PEASANT PARK (2022, Uninspired by Current Events, interactive video installation, 6min, A+30)
PALIANYTSIA (2022, Zhanna Kadyrova, Ukraine, video installation, A+30)
1.ศิลปินนำเอาหินตามริมลำธารมาทำเป็นงานศิลปะรูปร่างคล้ายขนมปังก้อนกลม เพราะว่าขนมปังนี้มันเป็นอาหารหลักของชาวยูเครน และคำภาษายูเครนว่า Palianytsia ที่ใช้เรียกขนมปังนี้ มันใช้ในการแยก "มิตร" ออกจาก "ศัตรู" ได้ด้วย เพราะชาวรัสเซียมักจะออกเสียงคำนี้ผิด
2.พอศิลปินทำงานศิลปะขนมปังหินนี้เสร็จ เธอก็เริ่มด้วยการนำมันจัดแสดงในหมู่บ้านที่เธออยู่ก่อน แต่ปรากฏว่าชาวบ้านในชนบท ไม่มีความรู้เรื่อง etiquettes ในการดูงานศิลปะ ชาวบ้านบางคนเลยนึกว่ามันเป็น "หินลับมีด" แล้วเลยจะหยิบเอางานศิลปะของเธอมาใช้ลับมีด
3.ชอบที่วิดีโอนี้สัมภาษณ์ชาวบ้านบางคนเกี่ยวกับ "ความฝัน" ช่วงก่อนเกิดสงครามยูเครนด้วย เพราะเธอกับชาวบ้านบางคน มีฝันร้ายประหลาด ๆ ก่อนเกิดสงคราม
SHOTS (2014-2015, Zhanna Kadyrova, Ukraine) งานศิลปะที่จำลองพื้นกระเบื้องอาคารจากยุคสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นอาคารที่ยังคงหลงเหลือตกทอดมาถึงยูเครนในปัจจุบัน แต่กระเบื้องเหล่านี้มีรอยร้าวเพราะ "ลูกกระสุน"
TACOBELLMEX.COM (2022, Henry Palacio, Colombia, video installation, approximately 20min, A+30)
CRYING SKY (2022, Nutdanai Jitbunjong, video installation, approximately 20 min, A+30)
1. Video แสดงที่ JWD Art Space ตัววิดีโอจัดวางสวยดี มันฉายบนหน้าจอใส และมีแสงส่องมาจากทางด้านหลังทำให้ภาพบนจอมันสะท้อนลงไปที่พื้นด้วย ทำให้เหมือนมันมี 2 จอในเวลาเดียวกัน แต่ภาพที่พื้นจะมี "รุ้งกินน้ำ" อยู่ด้วย ซึ่งคงเกิดจากการหักเหของแสงบางอย่าง แต่ภาพบนจอจะไม่มีรุ้งกินน้ำ
2. ตัวภาพบนจอแบ่งเป็น 3 ชุดตัดสลับกันไปมา ภาพชุดที่หนึ่งเป็นกลุ่มชายหนุ่มชักว่าว ภาพชุดที่สองเป็นภาพว่าวบนท้องฟ้า ส่วนภาพชุดที่สามเป็นจอแสงสีแดง มี text ขึ้นเล่าความทรงจำของผู้กำกับที่มีต่อครอบครัวและเรื่องเล่าพญาแถน
3.อีกสิ่งที่ดีงามสุด ๆ ในงานชิ้นนี้คือ text ที่ติดไว้บนฝาผนัง ที่เล่าเรื่องความเชื่อเรื่องวันสิ้นโลก, ลัทธิสหัสวรรษ, homophobia, ผีบุญ, งานบุญบั้งไฟ มนุษย์ต่างดาว โดยเชื่อมโยงเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้เข้าด้วยกันได้อย่างดีงามมาก ๆ
4.สิ่งที่เราชอบมาก ๆ ก็คือการออกแบบและจัดวางสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เข้าด้วยกัน เพราะเราจะอ่าน text บนฝาผนังห้องได้ก็ต่อเมื่อแสงในห้องมันสว่างมากพอ และแสงในห้องมันจะสว่างมากพอ ก็ต่อเมื่อภาพบนจอเป็นภาพการชักว่าว (ซึ่งอาจจะสื่อถึงความพยายามจะติดต่อสื่อสารกับเบื้องบน) แต่ในช่วงที่จอเป็นแสงสีแดง เราจะมองไม่เห็น text บนฝาผนัง ซึ่งในช่วงนั้นเราก็ควรจะอ่าน text บนจอที่เล่าเรื่องความทรงจำของผู้กำกับอยู่แล้ว
เพราะฉะนั้นการดูงานนี้ก็เลยเหมือนการอ่านสลับระหว่าง text บนจอฉายหนังกับ text บนฝาผนังไปเรื่อย ๆ และกว่าจะอ่าน text บนฝาผนังจบ ก็ใช้เวลาราว 20 นาทีตามความยาว video พอดี 555
BANGKOK IS FLOATING, NO GARBAGE (2022, Kamin Lertchaiprasert, video installation, 26min, A+20)
1.วิดีโอที่นำเสนอโลกจินตนาการที่คล้าย ๆ จักรวาลคู่ขนาน ในจักรวาลนี้ ประเทศไทยจะมีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ในปี 2025, เมืองทุกเมืองในไทยถือเป็นเมืองหลวง ความเจริญไม่ได้กระจุกอยู่ในกรุงเทพอีกต่อไป และคนไทยก็เต็มไปด้วย kindness and loving มาก ๆ จน Greta Thunberg ย้ายมาอยู่เมืองไทยและอาศัยอยู่จนแก่เฒ่า
2.เป็นวิดีโอแนวอนุรักษ์ธรรมชาติที่มีความธรรมะธรรโมสูงมาก ๆ ดูแล้วนึกว่ากำลังฟังเทศน์ในวัด 555
3.ถึงแม้จะไม่ได้อินกับ Greta และความธรรมะธรรโมของวิดีโอนี้ แต่เหมือน video นี้มันมาจากแนวคิดที่มีความแตกต่างจากเราในระดับนึง เราก็เลยรู้สึกว่ามันน่าสนใจดี
UNVEIL (2017, Wendimagegn Belete, Ethiopia, video installation, A+15)
1.วิดีโอที่นำเสนอภาพนักรบเอธิโอเปีย 3000 ราย เราเห็นแล้วก็สงสัยว่ามันถึง 3000 รายจริงเหรอ ก็เลยลองนับช่องแนวนอนได้ราว 36 ช่อง แนวตั้งได้ราว 81 ช่อง คูณกันได้ 2916 ช่อง ก็เกือบ ๆ 3000 ราย จริง ๆ ด้วย
2. แต่เนื่องจากเราแทบไม่รู้ปวศ.เอธิโอเปียมาก่อนเลย ก็เลยคิดว่าจริง ๆ แล้วอยากให้มี video installation แบบนี้ แต่เป็นแบบ interactive มากกว่า แบบว่าพอผู้ชมคลิกไปที่ช่องไหน ก็จะมีประวัติของบุคคลในภาพขึ้นมาให้อ่านด้วย
PURITY (2018, Kennedy Yanko, video installation, 1min, A+15)
IF WATER HAS MEMORIES (2022, Tiffany Chung, Vietnam, video installation, 6min, A+30)
หนึ่งในหนังที่หดหู่ที่สุดเท่าที่เคยดูมาในชีวิตนี้ งานนี้เป็นวิดีโอ 3 จอ เนื้อหาส่วนหนึ่งของหนังพูดถึงเรื่องจริงของผู้อพยพหญิงชาวเวียดนามที่ถูกเรือประมงไทย/โจรสลัดปล้นฆ่าข่มขืนเป็นจำนวนมากในช่วงต้นทศวรรษ 1980
สถิติแค่ของปี 1985 ปีเดียว ก็มีผู้อพยพหญิงชาวเวียดนามถูกเรือประมงไทย/โจรสลัดข่มขืนหรือลักพาตัว (ไปข่มขืนแล้วฆ่า) ราว 200 กว่าคนแล้ว เพราะฉะนั้นจำนวนทั้งหมดในช่วงเวลาหลายปีก็น่าจะมากกว่าพันคน หดหู่มาก ๆ
SEMANA SANTA CRUXTATIONS II OR HOW TO INTONE BUTIKI-BITUKA-BOTIKA (2021-2022, Alwin Reamillo, Philippines)
ทำไมดูงานศิลปะชิ้นนี้แล้วนึกถึงหนังเรื่อง FAIRYTALE (2022, Alexander Sokurov, A+30) บางทีอาจจะเป็นเพราะมันสร้างมิติหลอน ๆ ที่อวลไปด้วยบุคคลสำคัญทางปวศ.และแง่มุมทางศาสนาเหมือนกัน
BUNKER/BAJU (2022, Satu Padu Collaborative, video installation, 30min, A+30)
1.หนักมาก ๆ ดูแล้วแทบร้องไห้ video installation เรื่องนี้สัมภาษณ์ผู้หญิงหลายคนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ และชีวิตแต่ละคนหนักมาก ๆ
คือชีวิตแต่ละคนก็ลำบากหนักมากอยู่แล้วตั้งแต่เกิดเหตุการณ์กรือเซะ + ตากใบในปี 2004 แล้วก็ยิ่งลำบากหนักขึ้นไปอีกเมื่อเจอวิกฤติโควิด จะทำงานอะไรก็ยากลำบากมาก ไม่รู้จะหาเงินมาเลี้ยงตัวเองกับลูก ๆ ได้อย่างไร
2.ผู้หญิงคนนึงเคยทำงานทวงรถให้ isuzu หรืออะไรทำนองนี้ด้วย คือเป็นงานที่บู๊มาก ต้องขับรถไล่ล่าคนไปทั่วชายแดนใต้เพื่อเอารถคืนมา แล้วคนก็ชอบยิงปืนขู่ บางทีก็ต้องวิ่งหนีเข้าป่าจนถุงน่องขาด
แต่พอเกิดเหตุการณ์ไม่สงบ มี red zone เธอก็ทำงานแบบนี้ไม่ได้อีก เพราะเป็นเรื่องยากหรืออันตรายเกินไปที่จะบุกเข้า red zone
3.ผู้หญิงคนนึงบอกว่า ช่วงที่มีระเบิดทุกวัน เธอรู้สึกเฉยๆ ชินชาไปแล้ว จนรู้สึกเหมือนมันเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าช่วงไหนไม่มีระเบิด เธอจะเครียดมาก ๆ กังวลมาก ๆ เพราะมันทำให้เธอกลัวว่าจะต้องเกิด "เหตุการณ์ใหญ่" ตามมาแน่ ๆ
4.วิดีโอนี้ฉายไปบนกำแพงที่มีลักษณะคล้าย ๆ กระสอบทราย + หมอน เพื่อทำให้นึกถึงบังเกอร์หลบภัย
TADIKA (2022, Wanmuhaimin E-taela, video installation)
No comments:
Post a Comment