COMRADE COUTURE (2009, Marco
Wilms, Germany, documentary, A+30)
1.พอมันเป็นหนังสารคดีที่มีความเป็นส่วนตัว
มันก็เลยออกมา "ได้อารมณ์ความรู้สึก" มาก ๆ สำหรับเรา
และพอหนังเน้นสัมภาษณ์ "เพื่อนเก่า ๆ "
ตัวผู้ให้สัมภาษณ์ก็เลยเหมือนเปิดใจต่อหน้ากล้องมาก ๆ ด้วย
ซึ่งเราว่า
"หนังสารคดีสัมภาษณ์เพื่อนสนิท" หลาย ๆ เรื่อง ทั้งหนังไทยและหนังต่างชาติ
มันได้ใจเราเพราะจุดนี้ คือเวลาเราดูหนังกลุ่มนี้ เราจะรู้สึกได้ว่า
ผู้ให้สัมภาษณ์เต็มใจ รู้สึกเป็นมิตรกับคนที่อยู่หลังกล้อง และ
"ถอดหน้ากากออก 1 ชั้น" เวลาให้สัมภาษณ์กับเพื่อนสนิทน่ะ
พวกเขาแสดงอารมณ์ความรู้สึกบางอย่างที่อาจจะไม่แสดงออกมาเวลาคุยกับคนแปลกหน้า
เพราะฉะนั้นเวลาที่เราดูหนังสารคดีกลุ่มนี้
เราเลยรู้สึกว่ามันมีเสน่ห์บางอย่างที่งดงามมาก ๆ
ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ไม่พบในหนังสารคดีที่มีระยะห่างระหว่างผู้กำกับกับ subjects
2.เนื้อหาส่วนหนึ่งของหนังเรื่องนี้คือผู้กำกับหวนหาวันคืนเก่า
ๆ ในทศวรรษ 1980 ในเยอรมันตะวันออก ยุคที่เขากับเพื่อน ๆ
ชอบแอบจัดงาน fashion show ใต้ดิน พอเวลาผ่านมานาน 20
กว่าปีแล้ว เขาก็เลยออกตามหาเพื่อนเก่า ๆ กลุ่มนั้น และพยายามจัดงาน
fashion show รำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าว
ซึ่งเพื่อนเก่า ๆ ของเขาก็รวมถึง designer สาวสุดเก๋ที่เคยประดิษฐ์ชุดจากอุปกรณ์ทำสวน
แต่ปัจจุบันเธอเร่ขายชุดกันฝน, นายแบบ
ที่ต่อมาได้เปลี่ยนศาสนาเป็นมุสลิม และกะเทยเปรี้ยว
ที่ต่อมาโด่งดังจากการทำร้านทำผมที่รับตกแต่งหมอยด้วย
คือเราอินกับเนื้อหาตรงนี้อย่างมาก
ๆ ในระดับนึง เพราะเรารู้สึกว่า energy บางอย่างที่เราเคยมีเวลาอยู่กับเพื่อน ๆ
มัธยมในทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรษ 1990 มันเป็นสิ่งที่หายไป
และแทบรื้อฟื้นขึ้นมาไม่ได้อีกในเวลาต่อมาน่ะ และเรารู้สึกว่า ช่วงนั้นมันเป็นช่วงที่เพื่อน
ๆ "มีความคิดสร้างสรรค์" ที่ reach maximum point ของชีวิตด้วย
เหมือนยุคนั้นเพื่อน ๆ มัธยมสามารถคิดศัพท์ใหม่ขึ้นมาได้ทุกวันน่ะ
แต่เป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้แล้วในปัจจุบัน
ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมความคิดสร้างสรรค์ที่เคยพลุ่งพล่านอย่างสุด ๆ ในช่วงวัยรุ่น
ถึงเป็นสิ่งที่ค่อย ๆ มอดดับลงเรื่อย ๆ เมื่อพวกเราโตขึ้น
ปัจจัยข้างต้นก็เลยเป็นปัจจัยที่ทำให้เราอินกับหนังเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ
เพราะเราเข้าใจดีถึงความรู้สึกหวนหาวันคืนเก่า ๆ โดยเฉพาะวันคืนกับเพื่อน ๆ เก่า ๆ
ที่เคยมี
energy บางอย่างร่วมกัน แต่จริง ๆ แล้วสถานการณ์ของ Marco มีความซับซ้อนกว่าของเราเป็นอย่างมาก เพราะเหมือนผลงาน fashion
show ของเขาในทศวรรษ 1980 เป็นผลผลิตจากระบอบเผด็จการของเยอรมันตะวันออกด้วย
การที่พวกเขาสร้างสรรค์ผลงานดังกล่าวออกมาได้ เป็นเพราะว่าพวกเขารู้สึกเหมือนถูกกักขัง
การถูกกักขังก็เลยเป็นการกระตุ้นให้เกิดจินตนาการถึงโลกกว้างที่พวกเขาไม่เคยเจอ
และก็เลยเหมือนเป็นเชื้อเพลิงอย่างหนึ่งสำหรับความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขาในยุคนั้น
แต่พอเยอรมันตะวันออกล่มสลาย และพวกเขาได้ใช้ชีวิตอย่างเสรี ตะลุยโลกกว้างจริง ๆ
พลังบางอย่างที่พวกเขาเคยมีในทศวรรษ 1980 ก็เลยไม่เหมือนเดิมอีก
3.ชอบการที่หนังไปสัมภาษณ์ฝ่ายเผด็จการด้วย
ซึ่งก็คือจนท.ในกระทรวงหนึ่งของเยอรมันตะวันออกที่คอยสั่งจับวัยรุ่นหนุ่มสาวที่ทำตัวผิดแปลกไปจากคนอื่น
ๆ ในสังคม โดยจนท.คนนั้นมีอายุราว 25 ปีเองมั้งตอนที่ทำหน้าที่นี้
แต่ปัจจุบันก็กลายเป็นลุงอ้วนคนหนึ่งไปแล้ว
4.รู้สึกว่าสถานการณ์ในเยอรมันตะวันออกมันรุนแรงมาก
ๆ คือแค่ใครดูมีรูปลักษณ์ผิดไปจาก norm แม้เพียงนิดเดียว ก็สามารถถูกตำรวจจับกุมตัวไปได้แล้ว
คือในคลิปที่ใช้ในหนังเรื่องนี้ มีชายหนุ่มคนหนึ่งแค่ไว้เครายาวหน่อย แล้วไปนั่งแถว
Berlin Alexanderplatz หรืออะไรทำนองนี้ ตำรวจก็มารวบตัวเขาไปแล้ว
ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้ทำอะไรเลย แล้วฝรั่งที่ไว้เครายาวแบบนี้นี่คือสามารถหาได้ตามถนนข้าวสารในปัจจุบันด้วย
คือดูเป็นอะไรที่ไม่แปลกตาเลยสำหรับเรา แต่ถือเป็นภัยสังคมในเยอรมันตะวันออก
ตัวกะเทยในหนังเรื่องนี้ก็เคยถูกตำรวจเยอรมันตะวันออกจับไปข่มขืนด้วย
5.ชีวิตของสาวดีไซเนอร์ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง
BARBARA
(2012, Christian Petzold) ด้วย
เพราะเธอทนความเผด็จการของเยอรมันตะวันออกไม่ไหว ก็เลยหาผัวต่างชาติ
และย้ายไปอยู่อเมริกา แต่ปรากฏว่าผัวทำตัวเป็นเผด็จการกับเธอ ห้ามเธอเปิดหน้าต่าง ห้ามเธอทำนู่นนั่นนี่
เธอก็เลยทิ้งผัว แล้วย้ายกลับมาอยู่เยอรมนีตามเดิม
6.ดูแล้วแอบนึกถึงคุณ “จตุพร แซ่อึง”
ด้วย เพราะหนังสารคดีเรื่องนี้พูดถึงการจัดงาน fashion show ที่ในแง่หนึ่งก็ถือเป็นการต่อต้านรัฐบาลเผด็จการในยุคนั้น
No comments:
Post a Comment