FOUR NIGHTS OF A DREAMER (1971,
Robert Bresson, France, A+30)
1.ไม่นึกมาก่อนว่า Bresson
จะทำหนังรักโรแมนติกได้จับใจขนาดนี้
คือตัวเนื้อเรื่องแบบนี้นี่เอาไปให้ Eric Rohmer , Philippe Garrel หรือแม้แต่ Richard Linklater (BEFORE SUNRISE)
ทำเป็นหนังได้สบายมาก แต่ Bresson ก็ทำออกมาในแบบของตัวเองได้อย่างทรงพลังสุด
ๆ
2.ชอบที่ทั้ง Eric
Rohmer ที่ทำหนังที่ถ่ายตัวละครคุยกันได้อย่างสมจริงสุด ๆ และ Bresson
ที่นำเสนอการแสดงที่ต่อต้านความสมจริงอย่างรุนแรงที่สุด ต่างก็ทำให้เรารู้สึกเหมือนได้สัมผัสจิตวิญญาณส่วนลึกของตัวละครได้เหมือน
ๆ กัน
3.พอพระเอกชอบจินตนาการถึงเรื่องรักใคร่ของผู้คนใน
"ปราสาทยุคโบราณ" เราก็เลยรู้สึกมาก ๆ ว่า
หนังเรื่องนี้เหมือนเป็นการปูทางไปสู่ LANCELOT DU LAC (1974, Robert
Bresson, A+30)
4.การที่พระเอกชอบเดินตามสาวสวยนี่ทำให้นึกถึง
IN THE CITY OF SYLVIA (2007, José Luis Guerin, Spain)
5.ชอบการที่นางเอกพยายามหาเหตุผลต่าง
ๆ นานาให้ตัวเองมาก ๆ เหมือนพอผู้ชายไม่มาตามนัด เธอก็น้อยเนื้อต่ำใจ
แต่ในบางครั้งเธอก็บอกกับตัวเองว่า
เขาอาจจะมีเหตุผลนู่นนั่นนี่ที่ทำให้ไม่สามารถมาตามนัดได้ แล้วตอนแรกเธอก็พูดในทำนองที่ว่า
เธอชอบที่พระเอกไม่รักเธอ แต่พอเธอรู้ว่าพระเอกรักเธอ
เธอก็เหมือนจะพยายามหาเหตุผลต่าง ๆ นานามาโน้มน้าวตัวเองให้หันมารักพระเอกแทน
ดีกว่าที่จะต้องอยู่อย่างเหงาจิ๋มต่อไป
6.เหมือนพล็อตเรื่องที่ผู้หญิงรอผัว/ชายคนรัก
แบบใน FOUR NIGHTS OF A DREAMER นี่เป็นพล็อตคลาสสิคที่น่าสนใจนะ อาจจะเป็นเพราะในยุคโบราณ ผู้หญิงมักจะอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน
แล้วผู้ชายต้องออกไปรบ, ออกไปเผชิญโลกกว้าง, ออกไปทำงาน, etc.
มั้ง เราก็เลยมักจะเจอพล็อตผู้หญิงรอผัวมาตั้งแต่
6.1 ตำนานกรีก THE ODYSSEY ที่พระนางเพเนโลปีรอผัวโอดีสซีอุสนาน 20 ปี
แล้วในระหว่างที่รอเธอก็ต้องเลือกว่าเธอจะหาผัวใหม่ดีหรือไม่
6.2 นางนาคพระโขนง
6.3 THE SCARLET LETTER นิยายในปี 1850 ที่ประพันธ์โดย Nathaniel
Hawthorne และเคยถูกสร้างเป็นหนังโดย Wim Wenders และ Roland Joffé
6.4 UGETSU (1953, Kenji Mizoguchi, Japan)
6.5 THE CRANES ARE FLYING (1957, Mikhail Kalatozov, Soviet Union)
6.6 THE LONG ABSENCE (1961, Henri Colpi, France) ที่มี Marguerite
Duras ร่วมเขียนบท
6.7 TWO ENGLISH GIRLS (1971, François Truffaut, France)
6.8 THE RETURN OF MARTIN GUERRE (1982, Daniel Vigne, France) +
SOMMERSBY (1993, Jon Amiel)
6.9 ROUGE (1987, Stanley Kwan, Hong Kong)
6.10 A TALE OF WINTER (1992, Éric Rohmer, France)
6.11 WHERE THE CRAWDADS SING (2022, Olivia Newman)
ก็เลยรู้สึกว่า “มังกรหยก”
นี่เป็นอะไรที่งดงามมาก ที่กลายเป็นฝ่ายชาย “เอี้ยก้วย” ต้องรอฝ่ายหญิง “เซียวเหล่งนึ่ง”
นาน 16 ปีแทน 55555
7.พอเนื้อเรื่องของ FOUR NIGHTS OF A DREAMER มันใกล้เคียงกับหนังรักโรแมนติกของผู้กำกับคนอื่น
ๆ มาก ๆ เราก็เลยเห็นได้ชัดเลยว่า หนึ่งในสิ่งที่เราชอบสุด ๆ ในหนังของ Robert
Bresson คือความรู้สึกที่ว่า เรากำลังดู “ตัวอย่างความทุกข์ของสัตว์โลก”
มากกว่าจะดูเรื่องราวของมนุษย์คนหนึ่งหรือ individual คนหนึ่งน่ะ
มันเป็นสิ่งที่เราอธิบายได้ยากเหมือนกัน
แต่เหมือนกับว่า เวลาเราดู A WINTER’S TALE
ของ Rohmer ที่เป็นเรื่องของหญิงสาวที่ต้องเลือกว่าจะหาผัวใหม่ดี
หรือว่าจะยังคง “หลงรัก” ผู้ชายที่หายสาบสูญไปนาน 5 ปีแล้วดี เรากำลังดูหนังเกี่ยวกับ
“มนุษย์คนหนึ่งที่สมจริงมาก ๆ” มันเป็นหนังที่เข้าอกเข้าใจมนุษย์และตัวละครของมันเองอย่างเต็มที่
เราซาบซึ้งกับความเป็นมนุษย์ในหนังเรื่องนี้และในหนังเรื่องอื่น ๆ ของ Éric
Rohmer มาก ๆ
แต่เวลาเราดู FOUR NIGHTS OF A DREAMER ของ Bresson หรือหนังเรื่องอื่นๆ ของ Bresson เรารู้สึกว่ามันมี “ระยะห่าง”
จากตัวละครในระดับนึง เหมือนกับว่าความ minimal ของมัน
และการต่อต้านความสมจริงของมัน ทำให้เราเหมือนไม่ได้มอง “เพื่อนมนุษย์”
แต่กำลังมอง “สัตว์มนุษย์ที่ใช้ชีวิตอย่างทุกข์ทรมานบนโลกใบนี้” สัตว์มนุษย์ที่ในบางครั้งก็มีอาการเช่นนี้เช่นนี้แลเมื่อตกหลุมรัก,
เมื่อไม่แน่ใจในความรัก, เมื่อถูกกำหนัดเข้าครอบงำ, เมื่อเกิดความลังเลสงสัย, เมื่อต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวทางใจ,
เมื่อมนุษย์ยังไม่เจอบุคคลผู้เป็นที่รัก แต่รู้สึกว่าตัวเองควรรักใครสักคน มนุษย์เป็นทุกข์อย่างไร,
เมื่อมนุษย์ถูกปฏิเสธจากบุคคลอันเป็นที่รัก มนุษย์เป็นทุกข์อย่างไร, เมื่อมนุษย์ได้เจอคนที่รักแล้ว
แต่ไม่ได้อยู่กับคนที่รัก มนุษย์เป็นทุกข์อย่างไร และจะต้องเผชิญกับนิวรณ์ใดมารบกวนจิตใจบ้าง,
เมื่อมีคนมาหลงรัก แต่เราไม่ได้รักเขามากเป็นอันดับหนึ่ง เราอาจจะเป็นทุกข์อย่างไร,
นี่แลคืออาการของมนุษย์ขณะได้ในสิ่งที่ต้องการ, นี่แลคืออาการของมนุษย์ขณะยังไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ,
นี่แลคืออาการของมนุษย์ขณะได้ในสิ่งที่ไม่แน่ใจว่าตัวเองต้องการหรือเปล่า, etc.
ไม่รู้เราคิดแบบนี้คนเดียวหรือเปล่า
คือในขณะที่หนังรักโรแมนติกเรื่องอื่น ๆ อาจจะทำให้เรารู้สึกเหมือนกับกำลังอ่านนิยายชีวิตที่เขียนโดย
“กฤษณา อโศกสิน” หรืออะไรทำนองนี้ แต่หนังหลาย ๆ เรื่องของ Bresson มันสร้างระยะห่างกับเรา แต่มันก็เข้าอกเข้าใจ “จิตวิญญาณของสัตว์มนุษย์”
อย่างมาก ๆ คล้าย ๆ กับเวลาที่เราอ่าน “ชาดก” หรือเรื่องเล่าทางศาสนาน่ะ
แต่อาจจะแตกต่างจาก “ชาดก” ในแง่ที่ว่า ชาดกมักจะจบลงด้วย “คติสอนใจว่ามนุษย์เราควรทำอย่างนู้นอย่างนี้”
แต่หนังของ Bresson มันไม่ได้จบลงด้วยคติสอนใจ แต่เหมือนมันมองมนุษย์ด้วยระยะห่างและมุมมองบางอย่างที่คล้าย
ๆ กัน คือเหมือนมองจิตวิญญาณของมนุษย์บนโลกนี้ที่เผชิญกับ temptation, กิเลสตัณหา, desire, ความเศร้าหมอง, ความโหดร้าย,
ความอยุติธรรม, ความว่างเปล่าทางจิตวิญญาณ, บททดสอบความอดทนต่าง ๆ, etc. แล้วหนังก็แสดงให้เห็นความเป็นไปของสัตว์มนุษย์บนโลกนี้
ด้วยระยะห่างหรือมุมมองที่ทำให้เรานึกถึงเรื่องเล่าทางศาสนา
คือมุมมองแบบนี้มันชัดมาก ๆ
ในหนังเรื่องอื่น ๆ ทั้งใน AU HASARD
BALTHAZAR (1966) ที่นึกว่าเป็นการมอง “สัตว์โลก ผู้เป็นเพื่อนทุกข์
เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น”, L’ARGENT (1983) ที่แสดงให้เห็นว่าเมื่อมนุษย์แต่ละคนทำเลวร้ายต่อกัน
แล้วมันจะส่งผลกระทบต่อไปอย่างไร โดยเฉพาะผลกระทบในระดับจิตวิญญาณ และใน
THE DEVIL, PROBABLY (1977) ที่มีฉากที่พระเอกกล่าวสรุป “ชีวิตของชนชั้นกลาง”
ได้อย่างเปรี้ยงที่สุด คือเหมือน dialogue ในฉากนั้น สะท้อนการมอง
“ความทุกข์ของสัตว์มนุษย์ขณะเกิด แก่ เจ็บ ตายอยู่บนโลกนี้” ในแบบที่ทำให้เรานึกถึงมุมมองทางศาสนามาก
ๆ
" Young
Man: In losing my life, here's what I'd lose! [He takes out a piece of paper
from his pocket and begins to read from it] Family planning. Package holidays,
cultural, sporting, linguistic. The cultivated man's library. All sports. How
to adopt a child. Parent-Teachers Association. Education. Schooling: 0 to 7
years, 7 to 14 years, 14 to 17 years. Preparation for marriage. Military
duties. Europe. Decorations (honorary insignia). The single woman. Sickness:
paid. Sickness: unpaid. The successful man. Tax benefits for the elderly. Local
rates. Rent-purchase. Radio and television rentals. Credit cards. Home repairs.
Index-linking. VAT and the consumer...
ก็เลยรู้สึกว่า เรารักทั้ง Eric Rohmer และ Robert Bresson อย่างที่สุดของที่สุด
เหมือนหนังของผู้กำกับทั้งสองคนนี้มี wavelength ตรงกับเราอย่างรุนแรง,
ทำให้เรารู้สึกว่าพวกเขาเข้าใจแก่นแท้ของจิตวิญญาณมนุษย์อย่างรุนแรงที่สุด
แต่เหมือนหนังของทั้งสองคนนี้มองมนุษย์ด้วยมุมมองที่แตกต่างกัน หนังของทั้งสองก็เลยให้ความสุขสุด
ๆ กับเราในแบบที่แตกต่างกัน เหมือนหนังของคนนึงทำให้เราซาบซึ้งกับ “ความรื่นรมย์ของชีวิตคนธรรมดา”
ในขณะที่หนังของอีกคนนึงทำให้เราตระหนักกับสัจธรรมที่ว่า
ชีวิตมนุษย์มีแต่ความทุกข์เกิดขึ้น, ตั้งอยู่ และดับไป และความทุกข์ของสัตว์มนุษย์ขณะยังมีชีวิตอยู่
ประกอบด้วยอะไรบ้าง อะไรทำนองนี้ 555
จองเป็นตัวละครหญิงที่ไม่มีบทพูดในรูปนี้ใน
FOUR NIGHTS OF A DREAMER รู้สึกว่าเธอดูสวยสง่าเหมือนจิตร
โพธิ์แก้วมาก ๆ 55555
No comments:
Post a Comment