้านมนุษย์อยู่ในหนัง แต่ไม่มีมนุษย์ปรากฏตัวในหนัง หรือเข้ามายุ่มย่ามกับสัตว์น้อยใหญ่เหล่านี้ แต่แค่นี้ชีวิตก็โหดร้ายมากพออยู่แล้ว เพราะหนังเรื่องนี้เน้นสะท้อนความเป็นจริงตามธรรมชาติว่า "สัตว์อะไรกินสัตว์อะไรกันบ้าง" เพราะฉะนั้นเหล่าสัตว์ต่าง ๆ ในหนังเรื่องนี้จึงเหมือนต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังตลอดเวลา เพื่อไม่ให้ตัวเองถูกกิน ทั้งปลาที่ต้องคอยหลบนก, นกก็ต้องพรางตัวเพื่อหลบหมูป่า, แมลงก็ต้องระวังแมงมุม, ปลาตัวเมียบางประเภทพอร่วมรักกับปลาตัวผู้เสร็จ ก็กินผัวเป็นอาหารตามหลักธรรมชาติ, etc.

คือดูแล้วได้รับทั้งความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างเต็ม ๆ และได้ประจักษ์ด้วยว่า ธรรมชาติของโลกนี้มันดู "งดงามทางจักษุ" มาก ๆ แต่ธรรมชาติมันก็โหดร้ายรุนแรงมาก ๆ กับการที่สัตว์ต่าง ๆ ต้องใช้ชีวิตด้วยการกินสัตว์อื่น ๆ และต้องระวังไม่ให้ตัวเองถูกสัตว์อื่น ๆ กินตลอดเวลาแบบนี้ กราบที่สุด

หนังเรื่องนี้ตั้งชื่อเรื่องว่า HELLO WORLD! เพื่อสะท้อนความรู้สึกของสัตว์ต่าง ๆ ขณะลืมตาดูโลก แต่เรารู้สึกว่า หนังเรื่องนี้มันควรตั้งชื่อเรื่องว่า  "GOOD BYE CRUEL WORLD" เพื่อสะท้อนความรู้สึกของสัตว์ต่าง ๆ ขณะถูกสัตว์อื่นแดกมากกว่า
--

No comments: