Saturday, January 14, 2023

VOICE OF THE OPPRESSED

 From the exhibition RUSSIAN DOLL IN THAI DRESS


เดาว่านี่คือหนึ่งในความพยายามของ Russia ในการทำสงครามด้วยการโน้มน้าวประชาชนทั่วโลกให้มองรัสเซียในแง่ดี ในขณะที่รัสเซียยังคงเข่นฆ่าประชาชนใน Ukraine ต่อไป

แต่ถ้าหากตัดจุดประสงค์นี้ทิ้งไป เราว่าตุ๊กตาพวกนี้มันก็น่ารักดี

CHARMED BY ANXIETY (2022, Nadiah Bamadhaj, Indonesia, video installation, 16min, A+30)

ฉันรู้สึกว่า ฉันพึงใจใน video นี้ในแบบที่ตรงข้ามกับจุดประสงค์ของผู้กำกับ ฮิฮิ

RHIZOME (2022, Jakrawal Nilthamrong, video installation, A+30)

รู้สึกว่าตัววิดีโอสวยมาก และพิศวงดีด้วย

ดูแล้วนึกถึง 1001ST ISLAND -- THE MOST SUSTAINABLE ISLAND IN ARCHIPELAGO (2015, Irwan Ahmett, Tita Salina, Indonesia, video installation) ด้วย เพราะทั้งสองวิดีโอพูดถึงแพกลางทะเลที่ทำจากขยะหรืออะไรทำนองนี้เหมือนกัน แต่ RHIZOME จะพิศวงกว่ามาก

‐----
ฉีดวัคซีนโควิดเข็ม 5 แล้ว คราวนี้เป็น Pfizer หลังจากเข็ม 1-2 เป็น Astrazeneca และเข็ม 3-4 เป็น Moderna

เข็ม 5 นี้ฟรี เราจองผ่านทางแอป QueQ ตามคำแนะนำของน้องปราปต์ เราเลือกฉีดที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 วัดมักกะสัน แต่ต้องลางานมาฉีด เพราะเขาไม่มีให้เลือกวันเสาร์อาทิตย์


เข็ม 5 นี้ฉีดห่างจากเข็ม 4 เป็นเวลา 5 เดือน แทนที่จะเป็น 4 เดือน เพราะวันคริสต์มาสเราไปฉีดวัคซีนบาดทะยักกับไข้หวัดใหญ่ (เราฉีดบาดทะยักครั้งก่อนหน้านี้ในปี 2013 ตอนที่เราพยายามหุบร่มแล้วร่มเฉือนนิ้วเราแหว่ง ก็เลยฉีดอีกทีเมื่อครบ 10 ปี) เราก็เลยต้องรอ 2 สัปดาห์ก่อนฉีดโควิด

สรุปว่าตอนนี้เรายังไม่เคยติดโควิดจ้ะ

แต่ทำไมพอกูลางานปุ๊บ อากาศต้องร้อนฉ่าด้วยคะ นี่เดินแป๊บเดียว กูเหงื่อท่วมตัวแล้ว อีห่า เลยรีบแดกไอติมรสซอสน้ำปลาเพื่อดับความร้อน
-----

NOMADIC EXISTENCE (2019, Ganzug Zedbazar, Mongolia, video installation, 7min, A+30)

วิดีโอที่นำเสนอชีวิตความเป็นอยู่ของชาวมองโกเลีย โดยทำเป็นจอโค้งราว 270 องศามั้ง ซึ่งก็เข้ากับชีวิตชาวมองโกเลียที่อาศัยในกระโจม และจอแบบนี้ก็สามารถนำเสนอ landscape ทุ่งกว้างได้ในแบบที่น่าตื่นตาตื่นใจด้วย

เราสังเกตว่า วิดีโอนี้ใช้เครื่องฉาย 4 เครื่องพร้อมกัน แต่ภาพที่เห็นเหมือนเป็นภาพเดียวกัน เราก็เลยสงสัยว่า การถ่ายทำวิดีโอแบบนี้ทำอย่างไรถึงถ่ายภาพออกมาได้ 270 องศา มันมีกล้องแบบพิเศษที่ใช้ถ่ายแบบนี้ หรือเขาใช้กล้องหลายตัวผูกไว้ด้วยกันแล้วถ่ายพร้อมกัน 555


VOICE OF THE OPPRESSED (2022, Kawita Vatanajyankur with Pat Pataranutaporn, video installation, A+30)

นึกว่าเป็น "ขั้นกว่า" ของหนังเรื่อง "ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ" (2021, Nuttorn Kungwanklai) เพราะวิดีโอนี้ให้ผู้กำกับมาเล่นเป็นคนสองคนที่โต้เถียงกันไปมา โดยที่ทั้งสองมีความเห็นทางการเมืองแตกต่างกันสุดขั้ว ซึ่งจุดนี้จะเหมือนกับ "ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ" แต่แตกต่างกันตรงที่ วิดีโอนี้มีจอตรงกลางที่เกี่ยวกับการพ่นมลพิษอะไรด้วย

แต่สิ่งที่น่าสนใจสำหรับเราในวิดีโอ 3 จอนี้ก็คือว่า ในขณะที่จอนึงเหมือนจะเป็นสาวเสรีนิยม และอีกจอเป็นสาวเผด็จการนิยมนั้น ตัวจอสาวเสรีนิยมไป ๆ มา ๆ แล้ว เธอกลับพูดว่า เธอต้องการเสรีภาพ และเธอต้องการจะล้มล้างระบอบประชาธิปไตย เพื่อหาเสรีภาพที่แท้จริง ที่ไม่ได้ถูกหลอกลวงโดยระบอบประชาธิปไตย แต่เธอก็ไม่ได้บอกว่า ถ้าไม่ใช่ประชาธิปไตย แล้วมันจะเป็นระบอบไหนที่ให้เสรีภาพตามที่เธอต้องการ ในขณะที่สาวเผด็จการนิยม ก็เหมือนจะตั้งคำถามที่น่าสนใจในบางครั้ง อย่างเช่น ระบอบที่อีกฝ่ายต้องการ มันก็อาจจะส่งผลให้คนกลุ่มหนึ่งได้เปรียบ แต่คนกลุ่มหนึ่งเสียเปรียบ อะไรทำนองนี้

เราเข้าใจว่าวิดีโอนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังสือ PEDAGOGY OF THE OPPRESSED (1968, Paulo Freire, Brazil) แต่เราไม่เคยอ่านหนังสือเล่มนี้ เราก็เลยไม่แน่ใจว่า "การเรียกร้องเสรีภาพ แต่ต่อต้านประชาธิปไตย" อะไรแบบนี้มันมาจากหนังสือเล่มนี้หรือเปล่า ใครตอบได้บ้าง

ก็เลยรู้สึกว่า แนวคิดในวิดีโอนี้มันซับซ้อนกว่าที่เราคาดไว้ในตอนแรก
‐---
ฉันรักเขา Ji Il-Joo จาก  GANGNAM ZOMBIE (2023, Lee Soo Sung, South Korea, C- ) หนังเหี้ยมาก อยากให้ F แต่รักพระเอก 555

----

TURANDOT 2070 (2019, AES+F, video installation, 42min, A+30)

1.ชอบสุด ๆ อลังโคม spectacle สวยงามมาก ๆ ก่อนหน้านี้เราเคยดู INVERSO MUNDUS (2015, AES+F, 38min) ที่ก็ชอบสุด ๆ เหมือนกัน

2. เข้าใจว่าเนื้อหาส่วนหนึ่งเป็นการพูดถึงกระแส #metoo

BEAST TYPE SONG (2019, Sophia Al-Maria, video installation, 38min, A+30)

เสียดายที่มันไม่มี subtitle ก็เลยฟังไม่ค่อยออก

มีการเอาฟุตเตจจาก THE BATTLE OF ALGIERS มาใช้ในวิดีโอนี้ด้วย

BERLIN VORTEX (2003, Marco Wilms, Germany, documentary, A+15)

1.หนังสัมภาษณ์คนหลายคนเกี่ยวกับชีวิตในเบอร์ลินในช่วง 10 ปีหลังกำแพงเบอร์ลินล่มสลาย โดยเฉพาะคนที่เคยเกี่ยวข้องกับ occupation หรือการเข้าไปอยู่ในอาคารร้างที่รัฐบาลเยอรมันตะวันออกทิ้งไว้ ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด โดย subjects หลักของหนังรวมถึงผู้ชายที่ทำละครเวทีที่มีเมียเป็น choreographer, นักร้องชาย, Flake นักดนตรีในวง Rammstein, ผู้หญิงที่ทำงานด้านอาคารสงเคราะห์ และชายหนุ่มที่ทำงานเกี่ยวกับ youth unemployment

2.เหมือนชีวิตคนเหล่านี้น่าสนใจดี แต่พอเราไม่มีความรู้เรื่องเหตุการณ์ occupation และถิ่นต่าง ๆ ใน Berlin เราก็เลยจะงง ๆ นิดหน่อยกับเนื้อหาในบางช่วง

3.ส่วนที่หนักที่สุดสำหรับเรา คือส่วนที่เกี่ยวกับโครงการ youth unemployment เพราะวัยรุ่นในโครงการดูเลือดร้อน น่ากลัวมาก ๆ

ALEAF (2022, Nawin Nuthong, installation with videos)

สวยสดงดงามมาก ๆ ชอบทั้งภาพและดนตรี ดูแล้วนึกถึงนิทรรศการ TIMIRBHU: THE NEW WORLD ORDER (2022, Nakrob Moonmanas) ด้วย ที่เหมือนเอาของไทยโบราณมาทำให้เกิดความพิสดารเหมือนกัน แต่อันนี้มีความ electronics สูงกว่า

อยากให้มีคนสร้างหนังแนว " แดนสนธยา" เกี่ยวกับสยาม/ไทย แล้วมีทั้งตอนที่กำกับโดยคุณ Nawin Nuthong, ตอนที่กำกับโดยคุณ Nakrob Moonmanas และตอนที่กำกับโดย Uninspired by Current Events

WHEN THE FISH IS CHIRPING (2022, Arin Rungjang, video installation, A+30)

รู้สึกว่าบทสัมภาษณ์ของคนรุ่นใหม่หลาย ๆ คนน่าสนใจดี ทั้งเรื่องของศิลปินที่เก็บเกี่ยวความโกรธมาทำงาน, เรื่องของผู้หญิงที่ไปคุยกับผู้อพยพจากยุคเขมรแดง ยุคที่มีคนตายตามท้องถนนเยอะมาก จนคนเขมรตัดสินใจหนีตายมาอยู่ที่ไทย, เรื่องของครอบครัวทหารที่บังคับให้ลูกร้องเพลงสรรเสริญก่อนกินข้าว และเรื่องของชายหนุ่มกับประสบการณ์ตอนเหตุการณ์สังหารหมู่เสื้อแดง

RIP Michael Snow (1928-2023)

อยากให้มีคนจัดงาน retrospective ของ Michael Snow ในกรุงเทพมาก ๆ เพราะเราเคยดูหนังของเขาแค่ 2 เรื่องเอง ซึ่งก็คือ TRE PUCCINI: PUCCINI CONSERVATO (2008) กับ CITYSCAPE (2019) และยังไม่เคยดูหนังดัง ๆ ของเขาเลยแม้แต่เรื่องเดียว ฮือ ๆ แต่แค่ได้ดูหนังสั้นของเขา 2 เรื่อง เราก็กราบตีนเขามาก ๆ แล้ว เพราะภาพยนตร์ของเขามันสร้างความรู้สึก limitless ผลักขอบเขตของภาพยนตร์ออกไปได้ในแบบที่คาดไม่ถึงมาก ๆ

TOKYO-GA (1985, Wim Wenders, documentary, A+30)

1.ชอบช่วงที่พูดถึงปาจิงโกะมาก ๆ เหมือนมันเป็นสิ่งที่ไม่มีในต่างประเทศ เพราะฉะนั้นเวลาชาวต่างชาติมาถ่ายหนังหรือ MV ในญี่ปุ่น ก็เลยชอบมีปาจิงโกะในหนังต่างชาติ แต่เวลาเราดูหนังญี่ปุ่น เรากลับไม่ค่อยเห็นปาจิงโกะ

ชอบที่ Wenders วิเคราะห์ว่า สิ่งสำคัญของปาจิงโกะไม่ใช่การชนะได้ลูกกลมกี่อันหรือสิ่งของที่ได้รับ แต่เป็นพลังของการสะกดจิตให้ผู้เล่นหลงลืมความทุกข์ยากเจ็บปวดของชีวิตไปชั่วขณะ โดยเฉพาะความทรงจำที่เลวร้ายใน  WWII จนเหมือนปาจิงโกะกลายเป็นอีกอวัยวะหนึ่งของผู้เล่น

เราว่าโทรศัพท์มือถือก็ทำหน้าที่คล้าย ๆ กันนี้สำหรับเราในยุคปัจจุบันเหมือนกัน เหมือนโทรศัพท์มือถือ, facebook, internet, etc. เป็นเครื่องพักผ่อนหย่อนใจ, เป็นอีกอวัยวะหนึ่งของเรา และเป็นเครื่องมือทำเงินสำหรับบางคนด้วย แต่มือถือ/internet อาจจะตรงข้ามกับปาจิงโกะอย่างนึงในแง่ที่ว่า ในร้านปาจิงโกะนั้น เราอยู่ท่ามกลางคนจำนวนมาก แต่เราคิดถึงแต่ตัวเราเองและการเล่นเครื่องของเรา ส่วนมือถือนั้น เรามักจะใช้มันในช่วงที่เราอยู่ตามลำพัง แต่เราใช้มันในการเข้าไปเสือกเรื่องของคนอื่น ๆ จำนวนมาก 555

แต่ในแง่นึง ไม่ว่าเราจะเล่นปาจิงโกะหรือมือถือ มันก็อาจจะ lonely เหมือนกันก็ได้นะ คงแล้วแต่แต่ละคนและแล้วแต่แต่ละกรณีไป

2.พอดูหนังเรื่องนี้ในปีนี้ มันเลยเหมือนเป็น 3 ช่วงเวลามาปะทะกันโดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะหนังเรื่องนี้เป็นการมองทศวรรษ 1980 ว่าเป็นปัจจุบัน แล้วย้อนมองไปในอดีตของโอสุยุค 1920-1960 ด้วยความ nostalgia แต่พอเรามาดูมันในปี 2022 เราก็เลยมองทศวรรษ 1980 ด้วยความ nostalgia มาก ๆ และรู้สึกว่ากรุงโตเกียวในทศวรรษ 1980 นี่มันดูเจริญพอ ๆ กับกรุงเทพในปี 2022 เลยนะ 555

3.ชอบการพูดถึงเลนส์ 50 มม.มาก ๆ เพราะเราไม่มีความรู้เรื่องพวกนี้มาก่อน

4.ชอบการบันทึกภาพวัยรุ่นญี่ปุ่นมาก ๆ ด้วย

5.เหมือนใจนึง Wenders คงอยากทำหนังแบบที่คล้าย ๆ กับที่เขาพูดถึงในช่วงต้นเรื่อง หนังที่ถ่ายทอดสิ่งที่ตาเห็น "โดยไม่ต้องพยายามพิสูจน์สิ่งใด"

6. เสียดายที่เราไม่ได้ไปดูงาน retrospective ของ Wenders/Ozu ที่เคยจัดในกรุงเทพในช่วงราว ๆ ปี 1993

ทำไมเมื่อ 30 ปีก่อน ซึ่งหนังน่าจะฉายด้วยฟิล์ม เขาถึงจัดงาน rerospective Ozu ในกรุงเทพได้นะ แต่ทำไม่ได้อีกเลยในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา 555

7.เหมือน Ozu นี่ถูก refer ถึงในหนังของผู้กำกับต่างชาติเยอะมากจริง ๆ ทั้ง

7.1 TOKYO-GA

7.2  THE LEFT-HANDED WOMAN (1977, Peter Handke, West Germany)

7.3 CAFE-LUMIERE (2003, Hou Hsiao-hsien, Taiwan)

7.4 CHERRY BLOSSOMS -- HANAMI (2006, Doris Dorrie, Germany)

แต่พอดูแล้ว ก็จะพบว่า มันคือผู้กำกับเยอรมันและไต้หวัน ที่อ้างอิงถึง Ozu และทั้งสองชาตินี้เป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นในช่วง WWII (จริง ๆ แล้วมันก็มีผู้กำกับหนังทดลองชาวอเมริกันยุคหลัง ๆ ที่ทำหนัง  tribute ให้ Ozu เช่นกัน)

เราก็เลยแอบสงสัยว่า แล้วผู้กำกับจากชาติที่เคยตกเป็นเหยื่อความโหดร้ายของญี่ปุ่นในช่วง WWII อย่างเช่น จีน, เกาหลีใต้, ฟืลิปปินส์, etc. นี่มีการทำหนัง tribute ให้ Ozu บ้างหรือเปล่า เหมือน WWII มันมีส่วนขัดขวางความนิยมหนังญี่ปุ่นในยุคหลังสงครามด้วยหรือเปล่า เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน

WASTECOOKING (2015, Georg Misch, Austria, documentary, A+30)

1.ชอบการเรียบเรียงประเด็นของหนัง ที่ทำให้เข้าใจและติดตามได้ง่าย โดยเริ่มด้วยการสำรวจตู้เย็นของชาวบ้านในออสเตรีย

เนื่องจากเราใช้ชีวิตโดยไม่มีตู้เย็นมานาน 27 ปีแล้ว ตอนแรกเราเลยรู้สึกว่า เราคงไม่มีนิสัยซื้อของกินมากเกินไปเหมือนชาวบ้านในปท.ร่ำรวยหรอก แต่ดูไปดูมาเราก็นึกขึ้นมาได้ว่า เราเคยซื้อลูกอม clorets และเพิ่งมาพบเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่ามันหมดอายุไปนานราว 15 ปีแล้ว แต่เรายังพกมันติดตัวตลอดเวลาเพราะเรายังกินมันไม่หมด 555

2.ช่วงต่อมาหนังไปสำรวจพืชผักผลไม้ขนาดยักษ์ที่ supermarkets ไม่รับซื้อ เพราะมันใหญ่เกินมาตรฐาน และสำรวจผลไม้ที่หาเก็บกินได้ข้างทางตามท้องถนนในกรุงเบอร์ลิน

ชอบส่วนนี้อย่างสุด ๆ ชอบคนที่มีความรู้พวกนี้ ความรู้ที่ว่าพืชต่าง ๆ ที่ขึ้นเองข้างถนนอะไรกินได้หรือไม่ได้ นึกถึง SOUND OF THE SOUL (2022, Supachai Ketkarunkul, Hear&Found, DuckUnit, video installation) ที่สัมภาษณ์ชาวเขาวัยชราคนนึงในไทยที่จำแนกได้หมดว่าพืชอะไรในป่าที่กินได้บ้าง คือถึงหลงป่านานเป็นเดือนก็ไม่อดตาย ถ้ามีความรู้พวกนี้

นึกถึงประสบการณ์ที่เราเคยเจอด้วย ที่เราเดินผ่านถนนบางเส้นอยู่ทุกวัน และไม่เคยรู้หรือสนใจว่าต้นไม้เล็ก ๆ ที่ขึ้นเองข้างถนนมันคือต้นอะไร จนกระทั่งเห็นชายหนุ่มคนนึงที่คล้าย ๆ คนงานก่อสร้างจากต่างจังหวัดมาเลือกเด็ดพืชพรรณเหล่านั้นอย่างชำนิชำนาญ (เราเดาว่าน่าจะเก็บไปกิน)

3.ช่วงต่อมาหนังไปสำรวจการกินหนอนกินแมลงในเนเธอร์แลนด์ และสัมภาษณ์เด็ก ๆ ชาวดัทช์ที่น่ารักสุด ๆ

4.แล้วหนังก็ไปสำรวจการ recycle อาหารในรัฐสภาอียู  และกฎหมายในบางเมืองของเบลเยียมที่ห้าม supermarkets
ทิ้งอาหาร

5.แล้วหนังก็ไปสำรวจการประมงในฝรั่งเศสด้วย

No comments: