Monday, December 13, 2021

TIONG BAHRU SOCIAL CLUB (2020, Tan Bee Thiam, Singapore, A+30)

 

TIONG BAHRU SOCIAL CLUB (2020, Tan Bee Thiam, Singapore, A+30)

 

spoilers alert

--

--

--

--

--

 

 

1. Thomas Pang น่ารักมาก ฉันรักเขา

 

2. ตอนดูก็ชอบสุด ๆ นะ แต่ก็งงกับหนังประมาณนึง เพราะตอนแรกนึกว่ามันจะเป็นหนังไซไฟแบบ THE STEPFORD WIVES (2004, Frank Oz), PARADISE HILLS (2019, Alice Waddington) หรือ GET OUT (2017, Jordan Peele) ที่ภายใต้ฉากหน้าที่สงบสุข มีความชั่วร้ายแฝงอยู่ แต่ปรากฏว่ามันไม่เป็นเช่นนั้น เหมือนพระเอกดูหัวอ่อนมาก ๆ แต่ก็มีความสุขไปได้เรื่อย ๆ ท่ามกลางการถูก monitor อย่างเข้มงวด แม้แต่ในตอนที่ร่วมรักกับเมียตัวเอง

 

คือตอนดูจะรู้สึกว่า มันคงเสียดสีอะไรบางอย่างในสิงคโปร์ แต่เราไม่แน่ใจว่าคืออะไร

 

3.แต่พอได้คุยกับเพื่อน ๆ ก็เลยมีการตั้งทฤษฎีกันว่า หนังอาจจะเสียดสีประชากรหลายคนในสิงคโปร์ ที่หัวอ่อนสุด ๆ ว่านอนสอนง่ายมาก ๆ ซึ่งไม่ใช่ประชากรกลุ่มนักเคลื่อนไหวที่เคยได้รับการนำเสนอในหนังอย่าง TO SINGAPORE, WITH LOVE (2013, Tan Pin Pin) และ THE RETURN (2015, Green Zeng) แต่อย่างใด

 

4. ฉากที่รู้สึกว่าน่าสนใจมากในหนัง คือฉากที่นักเคลื่อนไหวมาปลุกระดมชาวบ้านให้ไม่ขายบ้าน แต่ชาวบ้านรวมตัวกันขับไล่นักเคลื่อนไหวออกไป เพราะพวกเขาต้องการเงินที่จะได้จากการขายบ้าน แต่ไม่สนใจความทรงจำที่มีต่อสถานที่หรือชุมชน คือการนำเสนอชาวบ้านแบบนี้นี่มันเป็นอะไรที่แปลกหูแปลกตามาก ๆ สำหรับคนนอกสิงคโปร์อย่างเรา ซึ่งเป็นคนที่คุ้นชินกับการนำเสนอภาพชาวบ้านแบบชุมชนป้อมมหากาฬ, ชุมชนกระดาษ (ตรอกเจริญไชย ย่านเยาวราช ที่ถูกเวนคืนที่ดินเพื่อทำสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินวัดมังกร), etc. ที่ผูกพันกับถิ่นที่อยู่ของตัวเองอย่างรุนแรง เราก็เลยรู้สึกสนใจมาก ๆ ว่าฉากดังกล่าวในหนังเรื่องนี้มันสมจริงหรือเกินจริง (เพื่อเสียดสี) มากน้อยแค่ไหน

 

5.รู้สึกว่าถ้าหากเราเป็นตัวละครในหนังเรื่องนี้ เราคงเป็นคนทำทัวร์แมวที่ถูกไล่ออกเป็นรายแรก 555555

 

6.การทำงานรับฟัง complain ของพระเอก ก็ทำให้เรานึกถึงเรื่องที่เราเคยได้ยินว่า รัฐบาลสิงคโปร์ส่งเจ้าหน้าที่ไปทำงานรับฟัง complain แบบนี้ตามตึกที่อยู่อาศัยของชาวบ้านเป็นประจำ ซึ่งเราก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ในความเป็นจริงนั้น การทำงานแบบนี้ช่วยแก้ทุกข์สุขของประชาชนได้มากน้อยแค่ไหน คือเราว่าการส่งคนไปรับฟัง complain ของประชาชนตามตึกแบบนี้เป็นสิ่งที่ดีนะ แต่ในหนังเรื่องนี้ดูเหมือนกับว่า งานที่พระเอกทำมันดูไม่มีประสิทธิภาพจริง ๆ ยังไงไม่รู้

 

7.จริง ๆ แล้วเราว่าหนังเรื่องนี้ควรฉายควบกับหนังที่เราชอบสุด ๆ อีกเรื่อง ซึ่งก็คือ LIVING A BEAUTIFUL LIFE (2003, Corinna Schnitt,  13min) เพราะหนังทั้งสองเรื่องนี้ทำให้เรา “นึกไปเองว่ามันจะมีการระเบิดอย่างรุนแรงในช่วงท้าย แต่กลับไม่มีการระเบิดใด ๆ ทั้งสิ้น” 555

 

คือ LIVING  A BEAUTIFUL LIFE ทำให้เรารู้สึกเหมือนดูหนัง Michael Haneke ที่ตัวละครชนชั้นกลาง/คนรวยที่น่าหมั่นไส้ ไม่ได้รับการลงโทษใด ๆ ทั้งสิ้นน่ะ เพราะหนังเรื่องนี้นำเสนอคู่สามีภรรยาหนุ่มสาวร่ำรวยสองคน ที่มีชีวิตเพียบพร้อม ทั้งสองบรรยายถึงชีวิตที่สมบูรณ์แบบ เปี่ยมด้วยความสุขสุดขีดของตัวเองไปเรื่อย ๆ ซึ่งเรารู้สึกว่าถ้าหากตัวละครสองตัวนี้ไปอยู่ในหนังของ Haneke พวกมึงต้องไม่รอดแน่ ๆ พวกมึงต้องเจอดีแน่ ๆ ในช่วงท้ายของหนัง แต่ปรากฏว่าหนุ่มสาวผู้ร่ำรวยและเปี่ยมสุขทั้งสองไม่เจออะไรแบบนั้นเลย มันเหมือนกับว่าหนังเรื่องนี้ทำให้เราจุดชนวนระเบิดในใจตัวเอง และคิดว่า “ระเบิดในใจเรา” จะได้รับการระบายออกผ่านทางหนัง หนังจะ satisfy เราด้วยการให้เราได้ release ระเบิดในใจออกมาในช่วงท้าย แต่หนังเรื่องนี้กลับไม่ทำแบบนั้น เราก็เลยฝังใจกับหนังเรื่องนี้มาก ๆ ลืมหนังเรื่องนี้ไม่ลงตลอดช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา

 

เหมือน TIONG BAHRU SOCIAL CLUB ก็ส่งผลกระทบกับเราในแบบที่คล้าย ๆ LIVING A BEAUTIFUL LIFE คือเรานึกว่าหนังมันจะเฉลยว่าชุมชนนี้มีความชั่วร้ายแฝงอยู่ หรือไม่ก็มีกลุ่มตัวละครเป็นโรคซึมเศร้าอย่างรุนแรง, มีคนฆ่าตัวตายต่อหน้าทุก ๆ คนในชุมชน หรือมีการล่มสลายอย่างรุนแรงของชุมชนนี้ในที่สุด  แต่ปรากฏว่าหนังไม่ได้ satisfy เราในแบบนั้นเลย เราก็เลยรู้สึกว่าหนังมันมีอะไรคล้าย ๆ กับ LIVING A BEAUTIFUL LIFE ในแง่นี้

 

 

No comments: