VENGEANCE IS MINE, ALL OTHERS PAY CASH (2021, Edwin, Indonesia,
A+30)
1.สุดฤทธิ์ หนักมาก ๆ ไม่นึกว่า “หนังบู๊ภูธร”
แบบในทศวรรษ 1980 จะสามารถทำออกมาใหม่ให้เป็นหนังที่เราดูแล้วอินด้วยสุด ๆ
แบบนี้ได้
คือปกติเวลาเราดูหนังบู๊ภูธรแบบของไทยในทศวรรษ1980
เราจะชอบแค่ในระดับปานกลางน่ะ
เพราะเราว่าหนังกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มันเน้นขายความมันส์สำหรับกลุ่มผู้ชมที่อาจจะ identify ตัวเองกับพระเอกของเรื่องที่ได้ต่อสู้ห้ำหั่นกับผู้ร้ายอย่างรุนแรง
ซึ่งเราไม่ใช่ผู้ชมกลุ่มนี้ (เราก็เลยไปอินกับ “หนังเมโลดราม่าชีวิตผู้หญิง”
ของไทยในทศวรรษ 1980 มากกว่า แบบหนังของชนะ คราประยูร) และเราว่าหนังบู๊ภูธรหลายเรื่องในกลุ่มนี้พล็อตมันซ้ำ
ๆ กันจนดูแล้วงงไปหมดว่าเรื่องไหนเป็นเรื่องไหน อย่างเช่น “ป่าเดือด” (1984,
ไพโรจน์ ช่างแก้ว) กับ“สารวัตรเถื่อน” (1987, กิตติชัย) ซึ่งจริง ๆ
แล้วเราก็ชอบหนังสองเรื่องนี้มากพอสมควร แต่พอเวลาผ่านไปนาน ๆ
แล้วเราจะจำไม่ได้ว่าพล็อตเรื่องไหนเป็นเรื่องไหน แต่ก็มีหนังบู๊ภูธรบางเรื่องที่เราชอบสุด
ๆ นะ อย่างเช่น “ปีนเกลียว” (1994, อรนุช)
แต่กับ VENGEANCE IS MINE, ALL OTHERS PAY CASH นี่เราอินด้วยมาก
ๆ และเราว่ามันน่าจดจำสุด ๆ เลยสำหรับเรา เพราะว่า
1.1 นางเอกบู๊เก่งสุด ๆ เราก็เลยมีตัวละครที่ identify ด้วยได้
หรือเอาใจช่วยหรือรักตัวละครได้อย่างเต็มที่
1.2 ตัวละครพระเอกก็ไม่ได้ดู macho จนน่าหมั่นไส้สำหรับเรา
เพราะเขาไร้สมรรถภาพทางเพศ
ตัวละครตัวนี้ก็เลยไม่ได้เปล่งรัศมีความเป็นชายในแบบที่เรารังเกียจมากนัก 55555
1.3 หนังไม่ได้ขายอารมณ์มันส์ ๆ จากฉากบู๊เป็นหลักน่ะ
เหมือนหนังแค่เอาพล็อตเรื่องกับรูปลักษณ์ของหนังบู๊ภูธรมาใช้ แต่จริงๆ
แล้วหนังมันเน้นเนื้อเรื่องแบบที่เราว่าอาจจะเป็น allegory ทางการเมืองของอินโดนีเซียอะไรแบบนั้นมากกว่า
และพอเหมือนหนังมันไปเน้นเนื้อเรื่อง มากกว่าอารมณ์มันส์ ๆ
จากฉากบู๊แบบผู้ชาย macho มาห้ำหั่นกัน เราก็เลยอินกับหนังเรื่องนี้มากกว่าหนังบู๊ภูธรโดยทั่วไป
2.ชอบสุด ๆ ที่หนังเรื่องนี้มีความเป็น “หนังผีเกรดบีในทศวรรษ
1980” ผสมอยู่ในหนังด้วย หนังเรื่องนี้ก็เลยเหมือนเป็นการเอา genre หนังเกรดบีสอง genres ในทศวรรษ 1980 มาทำใหม่ในแบบที่ออกมาดูแล้วงดงามสุด
ๆ
ในแง่นี้เราชอบหนังเรื่องนี้ในระดับมากกว่าหรือเท่ากับหนังของ Quentin Tarantino เลยนะ
เพราะเราว่าหนังของ Tarantino หลาย ๆ เรื่องมันคือการเอา genres
หนังเกรดบีในอดีตมาดัดแปลงใหม่ให้กลายเป็นหนังที่มีคุณค่าน่าจดจำน่ะ
ทั้งหนังอย่าง KILL BILL (2003-2004), DEATH PROOF (2007), INGLORIOUS
BASTERDS (2009), DJANGO UNCHAINED (2012), THE HATEFUL EIGHT (2015) ต่างก็เป็นการนำเอา genres หนังเกรดบีในอดีตมาดัดแปลงใหม่ให้กลายเป็นหนังที่มีคุณค่าทั้งนั้น
โดยเฉพาะ THE HATEFUL EIGHT ที่ถือเป็นหนึ่งในหนังคาวบอยที่เราชอบที่สุดตลอดกาล
3.ไม่รู้ว่าเราคิดไปเองหรือเปล่า
เพราะเราก็ไม่ค่อยรู้ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย
แต่พอดูหนังเรื่องนี้แล้วเราก็เลยสงสัยว่า หนังมันเป็น allegory ทางการเมืองของอินโดนีเซียหรือเปล่า
เพราะตัวผู้ร้ายใหญ่ของเรื่องก็เหมือนเป็นทหาร
คือเราสงสัยว่า การที่พระเอกไร้สมรรถภาพทางเพศ
เพราะเขาถูกทหารบังคับให้ข่มขืนผู้หญิงตั้งแต่ตอนที่เขายังเป็นเด็ก มันอาจจะเป็น allegory ทางการเมืองแบบหนังหลาย
ๆ เรื่องก็ได้ เพราะหนังหลาย ๆ เรื่องก็ชอบใช้ “สภาพร่างกาย” ของตัวละครเป็น allegory
ทางการเมืองเหมือนกัน อย่างเช่น
3.1 CLOSELY WATCHED TRAINS (1966, Jiri Menzel, Czechoslovakia) พระเอกเป็นคนที่ไร้สมรรถภาพทางเพศในช่วงที่นาซียึดครองเช็กโกสโลวาเกีย
3.2 THE TIN DRUM (1979, Volker Schlöndorff, West Germany) ร่างกายของพระเอกหยุดการเติบโตพร้อม ๆ กับการเรืองอำนาจขึ้นเรื่อย ๆ
ของพรรคนาซีในเยอรมนี
3.3 SCIENCE FICTIONS (2019, Yosep Anggi Noen, Indonesia) พระเอกเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างเชื่องช้าผิดปกติตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1960 ในอินโดนีเซีย
3.4 MUNDANE HISTORY (2009, Anocha Suwichakornpong)
3.5 THE EDGE OF DAYBREAK (2021, Taiki Sakpisit)
4.นอกจากความไร้สมรรถภาพทางเพศของพระเอกแล้ว
เราก็เลยสงสัยว่าเหตุการณ์อื่น ๆ ในหนังมันก็เลยเป็น allegory ทางการเมืองไปด้วยหรือเปล่า
ทั้งการฟื้นคืนชีพของผี, การแก้แค้นให้พระเอก และการที่พระเอกกลับมามีสมรรถภาพทางเพศได้ในที่สุด
คือถ้าหากหนังเรื่องนี้เป็น allegory ทางการเมืองจริงแบบที่เราสงสัย
หนังเรื่องนี้ก็อาจจะเทียบเคียงได้กับหนังฟิลิปปินส์หลาย ๆ เรื่องของ Lav
Diaz กับ Raya Martin ที่เป็น allegory
ทางการเมืองเหมือนกัน, หนังบางเรื่องของ Jia
Zhangke ที่ชีวิตของตัวละครเหมือนกับจะสะท้อนหรือหยอกล้อกับความเปลี่ยนแปลงในจีน,
หนังอย่าง THE MARRIAGE OF MARIA BRAUN (1979, Rainer Werner Fassbinder,
West Germany) ที่ชีวิตของตัวละครสะท้อน/หยอกล้อไปกับประวัติศาสตร์ของเยอรมนี
หรือ MIDNIGHT’S CHILDREN (2012, Deepa Mehta, India) ที่ชีวิตของตัวละครเหมือนหยอกล้อไปกับประวัติศาสตร์อินเดีย
5.แต่ไม่ว่ามันจะเป็น allegory ทางการเมืองหรือไม่
เราก็ชอบหนังเรื่องนี้แบบสุด ๆ อยู่ดี เพราะเราชอบที่มันนำ genre หนังบู๊ภูธรกับหนังผีเกรดบีในทศวรรษ 1980 มาปัดฝุ่นใหม่ให้กลายเป็นหนังที่เราอินด้วยมาก
ๆ และเพราะว่าหนังเรื่องนี้มีตัวละครนางเอกที่เราชอบอย่างสุดๆ
ตัวละครนางเอกแบบในหนังเรื่องนี้นี่แหละที่ตรงกับตัวละครหญิงในโลกจินตนาการของเรา
6.สรุปว่าเราได้ดูหนังของ Edwin มาแล้ว 11 เรื่อง และเราชอบเรื่องนี้มากที่สุด
หนังของ Edwin ที่เคยดู เรียงตามลำดับความชอบ
6.1 VENGEANCE IS MINE, ALL OTHERS PAY CASH
6.2 DAJANG SOMEBI, THE WOMAN WHO WAS MARRIED TO A DOG (2005)
6.3 BLIND PIG WHO WANTS TO FLY (2008)
6.4 POSESIF (2017)
6.5 POSTCARDS FROM THE ZOO (2012)
6.6 TRIP TO THE WOUND (2008, A+30)
6.7 SOMEONE’S WIFE IN THE BOAT OF SOMEONE’S HUSBAND (2013, A+25)
6.8 KARA, DAUGHTER OF A TREE (2005, A+15)
6.9 A VERY BORING CONVERSATION (2006, A+15)
6.10 HULAHOOP SOUNDINGS (2008, A+10)
6.11 A VERY SLOW BREAKFAST (2003, B+ )
No comments:
Post a Comment