THE SKY IS PINK (2019, Shonali Bose, India, A+25)
1.หนังสร้างจากเรื่องจริง ตัวละครหลักของเรื่องเป็นเด็กสาวที่ป่วยเป็นโรค SCID เธอบอกกับผู้ชมตั้งแต่ต้นเรื่องเลยว่า เธอตายแล้ว และเธอก็เล่าให้ผู้ชมฟังเกี่ยวกับเรื่องราวความรักของพ่อแม่ของเธอ และความยากลำบากของพ่อแม่ในการพยายามเลี้ยงดูเธอ ก่อนที่เธอจะตาย
ชอบที่หนังใช้วิธีการเล่าแบบนี้มากๆ เพราะพอหนังบอกผู้ชมตั้งแต่ต้นเรื่องว่า ตัวละครจะตาย รักษาไม่หาย มันก็เลยเหมือนช่วยให้หนังเรื่องนี้ไม่ฟูมฟายมากนัก ช่วยให้ผู้ชมทำใจล่วงหน้าได้ตั้งแต่แรก และทำให้มันแตกต่างไปจากหนังญี่ปุ่นหลายๆเรื่องที่พูดถึงผู้ป่วยเหมือนๆกัน
2.พอดูหนังอินเดียเรื่องนี้จบแล้ว ก็เลยสงสัยว่า ทำไมหนังเรื่องนี้ถึงเป็นหนังอินเดียเรื่องแรกที่เราได้ดู ที่เน้นย้ำเรื่องตัวละครป่วยเป็นโรคร้าย คือเหมือนเราได้ดูหนังอินเดียมาแล้ว 100 เรื่อง แต่นี่เป็นเรื่องแรกที่พูดถึงประเด็นนี้
ในขณะที่หนังญี่ปุ่นกลับเต็มไปด้วยตัวละครเจ็บป่วยอะไรทำนองนี้มากมาย คือเหมือนกับว่าในหนังญี่ปุ่นทุก 100 เรื่องที่เราได้ดู จะต้องมีตัวละครป่วยเป็นโรคมะเร็งหรือโรคร้ายอะไรสักอย่าง ราว 33 เรื่อง 5555 อย่างเช่น BRAVE FATHER ONLINE: OUR STORY OF FINAL FANTASY XIV (2019, Teruo Noguchi, Kiyoshi Yamamoto), THE TRAVELLING CAT CHRONICLES (2018, Koichiro Miki), SUNNY: OUR HEART BEATS TOGETHER (2018, Hitoshi One), HER LOVE BOILS BATHWATER (2016, Ryuta Nakano), THE MOHICAN COMES HOME (2016, Shuichi Okita), BE SURE TO SHARE (2009, Sion Sono), IKIRU (1952, Akira Kurosawa) และ DYING AT A HOSPITAL (1993, Jun Ichikawa) ซึ่งเรายกให้เป็นหนังที่เราชื่นชอบมากที่สุดในบรรดาหนังกลุ่มนี้
คือพอดูหนังอินเดียกับหนังญี่ปุ่นหลายๆเรื่อง เราก็เลยเกิดข้อสงสัยว่า อินเดียมันเป็นประเทศที่ระบบสาธารณสุขมันน่าจะย่ำแย่กว่าญี่ปุ่นมากๆไม่ใช่เหรอ แล้วทำไมตัวละครในหนังอินเดียถึงไม่ค่อยป่วยหนักกัน แต่ตัวละครในหนังญี่ปุ่นป่วยหนัก จะตายมิตายแหล่กันอยู่ตลอดเวลา อะไรคือสาเหตุที่ทำให้หนังสองประเทศนี้แตกต่างกันในจุดนี้ มันเป็นเพราะว่าอะไรกันแน่ ระหว่างปัจจัยเหล่านี้
2.1 คนอินเดียโดยทั่วไป สุขภาพดีกว่าคนญี่ปุ่นมากๆ หนังสองชาตินี้เลยสะท้อนความจริงตรงจุดนี้
2.2 หรือเป็นเพราะว่า คนญี่ปุ่นแค่ชอบดูหนังเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ซึ่งอาจจะเป็นผลสืบเนื่องมาตั้งแต่ช่วงระเบิดปรมาณู
2.3 หรือเป็นเพราะว่า ญี่ปุ่นไม่ค่อยมี "ปัญหาสังคมร้ายแรง" ให้เอามาเล่น ก็เลยเหลือแค่ประเด็น "การ แก่ เจ็บ ตาย" ของมนุษย์ ที่สามารถเอามาทำเป็นอารมณ์ดราม่าแรงๆได้
ส่วนหนังอินเดียที่เราได้ดูนั้น หลายสิบเรื่อง พูดถึง "ปัญหาสิทธิสตรี", "ปัญหาการก่อการร้าย", "ปัญหาปากีสถาน" หรือบางเรื่องก็พูดถึง "ปัญหาไม่มีห้องน้ำใช้" และ "ปัญหาการไม่มีผ้าอนามัยใช้"
เราก็เลยสงสัยว่า มันเป็นเพราะว่า อินเดียมันเต็มไปด้วยปัญหาเหี้ยห่ามากมาย ที่หยิบเอามาทำเป็นดราม่าในหนังได้หรือเปล่า ปัญหาการป่วยไข้ ก็เลยไม่ได้รับความสนใจจากผู้สร้างหนังไปโดยปริยาย
เชิญอภิปรายค่ะ 555
Sunday, October 20, 2019
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment