Thursday, November 07, 2019

DEW (2019, Chookiat Sakveerakul, A+30)


DEW (2019, Chookiat Sakveerakul, A+30)
ดิว ไปด้วยกันนะ

ไม่เน้นเขียนถึงหนัง แต่เราอยากจะแค่จดบันทึกว่า หนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึงเรื่องอะไรในชีวิตตัวเองบ้าง

SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--

1. ถ้าจำไม่ผิด เราน่าจะเคยคิดฆ่าตัวตายครั้งแรกตอนอยู่ป.6 ตอนนั้นคิดว่าจะใช้ผ้าห่มรัดคอตัวเองตาย พอมานึกย้อนกลับไปในตอนนี้แล้วก็รู้สึกขำมาก ไม่รู้ตอนนั้นคิดขึ้นมาได้ยังไง 55555 เหมือนตอนนั้นเราเคยทดลองเอาผ้าห่มรัดคอตัวเองแน่นๆอยู่สักครั้งสองครั้งด้วยมั้ง กะว่าวันไหนเราอยากตายจริงๆ เราค่อยลองรัดแน่นๆแล้วไม่ปล่อยดู แต่ตอนหลังเหมือนได้อ่านหนังสือที่บอกว่า เราไม่มีทางฆ่าตัวตายด้วยวิธีนี้ได้สำเร็จหรอก เพราะขณะที่เรารัดคอตัวเองแน่นๆ เราจะหมดสติก่อน แล้วมือเราก็จะปล่อยออกจากผ้าห่ม แล้วผ้าห่มมันก็จะคลายตัวออกจากคอเราเอง แล้วเราซึ่งหมดสติอยู่ก็จะกลับมาหายใจต่อไปเองโดยอัตโนมัติ เพราะฉะนั้นพอมานึกย้อนกลับไปแล้วก็ขำตัวเองในตอนนั้นมากๆ จำไม่ได้อย่างแน่ชัดแล้วว่าตอนนั้นทำไมถึงอยากฆ่าตัวตายด้วยวิธีการโง่ๆตั้งแต่อยู่ป.6 เหมือนมันเป็นบาดแผลของชีวิตที่เราพยายามจะลืมๆมัน แล้วเราก็เลยเลือกที่จะจำเฉพาะแง่มุมฮาๆของเหตุการณ์ที่เจ็บปวดมากๆแทน

พอขึ้นชั้นมัธยมต้น-มัธยมปลาย ก็เหมือนเจอมรสุมชีวิตอยู่หลายครั้ง คิดที่จะฆ่าตัวตายอยู่หลายครั้ง จำได้แต่ว่า ตอนนั้นกะว่าถ้าวันไหนเราทนมรสุมชีวิตไม่ไหวอีกต่อไป เราจะแอบลุกขึ้นกลางดึก ตอนราวๆเที่ยงคืน แล้วเชือดข้อมือตัวเองตาย

ตอนนั้นเราว่ายน้ำไม่เป็นด้วย บางครั้งเราก็กะว่า เราจะเดินลงแม่น้ำเจ้าพระยาไปเลย แต่เราก็ไม่เคยเดินเท้าไปจนถึงแม่น้ำเจ้าพระยา เราอาจจะเดินไปถึงแค่ปากซอย หรือกลางซอย เดินวนเวียนอยู่ในซอย แล้วก็กลับบ้าน หลอกตัวเองว่า ลองมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกสักหนึ่งวันดีกว่า เผื่อวันพรุ่งนี้เราอาจจะเจอ “สามีในฝัน” ก็ได้ แต่ถ้าวันพรุ่งนี้เราไม่เจอสามีในฝัน เราค่อยฆ่าตัวตายวันพรุ่งนี้ก็ได้ ยังไงวันนี้ขอเลื่อนการฆ่าตัวตายออกไปก่อนแล้วกัน พรุ่งนี้ก็ยังไม่สายเกินไปที่จะฆ่าตัวตาย หลอกตัวเองแบบนี้มาเรื่อยๆ จนในที่สุดก็เรียนจบมัธยมปลายมาได้

พอเราดู “ดิว ไปด้วยกันนะ” เราก็เลยอินกับช่วงครึ่งแรกของหนังอย่างสุดๆ โดยเฉพาะการที่ “ภพ” ตัดสินใจหนีออกจากบ้าน ตัดสินใจที่จะไปตายเอาดาบหน้า คือหนีไปแล้วจะรอดชีวิตหรือไม่ กูไม่รู้ แต่กูขอหนีไปก่อน มันเหมือนกับว่า หนังเรื่องนี้ทำได้ทั้ง “ตอบสนองความต้องการทางเพศ” ของเรา และ “เข้าใจความเจ็บปวด” ของเราน่ะ ในขณะที่ “รักแห่งสยาม” ทำได้แค่ “ตอบสนองความต้องการทางเพศ” ของเรา แต่เหมือน “รักแห่งสยาม” มันยังไม่เข้าใจความเจ็บปวดของเรา เพราะตัวละครใน “รักแห่งสยาม” มันไม่ได้ตัดสินใจหนีออกจากบ้านหรือฆ่าตัวตาย ซึ่งก็ไม่ใช่ความผิดของหนัง “รักแห่งสยาม” นะ มันเป็นเรื่องที่ว่า ประสบการณ์ชีวิตของผู้ชมแต่ละคนมันแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นหนังแต่ละเรื่องมันก็จะ touch ผู้ชมที่แตกต่างกันไปโดยปริยาย

เราก็เลยชอบหนังเรื่อง DEW อย่างสุดๆ โดยเฉพาะช่วงครึ่งแรกของหนัง มันเป็นหนึ่งในหนังไทยไม่กี่เรื่องที่เข้าใจความเจ็บปวดของเรา พอเราดู DEW แล้ว เราก็เลยจัดให้มันอยู่ในกลุ่มเดียวกับหนังอย่าง MOUCHETTE (1967, Robert Bresson), BU SU (1987, Jun Ichikawa) และ LOVELY RITA (2001, Jessica Hausner, Austria) เพราะหนังในกลุ่มนี้มีบางอย่างที่ทำให้เรานึกถึงตัวเองสมัยมัธยม และเหมือนหนังกลุ่มนี้มันจะเข้าใจความเจ็บปวดของเรา แต่ก็ประหลาดดีที่หนังทั้ง 3 เรื่องนี้มันเล่าเรื่องของ “วัยรุ่นหญิง” ไม่ใช่เกย์

ส่วนหนังเกย์ที่เราดูแล้ว “อิน” ที่สุด เรื่องนึง น่าจะเป็น TORCH SONG TRILOGY (1988, Paul Bogart) มั้ง แต่หนังเรื่องนี้มันก็ไม่ได้พูดถึงเกย์ในช่วงวัยรุ่น เพียงแต่ว่า “ความเจ็บปวดในใจ” ของตัวละครใน TORCH SONG TRILOGY มันเป็นสิ่งที่เรา relate ด้วยได้อย่างรุนแรงมากๆ

2.ส่วนช่วงครึ่งหลังของ DEW นั้น เราก็รับได้นะ คือเราไม่ได้อินเท่ากับช่วงครึ่งแรก แต่ก็มองมันในฐานะหนังแฟนตาซีอะไรไป 555 เพราะเราเองก็ชอบมีแฟนตาซีอะไรแบบนี้ด้วย เหมือนอย่างที่เราเคยเล่าไปแล้วว่า พ่อของเราตายไปตั้งแต่เราอายุ 3 ขวบ ในช่วงปลายปี 1976 เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่เกิดตั้งแต่ปี 1977 เป็นต้นไป อาจจะเป็นพ่อของเรากลับชาติมาเกิดก็ได้ และเราก็ชอบจินตนาการเล่นๆว่า ในบรรดาเพื่อนๆของเราใน FACEBOOK นี้ อาจจะมีใครสักคนที่เป็นพ่อของเรากลับชาติมาเกิดก็ได้นะ แบบว่าเราคุยกับเพื่อนใน FACEBOOK อยู่ แต่หารู้ไม่ว่าเราคุยกับพ่อของตัวเองอยู่ อะไรทำนองนี้ 555

3. อีกสิ่งหนึ่งที่ชอบมากใน DEW คือการที่มัน treat ตัวประกอบดีน่ะ เราชอบที่หนังแสดงให้เห็นความเจ็บปวดของแม่ดิวและของอร และที่สำคัญมากสำหรับเราก็คือว่า หนังมันเหมือนจะแสดงให้เห็นความเจ็บปวดของ “เด็กแข่งตอบคำถามวิทยาศาสตร์” ที่อาจจะแพ้เพราะหลิวเป็นต้นเหตุด้วย 55555

คือเราชอบที่หนังแสดงให้เห็นว่า เด็กๆกลุ่มนั้นร้องห่มร้องไห้น่ะ ซึ่งหนังก็ไม่ได้บอกว่า เด็กๆกลุ่มนี้แพ้การแข่งขันเพราะอะไร อาจจะเพราะเด็กๆกลุ่มนี้ไม่เก่ง หรืออาจจะเป็นเพราะว่าภพ “ลำเอียง” เอา “หลิว” เข้ามาร่วมทีมแข่งขันด้วย ทั้งๆที่หลิวไม่มีคุณสมบัติเหมาะสมพอก็เป็นได้ คือภพคงอยากให้หลิวระลึกชาติได้ด้วยการเดินทางไปเชียงใหม่น่ะ แต่หนังก็ไม่ได้แสดงให้เห็นว่า หลิวเก่งจริงพอที่จะร่วมทีมแข่งขันหรือเปล่า เพราะฉะนั้นหนังก็เลยทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่า ความลำเอียงของภพ หรือความรักที่ภพมีต่อหลิว/ดิว มันคือสิ่งที่สร้างความเจ็บปวดให้แก่ “เด็กๆในทีมเดียวกับหลิว” ด้วย นอกจากสิ่งนี้จะสร้างความเจ็บปวดให้แก่อรและท้อปแล้ว 555

เราว่าจริงๆแล้ว ตัวละครอย่าง “อร” นี่ spin off ไปเป็น “นางเอก” ใน side story ของตัวเองได้เลยนะ คือถ้ามองจากอีกมุมนึง เธอเป็น “นางเอก” ในเรื่องเล่าของตัวเองได้เลยนะ

และเราก็ชอบมากที่ว่า ต่อให้หนังมันจะแสดงให้เห็นว่าตัวละครบางตัวมันเจ็บปวด แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะต้อง “ทำลายหัวใจของตัวเอง” เพื่อไปเอาใจมึงน่ะ คือ your heart มันอาจจะแตกสลาย แต่ what about my heart ล่ะ แล้วถ้าเราอยู่โดยทรยศต่อหัวใจของตัวเอง เราจะมีชีวิตอยู่ได้นานจริงๆหรือ เราจะไม่ฆ่าตัวตายในวันนี้วันพรุ่งนี้หรอกหรือ เราก็เลยชอบความเห็นแก่ตัวของตัวละครในเรื่อง คือจริงๆแล้วเราก็ชอบหนังทั้งสองแบบแหละ หนังอย่าง THE BRIDGES OF MADISON COUNTY (1995, Clint Eastwood) ที่ตัวละคร “เลือกที่จะไม่ทำตามหัวใจของตัวเอง” เราก็ชอบอย่างสุดๆ แต่หนังอย่าง DEW, WEATHERING WITH YOU และ AE FOND KISS (2004, Ken Loach) ที่ตัวละครเลือกที่จะทำตามหัวใจของตัวเอง เราก็ชอบอย่างสุดๆ คือถึงแม้ว่าเราอาจจะไม่เห็นด้วยกับการกระทำของตัวละครในหนังบางเรื่อง แต่เราก็ชอบที่หนังมันสะท้อนความจริงที่ว่า มนุษย์มันก็เห็นแก่ตัวแบบนี้แหละ หรือ “ความรักมันก็มีด้านลบ” แบบนี้แหละ

4.ส่วนฉากครูรัชนีที่หลายคนชอบกันนั้น ตอนที่เราดู เรากลับไม่ได้มุ่งความสนใจไปยังคำพูดซึ้งๆของตัวละครตัวนี้เลย 5555 เพราะตอนนั้นเรากลับจินตนาการว่า ถ้าตัวเองเป็นคุณวราพรรณ เราคงกระหยิ่มยิ้มย่องอยู่ในใจว่า กูจะได้กอดเวียร์ในฉากนี้แล้ว 555

5.สรุปว่า ชอบครึ่งแรกของ DEW อย่างรุนแรงที่สุด เพราะมันทำให้นึกถึงชีวิตตัวเองในทางอ้อม ส่วนช่วงครึ่งหลังเราก็รับได้ ถึงแม้ว่ามันจะไม่ “ซาบซึ้งตรึงใจ” เราอย่างรุนแรงแบบหนังอย่าง DEJA VU (1997, Henry Jaglom) ก็ตาม

No comments: