Wednesday, November 06, 2019

WOMEN OF THE WEEPING RIVER

WOMEN OF THE WEEPING RIVER (2016, Sheron Dayoc, Philippines, A+30)

--ดูแล้วนึกถึง BEHIND THE SUN (2001, Walter Salles, Brazil, A+25) ที่พูดถึงประเพณีการฆ่าล้างแค้นเหมือนกัน ซึ่ง BEHIND THE SUN ดู visual กว่ามากๆ คือดูถ่ายสวยมากๆ แต่เราชอบ WOMEN OF THE WEEPING RIVER มากกว่านิดนึง เพราะเหมือน WEEPING RIVER มันดูจริงกว่า ดูเหมือนมันถ่ายทอดความเจ็บปวดในชีวิตของตัวละครออกมาได้มากกว่า

--ชอบช่วง Q&A กับผู้กำกับอย่างสุดๆ ได้รับความรู้เยอะมาก ผู้กำกับเล่าว่า WAYS OF THE SEA (2010) ซึ่งเป็นหนังยาวเรื่องแรกของเขา ประสบความสำเร็จสูง เพราะตอนที่มันฉายในเทศกาล CINEMALAYA ที่ฟิลิปปินส์นั้น คนคัดเลิอกหนังจาก PUSAN ได้ดู แล้วชอบ ก็เลยเอาหนังไปฉายที่ PUSAN แล้วพอมันได้ฉายที่ PUSAN คนคัดเลือกหนังจาก BERLIN ก็ได้ดู แล้วชอบมาก ก็เลยเอาไปฉายในเทศกาลหนังเบอร์ลิน อะไรทำนองนี้ ชื่อเสียงของหนังมันก็เลยทวีความดังขึ้นเรื่อยๆ

แต่  WOMEN OF THE WEEPING RIVER เป็นหนังที่ "ก้าวพลาด" เพราะหนังเรื่องนี้ได้ทุนสร้างจากเทศกาล  QCINEMA ในฟิลิปปินส์ ก็เลย world premiere ที่เทศกาลนั้น แล้วเหมือนกรรมการตัดสินรางวัลในเทศกาลนี้ คนนึงเป็นคนคัดเลือกหนังจาก Rotterdam ส่วนอีกคนมาจากพวกสาย directors fortnight หรือ critics week อะไรทำนองนี้ใน Cannes ทั้งสองชอบหนังมาก ก็เลยจะเอาไปฉาย โดยทางฝ่ายคานส์บอกว่า "จะเอาไปพิจารณาดูก่อน"

 Sheron ก็เลยตอบปฏิเสธทาง Rotterdam ไป เพราะอยากให้หนังได้ฉายที่คานส์มากกว่า แต่ปรากฏว่าพอถึงเวลาจริงๆ ทางคานส์ก็ไม่เอาหนังของเขาไปฉาย เพราะคานส์อยากได้หนังแบบ world premiere มากกว่า หนังเรื้องนี้ก็เลยไม่ค่อยได้ฉายในเทศกาลดังๆ แต่ได้ฉายตามเทศกาลหนังในอินเดียแทน

REMINGTON AND THE CURSE OF THE ZOMBADINGS (2011, Jade Castro, Philippines, A+30)

1.เป็นหนัง "ผี กะเทย ตลก" ที่สุดยอดมากๆ กราบผู้กำกับที่สามารถทำหนัง "ผี กะเทย ตลก" ที่สามารถสะท้อนปัญหาสังคม (ปัญหา homophobia) ที่ทั้งสนุก ตลก และมีหนึ่งในฉากที่โรแมนติกที่สุดเท่าที่เราได้ดูมาในปีนี้อยู่ด้วย

2.ชอบไอเดียของหนังมากๆ หนังเริ่มด้วยเรื่องของเด็กชายคนหนึ่งที่พูดจาดูถูกกะเทยคนหนึ่ง เขาก็เลยถูกกะเทยคนนั้นสาปให้กลายเป็นเกย์เมื่อเขาโตขึ้น

ต่อมาเด็กชายคนนั้นก็เติบโตเป็นหนุ่มหล่อ เขามีเพื่อนสนิทเป็นผู้ชายแมนๆคนนึง และพระเอกก็เริ่มตกหลุมรักหญิงสาวคนนึงในเมือง

แต่คำสาปกลับเริ่มออกฤทธิ์ พระเอกพบว่าตัวเองเริ่มกลายเป็นเกย์ และก็เริ่มตกหลุมรักเพื่อนสนิทแมนๆของตัวเองด้วย ในขณะที่เพื่อนสนิทคนนั้นก็ไม่รู้ตัว ยังคงแวะเวียนมานอนเตียงเดียวกับเขา ถอดเสื้อเปลือยท่อนบนต่อหน้าเขา และทำให้หัวใจของพระเอกแอบสั่นสะท้านหวามไหวลั่นระทึกอยู่ในอก โดยที่พระเอกไม่สามารถต้านทานฤทธิ์คำสาปได้

ฉากที่พระเอกคุยกับเพื่อนหนุ่มบนบันไดนี่ เรายกให้เป็นหนึ่งในฉากที่ romantic ที่สุดที่เราได้ดูในปีนี้เลย ดูแล้วรู้สึกอายม้วนต้วน แทบลงไปนอนเกลือกกลิ้งกับพื้นโรง มันเป็นฉากที่พาฝันมากๆ และเข้าอกเข้าใจจิตใจของ "กะเทยที่แอบอยากกินเพื่อนหนุ่ม straight ของตัวเอง" มากๆๆ กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด

3.แต่หนังยังไปไกลกว่านั้นอีกมากๆ เพราะในเมืองที่พระเอกอาศัยอยู่ มีฆาตกรโรคจิตที่ไล่ฆ่าเกย์ ดีงนั้นพระเอกจึงอาจจะตกเป็นเหยื่อของฆาตกรโรคจิตได้ทุกเมื่อ

4.และต่อมา เมืองของพระเอก ก็ถูกฝูงซอมบี้บุกด้วย

5.สรุปว่า มันเป็นหนังที่เราอยากให้ผู้กำกับหนังไทยหลายๆคนได้ดูมากๆ เพราะฉากหน้าของมันอาจจะดูเป็นหนัง ผี กะเทย ตลก ชั้นต่ำ คล้ายๆหนังไทย แต่เนื้อในของมันนี่ดีงามอร่ามศรีมณีเด้งที่สุด

PAPICHA (2019, Mounia Meddour, Algeria, A+30)

--เดือดมากๆ เศร้ามากๆ ดูแล้วอินมากๆ รักตัวละครนางเอกกับเพื่อนๆมากๆ

-- ไม่รู้มาก่อนว่าสถานการณ์ใน Algeria มันโหดร้ายมากขนาดนี้ ก่อนหน้านี้เราเคยดู VIVA ALGERIA (2004, Nadir Mokneche) ซึ่งก็นำเสนอชีวิตหญิงสาวใน Algeria เหมือนกัน แต่ก็ไม่โหดร้ายเท่า PAPICHA

--ปีนี้เราได้ดูหนัง feminist จากแอฟริกาเหนืออีกเรืองนึงด้วย ซึ่งก็คือ BEAUTY AND THE DOGS (2017, Kaouther Ben Hania, Tunisia, A+30) ซึ่งสร้างจากเรื่องจริงของหญิงสาวที่ถูกกลุ่มตำรวจข่มขืน ถ้าเทียบกันแล้ว เราชอบ BEAUTY AND THE DOGS มากกว่า PAPICHA เพราะ BEAUTY AND THE DOGS มันเต็มไปด้วยฉากลองเทคยาวราว 10 นาทีมาเรียงต่อๆกัน เพราะฉะนั้นอารมณ์ในแต่ละฉากมันเลยรุนแรงสุดๆ เข้มข้นสุดๆ

No comments: