Thursday, April 03, 2025

AN IMAGINARY FILM ABOUT AN ORGANIZATION IN THAILAND

 

‘Cause I am your teddy

And you are my man

Sometimes I am frightened, but I'm ready to learn
About the power of love

 

วันนี้กิน PIZZA ICE CREAM PEPPERONI ตัวไอศกรีมจริง ๆ แล้วคือชีส (ถ้าเข้าใจไม่ผิด)

 

IMAGINARY FILM WISH LIST

 

อยากให้มีคนสร้างหนังที่นำกรณีต่าง ๆ เกี่ยวกับบางหน่วยงานในประเทศไทย มาดัดแปลงให้เป็น fiction ที่ exaggerate เหตุการณ์หลายเหตุการณ์ให้เกินจริง และร้อยเรียงหลายๆ เหตุการณ์เข้าด้วยกัน ออกมาเป็นหนังแนว THE PHANTOM OF LIBERTY (1974, Luis Bunuel) ที่เต็มไปด้วยฉากต่าง ๆ อย่างเช่น จนท.บ้านเมืองที่สนับสนุนให้โรคพิษสุนัขบ้าแพร่ระบาด มีแต่สุนัขบ้า แมวบ้า วิ่งไล่พล่านกัดคนไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง, ฉากครูดอยที่ทำดีแต่โดนสั่งให้ออกจากราชการ, ฉากบรรณารักษ์ถูกสั่งห้ามใช้เงินซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด ฯลฯ และเป็นหนังแนว Kafkaesque ด้วย โดยต้องมีตัวละครบางตัวที่นั่งทำเอกสารมากมายเป็นเวลายาวนาน และต้องเจอขั้นตอนเหี้ยห่าต่าง ๆ ในการแก้ไขเศษสตางค์ให้ตรงตามที่จนท.ต้องการ อะไรทำนองนี้

 

ช่วงท้ายของหนังออกมาเป็น MURDER ON THE THAI EXPRESS มีตัวละครจนท.คนหนึ่งถูกฆ่าตายบนรถไฟ และบนรถไฟคันนั้นก็เต็มไปด้วยข้าราชการจากหลายหน่วยงานในไทย รถไฟขบวนนี้มีผู้ต้องสงสัยมากมายหลายสิบคน

++++++++

 

เทศกาลภาพยนตร์ Udine ประกาศรายชื่อหนังที่จะได้ฉายในปีนี้แล้ว อยากให้หนังหลายๆ เรื่องในเทศกาลนี้ได้รับการจัดจำหน่ายในไทยมาก ๆ ค่ายหนังต่าง ๆ ช่วยไปกว้านซื้อหนังในเทศกาลนี้มาฉายกันด้วยนะคะ

 

ดีใจสุดขีดที่ BETTING WITH GHOST ผีพารวย (2024, Nguyen Nhat Trung, Vietnam, A+30) กับ THE WOMAN IN UNIT 23B (2016, Prime Cruz, Philiippines, A+30) ได้เข้าฉายในเทศกาลนี้ด้วย เพราะเราชอบหนังทั้งสองเรื่องนี้อย่างรุนแรงมาก ๆ  BETTING WITH GHOST เพิ่งเข้าฉายตามโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศไทยในปีที่แล้ว ส่วน  THE WOMAN IN UNIT 23B เคยเข้าฉายที่โรงภาพยนตร์ Cinema Oasis ในกรุงเทพ

 

ดูรายชื่อหนังในเทศกาลภาพยนตร์ Udine ได้ที่

https://www.fareastfilm.com/archivi/FEFJ/files/2025/All%20The%20Films%20at%20A%20Glance%20FEFF%202025.pdf

 

 

 

Wednesday, April 02, 2025

KIM ASENDORF

 

MONOGRID (2021, Kim Asendorf, Germany, video installations, A+30)

 

ดูที่สถาบันเกอเธ่ ซอยสาทร 1

 

PXL DEX (2025, Kim Asendorf, Germany, video installations)

 

ดูที่สถาบันเกอเธ่ ซอยสาทร 1 งานวิดีโอชิ้นนี้เรายืนดูแค่ราว ๆ 1 นาที เพราะอากาศมันร้อน 55555 เราก็เลยไม่ได้ยืนดูนาน ๆ

 

ALTERNATE (2023, Kim Asendorf, Germany, video installations, A+30)

 

ดูที่สถาบันเกอเธ่ ซอยสาทร 1 ตัวงานจริงสวยมาก ๆ แต่เราไม่ได้เข้าไปถ่ายรูปใกล้ ๆ

 

SABOTAGE (2022, Kim Asendorf, Germany, video installations, A+30)

 

ดูที่สถาบันเกอเธ่ ซอยสาทร 1 เราได้ยืนดูงานนี้เป็นเวลาแค่ราว 30 นาที ประทับใจสุดขีดมาก ๆ ไม่นึกมาก่อนว่า computer art จะออกมาเป็นอะไรที่งดงามแบบนี้ได้

 

ตอนช่วง 1-2 นาทีแรกที่เรายืนดูงานของเขา เรามองว่า มันก็ไม่ต่างอะไรจากมิวสิควิดีโอเพลงแดนซ์เทคโนที่เราได้ดูในทศวรรษ 1990 ที่ชอบเอาคอมพิวเตอร์มาสร้างภาพ animation ยึกยือไปเรื่อย ๆ ตัวอย่างเช่น music video เพลง CASCADE (1993) ของวง The Future Sound of London

https://www.youtube.com/watch?v=WVRAPIXzb1o

 

แต่พอยืนดูงานของเขาไปเรื่อย ๆ เป็นเวลานานระยะหนึ่ง เราก็เปลี่ยนความคิด และมองว่ามันเป็นอะไรที่งดงามสุดขีดมาก เป็นความงดงามพิลาสพิไลในแบบของตัวเองจริง ๆ

 

เหมือนงานของเขาเป็น digital version ของหนังทดลองอย่าง THE DANTE QUARTET (1987, Stan Brakhage, A+30) ที่เป็นการเอาภาพแอบสแตรคท์สีสันสวยงามมาก ๆ มาเรียงร้อยต่อกันไปเรื่อย ๆ

 

รู้สึกว่า concept ในการสร้างงานของเขา มันทำให้นึกถึงองค์ประกอบบางอย่างในนิยายและภาพยนตร์ของ Alain Robbe-Grillet และภาพยนตร์ของ Peter Greenaway ด้วย แต่บอกไม่ถูกเหมือนกันว่า มันคืออะไรกันแน่

 

เราได้ยืนฟังสิ่งที่คุณ Kim Asendorf พูดในงานแค่แป๊บเดียว และเราก็ฟังไม่ออกทั้งหมดว่าเขาพูดว่าอะไรบ้าง แต่ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด

 

1. เหมือนเขาไม่แคร์ว่าคนจะจัดประเภทงานของเขาว่าเป็นศิลปะประเภทอะไร เขามองว่ามันเป็น digital art มั้ง ส่วนเราอาจจะมองว่า งานของเขาจัดเป็น computer art, generative art, abstract art, conceptual art หรืออะไรก็ได้ แล้วพองานของเขาถูกจัดแสดงในรูปแบบภาพเคลื่อนไหวแบบนี้ เราก็เลยแอบจัดให้งานของเขาที่เราได้ดูที่สถาบันเกอเธ่ ถือเป็น video installations ได้ด้วย 55555

 

2.เขามองว่า computer games ถือเป็นศิลปะประเภทหนึ่ง

 

3. เหมือนเขามองว่าผลงานศิลปะ CANNOT BE EXPLAINED ซึ่งเราก็ชอบจุดนี้ในผลงานของเขาอย่างรุนแรงมาก

 

4. เขาบอกว่า ถ้าหากตอนนี้เขายังเป็นนักศึกษามหาลัย เขาก็คงจะสนใจ AI และพยายามสร้าง AI art ออกมา แต่ตอนนี้เขาแก่แล้ว เขาก็เลยไม่มีเวลาศึกษา AI

 

เราเข้าใจเอาเองว่า เขาคงศึกษาเรื่องการเขียน code เรื่องการสร้าง computer software เพื่อสร้างงานศิลปะในแบบของตัวเขาเองมาเป็นเวลานาน 20 ปีแล้ว เขาก็เลยขี้เกียจมาศึกษาเรื่อง AI ต่อ

 

เราเข้าใจว่า เขาไม่ต่อต้าน AI art แต่ตัวเขาเองขี้เกียจที่จะมาเริ่มต้นศึกษาเรื่องการใช้ AI เป็น tool ในการสร้างงานศิลปะในตอนนี้ เพราะฉะนั้นเขาก็จะยังคงสร้างงานศิลปะด้วยการเขียน code เขียน program ด้วยตัวเองต่อไป แทนที่จะให้ AI เขียนให้

 

แต่เขาสนใจเรื่อง blockchain มาก ๆ ซึ่งเราไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย

 

5. เขาใช้ gut feeling ในการตัดสินใจว่างานศิลปะแต่ละชิ้นที่ทำอยู่ เสร็จแล้วหรือไม่ พร้อมแล้วหรือไม่ ถ้าหาก gut feeling บอกว่ามันเสร็จแล้ว ก็เท่ากับว่ามันดีพอแล้วสำหรับเขา โดยเขาไม่แคร์ว่ามันจะดีพอสำหรับคนอื่น ๆ หรือไม่ก็ตาม

 

ถ้าหากเราฟังผิดหรือเข้าใจอะไรผิดไป ก็ comment มาได้นะคะ

+++

 

วันนี้เราได้มาดูหนังที่ห้าง “บิ๊กซี บางพลี” เป็นครั้งที่สองในชีวิตการแสดงค่ะ หลังจากที่เราเคยมาเยือนห้างนี้เป็นครั้งแรกในวันที่ 19 มี.ค. 2024 เพื่อดูหนังเรื่อง PHUPHAN SOBBED ภูพานสะอื้น (2024, Prommee Deekoat, Parinya Baopetch, Suchart Pudjantueg, C+ )

 

โดยในการมาเยือนเป็นครั้งที่สองนี้ เราได้ดูหนังเรื่อง “มิสเก๋” หรือ THE HAUNTED APARTMENT ผีนรก 610 (2024, Guntur Soeharjanto, Indonesia, 103min, A+15) กับหนังเรื่อง THE LEGEND OF PHI TAKHON MASK ตำนานหน้ากากผีตาโขน (2025, Tang Stuntman แต่ง สตั้นแมน, 104min, C ) ค่ะ

 

ซึ่งก็เป็นเรื่องบังเอิญสุดขีดมาก ๆ ที่เราได้ดูหนังสองเรื่องนี้ต่อกัน แล้วก็พบว่า หนังสองเรื่องนี้ มันพูดถึง “หน้ากากที่มีอัญมณีสีแดงตรงกลางหน้าผาก” เหมือนกันทั้งสองเรื่องเลย

 

ในส่วนของหนังเรื่อง THE HAUNTED APARTMENT นั้น เรารู้สึกว่าหนังมันมี “ความปัญญาอ่อน” อยู่ แต่มันเป็นความปัญญาอ่อนในแบบที่เรามักพบได้ในหนังผีทั่วไป และเป็นสิ่งที่เราคาดเดาไว้แล้ว เพราะฉะนั้น “ความปัญญาอ่อนที่กูคาดไว้แล้วว่าต้องเจอในหนังทำนองนี้” ก็เลยไม่ได้ลดทอนความสุขในการดูหนังของเรามากนัก 55555

 

ส่วน “ตำนานหน้ากากผีตาโขน” นั้น เราพบว่าหนังค่อนข้างน่าเบื่อสำหรับเรา คือหนังมันอาจจะมีไอเดียอะไรน่าสนใจอยู่บ้าง อย่างเช่น การนำเอาเรื่องตำนานอภินิหารกับ “หนังบู๊” มาผสมกัน แต่เนื่องจากเราไม่ใช่แฟนหนังบู๊อยู่แล้ว จุดแข็งของหนังเรื่องนี้ อย่างเช่น ฉากบู๊ ก็เลยไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้มากขึ้น

 

แต่ไอเดียหนึ่งที่น่าสนใจ ก็คือการให้ตัวละครพระเอกต้องใส่หน้ากากตลอดเวลาในฉากบู๊ ซึ่งไอเดียดังกล่าวเปิดโอกาสให้ “stuntman” สามารถแสดงแทนพระเอกได้ตลอดฉากบู๊ พระเอกไม่ต้องเล่นเองเลยก็ได้ในฉากบู๊ เพราะตัวละครพระเอกใส่หน้ากากตลอดเวลาในฉากดังกล่าว

 

การสร้างฉากบู๊แบบนี้ ก็เลยทำให้เรานึกถึงละครโทรทัศน์เรื่อง “ศึกชิงเจ้ายุทธจักร” หรือ THE WATER LEGEND (1980) ที่เราชอบสุดขีด เพราะในละครทีวีฮ่องกงเรื่องนี้ มีตัวละครนำตัวหนึ่งที่แสดงโดย ฉีเส้าเฉียน ซึ่งฉีเส้าเฉียนเป็นดาราหนุ่มที่ฮอตสุดขีดในยุคนั้น เขาก็เลยไม่ค่อยว่างมาถ่ายทำละครทีวีเรื่องนี้ ทางผู้สร้างละครทีวีเรื่องนี้ก็เลยเขียนบทให้ตัวละครที่เขาแสดง “ใส่หน้ากาก” อยู่ช่วงหนึ่งของเรื่อง แล้วก็ให้ stuntman มาแสดงแทนฉีเส้าเฉียนในหลาย ๆ ตอนในช่วงที่ตัวละครดังกล่าวใส่หน้ากากอยู่ 555555

 

ไตเติล “ศึกชิงเจ้ายุทธจักร”

https://www.youtube.com/watch?v=HFj1kjhrLZw

 

แล้วพอเราดู “เครดิตช่วงท้าย” ของ “ตำนานหน้ากากผีตาโขน” เราก็สงสัยว่า ตกลงคนที่เล่นฉากบู๊แทนพระเอกในหนังเรื่องนี้ เป็น “หญิงสาว” ใช่ไหมนะ หรือเราเข้าใจผิด

 

Tuesday, April 01, 2025

SHE WORKS HARD FOR THE MONEY

 

Favorite Music Video: SHE WORKS HARD FOR THE MONEY – Donna Summer (1983, Brian Grant)

 

พอได้ดูกับได้ฟัง MV เพลงนี้แล้วก็ทำให้ย้อนรำลึกขึ้นมาได้ว่า เราเติบโตมากับการฟังเพลงแนว feminist และเพลงแนวเห็นใจชีวิตผู้หญิงในทศวรรษ 1980 และต้นทศวรรษ 1990 อย่างเช่นเพลง

 

1. GIRLS JUST WANT TO HAVE FUN (1983) – Cyndi Lauper

 

2. SISTERS ARE DOIN’ IT FOR THEMSELVES (1985) – Eurythmics

 

3. SUPERWOMAN (1989) – Karyn White

 

4. ALL WOMAN (1991) – Lisa Stansfield

 

5. SUCCESS HAS MADE A FAILURE OF OUR HOME (1992) – Sinéad O’Connor

 

พอเราไปอ่าน wikipedia เกี่ยวกับที่มาของเพลง SHE WORKS HARD FOR THE MONEY แล้วก็พบว่า มันน่าสนใจดีด้วย เพราะว่า Donna Summer ได้รับแรงบันดาลใจในการแต่งเพลงนี้จากการที่เธอได้พบ “พนักงานทำความสะอาดห้องน้ำหญิง” ชื่อ Onetta Johnson โดยบังเอิญในเดือนก.พ. 1983 โดยในคืนนั้นดอนน่า ซัมเมอร์ได้ไปเข้าห้องน้ำหญิงในร้านอาหารแห่งหนึ่ง ซึ่งในห้องน้ำมีการเปิดทีวีเสียงดัง แต่ดอนน่าก็พบว่า มีพนักงานทำความสะอาดห้องน้ำหญิงคนหนึ่งฟุบหลับอยู่อย่างเหนื่อยล้าในซอกมุมหนึ่งของห้องน้ำ แล้วดอนน่าก็คิดในใจว่า ”She works hard for the money.” แล้วก็นึกขึ้นมาได้ในทันทีว่า เธอสามารถนำสิ่งนี้มาแต่งเป็นเพลงใหม่ได้

 

ดอนน่าก็เลยแต่งเพลงนี้ขึ้นมา แล้วเพลงนี้ก็กลายเป็นชื่ออัลบั้มใหม่ของดอนน่า  แล้วดอนน่าก็เชิญ Onetta Johnson ซึ่งเป็นพนักงานทำความสะอาดห้องน้ำหญิงคนนั้น ให้มาถ่ายรูปร่วมกับดอนน่าในปกหลังของอัลบั้มด้วย