RECOLLECTIVE SPACE ที่ระลึก (2021, Nat Sethana, video installation A+30)
ชอบมาก ๆ ที่เอา KING RAMA V'S VISIT TO EUROPE (1897) มาประกบกับ A TRIP TO THE MOON (1902, Georges Melies) เหมือนมันเป็นหนังยุคแรก ๆ ของไทยและต่างประเทศ, สะท้อนสิ่งที่ทำให้คนในยุคนั้นตื่นตาตื่นใจ และทำให้เรานึกทบทวนถึงความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงกว่า 100 ปีที่ผ่านมา ทั้งในแง่วิทยาการและโลกาภิวัฒน์
--
GOODBYE MISTER WONG (2021, Kiye Simon Luang, Laos, A+30)
1.รู้สึกว่าหนังมี wavelength ที่ประหลาดดี ก็เลยชอบมาก
2.landscape แหล่งน้ำ ทะเลสาบในหนังดีงามมาก ๆ
3.ดีใจสุด ๆ ที่ได้เห็นนักแสดงคนโปรดของเราสองคนในหนังเรื่องนี้ ซึ่งก็คือ Marc Barbe ( SOMBRE, NIGHTSHIFT, THE RING FINGER) กับ Nathalie Richard ( GANG OF FOUR, UP DOWN FRAGILE, LOVERS ของ Catherine Corsini)
4. ชอบการด่าจีนแบบอ้อม ๆ ในหนังเรื่องนี้
--
ชอบการแปลชื่อตัวละครใน FLOWERS OF SHANGHAI มาก ๆ นึกถึงตัวละคร "มรกต" กับ "ไข่มุก" ใน "ศึกสายเลือด" หรือตัวละครสาวตัวร้ายใน "เล็กเซียวหงส์" ที่มีชื่อว่า "ซุปเนื้อวัว" คือถ้าใช้เป็นชื่อตามเสียงภาษาจีนไปเลย มันจะไม่ได้อารมณ์รุนแรงแบบนี้ มันต้องใช้ชื่อตัวละครหญิงว่า "ซุปเนื้อวัว" แบบนี้นี่แหละ มันถึงจะน่าจดจำ
https://m.pantip.com/topic/36235940?
--
พอดูหนังเรื่อง TASTE OF WILD TOMATO แล้วเลยนึกถึงหลุมหลบภัยสมัยสงครามโลกครั้งที่สองที่สวนสุนันทามาก ๆ แม่เราเคยสอนที่ "วิทยาลัยครูสวนสุนันทา" (ยุคนั้นยังเป็นวิทยาลัยครูอยู่) เวลาเราตามแม่ไปที่ทำงาน ประมาณปี 1980-1983 เราจะรู้สึกกลัวหลุมหลบภัยนี้มาก เพราะมันดูรกร้าง ไม่เปิดให้คนเข้าไป แต่ตอนนี้เวลาผ่านมานาน 40 ปีแล้ว เราก็เลยสงสัยว่าหลุมหลบภัยที่สวนสุนันทามีสภาพเป็นอย่างไรแล้วบ้าง
--
THE DAUGHTER OF JAPAN (1935, Nyi Pu, Myanmar, A+25)
1. ดูแล้วก็สงสัยว่า แนวคิดของนางเอกหนังเรื่องนี้ที่ว่า "เราควรรักชาติมากกว่ารักองคชาต" (หรือรักผู้ชาย) มันคือแนวคิดแบบที่ช่วยหล่อหลอมให้เกิดสงครามโลกครั้งที่สองหรือเปล่า 555
คือดูหนังเรื่องนี้แล้วก็นึกถึง THE MOST BEAUTIFUL (1944, Akira Kurosawa) ที่มีนางเอกอุทิศตนอย่างรุนแรงเพื่อชาติญี่ปุ่นเหมือนกัน คือดูหนังสองเรื่องนี้แล้วเราก็ไม่เห็นด้วยกับค่านิยมในหนังทั้งสองเรื่องนี้หรอกนะ แต่คิดว่าหนังทั้งสองเรื่องนี้มีคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจมาก ๆ ทีเดียว ในแง่ที่ว่า มันช่วยบันทึกค่านิยมของญี่ปุ่นในยุคก่อนและระหว่าง WWII เอาไว้ และมันนำไปสู่คำถามที่ว่า ความรักชาติแบบนี้มันดีจริงหรือไม่ คือหนังนำเสนอความรักชาติในทางบวกอย่างมาก แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นดาบสองคมหรือไม่ แล้วเราก็ได้เห็นแล้วว่า ญี่ปุ่นทำอะไรไปบ้างในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งเหตุการณ์ the rape of nanking และในประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย
2.รู้สึกว่า คุณค่าของหนังเรื่องนี้ คือสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่ผู้สร้างหนังตั้งใจ เพราะผู้สร้างหนังอาจจะตั้งใจเชิดชูการเสียสละความรักส่วนตัวเพื่อชาติ หรือตั้งใจส่งเสริมความรู้สึกแบบชาตินิยม แต่พอคนในยุคปัจจุบันอย่างเราได้ดูหนังเรื่องนี้ เราก็เลยมองว่า หนังมันช่วยบันทึกค่านิยมแบบผิด ๆ ของยุคนั้นเอาไว้ หนังมันช่วยแสดงให้เห็นว่า ค่านิยมแบบใดที่คนเชื่อถือกันในยุคก่อน WWII
เราว่ามันน่าสนใจดี ที่ความรักในอะไรสักอย่าง อย่างเช่นความรักชาติของญี่ปุ่นและเยอรมนีในยุคสมัยนั้น ๆ มันถูกนำไปใช้ในการทำลายล้างประเทศอื่น ๆ หรือคนชาติพันธุ์อื่น ๆ อย่างรุนแรงและโหดร้ายสุด ๆ ด้วย มันเหมือนในบางครั้ง ความรักอย่างรุนแรงในอะไรสักอย่าง มันเชื่อมโยงกับ "ความเกลียดชัง และการเข่นฆ่าทำลายล้าง" สิ่งอื่น ๆ ที่แตกต่างหรือตรงข้ามกับสิ่งที่เรารักตามไปด้วย และเหตุการณ์แบบนี้ก็ดูเหมือนว่าจะยังคงเกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน
3. ถึงแม้เรามีแนวคิดที่ตรงข้ามกับนางเอกของ THE DAUGHTER OF JAPAN เพราะโดยทั่วไปแล้วเรารักองคชาตมากกว่ารักชาติ แต่เราก็ไม่ได้คิดว่ามันมีกฎเกณฑ์หรือหลักการอะไรที่ตายตัวนะ เพราะหนังอย่าง LUST, CAUTION (2007, Ang Lee) ก็แสดงให้เห็นว่า ความมัวเมาในองคชาตมากเกินไปในบางกรณี มันก็ไม่ดีเหมือนกัน 555
4.ถือเป็นหนังเก่าสุดอันดับสองของ Myanmar ที่เราได้ดู ส่วนหนังเก่าสุดยังคงเป็น THE EMERALD JUNGLE (1934, Muang Tin Muang, A+30)
--
Photos by Lel Kiatsirikajorn in the exhibition LAND FORM at SAC Gallery ดูภาพถ่ายชุดนี้แล้วนึกถึงภาพยนตร์ของ Teeranit Siangsanoh กับ Wachara Kanha มาก ๆ เพราะสองคนนี้ชอบทำหนังไซไฟ dystopia โดยใช้วิธีถ่ายตามสถานที่รกร้างในกรุงเทพ แล้วสมมุติว่ามันเป็นโลกอนาคต
No comments:
Post a Comment