Thursday, February 17, 2022

SING A BIT OF HARMONY (2021, Yasuhiro Yoshiura, Japan, animation, A+30)

 

SING A BIT OF HARMONY (2021, Yasuhiro Yoshiura, Japan, animation, A+30)

 

SPOILERS ALERT

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

 

1.อย่างที่คุณ Ratchapoom Boonbunchachoke เคยเขียนไว้ในทำนองที่ว่า ญี่ปุ่นชอบทำหนังที่นำเสนอเทคโนโลยีในทางบวก ซึ่งจะตรงข้ามกับฮอลลีวู้ดที่ชอบทำหนังที่นำเสนอเทคโนโลยีในทางลบ อย่างเช่น BELLE (2021, Mamoru Hosoda) และ BRAVE FATHER ONLINE: OUR STORY OF FINAL FANTASY XIV (2019, Teruo Noguchi) ที่นำเสนอจักรวาลนฤมิตและโลกของการเสพติดเกมคอมพิวเตอร์ในทางบวกเป็นอย่างมาก ซึ่งแตกต่างจากฮอลลีวู้ดที่ทำหนังแบบ VIRTUOSITY (1995, Brett Leonard) และ GAMER (2009, Mark Neveldine, Brian Taylor) ออกมา

 

หรือถ้าย้อนไปช่วงกลางทศวรรษ 1990 ฮอลลีวู้ดก็ทำหนังแบบ THE NET (1995, Irvin Winkler) ออกมา เพื่อเตือนถึงภัยร้ายแรงทางอินเทอร์เน็ต แต่ญี่ปุ่นทำหนังแบบ (HARU) (1996, Yoshimitsu Morita) ออกมา เพื่อนำเสนอว่าอินเทอร์เน็ตทำให้หนุ่มสาวได้พบรักกัน

 

พอมาดู SING A BIT OF HARMONY ที่นำเสนอ AI สาวที่พยายามทำให้นางเอกมีความสุขแล้ว มันก็ถือเป็นความสุดขั้วของหนังญี่ปุ่นในทำนองนี้จริง ๆ นึกว่าเป็นด้านกลับของ CHILD’S PLAY (2019, Lars Klevberg) คือมึงจะ optimistic ไปถึงไหนคะ นี่น่าจะเป็นหนังไซไฟที่ optimistic ที่สุดเท่าที่เราเคยดูมาในชีวิตนี้แล้ว

 

แต่ก็ชอบหนังมาก ๆ นะ คือมันอาจจะไม่ใช่หนังที่ “ดี” ในแง่ที่มัน optimistic เกินไป แต่เราว่าการที่มัน optimistic แบบสุดลิ่มทิ่มประตู ไม่สนความเป็นจริงอะไรอีกแล้ว ทำให้มันกลายเป็นหนังที่ “น่าจดจำ” ในแบบของมัน และถือเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดว่า นี่แหละ “หนังแบบญี่ปุ่น” 55555

 

2.อีกจุดนึงที่น่าสนใจก็คือว่า เราว่าหนังมันนำเสนอ “ประเด็นทางจริยธรรม” ที่น่าสนใจ แต่ไม่รู้ว่าผู้สร้างหนังรู้ตัวหรือเปล่า 55555

 

อันแรกเลยก็คือว่า ตัวนางเอก Satomi มีปัญหาเรื่องจริยธรรมน่ะ เพราะเธอจะพูดจริงหรือพูดเท็จก็เพื่อคนที่เธอรัก เธอไม่ใช่คนที่ “รักความจริง” เธอพูดความจริงเรื่องรุ่นพี่สูบบุหรี่ จนสร้างความเดือดร้อนให้รุ่นพี่ และทำให้เธอถูกคนทั้งโรงเรียนเกลียดชัง ไม่ใช่เพราะเธอ “รักความจริง” แต่เป็นเพราะการเปิดเผยความจริงเรื่องรุ่นพี่มันส่งผลดีต่อชายหนุ่มที่เธอชอบ

 

คือเอาจริง ๆ แล้วเราไม่มีปัญหากับการที่ Satomi พูดความจริงในเรื่องนี้นะ แต่เราว่าการที่เธอพยายามปกปิดความจริงเรื่องหุ่น AI มีข้อบกพร่อง โดยอ้างว่าเธอทำเพื่อแม่ มันแสดงให้เห็นว่าเธอมีปัญหาทางจริยธรรมน่ะ เพราะการปกปิดความจริงในเรื่องแบบนี้มันไม่น่าจะส่งผลดี แม่ของเธอก็จะไม่รู้ความจริงว่าหุ่นบกพร่อง, บริษัทที่จ้างแม่ของเธอก็จะไม่รู้ความจริงว่าสินค้ามีข้อบกพร่อง และถ้าหุ่นที่มีข้อบกพร่องแบบนี้ถูกส่งออกไปในวงกว้าง มันก็จะเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้

 

คือเหมือนซาโตมิกล้าหาญที่จะพูดความจริงเพื่อผู้ชายที่เธอชอบ แต่เธอเหมือนเลือกที่จะ “ตอแหล” เพื่อแม่ของเธอ ซึ่งเราว่าจริง ๆ แล้วสิ่งที่เธอทำมันก็อาจจะเป็นสิ่งที่มนุษย์ธรรมดาทั่วไปทำกัน เราเองก็เลือกที่จะพูดความจริงหรือตอแหลแล้วแต่สถานการณ์ แต่เหมือนหนังเรื่องนี้ขับเน้นธรรมชาติของมนุษย์ตรงนี้ให้เห็นเด่นชัดมากขึ้น เราก็เลยว่ามันน่าสนใจดี

 

3.ปัญหาทางจริยธรรมอีกอันนึง ก็คือการที่ Shion ขอให้ AI ที่ควบคุมระบบความปลอดภัยในโรงเรียน หรือ AI ที่ควบคุมกล้องวงจรปิดต่าง ๆ ในโรงเรียน ตัดต่อวิดีโอใหม่ เพื่อปกปิดความจริงว่า Shion มีข้อบกพร่อง

 

คือเอาจริง ๆ แล้ว นี่คือสิ่งที่ถูกที่ควรเหรอคะ 55555 มันเหมือนการเล่นพรรคเล่นพวก การปกปิดความจริงเพื่อพวกพ้องของตัวเอง คือสิ่งที่ Shion ทำมันไม่มีปัญหาในหนังเรื่องนี้ เพราะเธอเป็น AI ที่มีจิตใจดีงาม คือเราว่ามันเป็นการทำผิดโดยมีเจตนาดี ผลมันก็เลยออกมาดีน่ะ

 

แต่ถ้าหาก “ระบบรักษาความปลอดภัย” มันมีความ “ลำเอียง” แบบนี้แล้ว แล้วถ้าหากวันนึงมันลำเอียงเข้าข้างคนเลว, หุ่นยนต์เลว, AI เลว ขึ้นมาล่ะ มันจะเกิดอะไรขึ้น

 

คือเราว่าทั้งการที่นางเอกพยายามปกปิดความจริงว่า Shion มีข้อบกพร่อง และการที่ Shion ขอให้ระบบรักษาความปลอดภัยช่วยกันปกปิดความจริง มันเป็นสิ่งที่มีปัญหาในทางจริยธรรมน่ะ คือในกรณีของหนังเรื่องนี้มันยอมรับได้ เพราะนางเอกและ Shion มีจิตใจดีงาม แต่ถ้าหากคนเลวทำแบบนี้ขึ้นมาบ้างล่ะ

 

4.เราว่า Shion เสือกเรื่องส่วนตัวมากเกินไปด้วยแหละ 55555 คือถ้าหากมี AI หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สาระแนแบบนี้ในชีวิตจริง มันก็อาจจะน่ากลัวมากกว่าน่ารักก็ได้นะ คือมึงจับตาดูชีวิตกูโดยที่กูไม่รู้ตัว แล้วแถมตอนจบมึงยังไปอยู่บนดาวเทียมอีก

 

คือเราว่าตรงนี้มันพลิกเป็นหนังสยองขวัญได้สบายมากเลย แบบ Shion อยากให้ Satomi มีความสุข แล้ว Shion พบว่าคนรอบ ๆ ตัว Satomi ติดโควิดกัน Shion เลยให้ดาวเทียมยิงแสงเลเซอร์ลงมาฆ่าคนติดเชื้อทุกคนรอบตัว Satomi อะไรแบบนี้

 

5.อีกจุดที่เราว่าพลิกเป็นหนังสยองขวัญได้สบายมาก คือ Shion ถูกโปรแกรมให้พยายามทำให้ Satomi มีความสุขน่ะ และหนังเรื่องนี้มันออกมา optimistic แบบนี้ได้ เพราะ Satomi เป็นคนที่มีจิตใจดีงาม

 

แต่ถ้าหากวันนึงมีคนทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ AI แบบนี้ให้รักเด็กสาวแบบนางเอกในหนังเรื่อง FEBRUARY (2015, Oz Perkins) ขึ้นมาบ้างล่ะ เด็กสาวที่รักในการฆ่าคนจำนวนมาก แล้ว AI ตัวนั้นก็จะไม่ลุกขึ้นมาฆ่าคนเพื่อทำให้เด็กสาวมีความสุขบ้างเหรอ

 

6.คือถึงแม้ SING A BIT OF HARMONY มันจะเป็นหนังที่ optimistic อย่างสุดขั้วมาก ๆ แต่ฐานคิดของมัน เรื่องวิวัฒนาการของ AI นี่มันเอาไปทำเป็นหนังสยองขวัญได้สบายมากเลย 55555

No comments: