LADY BOSS: THE JACKIE COLLINS STORY (2021, Laura Fairrie, documentary, UK, A+30)
1.จริง ๆ
แล้วไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็น “หนังที่ดี” นะ และเราก็ไม่ได้ชอบ Jackie
Collins อะไรมากนักด้วย แต่สิ่งที่ชอบมาก ๆ ในหนังเรื่องนี้ก็คือว่า
มันสะท้อน “ทัศนคติ/ค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ
ในแต่ละยุคสมัยเกี่ยวกับผู้หญิง” ซึ่งเป็นประเด็นที่เราสนใจ และตัว Jackie
Collins ก็ดูเหมือนเป็นคนที่มีทั้งส่วนที่เรา “ชอบ” และ “ไม่ชอบ”
ในคนคนเดียวกัน เพราะมันเป็น “คนจริง ๆ” เพราะฉะนั้นเวลาที่เราดูหนังเรื่องนี้
เราก็เลยเหมือนเผชิญกับความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงไปมาเรื่อย ๆ ตลอดเวลาต่อตัว subject
ของหนัง คือบางครั้งก็ชอบ บางครั้งก็ไม่ชอบ บางครั้งก็สงสาร
บางครั้งก็เห็นด้วย บางครั้งก็ไม่เห็นด้วย, etc. ซึ่งไอ้ความรู้สึกที่สับสน
ทั้งรักทั้งเกลียด ทั้งนับถือและดูถูก, etc. ที่เรามีต่อ subject
แบบนี้ จริง ๆ แล้วมันเป็นสิ่งที่เราโหยหาน่ะ
เพราะมันเป็นสิ่งที่บางครั้งก็หาได้ยากในหนัง fiction อยู่เหมือนกัน
เพราะหนัง fiction มักจะสร้างขึ้นเพื่อตอบรับต่อ
“ค่านิยม”ของยุคสมัยนั้น ๆ น่ะ เพราะฉะนั้นถึงแม้หนัง fiction บางเรื่องจะสร้างตัวละครนางเอกที่มีข้อบกพร่องในตัวเอง
แต่ตัวหนังมันก็จะถูกห่มคลุมด้วยความรู้สึกที่ว่า “หนังเรื่องนี้ก็รู้ตัวดีว่านี่คือข้อบกพร่องของนางเอกนะ
จริง ๆ แล้วหนังเรื่องนี้ก็มีทัศนคติและค่านิยมที่สอดคล้องกับคุณนั่นแหละ”
เพราะฉะนั้นเวลาที่เราดูหนัง fiction หลาย ๆ เรื่อง
เราก็จะเจอกับตัวละครนางเอกที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้คนดูรัก
หรือตัวละครนางเอกที่มีข้อบกพร่อง แต่หนังก็รู้ตัวดีว่านั่นคือข้อบกพร่องของนางเอก
เพราะหนังมันถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบรับต่อ “ค่านิยม” ของคนดูในยุคสมัยนั้น ๆ
และเวลาที่เราดูหนังแบบนี้ เราก็จะไม่รู้สึกว่าเรากำลังเผชิญกับ “แรงเสียดทาน”
ทางค่านิยม/ทัศนคติบางอย่าง เราจะไม่รู้สึกสับสน เราจะรู้สึกว่าเราดูหนังเรื่องนั้น
ๆ อย่างราบรื่นมาก แต่พอดูจบแล้วเราก็จะรู้สึกว่า เอ๊ะ มันขาดอะไรไปหรือเปล่า
บางทีเราก็อาจจะอยากดูหนังที่มันทำให้เรา
"ไม่แน่ใจว่าเราควรจะรู้สึกอย่างไรดีต่อตัวนางเอกและต่อตัวหนัง"
แบบหนังเรื่องนี้น่ะ
คือที่เรานึกถึงประเด็นนี้ขึ้นมา
เป็นเพราะเราเพิ่งดู THE WOMAN KING (2022, Gina Prince-Bythewood) ไปน่ะ
และเราว่าหนังแบบ THE WOMAN KING หรือแม้แต่หนังที่นำเสนอผู้หญิงที่เป็น
role models ที่ดีอย่างเช่น HIDDEN FIGURES (2016,
Theodore Melfi) มันเป็นหนังที่เราชอบมาก ๆ ก็จริง
แต่เหมือนมันถูกประกอบสร้างหรือห่มคลุมด้วยค่านิยมของยุคสมัยนี้ ซึ่งจริง ๆ
แล้วก็สอดคล้องกับค่านิยมของเรามากพอสมควร จนเวลาที่เราดูหนังแบบนี้
เราไม่รู้สึกถึงแรงเสียดทานต่อตัวเราเองเลย
เหมือนมันสอดคล้องหรือถูกต้องต่อค่านิยมของยุคสมัยจนมันทำให้การดูหนังเรื่องนั้นของเราราบรื่นมากเกินไปหน่อย
คือเหมือนเป็นการเดินทางที่ไม่เจออุปสรรคใด ๆ เลย
มันก็เลยกลายเป็นการเดินทางที่มีอะไรให้จดจำน้อยกว่าการเดินทางที่มีอุปสรรคบ้าง 5555
แต่เราก็สนับสนุนการสร้างหนังแบบ HIDDEN FIGURES อย่างรุนแรงนะ เพียงแต่ว่าเราก็ต้องการหนังแบบอื่น ๆ ด้วย
2.นอกจาก LADY
BOSS จะนำเสนอตัว subject ที่แต่งนิยายที่อาจจะไม่สอดคล้องกับค่านิยมในยุคปัจจุบันแล้ว
อีกสิ่งหนึ่งที่เราว่าน่าสนใจในหนังเรื่องนี้ก็คือว่า หนังนำเสนอ elites/คนรวย ในฐานะเพื่อนสนิทของ Jackie Collins ด้วย
คือพอเราเห็นผู้ให้สัมภาษณ์บางคนในหนังเรื่องนี้ เราก็นึกว่าพวกเขาหลุดมาจากเรือคนรวยใน
TRIANGLE OF SADNESS น่ะ คือเหมือนค่านิยมของหนังยุคปัจจุบัน
มักจะนำเสนอคนกลุ่มนี้ในทางค่อนข้างลบน่ะ ทั้งใน TRIANGLE OF SADNESS,
PARASITE, THE MENU, etc. เพราะฉะนั้น LADY BOSS ก็เลยเหมือนสร้างแรงเสียดทานต่อ “หนังโดยทั่วไปที่ทำตัวสอดคล้องกับค่านิยมในยุคปัจจุบัน”
ทั้งในเรื่องค่านิยมเกี่ยวกับผู้หญิง และในเรื่องชนชั้นด้วย
3.หนึ่งในสิ่งที่ชอบที่สุดในตัว
Jackie Collins ก็คือสิ่งที่เธอทำกับผัวคนแรก
เพราะผัวคนแรกของเธอติดยา และเขามักจะขู่เธอว่า เขาจะฆ่าตัวตาย ถ้าหากเธอทิ้งเขาไป
เธอก็เลยทิ้งเขาไปเลย ส่วนเขาก็ตายในแบบที่อาจจะเป็นการฆ่าตัวตาย
แต่เธอก็ไม่เสียใจ ไม่รู้สึก guilty ใด ๆ
ทั้งสิ้นต่อการฆ่าตัวตายของผัวเก่า แล้วเธอก็เดินหน้าหาผัวใหม่
และประสบความสำเร็จมาก ๆ ในฐานะนักแต่งนิยาย และเราก็รักเธอมาก ๆ ตรงจุดนี้
นี่แหละนางเอกในฝันของเรา
คือเราคิดว่า
ถ้าหากเราเจอปัญหาแบบเดียวกับ Jackie เราก็คงจะทำแบบเดียวกับเธอในกรณีนี้อย่างแน่นอน
ซึ่งเป็นเพราะเราเองก็คิดเรื่องการฆ่าตัวตายอยู่แล้วแทบจะในทุก ๆ วัน
แล้วถ้าหากกูมีผัวเหี้ย หรือมีใครมาขู่กูแบบนี้ เราก็คงบอกได้ในทันทีเลยว่า
แล้วถ้าเราอยู่กับผัวแบบนี้ต่อไป เราเองนี่แหละที่จะต้องไม่มีความสุข
แล้วสักวันเราก็ต้องฆ่าตัวตายเสียเอง แล้วเราจะทำแบบนั้นไปทำไม
เราจะแบกปัญหาที่ไม่จำเป็นเพิ่มเข้ามาในชีวิตอีกทำไม
ชีวิตมนุษย์แต่ละคนมันก็มีความทุกข์มากพออยู่แล้ว แล้วทำไมเราจะต้องไปทำให้ตัวเองอยากฆ่าตัวตายเพิ่มมากขึ้นด้วยการไปแบกชีวิตสามีเหี้ย
ๆ ด้วย เพราะฉะนั้นถ้าสามีอยากฆ่าตัวตาย สามีก็เชิญทำแบบนั้นได้ตามสบายเลยค่ะ
แต่กูรักชีวิตกู และกูจะไม่ยอมฆ่าตัวตายเพื่อสามีเหี้ย ๆ ค่ะ
ก็เลยชอบ Jackie Collins ตรงจุดนี้อย่างสุด
ๆ ไม่รู้ว่ามีนางเอกนิยายเรื่องไหนหรือเปล่าที่ทำแบบคนจริง ๆ อย่าง Jackie ที่แบบผู้ชายขู่ว่าจะฆ่าตัวตายถ้าโดนทิ้ง นางเอกก็เลยทิ้งเขาไปเลย
แล้วเขาก็ฆ่าตัวตาย และนางเอกก็มีความสุขดี (คือเหมือนนางเอกของ TERRORIZERS
(Edward Yang) ก็ทำอะไรคล้าย ๆ กันนี้นะ
แต่ผัวเธออาจจะไม่ได้ขู่ฆ่าตัวตายก่อนหน้านั้น)
4.เหมือนเราไม่เคยอ่านนิยายของเธอนะ
แต่เท่าที่ได้เห็นในหนังเรื่องนี้เราก็รู้สึกว่ามันฮามาก ๆ
จนอยากจะซื้อมาอ่านเพื่อความฮา คือภาษาที่เธอใช้มันดูอ่านง่ายมาก ๆ
และวิธีการที่เธอใช้บรรยายนางเอกก็ทำให้นึกถึงเรื่องสั้นที่เพื่อนเกย์ของเราชอบเขียนสมัยเรียนมหาลัยมาก
ๆ
5.ชอบชื่อนิยายเล่มแรกของเธออย่างสุด
ๆ ด้วย THE
WORLD IS FULL OF MARRIED MEN เพราะมันตรงกับความรู้สึกของเราจริง ๆ
555
คือในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้
เราเข้าออกโรงพยาบาลบ่อยมากน่ะ และเวลาเราเข้าโรงพยาบาลแต่ละที เราก็มักจะเห็น “หนุ่มหล่อ
ๆ” เดินไปเดินมาในโรงพยาบาล แต่ “หนุ่มหล่อ ๆ” เหล่านี้ ก็คือคุณพ่อลูกอ่อนที่หอบลูกตัวน้อย
ๆ มาเจอกุมารแพทย์ในโรงพยาบาลนั่นแหละ คือหลายคนหล่อมาก แต่ทุกคนมีลูกตัวเล็ก ๆ
กันแล้ว คือเห็นแล้วก็ได้แต่ทำใจ ว่าเราคงได้แต่แค่แอบมองหนุ่มหล่อเหล่านี้ THE WORLD IS FULL OF HANDSOME MARRIED
MEN จริง ๆ ค่ะ 555
6.หนังเรื่องนี้มีฉากคลาสสิค 2
ฉากสำหรับเรา ฉากแรกก็คือฉากที่ Barbara Cartland กับ Jackie Collins ด่าทอกันอย่างรุนแรงในรายการ Talk Show โดย Barbara
เป็นฝ่ายเริ่มด่าก่อน รุนแรงมาก ๆ 555
ซึ่งเราเองก็ไม่เคยอ่านงานเขียนของทั้งสองคนนี้จนจบเล่ม
ก็เลยไม่สามารถออกความเห็นอะไรได้ แต่เราเห็นด้วยกับ Jackie ในแง่ที่ว่า
มันก็ควรจะมี “ตลาด” สำหรับใครที่อยากอ่านอะไรก็ได้ ใครอยากอ่านแนว Barbara
ก็อ่านไป ใครอยากอ่านแนว Jackie ก็อ่านไป
ใครอยากอ่าน Virginia Woolf, Jane Austen, Emily Dickinson, Sylvia Plath, Anaïs
Nin, Toni Morrison, Elfriede Jelinek, Marguerite Duras,
Nathalie Sarraute, etc. ก็อ่านไป ใครไม่ชอบแนว Jackie ก็ไม่ต้องไปเสียเวลาอ่าน ก็แค่นั้นเอง เพราะมันเป็นเรื่องที่ปกติที่สิ่งที่เหมาะกับคนหนึ่งก็อาจจะไม่เหมาะกับอีกคนหนึ่ง
เหมือนเราเองก็คงไม่เหมาะกับทั้งนิยายของ Barbara และ Jackie
แต่เรานึกออกเลยว่านิยายของ Barbara อาจจะเหมาะกับเพื่อนเกย์ของเราที่ชื่อ
“แคชฟียา” มาก ๆ ส่วนนิยายของ Jackie ก็อาจจะเหมาะกับเพื่อนเกย์อีกคนของเราอย่างมาก
ๆ
7.ฉากคลาสสิคฉากที่สอง ก็คือฉากที่
Jackie
โดนผู้ชมหญิงสิบกว่าคนในห้องส่งรายการโทรทัศน์ในทศวรรษ 1990 รุมด่าทออย่างรุนแรงมาก
ๆ หนักที่สุด
คือฉากนี้ทำให้เรารู้สึกอะไรหลาย ๆ
อย่าง ดังต่อไปนี้
7.1 นับถือ Jackie ในฉากนั้นนะ
เพราะเหมือนเธอไม่ได้ด่าทอกลับไปอย่างรุนแรง เหมือนเธอคุมสติอารมณ์ได้ดีมากน่ะ
ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วเธอต้องใจแป้ว, หน้าชา, อยากเอาปี๊บคลุมหัว คือมีสิทธิถ้าหากเราเป็นเธอในฉากนั้น
เราอาจจะสติแตก nervous breakdown ไปแล้ว
เราว่าฉากนี้มันพิสูจน์ความเป็น “นักการตลาด”
“นักประชาสัมพันธ์ตัวเอง” ของเธอได้ดีด้วยแหละ
คือการที่เธอคุมความโกรธของตัวเองได้ท่ามกลางการด่าทออย่างรุนแรง มันช่วยให้สถานการณ์ไม่แย่ลง
และมันช่วยให้ชื่อเสียงของเธอไม่แย่ลงด้วย
7.2 แต่ดูแล้วก็เข้าใจนะว่า
ทำไมเราถึงไม่อยากอ่านนิยายของเธอ เพราะตอนแรกเราก็สนใจนิยายของเธอนะ เพราะก่อนหน้านั้นผู้หญิงจำนวนมากในทศวรรษ
1970-1980 ชื่นชมนิยายของเธออย่างรุนแรงในแง่ที่ว่า มันนำเสนอเรื่องเพศของผู้หญิงได้อย่างดีงามมาก
นางเอกของเธอเหมือนเริงร่า มีความสุขทางเพศกับหนุ่ม ๆ มาก ๆ ซึ่งอะไรแบบนี้น่าจะเข้าทางเรา
แต่พอผู้ชมในห้องส่งบอกว่า
นิยายของเธอเต็มไปด้วย “นางเอกที่เป็น the most beautiful girl in the world” เราก็เลยเข้าใจได้ในทันทีว่า
ทำไมนิยายของเธอมันถึงไม่เหมาะกับเรา
เพราะถึงแม้เรามักจะอินกับหนังที่นำเสนอตัวละครนางเอกที่แข็งแกร่งและเงี่ยนผู้ชาย
แต่เรามักจะไม่อินกับหนังที่นำเสนอตัวละครนางเอกที่เป็น “สาวสวยเซ็กซี่” น่ะ เราก็เลยคิดว่านิยายของเธอไม่น่าจะเหมาะกับเราจริง
ๆ นั่นแหละ แต่น่าจะเหมาะกับเพื่อนเกย์บางคนของเราอย่างมาก ๆ
แต่ก็เข้าใจได้นะว่า ทำไม Jackie ถึงชอบแต่งนิยายแบบนี้
เพราะตัวเธอเองก็เป็น “สาวสวยเซ็กซี่” น่ะ เพราะฉะนั้นมันก็เป็นเรื่องที่ง่ายสุด ๆ
สำหรับเธอที่จะแต่งนิยายที่เต็มไปด้วยนางเอกที่มีลักษณะแบบนี้
8.เราว่าฉากที่ผู้ชมหญิงหลายสิบคนในห้องส่ง
ด่าทอนิยายของ Jackie
อย่างรุนแรง มันช็อคเราด้วยแหละ เพราะก่อนหน้านั้นผู้หญิงจำนวนมากในทศวรรษ
1970-1980 ยังชื่นชม Jackie อย่างรุนแรงอยู่เลย
เราก็เลยตกใจมาก ๆ ที่พอกาลเวลาเปลี่ยน แล้วทำไมสถานะของคนบางคนมันถึงพลิกผันได้อย่างรุนแรงแบบนี้
ทั้ง ๆ ที่คนคนนั้นแค่ทำตัวแบบเดิม คือพวกเขาไม่ได้ทำตัวเลวลงจากเดิมเลย
แต่พอค่านิยมของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป คนบางคนที่ทำตัวแบบเดิม กลับพบว่าสถานะของเขาพลิกจากหน้ามือเป็นหลังตีนได้โดยไม่รู้ตัว
คือเราว่าตัว Jackie ทำให้เรานึกถึงตัวละครหญิง
2 คนใน MADAME X – AN ABSOLUTE RULER (1977, Ulrike Ottinger, West
Germany) ด้วยแหละ นั่นก็คือตัวละครสาวแม่บ้านกับตัวละครสาวนางแบบ
คือ Jackie นั้นมีลุคแบบสาวนางแบบ
แต่เธอเงี่ยนผู้ชายแบบสาวแม่บ้านในหนังเรื่องนั้น และตัวละครทั้งสองตัวนี้ก็เหมือนจะมองว่าตัวเองเป็น
“feminist” และก็ได้ร่วมขบวน feminist movement กับเขาด้วย แต่พออยู่ไปนาน ๆ เข้า พวกเธอทั้งสองก็ถูก feminists บางคนถีบให้ตกขบวน feminists ไปโดยไม่รู้ตัว เราก็เลยว่าชะตากรรมของ
Jackie Collins ที่ถูกนำเสนอในหนังสารคดีเรื่องนี้
มันสอดคล้องกับชะตากรรมของตัวละครบางตัวใน MADAME X – AN ABSOLUTE RULER โดยบังเอิญมาก ๆ
9.ชะตากรรมที่พลิกผันของ Jackie Collins จากจุดรุ่งเรืองสุดขีด
เป็นที่รักของผู้หญิงจำนวนมากในทศวรรษ 1980 มาสู่จุดตกอับสุดขีดในทศวรรษ 1990 มันสอดคล้องกับประเด็นที่เราว่าน่าสนใจมาก
ๆ ด้วยแหละ นั่นก็คือเรื่องค่านิยม/ทัศนคติของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคสมัย
โดยเฉพาะในเรื่องตัวละครหญิงที่เป็นที่นิยมในแต่ละยุคสมัยต่าง ๆ
และเราก็สงสัยด้วยว่า จริง ๆ
แล้วตัวละครหญิงหลาย ๆ ตัวที่เราชอบ อย่างในละครทีวีชุด MELROSE PLACE และ SEX
AND THE CITY ในทศวรรษ 1990 นั้น จริง ๆ
แล้วมันเป็นการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจาก “ตัวละครนางเอก” ในนิยายของ Jackie
Collins ด้วยหรือเปล่า 555
คือถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด นิยายของ
Barbara
Cartland น่าจะเต็มไปด้วยนางเอกที่เป็น “คนดีมีศีลธรรม ไม่แร่ดร่าน”
น่ะ เพราะฉะนั้นเราก็เลยเดาว่านิยายของ Jackie Collins น่าจะมาช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงค่านิยมเกี่ยวกับ
“นางเอก” ตรงนี้ พร้อมๆ กับที่ตัวละคร “แม่บ้าน” ใน “หนังทศวรรษ 1950”
เปลี่ยนเข้าสู่ยุค Swinging Sixties, free sex, feminism ในทศวรรษ
1960-1970 ด้วย
ซึ่งถ้าหาก Jackie Collins มีส่วนในการผลักดันให้ตัวละครนางเอกในสื่อต่าง
ๆ เปลี่ยนจาก “สาวศีลธรรมสูง” มาเป็น “สาวแร่ดร่าน เงี่ยนผู้ชาย” จริง ๆ
เราก็ต้องถือว่าเราติดหนี้บุญคุณ Jackie Collins เป็นอย่างสูงเหมือนกันนะ
แต่เราก็ไม่แน่ใจในจุดนี้ เพราะเราไม่เคยอ่านนิยายของเธอ และเราไม่รู้ว่าตัวละครหญิงที่เราชื่นชอบสุด
ๆ อย่างเช่น Amanda ใน MELROSE PLACE และเหล่าตัวละครหญิงใน
SEX AND THE CITY มันเป็นพัฒนาการต่อเนื่องมาจากอะไรบ้าง
แต่คือตัวละครเหล่านี้เงี่ยนผู้ชายได้โดยไม่รู้สึกผิดแต่อย่างใด และมีเซ็กส์กับผู้ชายได้หลายคนโดยไม่ถือว่าเป็นสิ่งผิดอีกต่อไป
เราก็เลยสงสัยว่า ตัวละครเหล่านี้มันคือการวิวัฒนาการมาจากตัวละครนางเอกในนิยายของ
Jackie Collins หรือเปล่า แต่ Jackie ก็ถูกประณามอย่างรุนแรงในทศวรรษ
1990 นี่นา เพราะฉะนั้นอะไรคือคำอธิบายที่เหมาะสมในเรื่องนี้
เราก็เลยคิดว่า ถ้าหากใครมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องพวกนี้
ก็มา
discuss ให้ความรู้เราในส่วนของ comment ได้นะ
หรือมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับ “ความเปลี่ยนแปลงของตัวละครหญิง” ในทศวรรษต่าง ๆ ก็ได้
เราว่าประเด็นนี้มันน่าสนใจดี
ส่วนรูปที่เราใช้ประกอบนี้ก็คือการแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เราสนใจ
เพราะถ้าหากพูดถึงละครทีวีในทศวรรษ 1970 ที่เราชื่นชอบมากที่สุด เราก็จะนึกถึง “นางฟ้าชาร์ลี”
(1976-1981)
ส่วนทศวรรษ 1980 นั้นน่าจะเป็นทศวรรษของ Jackie Collins ตัวละครหญิงของเธอน่าจะมีความเงี่ยนผู้ชาย และมีความ “ทุนนิยม” สูงมาก ๆ
ด้วย ซึ่งน่าจะเข้ากับทศวรรษนั้น ยุคของ Ronald Reagan, Margaret Thatcher และตลาดหุ้น Wall Street ส่วนทศวรรษ 1990 – 2000 เราก็จะนึกถึง
SEX AND THE CITY ซึ่งนางเอกในละครทีวีชุดนี้ มีความ “ติดดิน”
มากกว่านางเอกในนิยายของ Jackie คือดูเป็น “คนจริง ๆ” หรือ “คนที่เราสามารถพบได้จริงในชีวิตประจำวัน”
มากกว่านางเอกในนิยายของ Jackie แต่ก็เป็นผู้หญิงที่เงี่ยนผู้ชายและมีเซ็กส์กับผู้ชายได้หลายคนโดยถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องและดีงาม
และในทศวรรษต่อมา เราก็จะเจอกับหนังอย่าง HIDDEN FIGURES และเรื่อยมาจนถึงทศวรรษนี้
ที่เราได้เจอกับหนังอย่าง GANGUBAI KATHIAWADI (2022, Sanjay Leela
Bhansali), THE WOMAN KING, PROMISING YOUNG WOMAN (2020, Emerald Fennell) ซึ่งเราก็ไม่สามารถสรุปได้เหมือนกันว่า สิ่งเหล่านี้มันสะท้อนถึงอะไรบ้าง
แต่เราว่ามันน่าสนใจดี ถ้าหากจะมีคนวิเคราะห์หรือศีกษาเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของตัวละครนางเอกในทศวรรษต่าง
ๆ เหล่านี้
No comments:
Post a Comment