ONE FOR THE ROAD (2021, Baz Poonpiriya, A+25)
SERIOUS SPOILERS ALERT เปิดเผยช่วงท้ายของหนัง
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
1.ปกติเราไม่ชอบดูหนังที่มีคนดูในโรงเยอะ ๆ เพราะเรา “เกลียดมนุษย์”
เราก็เลยกะว่าจะดูหนังเรื่องนี้ตอนคนดูเริ่มซาแล้ว แต่เห็นใน facebook เหมือนหนังเรื่องนี้กลายเป็นอะไรที่ controversial มาก
ๆ 55555 เหมือนมีเพื่อนหลาย ๆ คนเขียนถึงหนังเรื่องนี้เยอะมาก
แล้วเราก็ไม่กล้าอ่านสิ่งที่เพื่อน ๆ เขียนจนกว่าเราจะได้ดูด้วยตาตัวเอง เราก็เลยตัดสินใจรีบไปดูหนังเรื่องนี้เลย
เพราะไม่เช่นนั้นเราคงจะไม่ได้อ่านสิ่งที่เพื่อน ๆ เขียนถึงหนังเรื่องนี้กันสักที
เหมือนพอดูแล้วปรากฏว่าเราก็เห็นด้วยกับสิ่งที่เพื่อน ๆ หลาย ๆ
คนเขียนนะ ทั้งคนที่ค่อนไปทางชอบและไม่ชอบหนังเรื่องนี้ เหมือนหลายคนก็มีเหตุผลที่ดีในการชอบ
และหลายคนก็มีเหตุผลที่ดีในการไม่ชอบหนังเรื่องนี้ มันเป็นเรื่องของนานาจิตตังดีจริง
ๆ 55555
2.โดยส่วนตัวแล้ว
เราค่อนข้างโอเคกับหนังจนกระทั่งมาถึงการหักมุมช่วงท้ายของหนังนะ
ที่ทำให้ระดับความชอบของเราลดลงอย่างรุนแรง จาก A+30 ลงมาเหลือ A+25 ฮ่าๆๆ เพราะฉะนั้นมันก็เลยเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ที่ถ้าหากเราจะจดบันทึกความทรงจำของตัวเองที่มีต่อหนังเรื่องนี้
เราจำเป็นจะต้องบันทึกถึงการหักมุมของหนังด้วย
คือก่อนหน้านั้นเหมือนเราค่อนข้างโอเคกับการตามตัวละครอู๊ดไปเรื่อย ๆ
น่ะ คืออู๊ดกับบอสมันก็เป็นตัวละครผู้ชายที่เทา ๆ ดี มันก็มีอะไรเหี้ย ๆ บ้าง
ซึ่งเราไม่มีปัญหาอะไรเลยตรงจุดนี้ และเราค่อนข้างโอเคกับ 75% แรกของหนังมาก ๆ
ในแง่ที่ว่า มันดูเป็น “หนังชีวิต” น่ะ คือเหมือนหนังไทยกระแสหลักในยุคปัจจุบันไม่ค่อยมี
“หนังชีวิต” แบบนี้มากเท่าไหร่ เราก็เลยรู้สึกดีมาก ๆ
ที่มีการทำหนังไทยกระแสหลักแบบนี้ออกมา และเราก็เลยชอบมาก ๆ
ที่ได้ดูตัวละครอู๊ดกับบอสเดินทางไปเรื่อย ๆ และชอบมากที่ได้เห็นชีวิตตัวละครทั้งในอดีตและปัจจุบันค่อย
ๆ ถูกเล่าออกมา เพื่อแสดงให้เห็นว่าตัวละครเคยผิดหวัง, สมหวัง, สุข, ทุกข์,
หัวเราะ, ร้องไห้ ผ่านเจออะไรต่าง ๆ มาบ้าง
คือถ้าหากมันเป็นเรื่องของชายหนุ่มหล่อสองคนที่มีความเทา ๆ ดี ๆ เลว ๆ ขี้ ๆ เยี่ยว ๆ มีความรัก
ความใคร่อะไรมามากมายแบบนี้ แบบในช่วง 75% แรกของหนัง
เราก็อาจจะชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ ไปแล้ว
แต่เหมือนช่วงท้ายของหนังมันทำให้เราดีดตัวออกห่างจากหนังน่ะ
ซึ่งไม่ใช่ความผิดของหนังนะ เป็นเพราะรสนิยมส่วนตัวของเรา คือพอเราได้รู้ว่า
อู๊ดปกปิดความจริงจากบอสมาโดยตลอด เราก็รู้สึกรับตัวละครอู๊ดไม่ได้อย่างรุนแรงน่ะ (แบบเดียวกับที่บอสรู้สึก)
คือเหมือนก่อนหน้านั้นเราจะมองตัวละครอู๊ดในแง่ที่ว่า มันเป็น “ตัวละครที่เราพอจะเข้าใจความดี
ๆ เลว ๆ ของมันได้ในระดับนึง” แต่พอหนังมันหักมุมแบบนี้ เราก็เลยรู้สึกกับอู๊ดว่า “ถ้าหากเราเป็นอู๊ด
เราจะไม่ทำแบบนี้อย่างแน่นอน”
คือเอาจริง ๆ แล้วเราว่าอู๊ดเหมือนเป็นญาติห่าง ๆ ของ Tom Ripley ใน THE TALENTED
MR. RIPLEY (1999, Anthony Minghella) และ PURPLE NOON น่ะ หนุ่มจน ๆ ที่ได้เป็นเพื่อนกับหนุ่มรวย แต่เป็นเพื่อนที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความอิจฉาริษยาและไม่ประสงค์ดี
55555
คือถึงแม้อู๊ดจะไม่ได้ฆ่าหนุ่มรวยแบบที่ Tom Ripley ทำ
แต่มันเป็นคนจิตใจโหดเหี้ยมอำมหิตแบบไหนกัน ที่อยู่เป็นเพื่อนกับบอสมาโดยตลอด
แต่โกหกบอสมาโดยตลอดเกี่ยวกับพริม คือถ้าหากเราได้เป็นเพื่อนกับบอส เราก็ต้องรู้อยู่แล้วว่าเขารักพริมจริงมากแค่ไหน
และตัวบอสเองก็ไม่ใช่คนเลวร้ายอะไร แล้วมึงคือมีความสุขที่ได้เห็นบอสพลัดพรากจากคนรักตลอด
10 ปีที่ผ่านมาน่ะนะ คือเหมือนอู๊ดจะคอยประเมินบอสอยู่ในใจตลอด 10 ปีที่ผ่านมาว่า
จะบอกความจริงกับบอสตอนไหนดี แล้วก็ไม่ยอมบอกสักที
คือถ้าหากเราเป็นอู๊ด เราก็คงไม่โกหกบอสตั้งแต่แรกไปแล้ว
หรือถึงโกหกในตอนแรก เราก็คงบอกความจริงในเวลาต่อมา
หรือถ้าหากเราเพิ่งเริ่มสำนึกผิดตอนป่วยใกล้ตาย เราก็คงเขียน message ไปเล่าความจริงทั้งหมดให้ฟังในทันทีที่สำนึกผิดเลย
แต่เราไม่ได้ว่าตัวละครอู๊ดไม่สมจริงนะ คือเราว่าคนแบบอู๊ดมันมีได้ในโลกแห่งความเป็นจริง
(อย่างน้อยมันก็เป็นคนดีกว่า Tom Ripley 5555) เพียงแต่ว่าพอหนังมันใช้วิธีการหักมุมแบบนี้
เราก็เลย “ตั้งตัวไม่ทัน” เหมือนกับบอสน่ะ คืองง ไอ้เหี้ยนี่อยู่กับกูมา 10 ปี
แต่มันประเมินกูในใจมาโดยตลอดว่า “มึงไม่สมควรได้รู้ความจริงเกี่ยวกับผู้หญิงที่มึงรัก”
น่ะ
คือพอหนังมันหักมุมแบบนี้ เราก็เลยเหมือนดีดตัวออกห่างจากหนังไปเลย
3.แต่เราชอบมากนะที่หนังใส่ปัญหาชีวิตของบอสเข้ามา
ที่เขาไม่ได้เป็นหนุ่มรวยที่แบบเกิดมารวยเลย แต่รวยเพราะแม่ไปแต่งงานกับเศรษฐี
แล้วเขาก็มีปัญหาอย่างรุนแรงกับครอบครัวของเศรษฐี คือเราชอบพล็อตเรื่องตรงจุดนี้มาก
ๆ แต่เราว่าพล็อตเรื่องที่อู๊ดโกหกบอสมาตลอด 10 ปี กับพล็อตเรื่องที่พริมแอบรับเงินจากแม่ของบอส
(พล็อตตรงนี้ทำให้นึกถึง MASTER OF THE GAME ของ Sidney
Sheldon ที่ลูกชายนางเอกค้นพบว่าผู้หญิงที่ตนเองรัก จริง ๆ แล้วเป็นแผนที่แม่ของตนเองวางเอาไว้อย่างแยบยล)
มันทำให้เนื้อเรื่อง “เข้มข้น”
เกินไปสำหรับรสนิยมส่วนตัวของเรา 55555
เราว่ามันเป็นเรื่องของรสนิยมส่วนตัวของเราเองน่ะแหละ ที่เรามักจะมีปัญหากับหนังกระแสหลักที่พล็อตมันเข้มข้นเกินไปแบบนี้
55555 คือเราว่าปัญหามันคล้าย ๆ กับปัญหาที่เรามีกับ “ร่างทรง” เลย ที่เราว่าองก์
3 ของร่างทรงมันเข้มข้น รสจัดเกินไปสำหรับเรา เปรียบเทียบง่าย ๆ ได้ว่า
เราชอบกินส้มตำแบบไม่ใส่พริกเลยแม้แต่เม็ดเดียว แต่ ONE FOR THE ROAD กับ
“ร่างทรง” ใส่พริกเข้ามา 3 เม็ดในองก์สุดท้ายของหนัง เพื่อ please ผู้ชมหนังกระแสหลักที่ต้องการอะไรเข้มข้นถึงใจแบบนี้ (ในขณะที่เราชอบอะไรจืด
ๆ) เราก็เลยไม่ค่อยชอบองก์สุดท้ายของร่างทรงและ ONE FOR THE ROAD มากนัก แต่เราไม่ได้คิดว่าหนังมันทำผิดอะไรนะ
เพียงแต่มันไม่เข้าทางเราเท่านั้นเอง
คือถ้าหากเป็นหนังที่เข้าทางเรา อู๊ดก็คงเป็นแค่ผู้ชายคนนึงที่เคยแอบชอบพริม แล้วต่อมาเขาก็ได้ช่วยชีวิตบอสโดยบังเอิญ
แล้วก็ได้เป็นเพื่อนกับบอส ส่วนพริมก็แต่งงานกับฝรั่งหนุ่มหล่อคนนึงภายใน 1
เดือนแรกที่เธอออกจากบ้านของอู๊ดไป 55555 (คือถ้ากูเป็นพริม
กูเอาฝรั่งเป็นผัวตั้งแต่ก้าวเท้าแรกออกจากบ้านของอู๊ดแล้วค่ะ) แล้วอู๊ดกับบอสก็อาจจะได้เจอพริมโดยบังเอิญขณะพริมมาเยี่ยมครอบครัวที่พัทยา
ทั้งสามกินเหล้า เดินคุยกันไปเรื่อย ๆ ที่ชายหาดพัทยา รำลึกถึงความหลัง
ทบทวนถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต คุยกันไปเรื่อย ๆ สัก 30
นาทีแล้วก็จบไปเลย อะไรทำนองนี้ อู๊ดก็ตายไป
พริมก็กลับไปอยู่กับผัวที่สหรัฐอย่างมีความสุข ส่วนบอสก็กลับไปใช้ชีวิตแบบเดิม 555555
4.ในส่วนของความเป็นตัวละครผู้ชายที่มีอะไรเลว ๆ บ้างนั้น
(ถ้าไม่นับเรื่องที่อู๊ดปกปิดความจริงมาตลอด 10 ปี) เราไม่ค่อยมีปัญหากับตัวละครเลว
ๆ นะ คือหนังที่กูชอบที่สุดในชีวิต แบบ BAISE-MOI, BREMEN FREEDOM (1972, Rainer Werner
Fassbinder), LA CEREMONIE, FEBRUARY ของ Oz Perkins นี่มีแต่ตัวละครเอกที่ชั่วจนไม่รู้จะชั่วยังไงแล้วน่ะค่ะ เพราะฉะนั้นโดยปกติแล้วการมีตัวละครเอกเป็นคนชั่ว
ๆ นี่คือสิ่งที่เราชอบสุดๆ ค่ะ 55555
เราว่าปัญหามันอาจจะเป็นที่ “ท่าที” ของหนังมั้ง
เพราะผู้ชมแต่ละคนก็คงมีความเห็นแตกต่างกันไปว่าหนังมัน “มองตัวละครผู้ชายแบบนี้”
ด้วยอารมณ์ความรู้สึกและทัศนคติแบบเดียวกับที่ผู้ชมแต่ละคนมองตัวละครผู้ชายแบบนี้หรือเปล่า
คือการนำเสนอตัวละคร “ผู้ชายเทา ๆ ดี ๆ เลว ๆ เหี้ย ๆ” ไม่ใช่สิ่งที่เป็นปัญหา
ปัญหาอาจจะอยู่ที่ว่า หนังมันมองตัวละครแบบนั้นด้วยทัศนคติอย่างไร
และทัศนคตินั้นสอดคล้องกับผู้ชมคนไหน หรือสวนทางกับทัศนคติของผู้ชมคนไหน
ซึ่งเราว่าผู้ชมหลายคนเห็นตรงกันน่ะแหละว่า ตัวละครชายในหนังเรื่องนี้มันเทา
ๆ ไม่ใช่คนดีสมบูรณ์แบบ (ซึ่งจริง ๆ ก็เป็นสิ่งที่ดีแล้ว) แต่เรื่อง “สายตา”
ของหนังที่มองตัวละคร มันเป็นเรื่องที่วิเคราะห์ได้ยากมาก
เพราะมันไม่ใช่แค่เรื่องที่ว่า “ตัวละครทำอะไร” หรือมันไม่ใช่แค่สิ่งที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ง่าย
“สายตาของหนังที่มองตัวละครของตัวเอง” มันดูเป็นเรื่องที่เป็นนามธรรม และวิเคราะห์ได้ยากกว่ามาก
ๆ ซึ่งเอาจริง ๆ
ก็ยากเกินความสามารถของเรา 55555 เราก็เลยเหมือนยกประโยชน์ให้จำเลยไปในจุดนี้ เราขออ่านสิ่งที่เพื่อนๆ
เขียนถึงหนังเรื่องนี้ดีกว่า
เพราะฉะนั้นเราก็เลยรู้สึกว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่จะมีใครอินหรือไม่อินกับหนังเรื่องนี้หรือตัวละครในหนัง
เพราะผู้ชมแต่ละคนก็ย่อมมีประสบการณ์ชีวิตแตกต่างกันไป และย่อมอินกับหนังแตกต่างกันเป็นธรรมดาอยู่แล้ว
หรือถ้าหากมีใครที่ตั้งข้อกังขากับท่าทีของหนังที่มีต่อพฤติกรรมของตัวละคร เราว่ามันก็น่าสนใจดี
เพราะเราเองก็บอกไม่ได้ว่าหนังมันมองตัวละครบอสกับอู๊ดในแง่บวกมากเกินไปหรือเปล่า
มันดูเป็นอะไรที่เราตัดสินหรือวิเคราะห์เองไม่ได้ เราต้องเรียนรู้เรื่องนี้จากการอ่านความเห็นของเพื่อน
ๆ ค่ะ
5.คือถ้ามองแบบผิวเผิน หนังก็เหมือนจะลงโทษอู๊ดอย่างสาสมไปแล้วนะ
อู๊ดโกหกบอสตลอด 10 ปีที่ผ่านมา และอาจจะเคย treat แฟนเก่าบางคนแบบไม่ดี อู๊ดก็เลยเป็นมะเร็งตายตั้งแต่ยังหนุ่มไปเลย
คือถ้าหากมองจาก “สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม”
อู๊ดก็ดูเหมือนจะได้รับการลงโทษอย่างสาสมต่อความผิดของตัวเองไปแล้ว
แต่เราเองก็ยอมรับว่า
มันเหมือนหนังก็อาจจะมองอู๊ดและสิ่งที่อู๊ดทำด้วยสายตาที่ไม่สอดคล้องกับเราซะทีเดียวน่ะ
แต่เราก็บอกไม่ได้ว่ามันอะไรยังไงกันแน่ มันเหมือนเป็นสิ่งที่อธิบายไม่ได้ มันเหมือนจิตใต้สำนึกของเราสัมผัสได้ว่า
หนังมันมองอู๊ดด้วยสายตาหรือทัศนคติที่ไม่สอดคล้องกับเรา แต่จิตเหนือสำนึกของเราไม่สามารถอธิบายได้ว่ามันอะไรยังไง
55555
6.ดู ONE FOR THE ROAD แล้วก็คิดถึงหนังดังต่อไปนี้
6.1 BROKEN FLOWERS (2005, Jim Jarmusch) ซึ่งแน่นอนว่าเราชอบ
BROKEN FLOWERS มากกว่า
6.2 THE MAN WHO LOVED WOMEN (1977, Francois Truffaut) บอกไม่ได้ว่าชอบหนังเรื่องนี้หรือ
ONE FOR THE ROAD มากกว่ากัน เหมือน ONE FOR THE ROAD
“ซึ้ง” กว่า แต่ THE MAN WHO LOVED WOMEN มันมองตัวละครด้วยสายตาที่
“เย็นชา” ดี ถ้าจำไม่ผิด ซึ่งจะแตกต่างจาก ONE FOR THE ROAD ที่มองตัวละครอู๊ดกับบอสด้วยความรัก
ไม่ได้มองด้วยสายตาเย็นชา
และเหมือนหนังของ Truffaut เรื่องนี้ก็เคยเผชิญข้อกล่าวหาคล้าย
ๆ ONE FOR THE ROAD ด้วย เพราะหนังเรื่องนี้โดนด่าว่า
misogynist มาก ๆ และตัวละคร unsympathetic มาก
ๆ (ซึ่งไม่ใช่ความเห็นของเรานะ เราแค่ไม่อินกับหนังของ Truffaut เรื่องนี้)
6.3 THE LAST TIME I COMMITTED SUICIDE (1996, Stephen Kay)
หนึ่งในหนังอเมริกันที่เราชื่นชอบมากที่สุดในทศวรรษ 1990 หนังเกี่ยวกับชีวิตสองหนุ่ม
(Thomas Jane กับ Keanu
Reeves) ที่อยู่ในช่วงสร้างตัว เหมือนนี่แหละคือหนังเพื่อนชายแมน ๆ
ที่เข้าทางเรามากที่สุดในชีวิต
เป็นไปได้ว่าทัศนคติมีต่อ “ชีวิตมนุษย์” ใน THE LAST TIME I COMMITTED SUICIDE มันสอดคล้องกับเราอย่างรุนแรง แต่มันสวนทางกับ ONE FOR THE ROAD น่ะ เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน แต่เหมือน “พัฒนาการของตัวละครพระเอก”
ในหนังสองเรื่องนี้มันสวนทางกันเลย คือใน THE LAST TIME I COMMITTED
SUICIDE นั้น Neal Cassady (Thomas Jane) ซึ่งเป็นพระเอก
เริ่มต้นด้วยความใฝ่ฝันที่อยากจะมีชีวิตครอบครัวตามขนบ มีบ้าน มีรั้วสีขาว มีเมีย
มีลูก แต่ “ชีวิต” ก็ทำให้เขากลายเป็นชายเร่ร่อนพเนจร ออกเดินทางไปเรื่อย ๆ ในตอนจบ
ถ้าจำไม่ผิด ซึ่งมันสวนทางกับ ONE FOR THE ROAD ที่หนังดูเหมือนจะให้ความหวังว่า
บอสจะลงหลักปักฐานในตอนจบ
ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมตอนจบของ ONE FOR THE ROAD ถึงทำให้เรารู้สึก
“อี๋” หรือรู้สึก “ไม่ชอบ” แต่ตอนจบของ THE LAST TIME I COMMITTED SUICIDE นั้น กลายเป็นตอนจบที่ประทับใจ ตราไว้ในดวงจิต ลืมไม่ลง งดงามที่สุดอยู่ในใจเราตลอดช่วง
20 กว่าปีที่ผ่านมา
6.4 THE MOTHER AND THE WHORE (1973, Jean Eustache, 3hrs 37min) อันนี้คือหนังเกี่ยวกับ “หนุ่มหล่อเสเพลและผู้หญิงคนต่าง
ๆ ของเขา” ในแบบที่เราต้องการค่ะ 55555 คือหนังไม่ต้องเน้น “พล็อต” ไม่ต้องใส่ประวัติชีวิตตัวละครเข้ามาอย่างเข้มข้น
ไม่ต้องมีการหักมุมอะไรใด ๆ แต่ให้ลงลึกในอารมณ์ความรู้สึกความคิดจิตวิญญาณของตัวละคร
สิ่งที่เราสนใจไม่ใช่ สิ่งที่ตัวละคร “ทำ” (do) แต่คือสิ่งที่ตัวละคร
“เป็น” (be) คือถ้าหากเอา THE MOTHER AND THE WHORE มาดู แล้วก็จะเข้าใจเลยว่า ทำไมเราถึงจินตนาการช่วง 30 นาทีสุดท้ายของ ONE
FOR THE ROAD ให้เป็นฉากตัวละครคุยกันไปเรื่อย ๆ เพื่อกะเทาะถึงจิตวิญญาณของตัวละคร
แทนที่จะเป็นการหักมุมหรือเป็นพล็อตเรื่องที่เข้มข้น
แต่ไม่ได้ว่า ONE FOR THE ROAD ไม่ดีหรือทำผิดอะไรนะ
แค่จะบอกว่ารสนิยมส่วนตัวของเราเป็นแบบไหน และมันไม่สอดคล้องกับ ONE FOR
THE ROAD ยังไงบ้างจ้ะ
6.5 WE WILL NOT GROW OLD TOGETHER (1972, Maurice Pialat) และ
THE BIRTH OF LOVE (1993, Philippe Garrel) (หรืออาจจะรวมไปถึง PHANTOM HEART (1996,
Philippe Garrel)
คือเราว่าตัวละครพระเอกใน WE WILL NOT GROW OLD TOGETHER และใน
THE BIRTH OF LOVE ไม่ใช่ “คนดี” เท่าไหร่นะ คือต้องใช้คำว่าพระเอกใน
“หนังชีวิตรัก” สองเรื่องนี้เป็นคน “เหี้ย” เลยแหละ แบบ “เหี้ย” จริง ๆ
โดยเฉพาะในเรื่องการปฏิบัติต่อหญิงคนรัก, ภรรยา หรือลูก คือบอสกับอู๊ดอาจจะทาบไม่ติดเลยในเรื่องความเหี้ยต่อเพศหญิงเมื่อเจอกับพระเอกในหนังรักฝรั่งเศส
แต่ทำไมเราถึงดูแล้ว “ไม่มีปัญหา” กับหนังฝรั่งเศสสองเรื่องนี้เลย ทั้ง ๆ
ที่หนังฝรั่งเศสสองเรื่องนี้ก็มีความเป็น autobiography เหมือน
ๆ กัน (ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด) ซึ่งนี่แหละเราว่ามันอาจจะเป็นเรื่องของ
“สายตาของหนังที่มีต่อตัวละครและพฤติกรรมของตัวละคร” มันไม่ใช่เรื่องของ “สิ่งที่ตัวละครทำ”
แต่เป็นเรื่องของ “สายตาของหนังที่มองตัวละคร”
เหมือนหนังฝรั่งเศสสองเรื่องนี้มันไม่ได้มองตัวละครพระเอกด้วยสายตา “เกลียดชัง”
ด้วยนะ และมันก็ไม่ได้มองตัวละครพระเอกด้วยสายตารักหรือชื่นชมด้วย มันเหมือนหนังฝรั่งเศสสองเรื่องนี้เข้าใจความเหี้ยและความอะไรต่าง
ๆ นานาของมนุษย์ และนำเสนอมันออกมาได้อย่างงดงาม, จริงที่สุด
และร้าวรานเจ็บปวดหัวใจแดดิ้นที่สุดน่ะ ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำได้ยังไง
แต่มันเป็นไปแล้ว คือดูแล้วรู้สึกว่าพระเอกมัน “เหี้ยมาก ๆ” แต่มันก็เป็น “มนุษย์”
มาก ๆ และหนังมันก็งดงามสุด ๆ ในเวลาเดียวกัน
สรุปว่าเราไม่สามารถวิเคราะห์ได้เองน่ะแหละ เราต้องรอให้คนอื่น ๆ
มาวิเคราะห์แทนเรา เพราะเราเองก็สงสัยว่า ทำไมเราถึงรู้สึกว่า WE WILL NOT GROW OLD TOGETHER กับ THE BIRTH OF LOVE เป็นหนัง “ชีวิตรัก”
ที่พระเอก “เหี้ยมาก ๆ” แต่มุมมองของหนังที่มีต่อตัวละครมันกลับ “งดงามและร้าวรานใจอย่างสุด
ๆ” แต่ ONE FOR THE ROAD มีตัวละครพระเอกสองคนที่ “ดี ๆ เลว
ๆ เหมือนคนทั่วไป” แต่เรากลับรู้สึกว่า มุมมองของหนังที่มีต่อตัวละครมันเหมือนไม่สอดคล้องกับเราซะทีเดียว
7.สรุปว่า หนึ่งในหนังไทยแนว road movie ที่เราชอบมากที่สุดในตอนนี้
อาจจะยังคงเป็น “ถามหาความรัก” (1984, อภิชาติ โพธิไพโรจน์)
ค่ะ
No comments:
Post a Comment