Monday, July 22, 2019

TIDE

INVESTIGATING MY FATHER (2016, Wu Wenguang, China, documentary, A+30)

1. หนักที่สุด ชอบมากๆทั้ง form และ content ชอบที่หนังเรื่องนี้ทำให้เรารู้สึกว่า "หนังแบบนี้ก็มีบนโลกด้วย ไม่เคยพบเคยเจออะไรแบบนี้มาก่อน"

ส่วนของ form นั้นประหลาดมากๆ เพราะหนังน่าจะมีต้นกำเนิดมาจาก "การ presentation บนเวที" ของตัวผู้กำกับ เพราะฉะนั้น การเล่าเรื่องของหนังเรื่องนี้ก็เลยใช้วิธี

1.1 ดูภาพถ่ายเก่าๆ +  text บรรยายไปเรื่อยๆ

1.2 ดู "บันทึกเอกสารราชการ" ไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราชอบสุดๆ เพราะเราแทบไม่เคยเจอหนังที่ใช้วิธีการแบบนี้มาก่อน ยกเว้น LETTERS FROM SILENCE (2006, Prap Boonpan)

1.3 ดูบันทึกประจำวันของพ่อผู้กำกับ

1.4 ผู้กำกับบรรยายบนเวที

1.5 ฟังคลิปเสียงสัมภาษณ์แม่ผู้กำกับ

1.6 ดูคลืปที่ถ่ายบ้านเกิดของพ่อผู้กำกับ

2 ส่วนของ content ก็รุนแรงมาก มันเล่าเรื่องขีวิตคนจีนตั้งแต่ทศวรรษ 1930 ผ่านสงครามญี่ปุ่น, ปฏิวัติวัฒนธรรม, สังหารหมู่เทียนอันเหมิน เหมือนเป็นการรวมเอา TO LIVE (1996, Zhang Yimou), XIU XIU: THE SENT -DOWN GIRL (1998, Joan Chen), SUMMER PALACE (2006, Lou Ye) เข้าด้วยกัน

TIDE (2019, Wacharakorn Thaweesab, 30min, A+30)

1.ชอบความพิศวงของหนังนะ เหมือนหนังเลือกใช้วิธีการเล่าเรื่องแบบไม่ตรงไปตรงมา และน่าจะตั้งใจเปิดให้ผู้ชมตีความไปได้ต่างๆนานา

2.เราดูแล้วไม่รู้เรื่องเลย แต่ชอบความไม่รู้เรื่องนี้ ไม่แน่ใจว่าที่เราไม่รู้เรื่องเป็นเพราะเราแอบวูบหลับเป็นบางครั้ง (เพราะร่างกายไม่พร้อม) หรือเป็นเพราะเราตามเรื่องไม่ทันเองหรือเปล่า

เท่าที่เราพอจะจับความได้ เหมือนหนังแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆตัดสลับกันไปมา ซึ่งได้แก่ส่วนแรกที่พระเอกอยู่ตามลำพังในห้องเล็กๆที่เหมือนจะเป็นอพาร์ทเมนท์ เขาป่วยหนัก ฉี่เป็นเลือด และเขาออกไปเดินที่สวนสาธารณะในบางครั้ง
ส่วนส่วนที่สองคือส่วนที่พระเอกอยู่บ้านริมชายหาดอย่างมีความสุข  โดยมีหญิงสาวคนหนึ่งกับเด็กหญิงคนหนึ่งอยู่กับเขาด้วย เหมือนจะเป็นภรรยากับลูกสาวของเขา

นอกจากนี้ ยังมีส่วนที่เราเห็นศพผู้ชายคนหนึ่งที่เหมือนจะกระโดดตึกตายด้วย ซึ่งน่าจะเป็นพระเอก เราเห็นฉากนี้อย่างน้อยสองครั้ง ทั้งในฉากแรกๆของหนังและในส่วนท้ายๆของหนัง

3.เราไม่แน่ใจอะไรทั้งสิ้นว่าเนื้อเรื่องในหนังเป็นอย่างไรกันแน่ โดยตอนที่ดูหนังนั้น เราจินตนาการว่า

3.1 ฉากที่พระเอกนอนซมอาจจะเป็นปัจจุบัน ส่วนฉากบ้านที่ชายหาดอาจจะเป็นอดีต เขาอาจจะเคยมีเมีย, มีลูก, ร่ำรวย แต่ปัจจุบันเขาไม่มีเมีย, ไม่มีลูก, ยากจน, สุขภาพย่ำแย่ และคิดจะฆ่าตัวตาย แต่เหมือนหนังไม่บอกว่าเขาสูญเสียทุกอย่างในชีวิตไปเพราะอะไร

3.2 ฉากที่พระเอกนอนซมอาจจะเป็นปัจจุบัน ส่วนฉากบ้านที่ชายหาดอาจจะเป็นความใฝ่ฝันถึงอนาคต คือในปัจจุบันเขาอาจจะยากจน และเป็นโสด แต่เขาอาจจะทำงานหนักจนป่วย เขาใฝ่ฝันที่จะมีเมีย, มีลูกสาว และมีบ้านริมชายหาด ความใฝ่ฝันนี้อาจจะทำให้เขาพยายามที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป จนเขาหายจากโรคร้ายได้ในที่สุด หรือไม่เขาก็อาจจะตัดสินใจฆ่าตัวตายเพราะทนสู้ชีวิตไม่ไหวอีกต่อไป

3.3 แต่เราก็ไม่แน่ใจว่าสองสมมุติฐานข้างต้นมันถูกต้องหรือเปล่า บางทีเนื้อเรื่องจริงๆของหนังอาจจะไม่ได้เป็นแบบสองสมมุติฐานข้างต้นก็ได้

4.สรุปว่าชอบมากๆที่หนังเรื่องนี้เลือกทำออกมาในแบบที่พิศวงนี้ เราว่าหนังอาจจะไม่ได้ทรงพลังแบบสุดๆ แต่เรามักจะชอบหนังทดลอง/หนังเชิงกวี/หนังที่ไม่ได้เล่าเรื่องแบบตรงไปตรงมาน่ะ และหนังเรื่องนี้ก็ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่ออกมาใน genre ที่เราชอบ

ANNA (2019, Luc Besson, France/USA, A+25)

1.ชอบหนังแนวนี้ แต่เสียดายที่หนังเหมือนไม่มีอะไรใหม่ เหมือนเป็นแค่การผสม LA FEMME NIKITA กับ RED SPARROW (2018, Francis Lawrence) เข้าด้วยกัน

2.ชอบตัวสาวเลสเบียนมากที่สุดในหนัง เหมือนเธอดูมีความเป็นมนุษย์มากที่สุด และเป็นเหมือน "ส่วนเกิน" ทั้งของหนังและของชีวิตนางเอก สงสารเธอ

3.หนังมันจะเข้าทางเรามากกว่านี้ ถ้ามันลดความจริงจังลง แล้วมีตัวละคร "นางแบบสาวบู๊" เพิ่มเข้ามาอีกสัก 4 คน โดยที่ทุกคนเป็นศัตรูกันหมด อยากให้มีทั้งนางแบบจีน, นางแบบแอฟริกัน, นางแบบลาตินอเมริกา และนางแบบอิสราเอล บู๊ห้ำหั่นกันแบบในหนัง SO CLOSE (2002,  Corey Yuan) หรือ NAKED WEAPON (2002, Ching Siu-Tung)  และมี "ตัวละครเหี้ยๆ" แบบ The Adjudicator ใน JOHN WICK: CHAPTER 3 -- PARABELLUM โผล่เข้ามาให้โดนรุมตบด้วย


No comments: