Sunday, October 13, 2019

MAKING THE GRADE

MAKING THE GRADE (2017, Ken Wardrop, Ireland, documentary, A+30)

1.งดงามที่สุด ตอนแรกเรานึกว่าดูแล้วจะไม่อิน เพราะเนื้อหาของมันเกี่ยวกับการเรียนเปียโน มันก็เลยดูเหมือนเป็นเรื่องของสังคมชนชั้นกลาง/คนรวยที่เราไม่มีส่วนร่วมด้วย

แต่พอดูๆไปแล้วแทบกราบผู้กำกับ เพราะเขาสามารถคว้าจับ "ประกายชีวิตที่งดงาม" ของผู้ให้สัมภาษณ์แต่ละคนออกมาได้ อย่างเช่น

1.1 นักเรียนที่เหมือนมีความบกพร่องทางสมอง

1.2 นักเรียนที่เหมือนมีความพิการทางร่างกาย

1.3 หนุ่มแฝดที่คนนึงเล่นกีตาร์ คนนึงเล่นเปียโน

1.4 คุณครูที่พูดแต่คำว่า nuance ซ้ำไปซ้ำมา

1.5 นักดนตรี heavy metal

1.6 +1.7  ครูสาวกับนักเรียนหนุ่มวัยเจริญพันธุ์

1.8 สาวที่เพิ่งหย่าผัว

1.9 แม่ชีที่สอนเปียโน

1.10 สาวผิวดำนักเรียนเปียโน

2.ดูแล้วนึกถึง Raymond Depardon ที่เก่งในการคว้าจับประกายชีวิตของผู้ให้สัมภาษณ์แต่ละคนออกมาในหนังสารคดีของเขาเหมือนกัน อย่างเช่นในหนังเรื่อง MODERN LIFE

3.ดูแล้วรู้สึกว่า บ้านเมืองไอร์แลนด์ น่าอยู่มากๆ ๆๆๆๆๆๆ ดูสุขสงบร่มเย็นมากๆ

 SO LONG, MY SON (2019, Wang Xiaoshuai, China, A+30)

1.ซึ้งมากๆ ชอบสุดๆ ชอบที่หนังเรื่องนี้เหมือนโฟกัสคนละจุดกับหนังของ Jia Zhangke คือหนังของ Jia อย่าง MOUNTAINS MAY DEPART และ ASH IS PUREST WHITE มันเล่าเรื่องชีวิตคนจึนในระยะเวลาราว 20-30 ปีเหมือนกัน แต่เหมือนมันเน้น landscape และจะไม่ลงไปขยี้อารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร แต่หนังอย่าง SO LONG, MY SON จะไม่เน้น landscape แต่จะลงลึกในความเจ็บร้าวของตัวละครมากกว่า

2. ดูแล้วนึกถึง GUNDERMANN (2018, Andreas Dresen, Germany) เพราะหนังทั้งสองเรื่องนี้เน้นเล่าเรื่องไม่เรียงตามลำดับเวลาเหมือนกัน และเน้นนำเสนอขีวิตที่เปลี่ยนแปลงไประหว่าง "ระบอบคอมมิวนิสท์ที่เคร่งครัดเข้มงวดมากในทศวรรษ 1980" กับ "ระบอบการปกครองที่ผ่อนคลายมากขึ้นในทศววรษต่อๆมา" เหมือนกัน

แต่สิ่งที่แตกต่างกีนมากก็คิอว่า ในขณะที่ GUNDERMANN ทำเหมือนตีลังกาแค่สองตลบ SO LONG, MY SON กลับตีลังกาซะ 5 ตลบ เพราะ GUNDERMANN เล่าสลับกันไปมาแค่สองช่วงเวลา คือช่วงเยอรมันตะวันออกยังดำรงอยู่ และช่วงที่เยอรมันตะวันออกล่มสลายไปแล้ว แต่ SO LONG, MY SON กลับเล่าตัดสลับกันไปมาหลายช่วงเวลามากๆ เช่น

2.1 ช่วงที่เพื่อนพระเอกยังไม่ติดคุก
2.2 ช่วงของการตั้งท้องลูกคนที่สอง
2.3 ช่วงที่ลูกคนแรกอายุราว 10 ปี ช่วงนี้นึกถึง THE END OF THE TRACK (1970, Mou Tun-fei, Taiwan) มากๆ
2.4 ช่วงของลูกบุญธรรม
2.5 ช่วงที่เห่าเหาเติบโตเป็นชายหนุ่มวัยฉกรรจ์

No comments: