VINCENT: THE LIFE AND DEATH OF VINCENT VAN GOGH (1987, Paul Cox,
Australia, A+30)
1.สุดๆ ดีใจมากที่ได้ดูหนังเรื่องนี้
ดูแล้วรู้สึกเข้าใจ Van Gogh ขึ้นเยอะมาก
เหมือนเป็นหนังที่ลงลึกใน “ความคิด” ของ Van Gogh มากที่สุด
เมื่อเทียบกับหนังอีกสองเรื่องเกี่ยวกับ Van Gogh ที่เราได้ดู
ซึ่งก็คือ VAN GOGH (1991, Maurice Pialat) กับ LOVING
VINCENT (2017, Dorota Kobiela, Hugh Welchman, Poland, animation) เพราะเหมือน
LOVING VINCENT จะเน้นแต่เหตุการณ์ภายนอก ส่วน VAN GOGH
นั้นเป็นหนังที่เราชอบสุดๆ แต่มันเหมือนเน้นคนละจุดกับ
VINCENT เลย
คือเหมือนหนังสองเรื่องนี้ช่วยเติมเต็มซึ่งกันและกันได้พอดี เพราะ VAN GOGH ของ Pialat มันเหมือนให้เราสัมผัสได้ถึงความขุ่นมัว
ขึ้งเคียด ทุกข์ตรม ในอารมณ์และจิตวิญญาณของ Van Gogh แต่มันไม่ให้คำอธิบายอะไรทั้งสิ้นถึงความคิดและการทำงานของ
Van Gogh น่ะ เพราะถ้าเราจำไม่ผิด ตัวละคร Van Gogh ในหนังของ Pialat ก็เป็นคน “พูดน้อย” นะ
เราจะเห็นแต่ใบหน้าเคร่งเครียดของเขาตลอดทั้งเรื่อง ในขณะที่ VINCENT นั้นสร้างจากจดหมายที่ Van Gogh เขียน เพราะฉะนั้นหนังเรื่องนี้ก็เลยถ่ายทอดถึงความคิดที่ซับซ้อนในหัวของ
Van Gogh ออกมาได้อย่างเต็มที่
ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏอยู่เลยในหนังของ Maurice Pialat มันก็เลยน่าสนใจมากๆที่ทั้ง
VINCENT ของ Paul Cox และ VAN
GOGH ของ Maurice Pialat ต่างก็สามารถถ่ายทอด “จิตวิญญาณ”
ของ Vincent Van Gogh ออกมาได้อย่างยอดเยี่ยมสุดๆเหมือนกัน
แต่ด้วยวิธีการที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง หนังเรื่องนึงพูดน้อย
หนังเรื่องนึงพูดมาก หนังเรื่องนึงเน้นความคิดภายใน ส่วนอีกเรื่องเหมือนให้เราเห็นแต่เหตุการณ์ภายนอก
หนังเรื่องนึงเต็มไปด้วยคำอธิบาย หนังอีกเรื่องไม่มีคำอธิบายอะไรทั้งสิ้น แต่ทั้งสองเรื่องก็ทรงพลังและงดงามในแบบที่อธิบายได้ยากเหมือนๆกัน
2.แต่เสียดายที่เราเหมือนหาวิธีการเฉพาะตัวในการจูนติดกับ
VINCENT หลังจากเวลาผ่านไปราว 3 ใน 4 ของเรื่องแล้ว 555
คือช่วงแรกๆที่ดู VINCENT เราก็ชอบสุดๆแล้วนะ
เราชอบมากที่เสียง voiceover หลายๆครั้งมันดูเหมือนพูดถึงอะไรที่เป็นนามธรรม
แต่ Paul Cox ก็สามารถหาภาพที่เหมาะสมมาประกอบกับเสียง voiceover
ได้ อย่างไรก็ดี เรารู้สึกเหมือนกับว่า
เรายังจูนไม่ติดอย่างเต็มที่กับหนังเรื่องนี้ เหมือนมีอะไรบางอย่างมันไม่ลงตัว
ก็เลยทำให้เราจูนไม่ติด
แต่พอเวลาผ่านไปราว 3 ใน 4 เราก็หาวิธีการที่เหมาะกับตัวเองเจอ
นั่นก็คือเราจะพยายามไม่อ่าน subtitle เลย 555 คือเหมือนกับว่า
เวลาที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราต้องดูภาพเคลื่อนไหว, ฟังเสียง voiceover แล้วอ่าน subtitle ซึ่งเยอะมากๆ และ subtitle
ก็แปลดีมาก แต่มันทำให้หัวสมองของเรา
(อาจจะเป็นเราคนเดียวที่เป็นแบบนี้) มัน overload เกินไปน่ะ
เพราะ voiceover + subtitle ของหนังเรื่องนี้มันไม่ได้พูดถึงอะไรง่ายๆ
หลายๆอย่างมันเป็นปรัชญา
หรือพูดถึงสิ่งต่างๆที่ทำให้เราต้องพยายามจินตนาการตามไปด้วย เพราะฉะนั้นเราก็เลยรู้สึกว่า
หัวสมองของเราทำงานหนักมากเป็นพิเศษในการดูหนังเรื่องนี้ เพราะหนังเรื่องนี้ไม่ได้เล่าเรื่องตรงๆด้วยภาพ+เสียง+subtitle
ที่สัมพันธ์กันโดยตรงแบบหนังทั่วไป แต่หนังเรื่องนี้ใช้ voiceover+subtitle
ในการกระตุ้นจินตนาการของผู้ชม พร้อมกับที่ผู้ชมต้องดูภาพเคลื่อนไหวบนจอไปด้วย
หัวสมองของเราก็เลยทำงานหนักเกินไปขณะดูหนังเรื่องนี้ในรอบเย็นวันทำงาน
แต่พอเราพยายามเลิกอ่าน subtitle ปุ๊บ
ทุกอย่างก็ลงตัวทันที รู้สึกจูนติดกับหนังอย่างรุนแรง ไหลลื่นไปกับหนังมากๆ
รู้สึกว่าหลายๆอย่างในหนังมันงดงามมากๆ รู้สึกว่าการออกเสียงคำแต่ละคำของ John
Hurt มันดีมากๆ มันไม่ใช่ voiceover ที่ธรรมดาเลย
รู้สึกว่าการเคลื่อนกล้องในหนังเรื่องนี้มัน graceful มากๆ
ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนกล้องขณะถ่ายภาพทิวทัศน์ หรือการเคลื่อนกล้องไปตามจุดต่างๆของ
paintings
คือเหมือนช่วงแรกที่เราแบ่งหัวสมองไปกับการจินตนาการตามคำทุกคำใน subtitle เราเลยไม่ได้สังเกตความงามของการออกเสียงคำแต่ละคำใน
voiceover และความงามในการเคลื่อนกล้องน่ะ
แต่พอเราปรับวิธีการดูหนังใหม่ เราก็เลย flow ไปกับหนังได้อย่างรุนแรง
แต่เราก็เหลือบดู subtitle เป็นพักๆนะ
เวลาที่ฟังไม่ออกในบางประโยค
3.เหมือนเราไม่เคยเจอประสบการณ์แบบนี้กับหนังเรื่องอื่นๆมาก่อนนะ
เพราะจริงๆแล้ววิธีการใช้ voiceover + ภาพ แบบนี้
ทำให้นึกถึงหนังอย่าง INDIA SONG (1975, Marguerite Duras), SUNLESS (1983,
Chris Marker) และ LONDON (1994, Patrick Keller) เหมือนกันน่ะ แต่ INDIA SONG มันเป็นหนังที่ “ช้า”
มากๆๆๆๆๆ มันไม่ได้พูดเป็นต่อยหอยแบบ VINCENT เราก็เลยไม่รู้สึกว่าหัวสมองของเรามัน
overload ส่วน SUNLESS กับ LONDON
นั้น เราได้ดูเวอร์ชั่นที่ไม่มี subtitle อะไรเลย
เราก็เลยดูไม่รู้เรื่องเลย 555
4.ตอนนี้อยากดู LUST FOR LIFE (1956, Vincente Minnelli) กับ VINCENT & THEO (1990, Robert Altman) มากๆ
เพราะหนังสองเรื่องนี้ก็สร้างจากชีวิตของ Van Gogh เหมือนกัน
และได้รับคำชมอย่างรุนแรงสุดๆเหมือนๆกัน
No comments:
Post a Comment