COME HERE (2021, Anocha Suwichakornpong, A+30)
ใจจำลอง
1.ดูด้วยความงุนงงหนักมาก 55555 ดูจบแล้วก็เลยค่อยมาอ่านสิ่งที่เพื่อน
ๆ เขียนถึงหนังเรื่องนี้ โดยเฉพาะที่คุณ Ratchatpoom Boonbunchachoke และคุณ
Kamonlak Jirahitapat เขียนถึงหนังเรื่องนี้แล้วถึงค่อยเข้าใจหนังมากขึ้น
เพราะฉะนั้นเราจะพยายามไม่เขียนซ้ำถึงสิ่งที่เพื่อน ๆ เขียนไปแล้วนะ
และถ้าหากใครอยากเข้าใจหนังเรื่องนี้มากขึ้นก็ไปอ่านที่เพื่อน ๆ ของเราเขียนนะ
เพราะเราจะเน้นจดบันทึกความทรงจำของเราเองเป็นหลักจ้ะ
2.ถึงเราจะงุนงง แต่ก็ชอบหนังอย่างสุด ๆ นะ
เพราะเรามักจะชอบหนังที่เราไม่เข้าใจมันอยู่แล้ว 55555 โดยเฉพาะหนังที่ทำให้เรารู้สึกเหมือนก้าวเข้าไปในมิติพิศวงที่ทำให้เราตั้งตัวไม่ถูก
ไม่รู้จะคว้าจับหรือยึดอะไรไว้ มะงุมมะงาหรา คลำทางไม่ถูก
เหมือนต้องเปิดโสตประสาทสัมผัสของตัวเองอย่างเต็มที่ ลองใช้ความคิด, จินตนาการ,
ความทรงจำ, ความรู้ หรืออะไรต่าง ๆ ในหัวของตัวเองอย่างเต็มที่
เพื่อจะดูว่ามันช่วยให้เรา “ตั้งหลัก” ในการดูหนังเรื่องนั้น ๆ ได้ไหม
ซึ่งบางครั้งเราก็หาทางจูนกับหนังเรื่องนั้น ๆ ติด แต่ในบางครั้งเราก็จูนกับมันไม่ติด
แต่เราก็ชอบประสบการณ์ที่ได้รับจากหนังเรื่องนั้น ๆ อย่างสุด ๆ อยู่ดี เพราะการที่หนังบางเรื่องสามารถผลักเราเข้าไปในมิติพิศวงที่ทำให้เราตั้งตัวไม่ถูกนี่แหละ
คือความสุขความเพลิดเพลินอย่างหนึ่งสำหรับเรา และเหมือนเป็นสิ่งที่หนังทั่ว ๆ
ไปทำไม่ได้
บางทีเราก็รู้สึกว่า หนังทดลองแบบนี้นี่แหละ คือ “เครื่องเล่นในสวนสนุกในแบบที่เราต้องการ”
555555 คือเหมือนบางคนอาจจะเปรียบเทียบหนัง Marvel ว่าเหมือนรถไฟเหาะในสวนสนุกหรืออะไรทำนองนั้นมั้ง
ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด ซึ่งเราก็เห็นด้วยในแง่นึง เพราะหนังบันเทิงแบบนั้นมัน
thrill เราในแบบที่เราคาดเดาได้เหมือนการนั่งรถไฟเหาะ
แต่มันอาจจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อจิตใจเราในระยะยาว เหมือนดูหนังเรื่องนั้นแล้วสนุกสุดขีดแล้วก็จบกันไป
แต่เราพบว่าหนังทดลองบางเรื่องมันก็ “สนุก” มาก ๆ สำหรับเราในอีกมิตินึงนะ หนังทดลองบางเรื่องมันเหมือนเป็น
“เครื่องเล่นปริศนาหรือบ้านปริศนาจากแดนสนธยา” ที่ตั้งไว้ในสวนสนุก
ที่ไม่บอกผู้ชมว่าถ้าหากเดินเข้าไปในเครื่องเล่นนั้นหรือบ้านหลังนั้น
แล้วต้องทำอะไรต่อไป หรือจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ผู้ชมจะเห็นและได้ยินสิ่งต่าง ๆ
ในนั้น แต่สิ่งต่าง ๆ ในนั้นจะแผ่พลังที่ส่งผลกระทบต่อผู้ชมแต่ละคนในแบบที่แตกต่างกันไป
หรือผู้ชมแต่ละคนอาจจะเลือกคว้าจับสิ่งต่างๆ กันไปในแดนสนธยานั้น ผู้ชม A อาจจะเลือกหยิบวัตถุ
D หรือฉาก E ขึ้นมาพิจารณาอย่างใกล้ชิด
และใช้มันเป็นหลักในการคลำทางอื่น ๆ ต่อไป (เหมือนผู้ชมแต่ละคนอาจจะมองแตกต่างกันไปว่าฉากไหนคือ
theme หลักของหนัง) แต่ผู้ชม B อาจจะเลือกหยิบวัตถุ
F ขึ้นมาดู และเดินไปตามเสียงนำของมาดาม Y เป็นหลัก
(เหมือนผู้ชมแต่ละคนอาจจะมองแตกต่างกันไปว่าประโยคไหนสะท้อนธีมหลักของหนัง)
และในที่สุดผู้ชมแต่ละคนที่เข้าไปในเครื่องเล่นนั้นทางประตูเดียวกัน ก็อาจจะออกมาจากเครื่องเล่นนั้นที่ประตูทางออกที่ไม่ซ้ำกันเลย
ซึ่งอะไรแบบนี้เป็นสิ่งที่หนังทดลองทำได้ดีสุด ๆ สำหรับเรา คือการทำให้ผู้ชมแต่ละคนมีความเห็นแตกต่างกันไปเป็นอย่างมาก,
ตีความแตกต่างกันไปเป็นอย่างมาก หรือรู้สึกแตกต่างกันไปต่อหนังเรื่องเดียวกัน
ซึ่งมันจะแตกต่างจากการเล่นรถไฟเหาะหรือการดูหนังบันเทิงที่มี pattern เป๊ะ ๆ สำเร็จรูป
ซึ่งเอาเข้าจริง หนังที่ทำให้เรารู้สึก “มะงุมมะงาหรา” คลำทางไม่ถูก แบบนี้ก็มีแค่ไม่กี่เรื่องนะ
เราก็เลยชอบหนังที่ทำให้เรารู้สึกเหมือนเข้าไปในเครื่องเล่นพิศวงจากแดนสนธยาแบบนี้มาก
ๆ นอกจาก “ใจจำลอง” แล้ว หนังที่เคยส่งผลกระทบแบบนี้กับเราก็มีอย่างเช่น
2.1 HOTEL MONTEREY (1973, Chantal Akerman)
2.2 BERLIN (10 NOV. 1974 – 28 JAN. 1975) – EXERCISES IN NINE PARTS:
DREAMING UNDER WATER OF THINGS AFAR (1975, Rebecca Horn)
2.3 TAKE THE 5:10 TO DREAMLAND (1976, Bruce Conner)
2.4 VIDEO 50 (1978, Robert Wilson)
2.5 REALTIME (1983, Hellmuth Costard, Jurgen Ebert, West Germany,
110min)
2.6 THE POWER OF EMOTION (1983, Alexander Kluge, West Germany)
2.7 WHAT HAPPENED TO MAGDALENA JUNG? (1983, Christoph
Schlingensief)
2.8 BOONTHING (1991, Hamer Salwala, Saipin Kulkanokwan, Orawan Ovathasarn)
2.9 PROSPERO’S BOOKS (1991, Peter Greenaway, UK)
2.10 พิภพบรรฑูรย์ (2001, Uthis Haemamool)
2.11 SWEETHEART GARDEN มธุรส (2009, Tanatchai
Bandasak)
2.12 HEAVEN-HELL (2018, Dirk De Bruyn, Australia)
คือหนังพวกนี้เป็นหนังที่เราชอบสุดขีดทุกเรื่องแหละ
แต่ทุกเรื่องเป็นหนังที่ defy explanations สำหรับเรา คือเรารู้ว่าเราชอบสุดขีด
มีความสุขมาก ๆ ที่ได้ดูหนังกลุ่มนี้ แต่เราไม่สามารถอธิบายได้เลยว่า
แต่ละฉากในหนังมี “ความหมาย” ว่าอะไร, หนังเรื่องนี้ต้องการบอกอะไรกับผู้ชม,
ทำไมหนังเรื่องนี้ถึงต้องมีฉากนี้หรือฉากนั้นอยู่ในหนังด้วย ทั้ง ๆ
ที่ฉากเหล่านั้นมันไม่เกี่ยวข้องกันเลย อะไรทำนองนี้ 55555
3.ความรู้สึกโดยรวมสำหรับเราจากการดู “ใจจำลอง” คล้าย ๆ
กับกึ่งความฝันกึ่งกระแสสำนึกนะ คือเมื่อเราเข้านอนในตอนกลางคืนและฝัน ในหลาย ๆ
ครั้งสิ่งที่เราเห็นในฝันมันจะเป็นฉากที่ใกล้เคียงกับโลกแห่งความเป็นจริง แต่เป็นฉากที่มาเรียงร้อยต่อ
ๆ กันไปในแบบที่งง ๆ น่ะ
และเหมือนในบางครั้งตัวเราในความฝันก็จะเปลี่ยนสถานะไปเรื่อย ๆ แบบงง ๆ
หรือแบบที่ควบคุมไม่ได้ด้วย คือความฝันมันเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้และหาเหตุผลไม่ได้น่ะ
มันเหมือนเป็นทั้งส่วนผสมระหว่างโลกแห่งความเป็นจริง, ความทรงจำ, ความกังวล, จินตนาการ,
ความปรารถนา, จิตใต้สำนึก, ความไร้เหตุผล, บุพนิมิต, จิตนิวรณ์, เทพสังหรณ์,
ธาตุกำเริบ, etc. 55555 อะไรทำนองนั้น
เราก็เลยรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันใกล้เคียงกับ “ความฝัน”
มากกว่าหนังของ Luis Bunuel และ David Lynch อีกน่ะ
(แต่ไม่ได้หมายความว่ามันดีกว่านะ) คือเหมือนหนังของ Bunuel และ
Lynch มัน defy explanations ในหลาย ๆ
ซีนเหมือนกัน เพราะเหมือนทั้ง Bunuel และ Lynch น่าจะเชื่อฟัง “จิตใต้สำนึก” ของตัวเองในการสร้างหนังเหมือนกัน แต่เหมือนตัวองค์รวมของหนังของผู้กำกับทั้งสองคนนี้มันยังเป็นก้อนประเด็นหรือเนื้อเรื่องบางอย่างที่จับต้องได้ง่ายน่ะ
คือเหมือนหนังของทั้งสองคนนี้บรรจุพลังของจิตใต้สำนึกที่ไร้เหตุผลเข้าไปในก้อนวัตถุบางอย่างที่ผู้ชมจับต้องได้ง่าย
โดยก้อนวัตถุนั้นก็คือ “อารมณ์หุยฮา”ในหนังของบุนเยล
และ “เนื้อเรื่อง” ในหนังของลินช์ หนังของทั้งสองคนนี้ก็เลยยังไม่ได้ทำให้เรารู้สึกเหมือนเผชิญกับ
“ความไร้ตรรกะของความฝัน” มากเท่ากับใน “ใจจำลอง”
4.นอกจากความมะงุมมะงาหรา คลำทางไม่ถูกแล้ว สิ่งอื่น ๆ ที่เราชอบมาก ๆ
ใน “ใจจำลอง” อาจจะแยกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ นะ ซึ่งก็คือสิ่งที่เราอธิบายได้
และสิ่งที่เราอธิบายไม่ได้
สิ่งที่เราอธิบายได้ ก็มีอย่างเช่น
4.1 ฉากสวนสัตว์ดุสิต ซึ่งถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด ภาพมันคือภาพในอดีต
แต่เราไม่แน่ใจว่าเสียงมันคือเสียงจากตอนก่อนสวนสัตว์จะปิดทำการเมื่อไม่กี่ปีก่อนหรือเปล่า
แต่เราอาจจะเข้าใจผิดก็ได้นะ แต่ถ้าหากเราเข้าใจถูก
ฉากสวนสัตว์ดุสิตนี้ก็อาจจะเป็นการผสมภาพกับเสียงจากคนละเวลากัน
เหมือนฉากทางรถไฟสายมรณะในช่วงต้นเรื่อง ที่เป็นภาพจากปัจจุบัน
แต่เสียงเหมือนเป็นการสะท้อนการก่อสร้างทางรถไฟในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
4.2 การทดลองอะไรต่าง ๆ ทางภาพยนตร์ ซึ่งคุณ Ratchapoom ได้เขียนบรรยายอย่างละเอียดไปแล้ว
ทั้งการผสมภาพกับเสียงจากคนละเวลากัน, การ split screen ที่อธิบายไม่ได้,
การที่ตัวละครตัวนึงกลายร่างได้, การที่สายป่านเหมือนเล่นเป็น 2 ตัวละคร
(สองจุดนี้ทำให้นึกถึง LOST HIGHWAY ของ David Lynch มาก ๆ)
4.3 การเอาประสบการณ์ตอนไปเที่ยวต่างจังหวัดมาจำลองเป็นละครเวที ซึ่งทำให้นึกถึง
BY THE TIME IT GETS DARK และมิวสิควิดีโอ BACHELORETTE (1997) ของ Bjork
ที่กำกับโดย Michel Gondry ที่ความพยายามจะ reproduce
ความจริงบางอย่างมันย่อมเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องลดทอนหรือดัดแปลงอะไรต่าง
ๆ ในความเป็นจริงไปด้วย
5.ส่วนสิ่งที่เราอธิบายไม่ได้ นั่นก็คือว่า
เรารู้สึกว่าหลายฉากในหนังเรื่องนี้มันสร้างความประทับใจให้กับเราอย่างรุนแรงน่ะ
ทั้ง ๆ ที่เราไม่รู้ว่าฉากนั้น ๆ มัน “หมายความ” ว่าอะไร ซึ่งหนังทดลองหลายเรื่องที่เราลิสท์รายชื่อไปในข้างต้นก็สร้างความประทับใจให้กับเราในแบบคล้าย
ๆ กัน นั่นก็คือมันเต็มไปด้วยฉากที่สร้างความประทับใจให้เราอย่างรุนแรง
แต่เราไม่เข้าใจความหมายของฉากนั้น ๆ
ฉากที่เราชอบสุดๆ ในใจจำลองก็มีเช่น
5.1 ฉากหน้าต่างฉากละครเวทีที่กลายเป็นวิวจากรถไฟ อันนี้คือฉากที่ memorable ที่สุดเลยสำหรับเรา
5.2 การถ่าย Waywiree, ศร และ
เอมที่ให้ทั้งสามจ้องมาที่กล้อง รู้สึกว่ามัน memorable สุดๆ
เหมือนกัน
5.3 ฉากที่กลุ่มตัวละครนอนกันอยู่ในแพ ไม่รู้ทำไมดูแล้วรู้สึกราวกับว่าพวกเขาเหมือนเป็นเด็ก
ๆ ในสรวงสวรรค์ในฉากนี้
5.4 ฉากเพลงสามัคคีชุมนุมหรืออะไรทำนองนี้
5.5 ฉากสามหนุ่มเลียนแบบสัตว์
5.6 ฉากที่เอมร้องตะโกนแบบสัตว์ที่ระเบียงตึก
แต่ในแง่นึง เราก็คิดว่า “พลังความน่าจดจำ” ของฉากเหล่านี้สำหรับเรา
มันเกิดจากการที่เราไม่เข้าใจมันด้วยแหละ 55555 เพราะบางทีถ้าหากเราเข้าใจมัน
เข้าใจว่าฉากเหล่านี้มีความหมายว่าอะไร เข้าใจว่าฉากเหล่านี้ดำรงอยู่เพื่ออะไร
เราก็อาจจะเลิกคิดถึงมันอีก และลืมมันไปในที่สุด แต่พอเรารู้สึกประทับใจมัน และมองว่าฉากเหล่านี้มันงดงามและทรงพลังในตัวมันเอง
โดยไม่ต้องมีความหมายหรือเหตุผลใด ๆ ไปรองรับหรืออธิบายมัน ฉากเหล่านี้มันก็เลยฝังแน่นอยู่ในใจเราได้ดีกว่า
6.ดูแล้วนึกถึงภาพยนตร์เรื่อง “ดุจ จิต ใจ” LIKE REAL LOVE (2008, Anocha
Suwichakornpong, 38min) อย่างมาก ๆ เลยด้วย
ในแง่การนำเอาสิ่งต่าง ๆ ที่เหมือนไม่เกี่ยวข้องกันมารวมเข้าไว้ในหนังเรื่องเดียวกัน
55555
ถ้าหากเราจำไม่ผิด คุณอโนชาเคยบอกว่าหนังเรื่อง “ดุจ จิต ใจ”
ได้แรงบันดาลใจมาจาก “พิษไข้” หรืออะไรทำนองนี้มั้ง
แบบเป็นแรงบันดาลใจที่เกิดจากตอนป่วยเป็นไข้ เพราะฉะนั้นหนังที่ออกมาเลยเหมือนมีความเบลอ
ๆ งง ๆ ท้าทายคำอธิบายอะไรบางอย่างด้วย ถ้าหากเราจำไม่ผิด
ซึ่งเราก็รู้สึกว่า “ใจจำลอง” ก็มีความอะไรแบบนั้นเหมือนกัน
และดูเหมือนจะหนักข้อกว่า “ดุจ จิต ใจ” หลายเท่าด้วย 55555
ภาพนี้เป็นโปสเตอร์ที่เราเร่งแสงให้มันสว่างขึ้นนะ เพราะเราอยากรู้อยากเห็นว่ามีอะไรซ่อนอยู่ในความมืดหรือเปล่า
55555
No comments:
Post a Comment