Wednesday, July 31, 2019

THE BUSH

THE BUSH (2019, Jirapat Tantiwattanakhul, A+25)

1.สาเหตุที่เราไม่ได้ชอบแบบสุดๆถึงขั้น A+30 เป็นเพราะมัน "โหดร้าย" เกินไปสำหรับรสนิยมส่วนตัวของเราน่ะ แต่มันน่าจะถูกใจแฟนหนังกลุ่มนี้อย่างแน่นอน

ส่วนหนังอย่าง "เปรตเดินดิน กินสมองคน"  CANNIBAL HOLOCAUST (1980, Ruggero Deodato) นั้น เราไม่เคยดู เพราะเรารู้อยู่แล้วว่ามันไม่ใช่หนังแนวที่เราชอบ เราก็เลยไม่ดู

แต่เคยดู THE GREEN INFERNO (2013, Eli Roth)  นะ ซึ่งเราชอบในระดับนึง เราว่า THE GREEN INFERNO มันไม่โหดเท่า THE BUSH  ด้วยแหละ เราว่า THE BUSH โหดกว่าในแง่ "การทำร้ายจิตใจคนดู"  โดยเฉพาะในช่วงท้ายของหนัง นอกจากนี้ THE GREEN INFERNO  มันมีประเด็นเรื่อง "การอนุรักษ์ธรรมชาติ" มาห่มคลุมหนังเอาไว้ด้วย มันเลยช่วยเจือจางความรู้สึกโหดร้ายของหนังลงได้

2.พอหนังมันไม่อธิบายว่า คนป่าพวกนี้มาจากไหน ทำไมถึงอยู่รอดในไทยมาได้จนถึงยุคปัจจุบัน หนังมันก็เลยเหมือนขาด ความน่าเชื่อถือลงไปในระดับนึงน่ะ เพราะมันทำให้เรารู้สึกว่า คนป่าพวกนี้ "ดำรงอยู่เพื่อสนองความ sadist ของคนดู" โดยตรง และมันก็เลยทำให้เรารู้ตัวตลอดเวลาว่าเรากำลังดู "ตัวละคร" และ "หนัง" อยู่ แล้วทำให้เรารู้สึกลุ้นไปกับตัวละครน้อยลง

3.แต่เราขอยกให้เป็น "หนังไทย classic" เรื่องนึงไปเลยนะ เพราะมันเป็นหนังไทยเรื่องแรกที่เราได้ดูที่ออกมาใน genre นี้ แล้วมันก็ทำออกมาได้ดีมากๆในแนวทางของมันเอง

4.อยากให้พัฒนาเป็นหนังยาวนะ เพราะเราว่าตัว concept ที่เป็นชนเผ่ามนุษย์กินคนมันน่าสนใจดี แต่ถ้ามันเป็นหนังยาวในจินตนาการส่วนตัวของเราเอง มันก็จะเริ่มต้นเรื่องด้วย แก๊งตัดไม้ทำลายป่า + แก๊งแกะลายแทงหาขุมทรัพย์ในป่าลึก ที่โดนชนเผ่านี้ฆ่าตายหมด ต่อมาก็มีทหารพรานเข้ามา แล้วกลุ่มทหารพรานก็ถูกชนเผ่านี้รุมข่มขืน แล้วหลังจากนั้นก็มีแก๊งเนตรนารีที่เดินทางไกลหลงเข้ามาในป่านี้, มีกลุ่มพระธุดงค์ที่มีคาถาอาคมเข้ามาในป่านี้ แล้วก็มีกลุ่มกะเทยชาวเขาที่สามารถเรียกงูเรียกผึ้ง (แบบในหนัง เดชคัมภีร์เทวดาภาค 1 และ 2 ) หลงเข้ามาในป่านี้ แล้วคนดูก็จะได้ลุ้นว่า ตัวละครคนสุดท้ายที่รอดชีวิตในตอนจบเพียงคนเดียว จะเป็นเนตรนารี,  พระธุดงค์ หรือกะเทยชาวเขา 555

CODE UNKNOWN (2019, Jakrawal Nilthamrong, video installation, 8min, A+30)

วิดีโอที่ชั้น 8 BACC เราชอบมากๆที่เอาเรื่องของคนที่เขียนแผนผังรหัสลับตามจุดต่างๆในกรุงเทพมานำเสนอ

HAMADA (2018, Eloy Dominguez, Seren, documentary, A+30)

1.เป็นหนังสารคดีเรื่องที่สามที่เกี่ยวกับ Western Sahara ที่เราได้ดู ต่อจาก LOST LAND (2010, Pierre-Yves Vandeweerd) และ 3 STOLEN CAMERAS (2017, Equipe Media + RAFILM Filmmakers Collective)

ชอบมากที่หนังสารคดี 3 เรื่องนี้ออกมาไม่เหมือนกันเลย โดย LOST LAND มีความ poetic สูงมาก ส่วน 3 STOLEN CAMERAS อัดแน่นไปด้วยพลังของความคั่งแค้นเจ็บปวดของผู้ถูกกดขี่ ส่วน HAMADA เหมือนเน้นตามติดชีวิตประจำวันของชาว Sahrawi ที่ลี้ภัยไปอยู่ในค่ายผู้อพยพในแอลจีเรีย เพราะฉะนั้นหนังมันจะหดหู่แบบซึมเซา ไม่ได้อัดแน่นเป็นระเบิดแบบ 3 STOLEN CAMERAS

2.ตัวละครหญิงสาวในเรื่องนี้กวนตีนดีมาก (คำชม)

3.มีฉากนึงที่เหมือนผู้อพยพหนุ่มๆชาว Sahrawi ในค่ายมาสุมหัวในห้องเดียวกัน บางคนก็เล่นดนตรี บางคนก็ดูเหมือนยืนหรือนั่งเฉยๆ แต่ทุกคนถูกอาบไล้ด้วยไฟดิสโก้ไปเรื่อยๆ

ฉากนี้ทำให้นึกถึง MANTA RAY  อย่างสุดๆ ราวกับว่าในชีวิตของคนที่อยู่ในจุดที่ "แทบจะหาสถานบันเทิง" ไม่ได้แบบคนเหล่านี้ ความสุขอย่างนึงของชีวิตที่พอจะหาได้ ก็คือการติดไฟดิสโก้ในห้องของตัวเองนี่แหละ

No comments: